พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,432 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจารไม่พอฟัง แม้มีการกระทำชำเรา ศาลไม่อาจลงโทษฐานพรากผู้เยาว์ได้
การที่จำเลยมาพบผู้เสียหายเนื่องจากผู้เสียหายนัดให้จำเลยมาพบเพื่อให้จำเลยนำเสื้อมาให้ จำเลยพาผู้เสียหายไปที่ห้องเช่าของจำเลยก็เพื่อธุระของผู้เสียหายเอง หลังจากได้เสื้อแล้วที่จำเลยให้ผู้เสียหายรออยู่ที่ห้องก็สืบเนื่องมาจากผู้เสียหายไปโรงเรียนไม่ทันซึ่งผู้เสียหายก็เต็มใจที่จะรออยู่ที่ห้องจำเลยเพื่อไปโรงเรียนเวลาเที่ยงตอนจำเลยไปเอาหนังสือการ์ตูนที่บ้านเพื่อนจำเลย ผู้เสียหายเป็นฝ่ายขอตามจำเลยไปด้วย จำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายชักชวนให้ผู้เสียหายไปกับจำเลยการที่จำเลยพาผู้เสียหายกลับมาที่ห้องจำเลยอีกก็เพื่อให้ผู้เสียหายไปโรงเรียนตอนเที่ยงตามที่ผู้เสียหายบอกตามพฤติการณ์แห่งคดียังไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาพรากผู้เสียหายไปเสียจากบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควร แม้ต่อมาจำเลยจะกระทำชำเราผู้เสียหายและจำเลยจะให้การรับสารภาพ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ศาลไม่อาจลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 วรรคหนึ่ง
ความผิดฐานกระทำชำเรา ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลย 5 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นลงโทษจำคุก 2 ปี เป็นการแก้ไขเฉพาะ โทษมิได้แก้บทกฎหมายด้วย จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย โจทก์ฎีกา ขอให้ลงโทษหนักขึ้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ความผิดฐานกระทำชำเรา ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลย 5 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นลงโทษจำคุก 2 ปี เป็นการแก้ไขเฉพาะ โทษมิได้แก้บทกฎหมายด้วย จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย โจทก์ฎีกา ขอให้ลงโทษหนักขึ้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8410/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายลงโทษในความผิดอาญาและการห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(7)(8) วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 80 มาตรา 365(2)(3) เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 335(1)(7)(8) วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 80 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 จำคุกคนละ 3 ปี ริบของกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 365(2)(3) ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 ให้จำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 2 ปี นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เพียงแต่ปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลยทั้งสองให้ถูกต้องเท่านั้น จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองคนละไม่เกิน 5 ปี ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8410/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับแก้บทลงโทษในความผิดบุกรุกและลักทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ปรับบทให้ถูกต้อง ลดโทษจำคุก และไม่อาจฎีกาในข้อเท็จจริงได้
++ เรื่อง บุกรุก ลักทรัพย์ พยายาม ++
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 335(1)(7)(8) วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 80 มาตรา 365(2)(3)เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 335(1)(7)(8) วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 80 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90 จำคุกคนละ 3 ปี ริบของกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานบุกรุก ตาม ป.อ.มาตรา 365(2)(3) ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90 ให้จำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 2 ปี นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เพียงแต่ปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลยทั้งสองให้ถูกต้อง จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองคนละไม่เกิน 5 ปี ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 335(1)(7)(8) วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 80 มาตรา 365(2)(3)เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 335(1)(7)(8) วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 80 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90 จำคุกคนละ 3 ปี ริบของกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานบุกรุก ตาม ป.อ.มาตรา 365(2)(3) ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90 ให้จำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 2 ปี นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เพียงแต่ปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลยทั้งสองให้ถูกต้อง จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองคนละไม่เกิน 5 ปี ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7093/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงศาลด้วยเอกสารราคาประเมินที่ดินปลอมเพื่อขอประกันตัว มีลักษณะร้ายแรงและไม่สมควรให้รอการลงโทษ
ผู้ถูกกล่าวหาทราบดีอยู่แล้วว่า หนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินไม่ถูกต้อง เพราะราคาประเมินที่ดินสูงเกินความเป็นจริง การที่ผู้ถูกกล่าวหานำหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวมาใช้ยื่นขอประกันตัวจำเลยต่อศาล ย่อมเป็นการหลอกลวงศาลให้หลงเชื่อถึงความถูกต้องของหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินนั้นพฤติการณ์ดังกล่าวมีลักษณะร้ายแรง กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษให้ผู้ถูกกล่าวหา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7093/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารเท็จเพื่อประกันตัวหลอกลวงศาล มีลักษณะร้ายแรง ไม่สมควรให้รอการลงโทษ
ผู้ถูกกล่าวหาทราบดีอยู่แล้วว่า หนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินไม่ถูกต้องเพราะราคาประเมินที่ดินสูงเกินความเป็นจริง การที่ผู้ถูกกล่าวหานำหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวมาใช้ยื่นขอประกันตัวจำเลยต่อศาล ย่อมเป็นการหลอกลวงศาลให้หลงเชื่อถึงความถูกต้องของหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินนั้นพฤติการณ์ดังกล่าวมีลักษณะร้ายแรง กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษให้ผู้ถูกกล่าวหา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6792/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันในความผิดฐานกระทำอนาจารและกระทำชำเราเด็กหญิง
จำเลยกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายรวม 4 ครั้ง และกระทำชำเราผู้เสียหายรวม 2 ครั้ง หลังจากกระทำความผิดในแต่ละครั้งแล้ว จำเลยมิได้ควบคุมหรือหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้เพื่อกระทำอนาจารหรือกระทำชำเรา ผู้เสียหายในครั้งต่อไปอีก ผู้เสียหายกลับไปที่บ้านและมาโรงเรียนตามปกติ ผู้เสียหายจึงพ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยในแต่ละครั้งไปแล้ว แม้ว่าในแต่ละครั้งจำเลยจะกระทำไปโดยมีเจตนากระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายหรือกระทำชำเราผู้เสียหายเหมือนกันก็ตาม การกระทำความผิดของจำเลยในแต่ละครั้งจึงเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายโดยมีเจตนาต่างกัน และมิได้เป็นการกระทำต่อเนื่องกัน หากแต่การกระทำในแต่ละครั้งเป็นการกระทำที่จำเลยเกิดมีเจตนาขึ้นใหม่ในทุกครั้งที่ลงมือกระทำ มิใช่เจตนาเดิม จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ในความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้แต่เพียงว่า การกระทำของจำเลยในข้อหาดังกล่าวหาใช่เป็นความผิดกรรมเดียวไม่ ให้ลงโทษในความผิด 4 กรรม เรียงกระทงลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 91 เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปี จำเลยจึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
ในความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้แต่เพียงว่า การกระทำของจำเลยในข้อหาดังกล่าวหาใช่เป็นความผิดกรรมเดียวไม่ ให้ลงโทษในความผิด 4 กรรม เรียงกระทงลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 91 เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปี จำเลยจึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5368/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาอาญา: การพิจารณาโทษฐานฆ่าผู้อื่น พยายามฆ่า และการลดโทษจากคำรับสารภาพ
ความผิดฐานมีและพาอาวุธติดตัวไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละ 1 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามคงจำคุก 8 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 1พิพากษาแก้เป็นไม่ลดโทษให้จำเลยทุกข้อหา จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปี จำเลยฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่พอรับฟังลงโทษจำเลยได้ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ก่อนเกิดเหตุจำเลยกับพวกพบผู้ตายและผู้เสียหายโดยบังเอิญที่ปั๊มน้ำมัน โดยต่าง ไม่เคยรู้จักหรือมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน และขณะเติมน้ำมันรถไม่ปรากฏว่าจำเลย กับพวกเกิดทะเลาะโต้เถียงกับผู้ตายและผู้เสียหายแต่อย่างใด แม้จำเลยจะให้การว่าเมื่อจำเลย ถามพวกว่าจะเอาอย่างไร จะยิงยางแล้วจี้ใช่ไหม พวกบอกว่าให้ยิงคนขับทิ้งก็เป็นการตกลง เพื่อความสะดวกในการจะชิงทรัพย์ อันเป็นการมุ่งกระทำต่อทรัพย์นั้นเอง พฤติการณ์ตาม รูปคดียังไม่หนักแน่นมั่นคงพอจะฟังว่า จำเลยกับพวกฆ่าผู้ตายและพยายามฆ่าผู้เสียหาย โดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 และศาลฎีกาให้ยกเอาคำให้การของจำเลยดังกล่าวขึ้นมารับฟังประกอบการวินิจฉัยคดี ถือว่าคำให้การของจำเลยนั้นเป็นการให้ความรู้แก่ศาล อันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ สมควรลดให้ และให้มีผลถึงความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนซึ่งต้องห้าม มิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ด้วย เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องเช็คและการออกเช็คล่วงหน้าเพื่อค้ำประกัน
จำเลยฎีกาว่า จำเลยออกเช็คให้โจทก์ 13 ฉบับ ลงวันที่ 30ของทุกเดือนเช็คฉบับลงวันที่ 30 เมษายน 2538 โจทก์นำไปเรียกเก็บเงินไม่ได้เนื่องจากธนาคารปิดบัญชีแล้ว โจทก์ย่อมทราบดีว่าเช็คฉบับต่อ ๆ ไปจะไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ เท่ากับโจทก์รู้เรื่องความผิดแล้วตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2538เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 20 กันยายน 2538 เกิน 3 เดือน คดีโจทก์ขาดอายุความแล้วนั้น เป็นการโต้เถียงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดตั้งแต่เมื่อใด อันเป็นฎีกาที่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และฎีกาจำเลยที่ว่า จำเลยออกเช็คมอบให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2537 แต่จำนวนเงินตามเช็คจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระในวันที่ 30 มิถุนายน 2538 เป็นการออกเช็คล่วงหน้า มีลักษณะเป็นการค้ำประกันหนี้ในอนาคต มิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายนั้น ศาลจะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยออกเช็คล่วงหน้าเพื่อเป็นการค้ำประกันหนี้ในอนาคตหรือไม่ เป็นการวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเรื่องอายุความคดีเช็คและการออกเช็คล่วงหน้า ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อเท็จจริง
จำเลยฎีกาว่า จำเลยออกเช็คให้โจทก์ 13 ฉบับ ลงวันที่ 30 ของทุกเดือนเช็คฉบับลงวันที่ 30 เมษายน 2538 โจทก์นำไปเรียกเก็บเงินไม่ได้ เนื่องจากธนาคารปิดบัญชีแล้ว โจทก์ย่อมทราบดีว่าเช็คฉบับต่อ ๆ ไปจะไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้เท่ากับโจทก์รู้เรื่องความผิดแล้วตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2538 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 20 กันยายน 2538 เกิน 3 เดือน คดีโจทก์ขาดอายุความแล้วนั้นเป็นการโต้เถียงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดตั้งแต่เมื่อใดอันเป็นฎีกาที่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และฎีกาจำเลยที่ว่า จำเลยออกเช็คมอบให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2537 แต่จำนวนเงินตามเช็คจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระในวันที่ 30 มิถุนายน 2538 เป็นการออกเช็คล่วงหน้า มีลักษณะเป็นการค้ำประกันหนี้ในอนาคต มิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายนั้นศาลจะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยออกเช็คล่วงหน้าเพื่อเป็นการค้ำประกันหนี้ในอนาคตหรือไม่ เป็นการวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5245/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาในคดีเยาวชน: การพิจารณาโทษและการห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีนี้ศาลชั้นต้นมิใช่ศาลเยาวชนและครอบครัวพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยทั้งสองไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจนกว่าจำเลยทั้งสองจะมีอายุครบ18 ปี อันเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 ประกอบมาตรา 74(5) การอุทธรณ์ฎีกาจึงต้องอุทธรณ์ฎีกาไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แม้ว่าในชั้นอุทธรณ์คดีของจำเลยทั้งสองได้รับการวินิจฉัยจากศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวก็ตาม สิทธิในการฎีกาของจำเลยก็ยังคงต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จะนำเอาบทบัญญัติของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 มาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงเป็นการลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221จึงชอบแล้ว