พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,432 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4279/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน-กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง: กรณีหลอกลวงรับสมัครงานและเรียกเก็บเงินประกัน/หุ้น
บริษัทมีเจตนาเพียงจะเรียกเก็บเงินประกันการทำงานจากประชาชนผู้มาสมัครงานโดยมีเจตนาแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตัวกรรมการของบริษัทเองหรือเพื่อบริษัทอันเป็นการกระทำโดยทุจริตโดยประกาศหลอกลวงให้ประชาชนมาสมัครงานด้วยแสดงข้อความเท็จว่าให้สมัครเข้ามาทำงานแต่บริษัทหามีงานให้ทำไม่จำเลยที่1และที่2ในฐานะกรรมการบริหารงานของบริษัทย่อมจะต้องทราบดีอยู่แล้วว่าบริษัทไม่มีงานให้ทำแต่ก็ยังร่วมดำเนินการรับสมัครบุคคลเข้าทำงานตลอดมาเป็นการปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนและในการรับสมัครบุคคลเข้าทำงานดังกล่าวเป็นเหตุทำให้บริษัทกับกรรมการของบริษัทได้ไปซึ่งเงินประกันการทำงานจากผู้สมัครการกระทำของจำเลยที่1และที่2จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341,343วรรคแรก การที่บริษัทได้รับผู้เสียหายเข้าทำงานแล้วได้ให้ผู้เสียหายซื้อหุ้นคนละ30หุ้นเป็นเงิน3,000บาทมีลักษณะเป็นการรับเข้าร่วมลงทุนและได้มีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้เสียหายโดยให้เงินปันผลหรือเงินค่าครองชีพเดือนละ135บาทจึงเข้าลักษณะการกู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ.2527มาตรา3เมื่อบริษัทจัดให้มีผู้รับเงินในการรับสมัครงานที่มิชอบหรือจ่ายหรือตกลงหรือจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้เสียหายซึ่งถือว่าเป็นผู้ให้กู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดดังกล่าวและในการกู้เงินดังกล่าวได้มีการให้ผลประโยชน์ตอบแทนเดือนละ135บาทหรือคิดเป็นอัตราถึงร้อยละ54ต่อปีซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้จึงเข้ากรณีเป็นการกระทำผิดตามมาตรา5แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ.2527เมื่อจำเลยที่1และที่2เป็นผู้ร่วมรับเงินที่ผู้เสียหายได้นำมาเข้าร่วมลงทุนเพื่อให้ผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวจึงมีความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ.2527มาตรา5 ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา344ผู้หลอกลวงต้องประสงค์ต่อผลคือการทำงานของผู้ถูกหลอกลวงให้ประกอบการงานให้แก่ตนหรือบุคคลที่สามโดยจะไม่ใช้ค่าแรงงานหรือโดยจะใช้ค่าแรงงานต่ำกว่าที่ตกลงกันการกระทำของจำเลยที่1และที่2ที่ได้กระทำในนามของบริษัทโดยอ้างว่ามีงานให้ทำก็ดีการรับผู้เสียหายเข้าทำงานก็ดีการคืนเงินประกันการทำงานเมื่อครบกำหนด6เดือนแล้วก็ดีล้วนเป็นอุบายทุจริตคิดตั้งเรื่องขึ้นเพื่อหลอกลวงผู้เสียหายให้หลงเชื่อและมอบเงินให้แสดงว่าจำเลยที่1และที่2หลอกลวงผู้เสียหายให้ส่งมอบเงินแก่จำเลยที่1และที่2เท่านั้นมิได้มีเจตนาหลอกลวงเพื่อมิให้มาทำงานเพราะความจริงแล้วไม่มีงานให้ทำที่จำเลยที่1และที่2จัดให้มีการทำงานในช่วงแรกๆและจ่ายเงินเดือนให้ก็เป็นวิธีการในการหลอกลวงอย่างหนึ่งซึ่งต่อมาภายหลังก็ไม่มีงานให้ทำและไม่จ่ายเงินเดือนให้กรณีจึงมิให้เป็นการกระทำเพื่อประสงค์ต่อผลตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา344ไม่มีความผิดตามมาตรานี้ ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษโดยรวมโทษทุกกระทงแล้วปรับบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา91(2)ทั้งที่ความผิดกระทงที่หนักที่สุดคือความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงถึง20ปีนั้นไม่ถูกต้องที่ถูกต้องปรับบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา91(3)รวมจำคุกคนละ50ปีแต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้องศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งห้าคงแก้ไขให้ถูกต้องได้เฉพาะปรับบทให้ถูกต้องเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4279/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชนด้วยการหลอกลวงรับสมัครงานและกู้ยืมเงินโดยมีดอกเบี้ยสูง
บริษัทมีเจตนาเพียงจะเรียกเก็บเงินประกันการทำงานจากประชาชนผู้มาสมัครงาน โดยมีเจตนาแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตัวกรรมการของบริษัทเอง หรือเพื่อบริษัทอันเป็นการกระทำโดยทุจริตโดยประกาศหลอกลวงให้ประชาชนมาสมัครงานด้วยแสดงข้อความเท็จว่าให้สมัครเข้ามาทำงาน แต่บริษัทหามีงานให้ทำไม่ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะกรรมการบริหารงานของบริษัทย่อมจะต้องทราบดีอยู่แล้วว่าบริษัทไม่มีงานให้ทำ แต่ก็ยังร่วมดำเนินการรับสมัครบุคคลเข้าทำงานตลอดมาเป็นการปกปิดข้อความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้งแกประชาชนและในการรับสมัครบุคคลเข้าทำงานดังกล่าวเป็นเหตุทำให้บริษัทกับกรรมการของบริษัทได้ไปซึ่งเงินประกันการทำงานจากผู้สมัคร การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตาม ป.อ. มาตรา 341, 343 วรรคแรก
การที่บริษัทได้รับผู้เสียหายเข้าทำงานแล้วได้ให้ผู้เสียหายซื้อหุ้นคนละ 30 หุ้น เป็นเงิน 3,000 บาท มีลักษณเป็นการรับเข้าร่วมลงทุนและได้มีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้เสียหายโดยให้เงินปันผลหรือเงินค่าครองชีพเดือนละ 135 บาท จึงเข้าลักษณะการกู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 3 เมื่อบริษัทจัดให้มีผู้รับเงินในการรับสมัครงานที่มิชอบ หรือจ่ายหรือตกลงจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้เสียหายซึ่งถือว่าเป็นผู้ให้กู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดดังกล่าว และในการกู้เงินดังกล่าวได้มีการให้ผลประโยชน์ตอบแทนเดือนละ 135 บาท หรือคิดเป็นอัตราถึงร้อยละ 54 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายให้จึงเข้ากรณีเป็นการกระทำผิดตามมาตรา 5 แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ร่วมรับเงินที่ผู้เสียหายได้นำมาเข้าร่วมลงทุนเพื่อให้ผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าว จึงมีความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 5
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 344 ผู้หลอกลวงต้องประสงค์ต่อผลคือการทำงานของผู้ถูกหลอกลวงให้ประกอบการงานให้แก่ตนหรือบุคคลที่สาม โดยจะไม่ใช้ค่าแรงงาน หรือโดยจะใช้ค่าแรงงานต่ำกว่าที่ตกลงกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ได้กระทำในนามบริษัท โดยอ้างว่ามีงานให้ทำก็ดี การรับผู้เสียหายเข้าทำงานก็ดี การคืนเงินประกันการทำงานเมื่อครบกำหนด 6 เดือนแล้วก็ดี ล้วนเป็นอุบายทุจริตคิดตั้งเรื่องขึ้นเพื่อหลอกลวงผู้เสียหายให้หลงเชื่อและมอบเงินให้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 หลอกลวงผู้เสียหายให้ส่งมอบเงินแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้น มิได้มีเจตนาหลอกลวงเพื่อให้มาทำงาน เพราะความจริงแล้วไม่มีงานให้ทำ ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2จัดให้มีการทำงานในช่วงแรก ๆ และจ่ายเงินเดือนให้ก็เป็นวิธีการในการหลอกลวงอย่างหนึ่ง ซึ่งต่อมาภายหลังก็ไม่มีงานให้ทำและไม่จ่ายเงินเดือนให้ กรณีจึงมิใช่เป็นการกระทำเพื่อประสงค์ต่อผลตาม ป.อ. มาตรา 344 ไม่มีความผิดตามมาตรานี้
ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษโดยรวมโทษทุกกระทงแล้วปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) ทั้งที่ความผิดกระทงที่หนักที่สุดคือความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงถึง 20 ปี นั้นไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) รวมจำคุกคนละ 50 ปี แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้อง ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งห้า ควรแก้ไขให้ถูกต้องได้เฉพาะปรับบทให้ถูกต้องเท่านั้น
การที่บริษัทได้รับผู้เสียหายเข้าทำงานแล้วได้ให้ผู้เสียหายซื้อหุ้นคนละ 30 หุ้น เป็นเงิน 3,000 บาท มีลักษณเป็นการรับเข้าร่วมลงทุนและได้มีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้เสียหายโดยให้เงินปันผลหรือเงินค่าครองชีพเดือนละ 135 บาท จึงเข้าลักษณะการกู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 3 เมื่อบริษัทจัดให้มีผู้รับเงินในการรับสมัครงานที่มิชอบ หรือจ่ายหรือตกลงจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้เสียหายซึ่งถือว่าเป็นผู้ให้กู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดดังกล่าว และในการกู้เงินดังกล่าวได้มีการให้ผลประโยชน์ตอบแทนเดือนละ 135 บาท หรือคิดเป็นอัตราถึงร้อยละ 54 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายให้จึงเข้ากรณีเป็นการกระทำผิดตามมาตรา 5 แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ร่วมรับเงินที่ผู้เสียหายได้นำมาเข้าร่วมลงทุนเพื่อให้ผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าว จึงมีความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 5
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 344 ผู้หลอกลวงต้องประสงค์ต่อผลคือการทำงานของผู้ถูกหลอกลวงให้ประกอบการงานให้แก่ตนหรือบุคคลที่สาม โดยจะไม่ใช้ค่าแรงงาน หรือโดยจะใช้ค่าแรงงานต่ำกว่าที่ตกลงกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ได้กระทำในนามบริษัท โดยอ้างว่ามีงานให้ทำก็ดี การรับผู้เสียหายเข้าทำงานก็ดี การคืนเงินประกันการทำงานเมื่อครบกำหนด 6 เดือนแล้วก็ดี ล้วนเป็นอุบายทุจริตคิดตั้งเรื่องขึ้นเพื่อหลอกลวงผู้เสียหายให้หลงเชื่อและมอบเงินให้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 หลอกลวงผู้เสียหายให้ส่งมอบเงินแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้น มิได้มีเจตนาหลอกลวงเพื่อให้มาทำงาน เพราะความจริงแล้วไม่มีงานให้ทำ ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2จัดให้มีการทำงานในช่วงแรก ๆ และจ่ายเงินเดือนให้ก็เป็นวิธีการในการหลอกลวงอย่างหนึ่ง ซึ่งต่อมาภายหลังก็ไม่มีงานให้ทำและไม่จ่ายเงินเดือนให้ กรณีจึงมิใช่เป็นการกระทำเพื่อประสงค์ต่อผลตาม ป.อ. มาตรา 344 ไม่มีความผิดตามมาตรานี้
ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษโดยรวมโทษทุกกระทงแล้วปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) ทั้งที่ความผิดกระทงที่หนักที่สุดคือความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงถึง 20 ปี นั้นไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) รวมจำคุกคนละ 50 ปี แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้อง ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งห้า ควรแก้ไขให้ถูกต้องได้เฉพาะปรับบทให้ถูกต้องเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2772/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวเข้าสถานพินิจฯ ถือมิใช่การลงโทษจำคุก จึงห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย25ปีแต่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำ3ปีและชั้นสูง4ปีการเปลี่ยนโทษจำคุกดังกล่าวมิใช่เป็นการลงโทษจำคุกเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษายืนจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในคดีจำหน่ายและครอบครองยาเสพติด ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและโทษไม่เกิน 5 ปี
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเฉพาะโทษโดยลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีไม่ได้แก้บทมาตราด้วยเป็นการแก้ไขเล็กน้อยส่วนความผิดฐาน จำหน่าย เฮโรอีน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงทั้งสองฐานความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคหนึ่งจำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและลดโทษเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้าม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการคุมประพฤติและการเปลี่ยนแปลงโทษจำคุกรอการลงโทษเป็นไม่รอการลงโทษเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
ในคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 3 เดือนและปรับ 1,500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี คุมประพฤติ 1 ปี โดยให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 3 เดือนต่อครั้งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 จำเลยไม่ไปรายงานตัวตามกำหนด ศาลชั้นต้นยกเลิกการคุมประพฤติและเปลี่ยนโทษจากการรอการลงโทษจำคุกเป็นไม่รอการลงโทษ เมื่อศาลอุทธรณ์-ภาค 3 มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ย่อมเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522มาตรา 17 วรรคสอง จำเลยจะฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7776/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตนเองในความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืนและการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ไม่เป็นสาระสำคัญ
ความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นและฐานพาอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่น ตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72วรรคสาม, 72 ทวิ วรรคสอง และ ป.อ. มาตรา 371 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 3 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 จำเลยฎีกาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตนเองพอสมควรแก่เหตุ และขอให้ยกฟ้องนั้น เป็นการฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
จำเลยฎีกาว่า เมื่อทางนำสืบของโจทก์ฟังได้ว่า จำเลยกระทำผิดแต่เพียงผู้เดียวแตกต่างไปจากคำฟ้องที่ว่าจำเลยกับพวกร่วมกันกระทำผิดเช่นนี้จะต้องยกฟ้องนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดแล้ว ไม่ว่าจำเลยจะร่วมกระทำผิดกับผู้อื่นหรือกระทำความผิดตามลำพังก็ตาม จำเลยย่อมต้องถูกลงโทษ ดังนั้น ข้อแตกต่างดังกล่าวจำเลยกล่าวอ้างจึงมิใช่สาระสำคัญ ทั้งจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ ศาลจึงลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้
จำเลยฎีกาว่า เมื่อทางนำสืบของโจทก์ฟังได้ว่า จำเลยกระทำผิดแต่เพียงผู้เดียวแตกต่างไปจากคำฟ้องที่ว่าจำเลยกับพวกร่วมกันกระทำผิดเช่นนี้จะต้องยกฟ้องนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดแล้ว ไม่ว่าจำเลยจะร่วมกระทำผิดกับผู้อื่นหรือกระทำความผิดตามลำพังก็ตาม จำเลยย่อมต้องถูกลงโทษ ดังนั้น ข้อแตกต่างดังกล่าวจำเลยกล่าวอ้างจึงมิใช่สาระสำคัญ ทั้งจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ ศาลจึงลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7776/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตนเองในคดีอาวุธปืนและการลงโทษฐานมีและพาอาวุธปืน แม้คำฟ้องเปลี่ยนไปก็ไม่กระทบการลงโทษ
ความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นและฐานพาอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนมาตรา7,8ทวิวรรคหนึ่ง,72วรรคสาม,72ทวิวรรคสองและประมวลกฎหมายอาญามาตรา371ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ3เดือนศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษายืนจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218จำเลยฎีกาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตนเอง พอสมควรแก่เหตุ และขอให้ยกฟ้องนั้นเป็นการฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยฎีกาว่าเมื่อทางนำสืบของโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดแต่เพียงผู้เดียวแตกต่างไปจากคำฟ้องที่ว่าจำเลยกับพวกร่วมกันกระทำผิดเช่นนี้จะต้องยกฟ้องนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดแล้วไม่ว่าจำเลยจะร่วมกระทำผิดกับผู้อื่นหรือกระทำความผิดตามลำพังก็ตามจำเลยย่อมต้องถูกลงโทษดังนั้นข้อแตกต่างดังกล่าวจำเลยกล่าวอ้างจึงมิใช่สาระสำคัญทั้งจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ศาลจึงลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4766/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงเอกสารราชการด้วยการเปลี่ยนรูปถ่ายในบัตรประชาชนเพื่อใช้แทนบัตรฉบับจริง มีความผิดฐานปลอมเอกสาร
จำเลยนำภาพถ่านที่ม. มอบให้มาตัดให้พอดีกับภาพถ่ายในบัตรประจำตัวประชาชนที่แท้จริงของน.แล้วนำภาพถ่ายที่ตัดแล้วปิดทับภาพถ่ายของน. ที่ติดอยู่ในบัตรประจำตัวประชาชนของน. แล้วถ่ายภาพบัตรและนำภาพถ่ายอัดพลาสติกมอบให้ม.ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาเพื่อให้ผู้พบเห็นหลงเชื่อว่าภาพถ่ายของม. ในบัตรประชาชนที่ถ่ายเอกสารมาเป็นภาพถ่ายของน.โดยมีวันเดือนปีเกิดและภูมิลำเนาตามที่ระบุไว้ในบัตรนั้นเป็นบัตรประจำตัวประชาชนที่แท้จริงจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร แม้บัตรประชาชนที่จำเลยทำปลอมขึ้นเป็นเพียงภาพถ่ายเอกสารแต่การกระทำของจำเลยมีลักษณะเพื่อการใช้อย่างต้นฉบับบัตรประจำตัวประชาชนฉบับที่แท้จริงจึงเป็นเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา1(8) คดีที่คู่ความฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายหากศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษจำเลยหนักเกินไปก็มีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3338/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย กรณีศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อยเรื่องริบรถจักรยานยนต์ในคดีเยาวชน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสี่มีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา134,134วรรคสอง,มาตรา160ทวิประมวลกฎหมายอาญามาตรา83แต่ให้รอการกำหนดโทษและคุมประพฤติไว้ส่วนรถจักรยานยนต์ของกลางไม่ริบศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่าให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางเป็นการแก้ไขเล็กน้อยต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534มาตรา124ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218จำเลยทั้งสี่ฎีกาขอให้ไม่ริบรถจักรยานยนต์ของกลางเป็นการขอแก้ไขดุลพินิจของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3174/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งตัวเด็กกระทำผิดไปสถานพินิจฯ ไม่ใช่การลงโทษ แต่เป็นวิธีการสำหรับเด็กตามกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กจังหวัดจนกว่าจะอายุครบ18ปีไม่เป็นการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา18แต่เป็นวิธีการสำหรับเด็กตามมาตรา74(5)ที่เบากว่าการลงโทษจำคุกเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงต้องห้ามคู่ความมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218