พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,432 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6819/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้แผ่นป้ายทะเบียนปลอม แม้ไม่ใช่ผู้ปลอมแปลงเอง ก็เป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและรับของโจร
แม้ตามพยานหลักฐานจะไม่ปรากฏว่า จำเลยเป็นผู้ปลอมแปลงแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ แต่การที่จำเลยขับรถยนต์ของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักไปและติดแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ซึ่งจำเลยรู้อยู่ว่าเป็นแผ่นป้ายการเขียนปลอมไปตามทางสาธารณะ โดยมุ่งหมายให้ประชาชนผู้พบเห็นเข้าใจว่าเป็นแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ของทางราชการ ก็เป็นการใช้หรืออ้างเอกสารแผ่นป้ายทะเบียนรถเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 อีกกระทงหนึ่งซึ่งแยกออกจากกระทงความผิดฐานรับของโจร
แม้ฎีกาของจำเลยในส่วนที่ว่าศาลฎีกาสมควรพิพากษาลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดทั้งสองฐานหรือไม่ จะเป็นฎีกาในดุลพินิจของศาลอันเป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก ก็ตามแต่เมื่อจำเลยฎีกาในข้อแรกเป็นปัญหาข้อกฎหมายมาด้วย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยลงโทษจำเลยและลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 ให้เหมาะสมแก่ความผิดได้
แม้ฎีกาของจำเลยในส่วนที่ว่าศาลฎีกาสมควรพิพากษาลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดทั้งสองฐานหรือไม่ จะเป็นฎีกาในดุลพินิจของศาลอันเป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก ก็ตามแต่เมื่อจำเลยฎีกาในข้อแรกเป็นปัญหาข้อกฎหมายมาด้วย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยลงโทษจำเลยและลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 ให้เหมาะสมแก่ความผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6819/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขับรถยนต์ที่ถูกลักมาพร้อมแผ่นป้ายทะเบียนปลอม มีความผิดฐานรับของโจรและใช้เอกสารปลอมแยกกระทง
แม้ตามพยานหลักฐานจะไม่ปรากฏว่า จำเลยเป็นผู้ปลอมแปลงแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ แต่การที่จำเลยขับรถยนต์ของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักไปและติดแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ซึ่งจำเลยรู้อยู่ว่าเป็นแผ่นป้ายการเขียนปลอมไปตามทางสาธารณะ โดยมุ่งหมายให้ประชาชนผู้พบเห็นเข้าใจว่าเป็นแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ของทางราชการ ก็เป็นการใช้หรืออ้างเอกสารแผ่นป้ายทะเบียนรถเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 268 อีกกระทงหนึ่งซึ่งแยกออกจากกระทงความผิดฐานรับของโจร แม้ฎีกาของจำเลยในส่วนที่ว่าศาลฎีกาสมควรพิพากษาลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดทั้งสองฐานหรือไม่ จะเป็นฎีกาในดุลพินิจของศาลอันเป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ก็ตามแต่เมื่อจำเลยฎีกาในข้อแรกเป็นปัญหาข้อกฎหมายมาด้วย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยลงโทษจำเลยและลดมาตราส่วนโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 76 ให้เหมาะสมแก่ความผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6591/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม - ข้อเท็จจริง vs. ข้อกฎหมาย และการลงโทษเจ้าพนักงาน
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สำหรับปัญหาที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาข้อแรกตามฟ้องข้อ ก. นั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 มิได้กระทำการตามฟ้องโจทก์ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในประเด็นนี้มาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า การที่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานปากใดมานำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดตามมาตรา 162 แล้ว จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์หรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง ซึ่งได้วินิจฉัยเป็นยุติสำหรับจำเลยที่ 1 ไว้แล้วเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้นเช่นกัน
ส่วนความผิดตามฟ้องข้อ ข. ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 มาด้วยนั้น ปรากฏว่าความผิดข้อหานี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 5 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลล่างให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า เอกสารหมาย จ.14 ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างหรือการเบิกจ่ายพัสดุและเอกสารหมาย จ.41 ที่พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะใช้ยันจำเลยที่ 1 ให้ต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์ได้หรือไม่ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสองซึ่งได้วินิจฉัยเป็นยุติสำหรับจำเลยที่ 1 ไว้ เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้มา เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษอย่างเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่นั้น จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างประจำของกรมชลประทานโจทก์ร่วม ซึ่งมิใช่ข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งหรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะให้ถือเป็นเจ้าพนักงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายเนื่องจากบทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 (1) และมาตรา 147,151, 157 เป็นบทบัญญัติที่ลงโทษแก่บุคคลผู้กระทำผิดที่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น แม้จำเลยที่ 2 จะร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำผิดต่อบทบัญญัติดังกล่าวก็จะลงโทษจำเลยที่ 2 อย่างเจ้าพนักงานไม่ได้ คงลงโทษจำเลยที่ 2 ได้แต่เพียงในฐานะผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86เท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2ไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ส่วนความผิดตามฟ้องข้อ ข. ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 มาด้วยนั้น ปรากฏว่าความผิดข้อหานี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 5 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลล่างให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า เอกสารหมาย จ.14 ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างหรือการเบิกจ่ายพัสดุและเอกสารหมาย จ.41 ที่พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะใช้ยันจำเลยที่ 1 ให้ต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์ได้หรือไม่ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสองซึ่งได้วินิจฉัยเป็นยุติสำหรับจำเลยที่ 1 ไว้ เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้มา เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษอย่างเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่นั้น จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างประจำของกรมชลประทานโจทก์ร่วม ซึ่งมิใช่ข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งหรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะให้ถือเป็นเจ้าพนักงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายเนื่องจากบทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 (1) และมาตรา 147,151, 157 เป็นบทบัญญัติที่ลงโทษแก่บุคคลผู้กระทำผิดที่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น แม้จำเลยที่ 2 จะร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำผิดต่อบทบัญญัติดังกล่าวก็จะลงโทษจำเลยที่ 2 อย่างเจ้าพนักงานไม่ได้ คงลงโทษจำเลยที่ 2 ได้แต่เพียงในฐานะผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86เท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2ไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6591/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยฐานกระทำผิดในฐานะเจ้าพนักงาน vs. ผู้สนับสนุน และขอบเขตการรับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง/ข้อกฎหมาย
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สำหรับปัญหาที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาข้อแรกตามฟ้องข้อ ก. นั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่เกินห้าปีห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่จำเลยที่ 1ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 มิได้กระทำการตามฟ้องโจทก์ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในประเด็นนี้มาก็เป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า การที่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานปากใดมานำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดตามมาตรา 162 แล้ว จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์หรือไม่ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง ซึ่งได้วินิจฉัยเป็นยุติสำหรับจำเลยที่ 1 ไว้แล้วเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า จำเลยที่ 1จะต้องรับผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้นเช่นกัน ส่วนความผิดตามฟ้องข้อ ข. ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 มาด้วยนั้น ปรากฏว่าความผิดข้อหานี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 5 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลล่างให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่จำเลยที่ 1ฎีกาว่า เอกสารหมาย จ.14 ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างหรือการเบิกจ่ายพัสดุและเอกสารหมาย จ.41 ที่พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะใช้ยันจำเลยที่ 1 ให้ต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์ได้หรือไม่ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสองซึ่งได้วินิจฉัยเป็นยุติสำหรับจำเลยที่ 1 ไว้ เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้างจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าวที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้มา เป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษอย่างเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่นั้น จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างประจำของกรมชลประทานโจทก์ร่วม ซึ่งมิใช่ข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งหรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะให้ถือเป็นเจ้าพนักงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายประมวลกฎหมายอาญา151,157 เป็นบทบัญญัติที่ลงโทษแก่บุคคลผู้กระทำผิดที่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น แม้จำเลยที่ 2จะร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำผิดต่อบทบัญญัติดังกล่าวก็จะลงโทษจำเลยที่ 2 อย่างเจ้าพนักงานไม่ได้ คงลงโทษจำเลยที่ 2ได้แต่เพียงในฐานะผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86เท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3854/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น และประเด็นการฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ข้อหา พา อาวุธปืน ศาลชั้นต้น จำคุก 6 เดือน ข้อหา วางเพลิง เผาทรัพย์ และ ทำลาย ศพ เพื่อ ปิดบัง การ ตาย ศาลชั้นต้น ลงโทษ ฐาน วางเพลิงเผา ทรัพย์ ซึ่ง เป็น กฎหมาย บท ที่ มี โทษ หนัก ที่สุด ให้ จำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน จำเลย จึง ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่ จำเลย ฎีกา ว่าพยาน หลักฐาน โจทก์ ยัง มี ข้อสงสัย เชื่อ ไม่ได้ ว่า จำเลย เป็น คนร้าย ผู้กระทำผิด คดี นี้ เป็น ฎีกา ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง ความผิด ทั้ง สาม ข้อหา ดังกล่าวจึง ต้องห้าม มิให้ จำเลย ฎีกา ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย การ ที่ จำเลย กับ ผ. มี เรื่อง ทะเลาะ วิวาท และ เรื่อง ยุติ กัน ไปแล้ว จำเลย ขับ รถ ตาม ไป ยัง ผ. เช่นนี้ การ ทะเลาะ วิวาท ได้ ขาดตอนไป แล้ว จำเลย มี เวลา คิด ไตร่ตรอง ที่ จะ ฆ่า ผ. และ ติดตาม ไป ฆ่าการ กระทำ ของ จำเลย จึง เป็น การ ฆ่า ผ. โดย ไตร่ตรอง ไว้ ก่อน แต่ที่ จำเลย ฆ่า ม. และ ว. ด้วย นั้น ไม่ปรากฏ ว่า จำเลย กับ ม. และว. ทะเลาะ วิวาท กัน จน ถึง กับ จำเลย จะ ต้อง คิด ฆ่า บุคคล ทั้งสอง การที่ จำเลย ฆ่า บุคคล ทั้งสอง ก็ เพราะ บุคคล ทั้งสอง นั่ง รถ มา กับ ส.จำเลย จึง ฆ่า เพื่อ ปกปิด การ กระทำ ความผิด ของ จำเลย แต่ โจทก์ มิได้ฟ้อง จำเลย ใน ข้อหา ฆ่า ม. และ ว. เพื่อ ปกปิด การ กระทำ ความผิดจึง ลงโทษ จำเลย ใน ข้อหา นี้ ไม่ได้ คง ลงโทษ ได้ เพียง ฐาน ฆ่า บุคคลทั้งสอง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากยิงด้วยอาวุธปืนร้ายแรง แม้ไม่ถึงแก่ชีวิต ถือเป็นความผิดฐานพยายามฆ่า
ความผิดฐานมีอาวุธปืน ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7,72 วรรคแรก จำคุก1 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามมาตรา 7,72 วรรคสาม จำคุก 6 เดือน ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219ส่วนความผิดฐานพาอาวุธปืนศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคแรก,72 ทวิ วรรคสอง และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 จำคุก 6 เดือนศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เฉพาะบทลงโทษเป็น มาตรา 8 ทวิ วรรคสอง,72 ทวิ วรรคสอง ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก จำเลยทั้งสองฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดทั้งสองฐานเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์มีจำเลยที่ 1 ซ้อนท้ายโดยจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนลูกซองสั้นติดตัวไป เมื่อพบผู้เสียหายทั้งสามกับพวกกำลังคุยกันอยู่ จำเลยที่ 1 ก็ยิงปืนไปที่ผู้เสียหายทั้งสาม อาวุธปืนเป็นอาวุธที่ร้ายแรงถ้าหากยิงถูกอวัยวะสำคัญอาจถึงตายได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งสาม จำเลยทั้งสองลงมือกระทำไปโดยตลอดแล้วแต่การกระทำไม่บรรลุผล เนื่องจากกระสุนปืนถูกอวัยวะไม่สำคัญจำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจำคุกโดยศาลอุทธรณ์ และข้อจำกัดในการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย 2 กระทง จำคุกกระทงละ 10 ปี เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 รวมจำคุก 20 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 2 กระทง จำคุก 10 ปีเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้จำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ประเด็นข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วไม่อาจฎีกาได้
ฎีกาจำเลยที่ว่าการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามฟ้องจำเลยได้ปฏิบัติชอบด้วยขั้นตอนในระเบียบและกฎหมายหรือไม่ก็ดี การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์จะทับที่หนองน้ำสาธารณะหรือไม่ก็ดี แม้กระทั้งในข้อที่ว่าการกระทำของจำเลยไม่มีเจตนาพิเศษเพราะมิได้กระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและว่าจำเลยมิได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงก็ดี ล้วนเป็นปัญหาข้อเท็จจริงทั้งสิ้น จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการหลบหนีหลังเกิดอุบัติเหตุ และการไม่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ภายหลังจากเกิดเหตุรถชนกันแล้ว มีผู้นำผู้ตายและโจทก์ร่วมส่งโรงพยาบาล ผู้ตายถึงแก่ความตายในคืนนั้น ส่วนจำเลยอยู่ในที่เกิดเหตุประมาณ 2 นาทีแล้วหลบหนีไป ต่อมาอีก 6 วัน จำเลยจึงเข้ามอบตัวต่อสู้คดี ดังนี้ การที่จำเลยไม่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับอันตรายสาหัสและผู้ตายถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 วรรคสอง
การที่รถยนต์เกิดเหตุทั้งสองคันชนกันจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายไม่ได้เกิดเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลย จำเลยเพียงแต่หลบหนีไปเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงสมควรให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีโดยให้รอการลงโทษจำคุกไว้
ความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 78วรรคแรก, 160 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำคุก 3 เดือน คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคแรก
การที่รถยนต์เกิดเหตุทั้งสองคันชนกันจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายไม่ได้เกิดเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลย จำเลยเพียงแต่หลบหนีไปเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงสมควรให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีโดยให้รอการลงโทษจำคุกไว้
ความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 78วรรคแรก, 160 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำคุก 3 เดือน คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขับขี่ที่หลบหนีหลังเกิดอุบัติเหตุ และการไม่ให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
ภายหลังจากเกิดเหตุรถชนกันแล้ว มีผู้นำผู้ตายและโจทก์ร่วมส่งโรงพยาบาล ผู้ตายถึงแก่ความตายในคืนนั้น ส่วนจำเลยอยู่ในที่เกิดเหตุประมาณ 2 นาที แล้วหลบหนีไป ต่อมาอีก 6 วัน จำเลยจึงเข้ามอบตัวต่อสู้คดี ดังนี้ การที่จำเลยไม่ให้ความช่วยเหลือตามสมควรไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับอันตรายสาหัสและผู้ตายถึงแก่ความตายการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 160 วรรคสอง การที่รถยนต์เกิดเหตุทั้งสองคันชนกันจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายไม่ได้เกิดเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยจำเลยเพียงแต่หลบหนีไปเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนจึงสมควรให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีโดยให้รอการลงโทษจำคุกไว้ ความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 วรรคแรก160 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำคุก 3 เดือน คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก