พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,432 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5019/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการรวมพิจารณาคดีอาญา และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการแก้ไขคำพิพากษาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสามมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 266 (3), 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 266 (3), 341 ประกอบมาตรา 83 เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 266 (3) ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกจำเลยทั้งสามคนละ 3 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดฐานฉ้อโกง จ. โดยไม่ได้แก้โทษจำเลยที่ 1 จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ส่วนกรณีของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดโทษให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 266 (3) คงจำคุกคนละ 1 ปี 3 เดือน จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์แก้โทษความผิดในบทที่มีโทษหนักที่สุดอันเป็นบทที่ศาลชั้นต้นลงโทษแม้จะยกฟ้องความผิดในบทที่เบากว่า ก็ต้องถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อศาลอุทธรณ์คงลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า พนักงานสอบสวนสอบคำให้การ จ. ไว้ในฐานะพยานในคดีความผิดฐานปลอม ใช้เอกสารปลอม และฉ้อโกง ที่โจทก์ร่วม ร. และ ส. แจ้งความร้องทุกข์ไว้เท่านั้น แต่ จ. ไม่ได้แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสาม ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า จ. ให้การต่อพนักงานสอบสวนประสงค์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และบุคคลที่เกี่ยวข้องตามบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนแนบท้ายฎีกา ถือว่าคำให้การของ จ. เป็นการร้องทุกข์ในคำให้การภายในกำหนดอายุความตามกฎหมายแล้ว และโจทก์บรรยายฟ้องว่า ในความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตามกฎหมายภายในอายุความโดยชอบแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสามไม่ต่อสู้คดี โจกท์จึงไม่ต้องนำสืบว่ามีการร้องทุกข์ภายในกำหนดอายุความอีก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จ. นั้น ฎีกาโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ทั้งข้อเท็จจริงที่ว่า จ. ได้ร้องทุกข์ตามบันทึกคำให้การที่แนบท้ายฎีกานั้น ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลสั่งรวมพิจารณาพิพากษาคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าด้วยกัน แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ให้การรับสารภาพไปก่อนที่จะพิพากษาคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 อีกสำนวนหนึ่งก็ตาม แต่ความผิดในคดีทั้งสองสำนวนนั้นเป็นความผิดที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามได้ร่วมกันกระทำความผิด และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันแล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นสำหรับความผิดในส่วนของจำเลยที่ 1 ที่เป็นอันยุติไปแล้วนั้นให้ถูกต้องได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เฉพาะในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จ. เพราะ เหตุที่ไม่มีการร้องทุกข์ตามระเบียบโดยชอบ และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จ. อันเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จ. ให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ไม่ได้อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า พนักงานสอบสวนสอบคำให้การ จ. ไว้ในฐานะพยานในคดีความผิดฐานปลอม ใช้เอกสารปลอม และฉ้อโกง ที่โจทก์ร่วม ร. และ ส. แจ้งความร้องทุกข์ไว้เท่านั้น แต่ จ. ไม่ได้แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสาม ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า จ. ให้การต่อพนักงานสอบสวนประสงค์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และบุคคลที่เกี่ยวข้องตามบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนแนบท้ายฎีกา ถือว่าคำให้การของ จ. เป็นการร้องทุกข์ในคำให้การภายในกำหนดอายุความตามกฎหมายแล้ว และโจทก์บรรยายฟ้องว่า ในความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตามกฎหมายภายในอายุความโดยชอบแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสามไม่ต่อสู้คดี โจกท์จึงไม่ต้องนำสืบว่ามีการร้องทุกข์ภายในกำหนดอายุความอีก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จ. นั้น ฎีกาโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ทั้งข้อเท็จจริงที่ว่า จ. ได้ร้องทุกข์ตามบันทึกคำให้การที่แนบท้ายฎีกานั้น ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลสั่งรวมพิจารณาพิพากษาคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าด้วยกัน แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ให้การรับสารภาพไปก่อนที่จะพิพากษาคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 อีกสำนวนหนึ่งก็ตาม แต่ความผิดในคดีทั้งสองสำนวนนั้นเป็นความผิดที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามได้ร่วมกันกระทำความผิด และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันแล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นสำหรับความผิดในส่วนของจำเลยที่ 1 ที่เป็นอันยุติไปแล้วนั้นให้ถูกต้องได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เฉพาะในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จ. เพราะ เหตุที่ไม่มีการร้องทุกข์ตามระเบียบโดยชอบ และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จ. อันเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จ. ให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ไม่ได้อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาและการห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร อันเป็นการฟ้องโดยอาศัยการกระทำเดียว แต่ให้ศาลเลือกลงโทษในฐานใดฐานหนึ่งตามที่พิจารณาได้ความโดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นศาลชั้นต้นเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานรับของโจร แม้จะเป็นการแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ย่อมถือว่าโจทก์พอใจ โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานลักทรัพย์ไม่ได้
การแก้ไขมากตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นการแก้ไขทั้งบทลงโทษและจำนวนโทษที่ลง ซึ่งการแก้บทลงโทษมีความหมายถึงการเปลี่ยนแปลงบทลงโทษจากบทหนึ่งเป็นอีกบทหนึ่ง หรือเป็นการแก้วรรคในบทเดิม ซึ่งความผิดแต่ละวรรคมีโทษขั้นต่ำและสูงแตกต่างกันมาก และลักษณะความผิดในแต่ละวรรคนั้นแตกต่างกัน เช่น ความผิดในวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้และอีกวรรคหนึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เป็นต้น
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้ว่า จำเลยที่ 3 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) วรรคแรก โดยไม่ได้ใช้อัตราโทษตามที่มาตรา 336 ทวิ กำหนดไว้นั้น ลักษณะความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 วรรคแรก และวรรคสองไม่แตกต่างกันและมีระวางโทษขั้นต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปี เหมือนกัน ต่างกันเฉพาะระวางโทษขั้นสูงซึ่งมาตรา 335 วรรคแรก ระวางโทษขั้นสูงจำคุก 5 ปี วรรคสอง ระวางโทษขั้นสูงจำคุก 7 ปี ส่วน ป.อ. มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 335 ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่ จึงไม่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แก้บทลงโทษ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 เพียงแต่แก้จำนวนโทษมิได้แก้บทลงโทษ จึงเป็นกรณีแก้ไขเล็กน้อย
คดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อจำเลยทั้งสองฎีกาพร้อมกับคำร้องขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีไม่ต้องห้ามจำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพราะศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้ไขมากและมีคำสั่งรับฎีกานั้น จึงเป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวที่ไม่ชอบเสียได้ และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
การแก้ไขมากตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นการแก้ไขทั้งบทลงโทษและจำนวนโทษที่ลง ซึ่งการแก้บทลงโทษมีความหมายถึงการเปลี่ยนแปลงบทลงโทษจากบทหนึ่งเป็นอีกบทหนึ่ง หรือเป็นการแก้วรรคในบทเดิม ซึ่งความผิดแต่ละวรรคมีโทษขั้นต่ำและสูงแตกต่างกันมาก และลักษณะความผิดในแต่ละวรรคนั้นแตกต่างกัน เช่น ความผิดในวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้และอีกวรรคหนึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เป็นต้น
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้ว่า จำเลยที่ 3 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) วรรคแรก โดยไม่ได้ใช้อัตราโทษตามที่มาตรา 336 ทวิ กำหนดไว้นั้น ลักษณะความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 วรรคแรก และวรรคสองไม่แตกต่างกันและมีระวางโทษขั้นต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปี เหมือนกัน ต่างกันเฉพาะระวางโทษขั้นสูงซึ่งมาตรา 335 วรรคแรก ระวางโทษขั้นสูงจำคุก 5 ปี วรรคสอง ระวางโทษขั้นสูงจำคุก 7 ปี ส่วน ป.อ. มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 335 ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่ จึงไม่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แก้บทลงโทษ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 เพียงแต่แก้จำนวนโทษมิได้แก้บทลงโทษ จึงเป็นกรณีแก้ไขเล็กน้อย
คดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อจำเลยทั้งสองฎีกาพร้อมกับคำร้องขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีไม่ต้องห้ามจำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพราะศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้ไขมากและมีคำสั่งรับฎีกานั้น จึงเป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวที่ไม่ชอบเสียได้ และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8750/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อหาจากยักยอกทรัพย์เป็นลักทรัพย์ และอำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน แม้มีการถอนคำร้องทุกข์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 ให้ลงโทษจำคุกกระทงละ 2 เดือน รวม 182 กระทง เป็นจำคุก 364 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 334 และมาตรา 335 (7) วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 ส่วนกำหนดโทษให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นการแก้ไขเฉพาะบทลงโทษเท่านั้น มิได้แก้ไขกำหนดโทษ ถือว่า เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 จำเลยฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์มีเพียงคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยได้นั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352 ประกอบมาตรา 83 แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ตาม มาตรา 335 (7) ประกอบมาตรา 83 แต่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม บัญญัติว่า ข้อแตกต่างระหว่างการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์กับยักยอก มิให้ถือว่าแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกัน ลักทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความได้
แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352 อันเป็นความผิด ยอมความได้ แต่เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ตาม มาตรา 335 (7) ซึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน หากตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลฎีกาเปลี่ยนแปลงแก้ไข ต้องถือว่าคดีนี้เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว การที่โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ย่อมไม่ตัดอำนาจของพนักงานอัยการที่จะฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 126 วรรคสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมไม่ระงับ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352 ประกอบมาตรา 83 แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ตาม มาตรา 335 (7) ประกอบมาตรา 83 แต่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม บัญญัติว่า ข้อแตกต่างระหว่างการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์กับยักยอก มิให้ถือว่าแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกัน ลักทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความได้
แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352 อันเป็นความผิด ยอมความได้ แต่เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ตาม มาตรา 335 (7) ซึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน หากตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลฎีกาเปลี่ยนแปลงแก้ไข ต้องถือว่าคดีนี้เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว การที่โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ย่อมไม่ตัดอำนาจของพนักงานอัยการที่จะฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 126 วรรคสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6794/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับ เพราะไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาในข้อเท็จจริงพร้อมคำฟ้องฎีกาภายในกำหนดเวลา
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยที่ 3 ไม่เกินห้าปี กรณีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง หากจำเลยที่ 3 ประสงค์จะใช้สิทธิฎีกาโดยยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงลายมือชื่อในคำพิพากษารับรองให้ฎีกาตามมาตรา 221 จำเลยที่ 3 ต้องยื่นคำร้องดังกล่าวพร้อมคำฟ้องฎีกาก่อนพ้นระยะเวลาฎีกา ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ไม่ได้ยื่นคำร้องมาพร้อมกับคำฟ้องฎีกาจนล่วงพ้นระยะเวลาฎีกา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 3 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3223/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอรับฟังว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด ฎีกาให้ยกฟ้อง
ความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองและฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 แต่เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมไม่พอรับฟังว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและไม่ปรากฏว่ายึดอาวุธปืนได้จากจำเลยเป็นของกลาง ศาลฎีกาจึงต้องพิพาทกลับให้ยกฟ้องในความผิดดังกล่าวด้วยเพราะเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวพันกัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15504/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการยิงต่อเนื่อง: ศาลฎีกายืนพยานหลักฐานน้ำหนักพอฟังว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยโดยมีเจตนาฆ่าใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย 3 นัด จำเลยลงมือกระทำความผิดไปตลอดแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผล เนื่องจากกระสุนปืนไม่ถูกอวัยวะสำคัญของร่างกายและแพทย์รักษาบาดแผลผู้เสียหายได้ทันท่วงทีผู้เสียหายจึงไม่ถึงแก่ความตายเพียงแต่ได้รับอันตรายแก่กาย อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปี ถึง 13 ปี 4 เดือน จำคุก 33 ปี 4 เดือน หรือจำคุกตลอดชีวิต จำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์มีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบประกอบคำให้การรับสารภาพเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามฟ้อง และศาลจะต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์จนกว่าจะพอใจว่า จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามฟ้องจริง จึงจะลงโทษได้ เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบและพิพากษาลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามฟ้องและจำเลยอุทธรณ์ทำนองว่าจำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย โดยอ้างว่าข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายตามฟ้องเท่ากับอ้างว่าโจทก์สืบไม่สมฟ้อง จึงมิใช่เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย หรือเป็นการยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นอุทธรณ์ ซึ่งจะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงชอบที่จะต้องวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้
จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยเพียงแต่ปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานพาอาวุธปืนให้ถูกต้อง เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ส่วนความผิดฐานอื่นพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยในแต่ละกระทงความผิดไม่เกินห้าปีจำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยเพียงแต่ปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานพาอาวุธปืนให้ถูกต้อง เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ส่วนความผิดฐานอื่นพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยในแต่ละกระทงความผิดไม่เกินห้าปีจำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7123/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากเด็กและกระทำชำเรา ศาลฎีกาแก้ไขโทษฐานร่วมกันกระทำความผิดและลดโทษจำเลย
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม ประกอบมาตรา 83 และฐานร่วมกันกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงและเด็กหญิงนั้นไม่ยินยอมตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ประกอบมาตรา 83 ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสามและมาตรา 277 วรรคสาม แต่มีความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีโดยปราศจากเหุตอันสมควรตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคแรก จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แก้วรรคของความผิดในบทมาตราเดียวกันซึ่งมีระวางโทษต่างกันไม่มากนัก และเป็นการแก้ไขปรับบทให้ถูกต้องตามฟ้องโจทก์ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จะแก้โทษด้วยก็เป็นการพิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยที่ 2 ให้เหมาะสมตามความผิดได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงและเด็กหญิงไม่ยินยอมตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ที่ใช้บังคับขณะจำเลยที่ 1 กระทำความผิด จะต้องมีผู้ร่วมกระทำชำเราเด็กหญิงอย่างน้อยสองคน โดยผลัดเปลี่ยนกันกระทำชำเราเด็กหญิงและโดยมีเจตนาร่วมกันในขณะกระทำความผิด ซึ่งข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 พาผู้เสียหายที่ 2 ไปบ้านที่เกิดเหตุและกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 2 พา ต. มาและจำเลยที่ 2 พาจำเลยที่ 1 ออกไปจากบ้านที่เกิดเหตุ หลังจากนั้น ต. กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 และในเวลาใกล้เคียงต่อเนื่องกันยังมี ร. กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 อีก พยานหลักฐานโจทก์ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ร่วมคบคิดหรือนัดแนะกับคนอื่นในการกระทำความผิดอย่างไร ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 แล้วออกไปจากที่เกิดเหตุ จึงเป็นการกระทำโดยลำพังเฉพาะตัว ไม่มีลักษณะเป็นการร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงและเด็กหญิงไม่ยินยอมตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ที่ใช้บังคับขณะจำเลยที่ 1 กระทำความผิด จะต้องมีผู้ร่วมกระทำชำเราเด็กหญิงอย่างน้อยสองคน โดยผลัดเปลี่ยนกันกระทำชำเราเด็กหญิงและโดยมีเจตนาร่วมกันในขณะกระทำความผิด ซึ่งข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 พาผู้เสียหายที่ 2 ไปบ้านที่เกิดเหตุและกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 2 พา ต. มาและจำเลยที่ 2 พาจำเลยที่ 1 ออกไปจากบ้านที่เกิดเหตุ หลังจากนั้น ต. กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 และในเวลาใกล้เคียงต่อเนื่องกันยังมี ร. กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 อีก พยานหลักฐานโจทก์ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ร่วมคบคิดหรือนัดแนะกับคนอื่นในการกระทำความผิดอย่างไร ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 แล้วออกไปจากที่เกิดเหตุ จึงเป็นการกระทำโดยลำพังเฉพาะตัว ไม่มีลักษณะเป็นการร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6755/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาขาดอายุความ: ศาลฎีกาต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเรื่องการรู้ความผิดและตัวผู้กระทำผิดก่อนพิจารณาอายุความ
การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายทั้งสิบสองรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อไร และร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงมีลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6749/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดโทษรวมคดีความผิดหลายกรรมตาม ป.อ. มาตรา 91: ศาลมีอำนาจจำกัดโทษรวมได้หรือไม่
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 กระทงละไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 มิได้ร่วมกันจำเลยที่ 2 วางแผนหรือรู้เห็นในการฉ้อโกงผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาหลอกลวงผู้เสียหาย การที่ผู้เสียหายขายผ้าทอมือให้จำเลยทั้งสองเกิดจากการเชื่อถือของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดทางแพ่ง ไม่ต้องรับโทษทางอาญาเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 5 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติว่า "เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังต่อไปนี้ (1) สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี" มีความหมายว่าความผิดหลายกรรมนั้นไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษให้คิดจากโทษที่รวมกันทุกกระทงความผิด แต่ถ้าโทษที่เพิ่มหรือลดยังเกินกว่าที่กำหนดไว้ใน ป.อ. มาตรา 91 (1) แล้ว จะลงโทษจำคุกได้ไม่เกินกว่า 10 ปี บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะลงโทษจำคุกต่ำกว่า 10 ปีได้
ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติว่า "เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังต่อไปนี้ (1) สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี" มีความหมายว่าความผิดหลายกรรมนั้นไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษให้คิดจากโทษที่รวมกันทุกกระทงความผิด แต่ถ้าโทษที่เพิ่มหรือลดยังเกินกว่าที่กำหนดไว้ใน ป.อ. มาตรา 91 (1) แล้ว จะลงโทษจำคุกได้ไม่เกินกว่า 10 ปี บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะลงโทษจำคุกต่ำกว่า 10 ปีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5455/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษทางอาญา: การเปลี่ยนแปลงบทลงโทษและจำนวนโทษที่ลงโทษ และผลต่อการฎีกา
กรณีที่จะถือว่าเป็นการแก้ไขมากตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง นั้นต้องเป็นการแก้ทั้งบทลงโทษและจำนวนโทษที่ลง ซึ่งการแก้บทลงโทษนั้นมีความหมายถึงการเปลี่ยนบทลงโทษจากบทหนึ่งไปเป็นอีกบทหนึ่ง หรือเป็นการแก้วรรคในบทเดิมซึ่งความผิดแต่ละวรรคมีโทษขั้นต่ำและขั้นสูงแตกต่างกันมาก และลักษณะความผิดในแต่ละวรรคนั้นแตกต่างกัน เช่น ความผิดในวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้และอีกวรรคหนึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เป็นต้น และ ป.อ. มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 335 ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 แก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (2) (7) วรรคสอง โดยไม่ได้ใช้อัตราโทษตามที่มาตรา 336 ทวิ กำหนดไว้นั้น ลักษณะความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 วรรคแรกและวรรคสองไม่แตกต่างกัน และมีระวางโทษขั้นต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปี เหมือนกัน ต่างกันเฉพาะระวางโทษขั้นสูงซึ่งมาตรา 335 วรรคแรกระวางโทษขั้นสูงจำคุก 5 ปี ส่วนวรรคสองระวางโทษขั้นสูงจำคุก 7 ปี จึงไม่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 แก้บทลงโทษเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 เพียงแต่แก้จำนวนโทษ มิได้แก้บทลงโทษจึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินห้าปีจำเลยทั้งสองจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง