พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,432 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมกระทงความผิดเบียดบังยักยอกทรัพย์และใช้เอกสารปลอม ศาลอุทธรณ์แก้ไขเล็กน้อยคงโทษเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147,157,265,268 ความผิดตามมาตรา 147 และมาตรา 157 ลงโทษบทหนักตามมาตรา 147 รวม 6 กระทงจำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 30 ปี และความผิดตามมาตรา 265 และมาตรา 268 ลงโทษตามมาตรา 268 จำคุกกระทงละ 1 ปีรวม 6 ปี รวมจำคุก 36 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม มาตรา 147,157,265,268 เป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายให้ลงโทษตามมาตรา 147 อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด รวม หลายบท 6 กระทงจำคุกกระทงละ 5 ปี รวมจำคุก 30 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้ฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6553/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: โต้เถียงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกฎหมายต่างประเทศและการรับฟังพยานหลักฐาน
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้จำคุกจำเลย4 เดือน ปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกให้รอไว้ 2 ปีคดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรกที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ร่วมเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของเมืองฮ่องกงหรือไม่ ทั้งโต้เถียงกฎหมายอื่น ๆ ของต่างประเทศนอกจากนั้นยังโต้เถียงว่าพยานบุคคลและพยานเอกสารของฝ่ายโจทก์รับฟังไม่ได้ พยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิด หรือยังมีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำผิดหรือไม่นั้น เป็นการโต้เถียงถึงปัญหาข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบเกี่ยวกับกฎหมายของต่างประเทศและโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงอันต้องห้ามตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4335/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์: การพิสูจน์สถานะภาคีของอังกฤษในกรรมสารกรุงเบอร์ลิน และการห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ฎีกาของจำเลยที่ว่า ประเทศอังกฤษได้นำเมืองฮ่องกงเข้าเป็นภาคีของกรรมสารกรุงเบอร์ลิน ค.ศ. 1908 หรือไม่อันจะเข้าเงื่อนไขที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 หรือไม่ นั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อที่จะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายคือพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 มาตรา 42 ฎีกาจำเลยที่โต้เถียงว่า เมืองฮ่องกงเป็นเพียงจังหวัดหนึ่งของประเทศจีน ไม่เป็นภาคีในกรรมสารกรุงเบอร์ลิน ค.ศ. 1908 นั้น เป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองฟังมาแล้ว จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4291-4292/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และลักทรัพย์ โดยมีพยานหลักฐานจากคำรับสารภาพและแผนประทุษกรรม
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นขณะเกิดเหตุ แต่โจทก์มีคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งสามประกอบกับคำเบิกความของพนักงานสอบสวนแสดงรายละเอียดการกระทำความผิดตั้งแต่ตอนจำเลยที่ 1 ทาบทามว่าจ้างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ฆ่าผู้ตายซึ่งเป็นภรรยาจำเลยที่ 1 ประชุมวางแผน ลงมือฆ่า ปลดเอาสร้อยข้อมือของผู้ตายกับแสร้งเอาสร้อยคอของจำเลยที่ 1 ไปซ่อน แล้วจำเลยที่ 1 ใช้เศษไม้ขูดคอตนเองให้เป็นรอยเพื่อแสร้งทำว่าถูกคนร้ายตี และจำเลยทั้งสามได้แสดงแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพ ทั้งจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ขอขมาศพผู้ตายกับบิดาผู้ตาย แสดงถึงความสำนึกผิด และจำเลยที่ 1 ได้พาพนักงานสอบสวนไปเอาสร้อยข้อมือผู้ตายกับสร้อยคอของตนตรงที่ซ่อนไว้ ส่วนจำเลยที่ 2 ได้พาพนักงานสอบสวนไปเอาเหล็กขูดชาพท์ซึ่งใช้แทงผู้ตายที่ทิ้งไว้ขณะวิ่งหนี กับได้พบมีดปลายแหลมที่จำเลยที่ 3 ใช้แทงผู้ตายแล้วทิ้งไว้ ตรงตามสถานที่ที่ระบุไว้ในคำให้การ และจำเลยที่ 2 ได้พาพนักงานสอบสวนไปพบ อ.ที่ต่างจังหวัดให้นำไปยึดเอาสร้อยคอที่ร้านขายทองคืนมาด้วย นอกจากนี้โจทก์ยังมีคำให้การชั้นสอบสวนของ น. ร. กับ อ.ยืนยันว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้ขอให้ น.นำสร้อยคอของกลางไปขายตรงตามคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ 3 พยานโจทก์จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 วานให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมกันพาอาวุธไปฆ่าผู้ตายและลักทรัพย์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4291-4292/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและลักทรัพย์ โดยมีพยานหลักฐานจากคำรับสารภาพและแผนประทุษกรรม
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นขณะเกิดเหตุแต่โจทก์มีคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งสามประกอบกับคำเบิกความของพนักงานสอบสวนแสดงรายละเอียดการกระทำความผิดตั้งแต่ตอนจำเลยที่1ทาบทามว่าจ้างจำเลยที่2และที่3ให้ฆ่าผู้ตายซึ่งเป็นภรรยาจำเลยที่1ประชุมวางแผนลงมือฆ่าปลดเอาสร้อยข้อมือของผู้ตายกับแสร้งเอาสร้อยคอของจำเลยที่1ไปซ่อนแล้วจำเลยที่1ใช้เศษไม้ขูดคอตนเองให้เป็นรอยเพื่อแสร้งทำว่าถูกคนร้ายตีและจำเลยทั้งสามได้แสดงแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพทั้งจำเลยที่1ที่2ได้ขอขมาศพผู้ตายกับบิดาผู้ตายแสดงถึงความสำนึกผิดและจำเลยที่1ได้พาพนักงานสอบสวนไปเอาสร้อยข้อมือผู้ตายกับสร้อยคอของตนตรงที่ซ่อนไว้ส่วนจำเลยที่2ได้พาพนักงานสอบสวนไปเอาเหล็กขูดชาพท์ซึ่งใช้แทงผู้ตายที่ทิ้งไว้ขณะวิ่งหนีกับได้พบมีดปลายแหลมที่จำเลยที่3ใช้แทงผู้ตายแล้วทิ้งไว้ตรงตามสถานที่ที่ระบุไว้ในคำให้การและจำเลยที่2ได้พาพนักงานสอบสวนไปพบ อ. ที่ต่างจังหวัดให้นำไปยึดเอาสร้อยคอที่ร้านขายทองคืนมาด้วยนอกจากนี้โจทก์ยังมีคำให้การชั้นสอบสวนของ น.ร.กับ อ. ยืนยันว่าจำเลยที่2ที่3เป็นผู้ขอให้ น. นำสร้อยคอของกลางไปขายตรงตามคำให้การของจำเลยที่2ที่3พยานโจทก์จึงฟังได้ว่าจำเลยที่1วานให้จำเลยที่2ที่3ร่วมกันพาอาวุธไปฆ่าผู้ตายและลักทรัพย์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาของมารดาจำเลยและจำเลยผู้มีภาวะวิกลจริต การพิจารณาโทษที่เหมาะสม และการรอการลงโทษ
ผู้ร้องแม้จะเป็นมารดาจำเลยและจำเลยจะเป็นผู้วิกลจริตไม่สามารถต่อสู้คดีจริงหรือไม่ก็ตาม เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดี และมิได้อยู่ในฐานะเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(1) หรือ (2)จึงไม่อาจยื่นฎีกาเข้ามาในคดีได้ ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา218 วรรคแรก แต่คดีที่คู่ความฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายนั้นหากศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษจำเลยหนักเกินไปก็ย่อมมีอำนาจลงโทษให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ จำเลยกระทำผิดขณะมีอายุ 18 ปีเศษไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ทั้งผู้เสียหายแถลงไม่ติดใจดำเนินคดีจำเลย สมควรรอการลงโทษจำคุกหรือให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2370/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่าง และประเด็นการกระทำผิดร่วมกันออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชี
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยลงโทษปรับสถานเดียว คดีของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า เงินที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 นำเช็คแลกเงินสดทั้งสองฉบับเป็นเงินที่โจทก์มีอำนาจใช้สอยได้ บิดาโจทก์มอบให้โจทก์ไว้โดยเสน่หาเป็นเงินสดส่วนตัวของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คแล้วจำเลยฎีกาว่าการรับแลกเช็คคดีนี้เป็นการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2โดยเอาเช็คจำเลยที่ 1 เป็นประกันโดยมิชอบ โจทก์รับแลกเช็คแทนบิดามารดาโจทก์ และจำเลยที่ 2 ร่วมกับนายทองเจือ ปลอมเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามตามกฎหมาย เช็คพิพาทเป็นเช็คของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการในขณะนั้นลงชื่อโดยถูกต้องแต่ลายมือชื่อที่ลงร่วมด้วยไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 นำเช็คพิพาทมาแลกเงินสดจากโจทก์ การสั่งจ่ายเช็คของห้างจำเลยที่ 1นี้เป็นเรื่องระหว่างธนาคารตามเช็คกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1เป็นนิติบุคคล การกระทำของจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้กระทำแทน เมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโดยเหตุผลว่าไม่มีเงินในบัญชีพึงให้ใช้เงินตามเช็คกรณีก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันกระทำผิดตามฟ้องส่วนลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 เป็นลายมือชื่อปลอม ไม่เหมือนกับตัวอย่างที่ให้ไว้แก่ธนาคารนั้น ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าผู้ใดปลอมขึ้น แต่ก็ย่อมเห็นเจตนาได้ว่าเป็นการปลอมขึ้นเพื่อให้เหมือนตัวอย่าง ลายมือชื่อที่จำเลยที่ 3 ให้ไว้แก่ธนาคารและตามข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับธนาคารซึ่งโจทก์เป็นบุคคลภายนอกไม่ได้ร่วมรู้เห็นด้วย ดังนี้ แม้ลายมือชื่อจำเลยที่ 3 จะเป็นลายมือชื่อปลอมก็มีผลเพียงทำให้คดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ร่วมกระทำผิดไม่มีผลให้การกระทำในส่วนของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่เป็นความผิดตามฟ้องแล้วเปลี่ยนแปลงไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาโต้แย้งดุลพินิจศาลในการรับฟังพยานหลักฐาน และการลงโทษตามข้อเท็จจริงที่ต่างจากที่โจทก์ฟ้อง
จำเลยฎีกาว่าศาลรับฟังแต่แผนที่เกิดเหตุกับคำเบิกความของพนักงานสอบสวนแล้ววินิจฉัยว่าจำเลยกระทำโดยประมาทโดยไม่รับฟังพยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์อื่นเป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคแรก โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 จะขับรถเลี้ยวขวาเข้าซอยโดยไม่ใช้ความระมัดระวังตัดหน้ารถที่จำเลยที่ 2 ขับสวนมาใน ระยะใกล้จนเป็นเหตุชนกัน แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เลี้ยวรถก่อนถึงทางแยกเข้าซอยเพื่อจะขับเลาะ ไหล่ถนนแล้วเกิดเหตุชนกัน ดังนี้เมื่อการชนกันเกิดขึ้นเนื่องจากจำเลยที่ 1 ขับรถเลี้ยวขวาโดยไม่ระมัดระวังต่อรถในทางตรง ศาลย่อมลงโทษจำเลยฐานขับรถโดยประมาทตามข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์โทษและการโต้เถียงดุลพินิจศาล: ฎีกาต้องห้ามเมื่อศาลอุทธรณ์แก้เฉพาะโทษ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะโทษที่ลงแก่จำเลย มิได้แก้บทกฎหมายที่จำเลยกระทำความผิด เป็นการแก้ไขเล็กน้อย โจทก์ฎีกาว่าควรลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการลงโทษจำเลยจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5960/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน-พ.ร.ก.กู้ยืมเงิน: การกระทำต่อเนื่องเป็นกรรมเดียว, ปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกา
จำเลยทั้งสองกับพวกจัดตั้งบริษัทขึ้นและหลอกลวงประชาชนโดยกระทำต่อเนื่องกันด้วยจุดประสงค์เดียวกัน แม้ผู้เสียหายแต่ละคนมอบเงินให้จำเลยทั้งสองกับพวกคนละคราวกัน ก็ย่อมเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 กระทงหนึ่ง และเมื่อพ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527ออกใช้บังคับแล้ว จำเลยทั้งสองยังคงกระทำผิดต่อไปอีก การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดตามมาตรา 4,5,12 แห่ง พ.ร.ก.ดังกล่าว อีกกระทงหนึ่ง ศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนตามกันมาให้จำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละไม่เกิน 5 ปี จำเลยที่ 2 ย่อมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ตามป.วิ.อ.มาตรา 218 การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะทำผิดกฎหมาย อีกทั้งการโฆษณาของจำเลยมิใช่เป็นการหลอกลวงประชาชนแต่ประการใด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.