พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,432 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5100/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราต่อเนื่อง – ความผิดกรรมเดียว – การลดโทษ – ฎีกาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยข้อหาทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 จำคุก 20 วันเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลล่างให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218บัญญัติห้ามมิให้คู่ความฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
จำเลยข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมสองครั้งในเวลาใกล้เคียงกันและสถานที่เกิดเหตุครั้งแรกกับครั้งหลังห่างกัน เพียงประมาณ 300 เมตรเจตนาในการข่มขืนกระทำชำเราทั้งสองครั้งยังต่อเนื่องกันอยู่หาได้ขาดตอนไม่ จึงเป็นความผิดกรรมเดียว แม้จำเลยไม่ฎีกาในปัญหาข้อนี้แต่การปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมสองครั้งในเวลาใกล้เคียงกันและสถานที่เกิดเหตุครั้งแรกกับครั้งหลังห่างกัน เพียงประมาณ 300 เมตรเจตนาในการข่มขืนกระทำชำเราทั้งสองครั้งยังต่อเนื่องกันอยู่หาได้ขาดตอนไม่ จึงเป็นความผิดกรรมเดียว แม้จำเลยไม่ฎีกาในปัญหาข้อนี้แต่การปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5100/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราต่อเนื่อง – การปรับบทลงโทษ – ข้อจำกัดการฎีกาข้อเท็จจริง – ทำร้ายร่างกาย
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยข้อหาทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 จำคุก 20 วันเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลล่างให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218บัญญัติห้ามมิให้คู่ความฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมสองครั้งในเวลาใกล้เคียงกันและสถานที่เกิดเหตุครั้งแรกกับครั้งหลังห่างกันเพียงประมาณ 300 เมตรเจตนาในการข่มขืนกระทำชำเราทั้งสองครั้งยังต่อเนื่องกันอยู่หาได้ขาดตอนไม่ จึงเป็นความผิดกรรมเดียว แม้จำเลยไม่ฎีกาในปัญหาข้อนี้แต่การปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: ต่อสู้ขัดขวางและพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน, การปรับบทและลงโทษ
จำเลยขับรถยนต์เฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ล้มลงแล้วขับรถยนต์หลบหนี เจ้าพนักงานตำรวจจึงขับรถยนต์ติดตามเพื่อจับกุม แต่จำเลยขัดขวางการจับกุมโดยขับรถยนต์ปาด ไปทางซ้ายและทางขวาจนถึงบริเวณที่เจ้าพนักงานตำรวจยืนอยู่ที่จุดสกัดจับ จำเลยก็ขับรถพุ่งเข้าใส่เจ้าพนักงานตำรวจที่ยืนอยู่นั้น การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ไม่ใช่สองกรรมสองกระทง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำเลยฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน จำคุกไม่เกิน 5 ปี แต่ความผิดฐานดังกล่าวเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่และไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น ความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานจึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไปด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3894/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากผู้เยาว์, พยายามข่มขืน, และความน่าเชื่อถือพยานหลักฐานในคดีอาญา
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 และ 318ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา ให้ลงโทษตามมาตรา 318 ซึ่งเป็นบทหนักจำคุก 4 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าเป็นความผิด 2 กระทง และแก้บทกฎหมายทั้ง 2 มาตรา ดังกล่าว โดยระบุวรรคเสียให้ชัดเจน แต่คงให้ลงโทษจำคุกจำเลยรวมแล้วมีกำหนด 4 ปี ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเล็กน้อย โดยยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก จำเลยมีมีดปลายแหลมเป็นอาวุธบุกรุกขึ้นไปบนเรือนของโจทก์ร่วม ผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 17 ปี เป็นหลานของโจทก์ร่วมและอาศัยหลับนอนอยู่ที่บ้านของโจทก์ร่วม ได้กระโดดลงเรือนเพื่อหลบหนี การที่ผู้เสียหายกระโดดลงเรือหนีไปเกิดเพราะจำเลยเป็นต้นเหตุให้หนี ไม่ได้เกิดจากความสมัครใจของผู้เสียหายเองและยังหลบหนีไปไม่ไกล จึงถือว่าขณะนั้นผู้เสียหายไม่ได้อยู่ในความปกครองของโจทก์ร่วมไม่ได้ และการที่ต่อจากนั้นจำเลยเข้าไปจับผมผู้เสียหายดึงไปทั้งขู่ไม่ให้ร้อง และพาผู้เสียหายไปที่ทุ่งนาห่างบ้านเกิดเหตุประมาณ 1 เส้น เพื่อกระทำอนาจารและพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดา หรือผู้ดูแลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 318 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจารและข่มขืนกระทำชำเรา ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 เป็นการกระทำกรรมเดียวกับความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตามมาตรา 318 วรรคสาม ให้ลงโทษตามมาตรา 318 วรรคสามอันเป็นบทหนัก ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงกำหนดโทษไม่ได้ เพียงแต่ปรับบทลงโทษและระบุวรรคให้ถูกต้อง อันเป็นการแก้ไขเล็กน้อย แม้ศาลล่างทั้งสองจะมิได้กำหนดโทษในความผิดตามมาตรา 310 วรรคแรกไว้ แต่ความผิดฐานนี้มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ศาลจะกำหนดโทษเกิน 3 ปี ย่อมไม่ได้ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่ามิได้กระทำความผิดตามฟ้องอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของจำเลยที่ 1 เฉพาะในความผิดข้อหานี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท ป.อ.มาตรา 286 และ พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี การลงโทษและขอบเขตการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยเรียงกระทงความผิด ตาม ป.อ.มาตรา 286 ที่แก้ไขแล้ว ให้จำคุก 7 ปี และตาม พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503 มาตรา 9 ให้ปรับ 1,000 บาท รวมเป็นโทษจำคุก 7 ปี และปรับ 1,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว แต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 286ที่แก้ไขแล้ว ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนัก จำคุก 7 ปี เมื่อลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้ว คงจำคุก 4 ปี 8 เดือนจึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และยังคงลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 การที่จำเลยเป็นเจ้าของสถานการค้าประเวณีและดำรงชีพอยู่จากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีในสถานการค้าประเวณีของจำเลยเองนั้น เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหาเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3104/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร: ศาลปรับบทลงโทษจากความผิดฐานพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์เต็มใจไป
คดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยบังคับขู่เข็ญพาผู้เสียหายไปและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ที่ผู้เสียหายอ้างว่าจำเลยหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้จึงไม่มีเหตุผล ปัญหานี้แม้จะไม่มีประเด็นขึ้นสู่ศาลฎีกาโดยตรง เพราะข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำคุก1 ปี อันต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218ก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังเสียแล้วจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย การที่จำเลยพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารจะโดยลักษณะที่ผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยหรือไม่ก็ตาม ป.อ. บัญญัติเป็นความผิดทั้งสิ้น หากแต่กำหนดโทษหนักเบาต่างกันเท่านั้น กล่าวคือเมื่อผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยก็เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 318วรรคท้าย ทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 319 ศาลย่อมปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 319 ซึ่งมีโทษเบากว่าได้มิใช่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงในทางพิจารณาต่างกับฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2551/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฎีกาในคดีอาญา: ดุลพินิจโทษและแก้ไขโทษโดยศาลอุทธรณ์
ฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยและให้รอการลงโทษไว้ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 80 และมาตรา 69ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี และศาลอุทธรณ์ลงโทษไม่เกินกำหนดนี้ โจทก์ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ที่แก้ไขแล้วส่วนความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 69 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 2 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ลงโทษจำคุก 1 ปี 4 เดือน และให้รอการลงโทษไว้ แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี แต่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก กล่าวคือนอกจากแก้โทษจำคุกให้เบาลงแล้วยังให้รอการลงโทษไว้ด้วย จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2550/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษทางอาญาโดยศาลอุทธรณ์และการจำกัดสิทธิในการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยฐานความผิดต่อ พ.ร.บ. ป่าไม้2 กระทง กระทงละ 3 ปี รวมจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โดยระบุวรรคของบทกฎหมายที่ยกขึ้นปรับ ลงโทษจำเลยให้ชัดเจนและแก้โทษเป็นจำคุกกระทงละ 2 ปี รวมจำคุก 4 ปี ดังนี้เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเล็กน้อย โดยยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกอบรมในศาลคดีเด็กและเยาวชน: ข้อจำกัดในการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 4 ปี แต่ เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางมีกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำ 2 ปีและขั้นสูง 3 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมดังกล่าว มิใช่เป็นการลงโทษจำคุก จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาใน ปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก ประกอบกับ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลคดีเด็กฯมาตรา 29.