พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,432 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4825/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยความผิดเดิมที่ศาลชั้นต้นยกฟ้อง และฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย
ความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ไม่อุทธรณ์ ความผิดฐานดังกล่าว จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่มีอำนาจยกความผิดฐานดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยอีก การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกความผิดฐานดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยแล้วพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานดังกล่าวด้วยแม้จะไม่ได้กำหนดโทษ ก็เป็นการไม่ชอบ ส่วนความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย จำคุก 4 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้เป็นคนร้ายคดีนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพาอาวุธปืน เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8348/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: คดีเยาวชน ลดโทษ/เปลี่ยนโทษเป็นฝึกอบรม ไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์ยืน จึงห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 83 ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 17 ปีเศษ ลดมาตราส่วนโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 กึ่งหนึ่ง จำคุก 8 ปี อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดสงขลา มีกำหนดจนกว่าจำเลยจะมีอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์ จึงเป็นกรณีศาลชั้นต้นใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลย ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืน คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 124 และมาตรา 6 ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมิได้ร่วมไล่แทงผู้ตายก็ดี คำเบิกความของพยานโจทก์ไม่น่าเชื่อถือก็ดี กรณีมีเหตุลงโทษสถานเบา ลดโทษ รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษก็ดี เป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการลงโทษซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4531/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำคุกซ้ำ โดยคำนึงถึง พ.ร.บ. ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และโทษจำคุกเดิมที่ไม่เข้าข่าย
จำเลยเคยต้องโทษจำคุกในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองก่อนที่ พ.ร.บ. ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 มีผลใช้บังคับ จึงไม่มีผลย้อนหลัง ทั้งความผิดที่จำเลยเคยต้องโทษจำคุกเป็นความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพียงอย่างเดียว โดยจำเลยไม่ได้ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพด้วย จึงไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กรณีจึงไม่อาจรอการลงโทษให้แก่จำเลยได้ตาม ป.อ. มาตรา 56
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจสอบสวนคดีพรากผู้เยาว์ต่อเนื่อง - สถานที่แจ้งความและจับกุม - อำนาจพนักงานสอบสวน
ผู้เสียหายอยู่กับ พ. ที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต ผู้เสียหายถูกพรากหายตัวไป และ พ. ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต ต่อมาจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้ที่อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเขาพนม จำเลยพาผู้เสียหายไปพักในหลายท้องที่ต่างกัน จึงเป็นกรณีไม่แน่ว่าการกระทำความผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดระหว่างหลายท้องที่ เป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไปและเป็นความผิดเกิดขึ้นขณะผู้เสียหายกำลังเดินทาง พนักงานสอบสวนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (1) (3) (6) และ วรรคสอง พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคตจึงมีอำนาจสอบสวน
พ. ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางเขน แต่พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความร้องทุกข์เนื่องจาก พ. และผู้เสียหายพักอยู่ที่บ้านในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต จึงเท่ากับไม่มีการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางเขน พ. จึงไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต ว่าผู้เสียหายซึ่งเป็นหลานสาวถูกจำเลยพรากตัวไป ต่อมาจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้ที่อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคตจึงเป็นพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อน จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 19 วรรคสาม (ข) มีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง ส่งไปพร้อมสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 140, 141
ฎีกาของจำเลยที่ว่า ตามข้อเท็จจริงก่อนที่จำเลยจะพาผู้เสียหายไปที่อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ และพักอยู่ที่นั่นหลายวันจนถูกจับกุมตัว จำเลยพาผู้เสียหายไปที่บ้านพี่สาวของจำเลยที่บางแคก่อนและพักอยู่ 1 คืน จากนั้นจำเลยพาผู้เสียหายนั่งรถโดยสารเดินทางหลายร้อยกิโลเมตร และพักอยู่ที่จังหวัดกระบี่ ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายร้องขอความช่วยเหลือจากบุคคลใดทั้งที่มีโอกาสทำได้ และร่วมประเวณีกันหลายครั้ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารย์โดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคแรก ไม่ใช่วรรคสามเป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงนำไปสู่ข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
พ. ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางเขน แต่พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความร้องทุกข์เนื่องจาก พ. และผู้เสียหายพักอยู่ที่บ้านในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต จึงเท่ากับไม่มีการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางเขน พ. จึงไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต ว่าผู้เสียหายซึ่งเป็นหลานสาวถูกจำเลยพรากตัวไป ต่อมาจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้ที่อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคตจึงเป็นพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อน จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 19 วรรคสาม (ข) มีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง ส่งไปพร้อมสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 140, 141
ฎีกาของจำเลยที่ว่า ตามข้อเท็จจริงก่อนที่จำเลยจะพาผู้เสียหายไปที่อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ และพักอยู่ที่นั่นหลายวันจนถูกจับกุมตัว จำเลยพาผู้เสียหายไปที่บ้านพี่สาวของจำเลยที่บางแคก่อนและพักอยู่ 1 คืน จากนั้นจำเลยพาผู้เสียหายนั่งรถโดยสารเดินทางหลายร้อยกิโลเมตร และพักอยู่ที่จังหวัดกระบี่ ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายร้องขอความช่วยเหลือจากบุคคลใดทั้งที่มีโอกาสทำได้ และร่วมประเวณีกันหลายครั้ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารย์โดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคแรก ไม่ใช่วรรคสามเป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงนำไปสู่ข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยร่วมทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหายรับอันตรายสาหัส ศาลพิพากษาลงโทษเฉพาะผู้ลงมือโดยตรง
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 ชกต่อยกับโจทก์ร่วม ส่วนจำเลยที่ 2 ใช้ไม้ตีโจทก์ร่วมโดยไม่มีหลักฐานใดที่บ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีส่วนร่วมรู้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีและพกอาวุธปืนมาด้วย หรือได้มีการคบคิดกันมาก่อนว่าจะใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วม แม้จำเลยทั้งสามจะเกิดความไม่พอใจโจทก์ร่วมจากสาเหตุอย่างเดียวกันและนั่งรถมาด้วยกันก่อนเกิดเหตุ ทั้งยังขึ้นรถยนต์หลบหนีไปด้วยกันหลังเกิดเหตุ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้พูดจาหรือกระทำการใดๆ อันอาจถือได้ว่าเป็นตัวการหรือผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการพยายามฆ่าโจทก์ร่วม และการที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 ตามลำพัง อันเป็นการตัดสินใจของจำเลยที่ 1 โดยฉับพลันในขณะนั้นเอง ดังนั้น เมื่อโจทก์ร่วมรับอันตรายสาหัสจากการถูกจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิง มิใช่ผลโดยตรงอันเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกันทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายเท่านั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 คงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบมาตรา 83 เพราะความผิดฐานพยายามฆ่ารวมการกระทำดังกล่าวซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
จำเลยที่ 3 ไม่ได้รับอนุญาตให้ฎีกาในความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ ซึ่งมีผลเท่ากับจำเลยที่ 3 มิได้ฎีกาในความผิดฐานนี้ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับอนุญาตให้ฎีกาในฐานความผิดฐานนี้แล้ว จึงเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ศาลชั้นต้นมิได้อนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมในความผิดต่อ พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ เพราะโจทก์ร่วมมิใช่เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานนี้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดฐานดังกล่าว
ความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามคนละ 12 ปี และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้ให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามคนละ 9 ปี ย่อมห้ามมิให้โจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ฎีกาของโจทก์ร่วมเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
จำเลยที่ 3 ไม่ได้รับอนุญาตให้ฎีกาในความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ ซึ่งมีผลเท่ากับจำเลยที่ 3 มิได้ฎีกาในความผิดฐานนี้ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับอนุญาตให้ฎีกาในฐานความผิดฐานนี้แล้ว จึงเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ศาลชั้นต้นมิได้อนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมในความผิดต่อ พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ เพราะโจทก์ร่วมมิใช่เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานนี้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดฐานดังกล่าว
ความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามคนละ 12 ปี และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้ให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามคนละ 9 ปี ย่อมห้ามมิให้โจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ฎีกาของโจทก์ร่วมเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง คดีเช็ค
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นผู้ซื้อบุหรี่จากโจทก์ร่วมและออกเช็คพิพาทชำระหนี้ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ร่วมเป็นตัวแทนของโรงงานยาสูบย่อมฟังไม่ขึ้น ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ร่วมเป็นตัวแทนของโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง จึงไม่ใช่ผู้เสียหายนั้น เป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงว่าโจทก์ร่วมเป็นตัวแทน เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงมิใช่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7838/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง: โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีต่อกระทง
คดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ต้องแยกพิจารณาโทษแต่ละกระทงเป็นเกณฑ์ คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 5 ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำคุก 5 ปี รวมจำคุก 10 ปี แม้จะนำโทษจำคุก 6 เดือนที่รอการลงโทษไว้ในคดีอื่นมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ เป็นจำคุก 10 ปี 6 เดือน ก็เป็นกรณีที่คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปี แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยแก้ไขให้ใช้บังคับตามบทกำหนดโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่และแก้โทษจำคุกจากกระทงละ 5 ปี เป็นกระทงละ 4 ปี การแก้ไขบทลงโทษเป็นการปรับบทลงโทษบทเดิมที่แก้ไขใหม่ จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า พยานโจทก์มีพิรุธไม่เพียงพอฟังเพื่อลงโทษจำเลยนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3877/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและตรวจค้นเคหสถานโดยไม่ปรากฏหมายค้น และการรับฟังคำสารภาพโดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 8 ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 5 ปี รวมจำคุก 13 ปี จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน เป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 8 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้ให้ลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 8 ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 4 ปี รวมจำคุก 12 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามแล้ว คงจำคุก 8 ปี แม้ความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้ไขทั้งบทลงโทษและโทษจำคุกที่ลงแก่จำเลย แต่เป็นการแก้ไขบทลงโทษบทเดิมตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาในข้อ 2.2 กับข้อ 2.8 ว่า หากจ่าสิบตำรวจ ส. เห็นเหตุการณ์ขณะที่สายลับล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจำนวน 20 เม็ด จากจำเลยจริง เหตุใดจึงไม่แสดงตัวและเข้าจับกุมเอง เป็นการผิดวิสัยของเจ้าหน้าที่ทั่วไป จึงไม่ควรแก่การเชื่อถือ และข้อ 2.5 ว่า พยานโจทก์เบิกความธนบัตรจริงจำนวน 2,000 บาท ที่ใช้ล่อซื้อได้คืนให้แก่เจ้าของไปแล้วจะเป็นจริงตามคำเบิกความนี้หรือไม่ ไม่มีผู้ใดทราบ การรับฟังพยานบุคคลควรรับฟังด้วยความระมัดระวัง แต่กฎหมายระบุให้ศาลรับฟังเฉพาะต้นฉบับเท่านั้น จึงยังมีเหตุที่น่าระแวงสงสัยนั้น เป็นฎีกาที่โต้เถียงดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 20 เม็ด ให้แก่สายลับโดยจำเลยไปนำมาจากในบ้าน ซึ่งร้อยตำรวจเอก ช. กับพวกซุ่มดูพฤติการณ์ดังกล่าวอยู่ จึงมีเหตุอันควรสงสัยว่ามียาเสพติดซุกซ่อนอยู่ในบ้านอันเป็นเคหสถาน เมื่อร้อยตำรวจเอก ช. ได้แสดงตัวโดยแสดงบัตรเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดฯ แก่จำเลยแล้ว ร้อยตำรวจเอก ช. จึงมีอำนาจเข้าไปในบ้านจำเลยเพื่อตรวจค้น รวมทั้งมีอำนาจจับกุมจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดฯ มาตรา 14 โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับของศาล
เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมและสอบสวนต่างก็ปฏิบัติไปตามหน้าที่ของตน ไม่มีเหตุผลใดที่กลั่นแกล้งจำเลยอันเป็นการเสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ดังนี้ เชื่อว่าจำเลยรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนไปโดยไม่ได้ถูกขู่ดังจำเลยฎีกา ข้ออ้างของจำเลยเป็นคำกล่าวอ้างลอย ๆ ทั้งเป็นการง่ายที่จะกล่าวอ้าง จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง การจับกุมและสอบสวนจำเลยชอบแล้ว
เมทแอมเฟตามีนจำนวน 400 เม็ด บรรจุถุงพลาสติกพันด้วยเทปถูกซุกซ่อนในเพดานห้องนอนจำเลย อันเป็นที่มิดชิดยากแก่การค้นพบ ยากแก่การที่บุคคลอื่นจะนำมาซุกซ่อนไว้โดยจำเลยไม่รู้เห็น หากบุตรจำเลยไม่ชี้บอก ร้อยตำรวจเอก ช. อาจตรวจหาไม่พบเพราะเพดานห้องนอนจำเลยสูง การเก็บและตรวจพบทำได้ยาก เมื่อฟังประกอบกับพฤติการณ์ที่จำเลยรับสารภาพในชั้นจับกุมเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนจำนวน 20 เม็ด ในทันทีแล้ว กรณีจึงฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่า จำเลยเป็นเจ้าของเมทแอมเฟตามีนจำนวน 400 เม็ดจริง
ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 20 เม็ด ให้แก่สายลับโดยจำเลยไปนำมาจากในบ้าน ซึ่งร้อยตำรวจเอก ช. กับพวกซุ่มดูพฤติการณ์ดังกล่าวอยู่ จึงมีเหตุอันควรสงสัยว่ามียาเสพติดซุกซ่อนอยู่ในบ้านอันเป็นเคหสถาน เมื่อร้อยตำรวจเอก ช. ได้แสดงตัวโดยแสดงบัตรเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดฯ แก่จำเลยแล้ว ร้อยตำรวจเอก ช. จึงมีอำนาจเข้าไปในบ้านจำเลยเพื่อตรวจค้น รวมทั้งมีอำนาจจับกุมจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดฯ มาตรา 14 โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับของศาล
เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมและสอบสวนต่างก็ปฏิบัติไปตามหน้าที่ของตน ไม่มีเหตุผลใดที่กลั่นแกล้งจำเลยอันเป็นการเสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ดังนี้ เชื่อว่าจำเลยรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนไปโดยไม่ได้ถูกขู่ดังจำเลยฎีกา ข้ออ้างของจำเลยเป็นคำกล่าวอ้างลอย ๆ ทั้งเป็นการง่ายที่จะกล่าวอ้าง จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง การจับกุมและสอบสวนจำเลยชอบแล้ว
เมทแอมเฟตามีนจำนวน 400 เม็ด บรรจุถุงพลาสติกพันด้วยเทปถูกซุกซ่อนในเพดานห้องนอนจำเลย อันเป็นที่มิดชิดยากแก่การค้นพบ ยากแก่การที่บุคคลอื่นจะนำมาซุกซ่อนไว้โดยจำเลยไม่รู้เห็น หากบุตรจำเลยไม่ชี้บอก ร้อยตำรวจเอก ช. อาจตรวจหาไม่พบเพราะเพดานห้องนอนจำเลยสูง การเก็บและตรวจพบทำได้ยาก เมื่อฟังประกอบกับพฤติการณ์ที่จำเลยรับสารภาพในชั้นจับกุมเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนจำนวน 20 เม็ด ในทันทีแล้ว กรณีจึงฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่า จำเลยเป็นเจ้าของเมทแอมเฟตามีนจำนวน 400 เม็ดจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3751/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษโดยศาลอุทธรณ์และข้อจำกัดในการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ปรับบทกฎหมายที่ใช้ในภายหลังในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยและแก้โทษจำคุกให้น้อยลงสำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจาก 6 ปี เป็น 5 ปี และความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจาก 5 ปี เป็น 4 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 แก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำเลยแต่ละกระทงจำคุกไม่เกิน 5 ปี คดีจึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาโต้แย้งว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดหรือหากศาลเห็นว่าจำเลยจะทำความผิดก็ขอให้ลงโทษสถานเบาเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3448/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขความผิดและโทษในศาลอุทธรณ์: ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคสอง จำคุก 3 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 279 วรรคหนึ่ง จำคุก 8 เดือน เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แก้วรรคของความผิดในบทมาตราเดียวกันไม่ถือเป็นการแก้บทความผิด แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะแก้ไขโทษด้วยก็เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และคงให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคหนึ่งและมาตรา 317 วรรคสาม เป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 317 วรรคสาม ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 284 ให้ยกฟ้องในความผิดฐานนี้ และพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 317 วรรคหนึ่ง จำคุก 2 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แก้วรรคของความผิดในบทหนักอันเป็นบทที่ศาลชั้นต้นลงโทษ แม้จะยกฟ้องความผิดในบทที่เบากว่า ก็ต้องถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและคงให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เช่นเดียวกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคหนึ่งและมาตรา 317 วรรคสาม เป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 317 วรรคสาม ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 284 ให้ยกฟ้องในความผิดฐานนี้ และพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 317 วรรคหนึ่ง จำคุก 2 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แก้วรรคของความผิดในบทหนักอันเป็นบทที่ศาลชั้นต้นลงโทษ แม้จะยกฟ้องความผิดในบทที่เบากว่า ก็ต้องถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและคงให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เช่นเดียวกัน