คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 218

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,432 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3584/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม เนื่องจากศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาเพียงเล็กน้อย และการฎีกาเป็นการโต้เถียงดุลพินิจโทษ
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 จำคุก 3 ปี ส่วนความผิดฐานขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 43 (4) , 157 ซึ่งเป็นกรรมเดียวกันกับความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญานั้น ศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยไว้ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยเพียงแต่ปรับบทความผิดฐานขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกซึ่งเป็นความผิดที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง กับแก้โทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ให้เบาลงจากจำคุก 3 ปี เหลือเพียงจำคุก 1 ปี จึงนับเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเล็กน้อยเท่านั้น คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 5 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยมานั้น จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เนื่องจากเป็นการโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
การวินิจฉัยฎีกาของจำเลยว่า การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 237 และมาตรา 241 หรือไม่ ศาลฎีกาจำต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุม จำเลยไม่ได้รับโอกาสแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งจำเลยไว้วางใจทราบในโอกาสแรกหรือไม่ และขณะที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยไม่ได้รับสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งจำเลยไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนด้วยหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้างเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 3 ปี 4 เดือนและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2568/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญา: ปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนหรือแก้ไขเล็กน้อย
คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภรรยาของตนโดยเด็กหญิงไม่ยินยอมจำคุก 6 ปี ฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายจำคุก 6 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกกระทงละ 4 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวแล้วแต่ละกระทงลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ทราบอายุของผู้เสียหายซึ่งเป็นสาระสำคัญขององค์ประกอบความผิดถือว่าเป็นความสำคัญผิดในข้อเท็จจริงนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งคัดค้านการรับฟังพยานหลักฐานซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง และที่จำเลยฎีกาอีกว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายกับขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษจำคุกนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการกำหนดโทษ ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง – การโต้แย้งดุลพินิจพยานหลักฐาน และข้อเท็จจริงที่ศาลล่างวินิจฉัยแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก, 317 วรรคสาม เรียงกระทงลงโทษ และลดโทษตามมาตรา 78 แล้ว คงจำคุกรวม 10 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เฉพาะโทษและลดโทษตามมาตรา 78 คงจำคุกรวม 6 ปี โดยแต่ละกระทงจำคุกไม่เกินห้าปี ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยฎีกาว่า จำเลยสำคัญผิดว่าเด็กหญิง ส. ผู้เสียหาย มีอายุ 17 ปี และสำคัญผิดว่าผู้เสียหายเป็นภริยาของตนก่อนเกิดเหตุแล้วการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดนั้น เป็นฎีกาที่ประสงค์จะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี หรือไม่ และการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อภริยาของตนเอง เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยเป็นยุติแล้ว เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวทำให้จำเลยไม่มีความผิด และการกระทำของจำเลยจะครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 277 วรรคแรก หรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และที่ฎีกามาด้วยว่าพยานโจทก์มีพิรุธไม่อาจฟังลงโทษจำเลย และการที่ผู้เสียหายโทรศัพท์กับมีจดหมายแจ้งให้ผู้ปกครองทราบโดยผู้ปกครองมิได้ทักท้วงห้ามปรามเท่ากับเป็นการยินยอมโดยปริยายให้จำเลยและผู้เสียหายแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยากัน ก็เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง อันต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม - แก้ไขโทษเล็กน้อย - ปัญหาข้อเท็จจริง - การกระทำชำเราเด็ก
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน15 ปี มีกำหนดกระทงละ 2 ปี จำนวน 2 กระทง ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดาเพื่อการอนาจารมีกำหนด 2 ปี 6 เดือน และฐานพาเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปีไปเพื่อการอนาจารมีกำหนด 2 เดือน รวม 4 กระทง จำคุก 6 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ฐานพาเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเพื่อการอนาจารกับกระทำอนาจารและกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดกฎหมายหลายบทให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก ฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 โดยไม่ลงโทษฐานพาเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปีไปเพื่อการอนาจารแก่จำเลยอีก เป็นเพียงแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของจำเลยที่ว่า บิดาของผู้เสียหายโทรศัพท์เข้าเครื่องโทรศัพท์ติดตามตัวจำเลยฝากข้อความให้ผู้เสียหายรีบติดต่อกลับไปหาบิดาด่วน จำเลยได้แจ้งข้อความให้ผู้เสียหายทราบแล้ว และผู้เสียหายได้โทรศัพท์ติดต่อไปยังบิดาของผู้เสียหาย ซึ่งจำเลยสามารถกีดกันไม่ให้ผู้เสียหายติดต่อกลับไปยังบิดาของผู้เสียหายก็ย่อมทำได้ และขณะที่ผู้เสียหายรอบิดาของผู้เสียหายมารับก็รออยู่กับจำเลย ย่อมแสดงให้เห็นว่าขณะนั้นจำเลยมีความประสงค์จะส่งตัวผู้เสียหายให้แก่บิดาของผู้เสียหายโดยไม่ประสงค์ให้ผู้เสียหายหลบหนีไปเสียจากบิดาเพื่อการอนาจาร จึงขอให้ศาลฎีกาได้โปรดพิจารณาและวินิจฉัยถึงคำร้องประกอบคำรับสารภาพของจำเลยด้วยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และที่ขอให้รอการลงโทษแก่จำเลยนั้น ก็เป็นฎีกาที่โต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาฐานลักทรัพย์/รับของโจร และการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ไม่รอการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้เกิดเหตุคนร้ายหลายคนร่วมกันลักทรัพย์ของผู้เสียหายต่อมาเจ้าพนักงานจับกุมจำเลยได้พร้อมทรัพย์ที่ถูกคนร้ายลักไปดังกล่าว ทั้งนี้จำเลยกับพวกร่วมกันเป็นคนร้ายลักทรัพย์หรือมิฉะนั้นจำเลยกับพวกร่วมกันรับของโจร คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวมิได้มีข้อความใดยืนยันหรือทำให้เข้าใจได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ทั้งมิได้มีความขัดแย้งกันแต่เป็นการบรรยายข้อเท็จจริงที่ปรากฏเพื่อให้ศาลวินิจฉัยเลือกลงโทษตามที่ศาลจะฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
การรอการลงโทษหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลและเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสองปี ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยที่ว่า ศาลอุทธรณ์นำพฤติการณ์ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงตามรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยของพนักงานคุมความประพฤติมาวินิจฉัยเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ไม่รอการลงโทษให้จำเลยจึงไม่ชอบนั้นเป็นการบิดเบือนปัญหาข้อเท็จจริงให้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4593/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงโทษจากจำคุกเป็นฝึกอบรมในสถานพินิจฯ และข้อจำกัดในการฎีกาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83,340 วรรคหนึ่ง จำคุกคนละ 3 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยทั้งสองไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางคนละ 1 ปี ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคแรก และมาตรา 391 การกระทำเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 309 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ส่วนจำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309วรรคแรก ให้ส่งตัวจำเลยทั้งสองไปรับการฝึกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนดคนละ 1 เดือน กรณีเป็นการแก้เฉพาะบทลงโทษและแก้ไขระยะเวลาการฝึกและอบรมซึ่งไม่ใช่โทษตามกฎหมาย จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและต้องถือว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินคนละห้าปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124
ฎีกาของโจทก์ที่ว่า พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองถือได้แล้วว่าจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันลักทรัพย์ผู้เสียหายทั้งสอง โดยใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์และยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ อันเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ และเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยเจตนาทุจริต เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวที่ฟังว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาทุจริตไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4593/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจากจำคุกเป็นฝึกอบรมในคดีเยาวชน และข้อจำกัดในการฎีกาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83,340 วรรคหนึ่ง จำคุกคนละ 3 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยทั้งสองไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจฯ คนละ 1 ปี ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคแรกและมาตรา 391 โดยเป็นความผิดกรรมเดียว ผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามมาตรา 309 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทหนักที่สุด ส่วนจำเลยที่ 2 มีความผิดตามมาตรา 309วรรคแรก ให้ส่งตัวจำเลยทั้งสองไปรับการฝึกและอบรมยังสถานพินิจฯ คนละ 1 เดือน กรณีจึงเป็นการแก้เฉพาะบทลงโทษและแก้ไขระยะเวลาการฝึกและอบรมซึ่งไม่ใช่โทษตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องถือว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินคนละห้าปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาฯ มาตรา 124

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์ vs. ยักยอก พนักงานธนาคารทุจริตเงินฝากลูกค้า
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารผู้เสียหาย ตำแหน่งพนักงานธนากรมีหน้าที่รับฝากและถอนเงินให้ลูกค้า แต่เงินที่ลูกค้านำฝากเข้าบัญชีของลูกค้าไว้กับผู้เสียหายเป็นของผู้เสียหายและอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหาย มิได้อยู่ในความครอบครองของจำเลย การที่จำเลยใช้ใบถอนเงินหรือแก้ไขบัญชีเงินฝากของลูกค้าผู้ฝากต่างกรรมต่างวาระในรูปแบบทางเอกสารเป็นกลวิธีในการถอนเงินของผู้เสียหายจนเป็นผลสำเร็จแล้วทุจริตนำเงินนั้นไป จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์มิใช่ยักยอก
จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษน้อยลงและรอการลงโทษ แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งไม่รับฎีกาข้อนี้ของจำเลยเนื่องจากเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาได้รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยข้ออื่นในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาด้วยว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษแก่จำเลยนั้นเหมาะสมหรือไม่เพียงใด และมีเหตุรอการลงโทษให้แก่จำเลยหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8524/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงโทษจากความผิดฐานกระทำชำเราเด็กโดยมีเหตุฉกรรจ์เป็นไม่ฉกรรจ์ และข้อจำกัดในการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสาม ลงโทษจำคุก 25 ปีศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสอง ลงโทษจำคุก 7 ปีจึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้จากความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีโดยประกอบด้วยเหตุฉกรรจ์คือขณะกระทำผิดจำเลยมีมีดเป็นอาวุธเป็นความผิดฐานเดิมโดยไม่ประกอบด้วยเหตุฉกรรจ์คือขณะกระทำผิดจำเลยไม่มีอาวุธทั้งความผิดทั้งสองวรรคต่างก็เป็นความผิดอันยอมความกันไม่ได้จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี คดีต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคสอง
of 144