พบผลลัพธ์ทั้งหมด 103 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ของจำเลยเมื่ออ้างว่าไม้ประดู่แปรรูปได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่พยานหลักฐานไม่น่าเชื่อถือ
จำเลยฎีกาว่า ไม้ประดู่แปรรูปของกลางจำเลยซื้อมาจากร้อยตำรวจโท ร. เป็นไม้ประดู่แปรรูปมาจากต้นไม้ประดู่ที่ขึ้นอยู่ในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดินจึงไม่เป็นไม้หวงห้ามนั้น เห็นว่า ข้ออ้างตามที่จำเลยยกขึ้นฎีกามาดังกล่าวเป็นการยกข้อกล่าวอ้างที่อยู่ในความรู้เห็นของจำเลยโดยเฉพาะ จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1572/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อมูลเท็จเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ทางกฎหมาย และการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำทางน้ำสาธารณะ
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กพื้นที่ 65.60 ตารางเมตร ล่วงล้ำเข้าไปในคลองวัดโส เดิมจำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์จึงอ้างส่งแผนที่บริเวณที่เกิดเหตุพร้อมภาพถ่ายสิ่งปลูกสร้างพื้นคอนกรีต หลังคาโครงเหล็ก ลักษณะเป็นอาคาร มีผนังกั้นห้องทึบ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าสร้างต่อเติมจากอาคารเดิมในที่ดินของจำเลยเป็นพยานต่อศาล ต่อมาจำเลยขอถอนคำให้การเดิมและเปลี่ยนเป็นให้การรับสารภาพ จึงต้องถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงตามฟ้อง แต่เมื่อจำเลยไปแจ้งให้เจ้าท่าทราบถึงสิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำลำน้ำที่สร้างฝ่าฝืนมาตรา 117 แห่ง พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 32/2560 ข้อ 1 เพื่อจะได้รับการยกเว้นโทษทางอาญาและโทษปรับทางปกครอง จำเลยกลับไปแจ้งว่าเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำลำน้ำประเภทเขื่อนกันน้ำเซาะ จึงเป็นการแจ้งข้อมูลที่ไม่ตรงกับสภาพที่แท้จริงพฤติการณ์เป็นการปกปิดและบิดเบือนข้อเท็จจริง น่าเชื่อว่ากระทำโดยมีเจตนาแจ้งประเภทสิ่งปลูกสร้างเพื่อให้เข้าลักษณะของอาคารและการล่วงล้ำที่เจ้าท่าพึงอนุญาตได้ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 63 ข้อ 4 (5) จึงเป็นการไม่สุจริต มุ่งแต่ประโยชน์ส่วนตน กรณีไม่อาจถือว่าจำเลยได้แจ้งสิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำลำน้ำถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 32/2560 จำเลยจึงไม่ได้รับการยกเว้นโทษทางอาญาและต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ล่วงล้ำคลองวัดโสตามฟ้องออกไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4499/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนทรัพย์สินที่ถูกริบ ผู้ให้เช่าซื้อต้องไม่รู้เห็นเป็นใจกับการกระทำผิดของผู้เช่าซื้อ
ตามที่ ป.อ. มาตรา 36 บัญญัติหลักเกณฑ์ให้ศาลสั่งให้คืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งริบให้แก่ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงที่มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยนั้น หมายถึง นอกจากจะให้พิจารณาสั่งคืนทรัพย์สินให้แก่ผู้เป็นเจ้าของแท้จริงแล้ว ต้องพิจารณาว่าผู้ร้องผู้เป็นเจ้าของแท้จริงนั้นจะต้องมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลยประกอบด้วย คดีนี้แม้ศาลชั้นต้นฟังว่า พยานหลักฐานที่ผู้ร้องไต่สวนมายังไม่พอฟังว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถบรรทุกพ่วงและตัวรถพ่วงของกลาง แล้วพิพากษายกคำร้อง โดยที่ยังไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยหรือไม่ ก็ด้วยเหตุว่าเมื่อผู้ร้องไม่ใช่เจ้าของแท้จริงแล้ว ก็ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 36 ที่จะให้ศาลสั่งให้คืนทรัพย์สินที่สั่งริบได้ ศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป และแม้ผู้ร้องจะอุทธรณ์เพียงประเด็นเดียวว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถบรรทุกพ่วงและตัวรถพ่วงของกลางก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 เห็นว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถบรรทุกพ่วงและตัวรถพ่วงของกลาง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ย่อมต้องวินิจฉัยในประเด็นต่อไปว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยหรือไม่ แล้วพิพากษาให้ยกคำร้องหรือสั่งคืนของกลางให้เจ้าของตามสิทธิที่เป็นเจ้าของได้ ซึ่งปัญหาที่ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยหรือไม่นั้น แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นอ้างสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 โดยตรงก็ตาม แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4135/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยอุทธรณ์ฐานโกงเจ้าหนี้: ข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริง ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ย้อนสำนวน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 350 ประกอบมาตรา 83 ศาลชั้นต้นยกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโดยวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองฐานผิดสัญญาจะซื้อจะขายนั้นมีคำพิพากษายกฟ้อง มิได้พิพากษาให้จำเลยทั้งสองต้องโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินให้โจทก์ ขณะจำเลยทั้งสองโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินตามฟ้องให้แก่บุคคลภายนอก จำเลยทั้งสองจึงมิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีจึงไม่มีมูล ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้กันนับแต่ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง และเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2550 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์จึงมีหนี้อันสมบูรณ์ที่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้อยู่แล้วในขณะที่จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิด การกระทำของจำเลยทั้งสองครบองค์ประกอบความผิดฐานร่วมกันโกงเจ้าหนี้นั้น เป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยปรับข้อเท็จจริงที่รับฟังได้แล้วว่าครบองค์ประกอบความผิดฐานร่วมกันโกงเจ้าหนี้ตามฟ้องหรือไม่ โดยโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงใหม่ให้ผิดไปจากที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาแต่อย่างใด อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย มิใช่อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ว่าเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริงแล้วพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์นั้น เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3376/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย: การยกข้อเท็จจริงใหม่ขัดกับคำรับสารภาพ และการลงโทษที่ไม่สมเหตุผล
โจทก์บรรยายในคำฟ้องอย่างแจ้งชัดว่า จำเลยทำไม้ปอเลียง ในบริเวณป่าบางไต เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงต้องรับฟังตามคำฟ้องว่าจำเลยทำไม้ในป่าอันเป็นการทำไม้หวงห้ามและมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป ที่จำเลยอ้างว่าเป็นการทำไม้ในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองไม่เป็นไม้หวงห้ามในชั้นฎีกา จึงขัดกับคำรับสารภาพของจำเลยและเป็นการยกข้อเท็จจริงเพิ่มเติมขึ้นใหม่โดยข้อเท็จจริงดังกล่าวมิได้กล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง, 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3334/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กในความดูแลของครู และการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
การที่จำเลยผลักตัวโจทก์ร่วมนอนลงแล้วดึงกางเกงของโจทก์ร่วมออกก็เพื่อจะกระทำชำเราโจทก์ร่วมเท่านั้น จะถือว่าจำเลยกระทำอนาจารโจทก์ร่วมด้วยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2948/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทน: เริ่มนับจากวันกระทำละเมิดครั้งสุดท้าย เมื่อมูลละเมิดเป็นหนี้อันมิอาจแบ่งแยก
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำความผิด แต่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน รวม 57 กรรม และผู้ร้องมิได้กล่าวมาในคำร้องหรือนำสืบให้ชัดแจ้งว่าขอดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำความผิดวันใด ทั้งตามคำร้องมีคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดในหนี้จากมูลละเมิดเป็นจำนวนเดียวซึ่งเป็นหนี้อันแบ่งแยกมิได้ และที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยรับผิดก็เป็นหนี้จำนวนเดียว จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลย ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 ว่าขอดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดครั้งสุดท้าย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดครั้งแรกจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2893/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะเจ้าพนักงานของกรรมการมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ตาม พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2551 มาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติความเป็นนิติบุคคลของมหาวิทยาลัยไว้ว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ซึ่งไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การทำหน้าที่ของจำเลยทั้งสี่ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ จึงหาใช่การปฏิบัติหน้าที่ซึ่งได้รับแต่งตั้งในหน่วยงานของรัฐที่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดินอันจะทำให้จำเลยทั้งสี่เป็นผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ราชการตามความหมายของ "เจ้าพนักงาน" ตามประมวลกฎหมายอาญา จึงไม่เป็นความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1854/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาแก้ฟ้องฐานฝ่าฝืนไม่พิมพ์ลายนิ้วมือ เนื่องจากประกาศ คปท.ขัดรัฐธรรมนูญ
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนที่ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 พิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อตรวจสอบประวัติการต้องโทษทางอาญา อันเป็นการกระทำความผิดตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 25 เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับการยุติธรรมทางอาญา แต่ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่า ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 25 เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับการยุติธรรมทางอาญา ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นบทบัญญัติที่เพิ่มภาระและจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล โดยเฉพาะสิทธิและเสรีภาพในชีวิตร่างกายเกินสมควรแก่เหตุ ไม่ได้สัดส่วน หรือไม่มีความสมดุลระหว่างประโยชน์สาธารณะหรือประโยชน์ส่วนรวมที่จะได้รับเมื่อเปรียบเทียบกับสิทธิเสรีภาพที่ประชาชนจะต้องสูญเสียไป กระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และหลักนิติธรรม จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 26 วรรคหนึ่ง และมาตรา 28 วรรคหนึ่ง จึงเป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามมาตรา 5 แห่งรัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่กฎหมายในภายหลังมิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1686/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานเกี่ยวกับที่มาของไม้ผิดกฎหมาย แม้ยังไม่ถูกแจ้งข้อหา
จำเลยที่ 2 แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่ 1 ถูกจับกุมพร้อมไม้ประดู่ 12 ท่อน ของกลาง โดยแจ้งว่าไม้ของกลางเป็นไม้ที่ซื้อมาจาก ม. ขณะนั้นเจ้าพนักงานยังไม่ได้จับกุมหรือแจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลยที่ 2 แต่อย่างใด เพียงแต่สอบปากคำในฐานะพยานเท่านั้น การจับกุมผู้ต้องหาในวันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มีเพียงการจับกุมจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ด้วย เพิ่งมีการแจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลยที่ 2 ในภายหลัง เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2560 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ป่าไม้ว่าไม้ของกลางเป็นไม้ที่ตนเองซื้อมาจาก ม. เป็นไม้เสาบ้านเก่าของ ม. ซึ่งไม่เป็นความจริง การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน