พบผลลัพธ์ทั้งหมด 267 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเพิกถอนการบังคับคดีได้หากศาลชั้นต้นผิดพลาด
สิทธิในการบังคับคดีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าศาลชั้นต้นบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยไม่ถูกต้องศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนการบังคับคดีของศาลชั้นต้นเสียได้ สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมระบุว่า หากจำเลยไม่ยอมรื้อถอนเสาคอนกรีตและรั้วกำแพงเหล็กทึบที่สร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์ ทั้งไม่ยอมรื้อถอนสายไฟฟ้าแรงสูงที่ติดตั้งอยู่บนรั้วดังกล่าวให้เสร็จสิ้นเรียบร้อยภายในกำหนดเวลาสองเดือน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์หรือบุคคลที่โจทก์จ้างมีสิทธิเข้าไปรื้อถอนสิ่งก่อสร้างเหล่านั้นได้โดยจำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย และจำเลยยินยอมให้โจทก์บังคับคดีตามคำขอท้ายฟ้องได้ดังนั้น ถ้าจำเลยผิดนัดไม่ยอมรื้อถอนสิ่งก่อสร้างที่จะต้องรื้อถอนให้เสร็จภายในกำหนดสองเดือนนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกจากโจทก์จะมีสิทธิรื้อถอนสิ่งก่อสร้างนั้นเองหรือจ้างให้บุคคลอื่นเข้าไปรื้อถอนโดยค่าใช้จ่ายของจำเลยแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิบังคับคดีตามคำขอท้ายฟ้องโดยโจทก์ไม่จำต้องเข้าไปรื้อถอนหรือจ้างให้บุคคลอื่นเข้าไปรื้อถอนสิ่งก่อสร้างเหล่านั้นก่อนจึงจะขอบังคับคดีได้ เพราะข้อความเกี่ยวกับเรื่องรื้อถอนสิ่งก่อสร้างกับข้อความเกี่ยวกับการที่โจทก์จะขอบังคับคดีตามคำขอท้ายฟ้องเป็นข้อความคนละตอน สามารถแยกใจความคนละส่วนต่างหากจากกันได้ โจทก์ร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีอ้างว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมซึ่งหมายถึงว่า จำเลยไม่ดำเนินการรื้อถอนเสาคอนกรีต รั้วกำแพงทึบที่สร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์ รวมทั้งไม่ได้รื้อถอนสายไฟฟ้าแรงสูงที่ติดตั้งอยู่บนรั้วดังกล่าวด้วย ศาลอุทธรณ์ย่อมชอบที่จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า สิ่งก่อสร้างทั้งหมดจำเลยยังไม่ได้รื้อถอนออกไปจากที่ดินของโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและชอบที่จะยกเอาเหตุผลดังกล่าวประกอบการวินิจฉัยการวินิจฉัยได้ว่าใครเป็นฝ่ายผิดสัญญาอันเป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ หาเป็นการวินิจฉัยคดีนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 26/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีที่ผิดพลาดกระทบสิทธิบุคคลภายนอก ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดไม่ได้รับความคุ้มครอง
ที่ดินที่โจทก์นำยึดเป็นของผู้ร้องไม่ใช่ของจำเลยลูกหนี้ตามคำพิพากษา การบังคับคดีจึงฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง เมื่อการบังคับคดียังไม่เสร็จสิ้นลงเพราะโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายังไม่ได้รับเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไป ผู้ร้องในฐานะผู้มีส่วนได้เสียซึ่งต้องเสียหายในการบังคับคดีย่อมมีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการบังคับคดีนั้นได้ แต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วันนับแต่ทราบการฝ่าฝืนนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง เมื่อศาลสั่งเพิกถอนการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ย่อมส่งผลให้การขายทอดตลาดสิ้นไป ฉะนั้น แม้ผู้ซื้อทรัพย์จะได้ซื้อที่ดินโดยสุจริตในการขายทอดตลาดก็ตาม ผู้ซื้อทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5495/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดต้องพิสูจน์การฝ่าฝืนของเจ้าพนักงานบังคับคดี การมีผู้สู้ราค้ารายเดียวไม่ถือเป็นเหตุเพิกถอน
การที่ศาลจะสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองนั้น ต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตามคำร้องของจำเลยทั้งสามอ้างว่า การขายทอดตลาดมีโจทก์เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียว ส่วนบุคคลอื่นเป็นบุคคลที่โจทก์จัดหามาเข้าสู้ราคาพอเป็นพิธีนั้นถึงหากจะฟังว่าเป็นความจริง ก็มิใช่เป็นการกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดี และแม้จะมีผู้เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียว ก็ไม่ทำให้การขายทอดตลาดนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าต้องมีผู้เข้าสู้ราคาเกินกว่าหนึ่งรายจึงจะทำการขายทอดตลาดทรัพย์ได้ ข้ออ้างตามคำร้องของจำเลยทั้งสาม จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5489/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดต้องแสดงเหตุเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติผิดกฎหมาย การอ้างราคาต่ำเกินไปไม่เพียงพอ
ข้อคัดค้านที่อ้างแต่เพียงว่า การขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยได้ราคาต่ำไปไม่คุ้มหนี้ โดยมิได้ระบุว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดอย่างไรและเพราะเหตุใดราคาขายทอดตลาดจึงเป็นราคาที่ต่ำไป ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ข้อคัดค้านดังกล่าวยังไม่เป็นเหตุที่จะให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4998/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งขายทอดตลาดต้องทำตามลำดับชั้นศาล การฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นจึงไม่รับ
ผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีต่อศาลชั้นต้นผู้ร้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยื่นคำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 236
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4913/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของเจ้าหน้าที่เมื่อมีพระราชบัญญัติเวนคืนใช้บังคับ มิใช่แค่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขต
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530หมวด 1 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้บัญญัติถึงขั้นตอนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้ ตั้งแต่มาตรา 5 ถึงมาตรา 17 มีใจความโดยย่อดังนี้ คือ มาตรา 5 เมื่อรัฐต้องการจะได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ถ้ามิได้ตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่นให้ดำเนินการเวนคืนตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเวนคืน จะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนไว้ก่อนก็ได้ มาตรา 6 บัญญัติว่าข้อความใดบ้างจะต้องระบุในพระราชกฤษฎีกา มาตรา 7 กำหนดให้ปิดประกาศสำเนาพระราชกฤษฎีกาในที่ต่าง ๆ มาตรา 9 เมื่อใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาแล้วให้เจ้าหน้าที่สำรวจเพื่อทราบ "ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน" แล้วตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ และหากจะมีการซื้อขายก็ให้ปฏิบัติตามมาตรา 10ถึงมาตรา 14 ขั้นตอนต่อไปบัญญัติในมาตรา 15 ว่า เมื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอนแล้วให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวโดยให้ระบุที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นที่ต้องเวนคืนพร้อมทั้งรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายและมีแผนที่หรือแผนผังด้วย และในที่สุดบัญญัติถึงการโอนกรรมสิทธิ์ไว้ในมาตรา 16 ว่า "ให้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนตกเป็นของเจ้าหน้าที่นับแต่วันที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 15 ใช้บังคับ" ฉะนั้น จึงเห็นได้ว่าการได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนยังไม่มีผลทำให้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ท้ายพระราชกฤษฎีกานั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆตามมาตรา 15 แล้ว กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นจึงจะตกเป็นของเจ้าหน้าที่นับแต่วันที่พระราชบัญญัติเวนคืนดังกล่าวใช้บังคับแต่ในกรณีนี้เพียงแต่ปรากฏว่าที่พิพาทอยู่ในเขตพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ดอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางเขน เขตดุสิตเขตพญาไท เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตยานนาวา เขตห้วยขวางเขตบางกะปิ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2530 เท่านั้นยังไม่ปรากฏว่ามีการออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินพิพาทตามมาตรา 15แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530แต่อย่างใด ขณะขายทอดตลาดกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของจำเลยอยู่ ยังไม่ตกเป็นของเจ้าหน้าที่ การขายทอดตลาดไม่ถูกกระทบกระเทือนแต่อย่างใด ไม่อาจจะให้เพิกถอนการขายทอดตลาดตามคำร้องของผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4910/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการบังคับคดีหลังเสร็จสิ้นกระบวนการ และผลของการไม่ยื่นคำคัดค้านก่อนศาลมีคำสั่ง
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2531 ศาลชั้นต้นมีหนังสือให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2531และโจทก์ได้รับเงินค่าขายทรัพย์ดังกล่าวไปแล้วเมื่อวันที่ 11 มกราคม2532 การบังคับคดีสำหรับที่ดินของจำเลยที่ 1 ได้เสร็จสิ้นลงแล้วการที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำคัดค้านการบังคับคดีเมื่อวันที่ 29พฤศจิกายน 2532 จึงเป็นการคัดค้านภายหลังการบังคับคดีเสร็จสิ้นลงแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดได้ และกระบวนพิจารณาในชั้นนี้มีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา296 วรรคสอง บัญญัติไว้ชัดแจ้งแล้วจึงไม่ต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27มาวินิจฉัยประกอบด้วยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4737/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการขายทอดตลาดต้องยื่นต่อศาลก่อนการบังคับคดีเสร็จสิ้น หากเห็นว่าราคาต่ำกว่าตลาด
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด และศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขายแล้ว แม้เมื่อจำเลยเห็นว่าราคาที่ขายต่ำกว่าราคาในท้องตลาดมากและได้คัดค้านต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งเท่ากับเป็นการอ้างว่าการบังคับคดีกระทำโดยไม่ชอบเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแล้วก็ตาม จำเลยก็จะต้องยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดต่อศาลชั้นต้นก่อนการบังคับคดีได้เสร็จสิ้นลงแต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วันนับแต่ทราบการฝ่าฝืนนั้น จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาโดยไม่ยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นเสียก่อนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4584/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ล้มละลายคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สิน หากราคาต่ำกว่าราคาตลาด และการเพิกถอนการขายทอดตลาด
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมถือว่าการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 คือผู้ล้มละลายย่อมมีอำนาจร้องคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ หากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้รับความเสียหายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 กรณีนี้ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับการจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ที่ 2ตาม มาตรา 22 คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและทำการขายทอดตลาดใหม่ โดยอ้างเหตุว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ผิดพลาดทำให้ขายทอดตลาดได้ในราคาต่ำแม้จะมิได้บรรยายว่าตนได้รับความเสียหายอย่างไรมาในคำร้องก็ถือเป็นคำร้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146 แล้ว กรณีมิใช่เรื่องการดำเนินการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่การร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลายนี้ได้ แม้การขายทอดตลาดทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการตามขั้นตอนโดยชอบแล้ว แต่เมื่อพิจารณาถึงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ขายทอดตลาดราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตกลงขายให้ผู้ซื้อทรัพย์แม้จะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีในขณะยึด แต่ก็ต่ำกว่าราคาที่สำนักงานวางทรัพย์กรมบังคับคดีประเมินไว้ ย่อมแสดงว่าราคาขายทอดตลาดดังกล่าวต่ำกว่าราคาขายในท้องตลาดมาก เมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งนี้ เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรกและจำเลยที่ 1ที่ 2 ได้คัดค้านว่าราคาต่ำไป กรณีจึงไม่ควรด่วนขาย สมควรเลื่อนการขายทอดตลาดไปก่อน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนจะได้มีโอกาสเข้าสู้ราคาได้อีก หากได้ราคาสูงกว่าเดิมก็จะเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และเจ้าหนี้ทั้งปวงที่จะได้รับชำระหนี้โดยทั่วกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4584/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย หากราคาต่ำกว่าท้องตลาด จำเลยมีสิทธิคัดค้านได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมถือว่า การขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 คือผู้ล้มละลายย่อมมีอำนาจร้องคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ หากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้รับความเสียหายตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 กรณีนี้ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับการจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตาม มาตรา 22
คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและทำการขายทอดตลาดใหม่ โดยอ้างเหตุว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ผิดพลาดทำให้ขายทอดตลาดได้ในราคาต่ำแม้จะมิได้บรรยายว่าตนได้รับความเสียหายอย่างไรมาในคำร้องก็ถือเป็นคำร้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146แล้ว กรณีมิใช่เรื่องการดำเนินการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่การ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลายนี้ได้
แม้การขายทอดตลาดทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการตามขั้นตอนโดยชอบแล้ว แต่เมื่อพิจารณาถึงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ขายทอดตลาดราคาที่เจ้าพนักงานบังนับคับคดีตกลงขายให้ผู้ซื้อทรัพย์ แม้จะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีในขณะยึด แต่ก็ต่ำกว่าราคาที่สำนักงานวางทรัพย์กรมบังคับคดีประเมินไว้ ย่อมแสดงว่า ราคาขายทอดตลาดดังกล่าวตำกว่าราคาขายในท้องตลาดมาก เมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งนี้ เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรกและจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้คัดค้านว่าราคาต่ำไป กรณีจึงไม่ควรด่วนขาย สมควรเลื่อนการขายทอดตลาดไปก่อน เพื่อให้ผู้มีส่วได้เสียและประชาชนจะได้มีโอกาสเข้าสู้ราคาได้อีก หากได้ราคาสูงกว่าเดิมก็จะเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และเจ้าหนี้ทั้งปวงที่จะได้รับชำระหนี้โดยทั่วกัน
คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและทำการขายทอดตลาดใหม่ โดยอ้างเหตุว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ผิดพลาดทำให้ขายทอดตลาดได้ในราคาต่ำแม้จะมิได้บรรยายว่าตนได้รับความเสียหายอย่างไรมาในคำร้องก็ถือเป็นคำร้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146แล้ว กรณีมิใช่เรื่องการดำเนินการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่การ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลายนี้ได้
แม้การขายทอดตลาดทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการตามขั้นตอนโดยชอบแล้ว แต่เมื่อพิจารณาถึงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ขายทอดตลาดราคาที่เจ้าพนักงานบังนับคับคดีตกลงขายให้ผู้ซื้อทรัพย์ แม้จะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีในขณะยึด แต่ก็ต่ำกว่าราคาที่สำนักงานวางทรัพย์กรมบังคับคดีประเมินไว้ ย่อมแสดงว่า ราคาขายทอดตลาดดังกล่าวตำกว่าราคาขายในท้องตลาดมาก เมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งนี้ เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรกและจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้คัดค้านว่าราคาต่ำไป กรณีจึงไม่ควรด่วนขาย สมควรเลื่อนการขายทอดตลาดไปก่อน เพื่อให้ผู้มีส่วได้เสียและประชาชนจะได้มีโอกาสเข้าสู้ราคาได้อีก หากได้ราคาสูงกว่าเดิมก็จะเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และเจ้าหนี้ทั้งปวงที่จะได้รับชำระหนี้โดยทั่วกัน