คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 296 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 267 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 721/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดหุ้นเนื่องจากราคาขายต่ำกว่าราคาตลาดอย่างมาก ทำให้เจ้าหนี้เสียหาย
แม้ว่าการขายทอดตลาดหุ้นของบริษัท อ. มีผู้เข้าประมูลสู้ราคากันหลายรายรวมทั้งตัวแทนโจทก์ก็เข้าประมูล สู้ราคาด้วย ซึ่งแสดงว่าการดำเนินการขายทอดตลาดของ เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ส่อพฤติการณ์ ทุจริตก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าบริษัท อ. จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นจากหุ้นละ 100 บาท เป็นหุ้นละ 10 บาท หุ้นของจำเลย 1,000 หุ้น จึงแตกออกเป็น 10,000 หุ้น และมี ราคาที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันที่ ขายทอดตลาดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 985,000 บาท ซึ่งสูงกว่าราคา ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายให้แก่ผู้คัดค้านในราคา 152,000 บาทอย่างมาก เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดียอมรับว่าหากในขณะที่ประมูลซื้อขายกันตนทราบว่าหุ้นทั้งหมดมีราคาประมาณ 900,000 บาท ก็จะไม่อนุมัติให้ขาย กรณีจึงถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดี ขายหุ้นพิพาทไปโดยหลงผิด ทำให้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตาม คำพิพากษาเสียหาย ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ที่โจทก์จะร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาด: การยกเลิกเนื่องจากราคาต่ำกว่าประเมิน และอำนาจในการคัดค้านหลังคำพิพากษาถึงที่สุด
ขณะที่คดีขอให้ศาลมีคำสั่งให้ขายทอดตลาดใหม่อยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาได้พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ศาลอุทธรณ์จึงมีคำพิพากษาในเรื่องบังคับคดีโดยให้ยกเลิกการขายทอดตลาดโจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องการบังคับคดีหลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องโจทก์ไปแล้ว โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต่อไป ทั้งโจทก์มิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี จึงไม่มีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องการบังคับคดีต่อไป เหตุที่ศาลจะมีคำสั่งยกเลิกการขายทอดตลาดได้ต่อเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง หากการบังคับคดีเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้ต่อมาจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดกลับให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีก็ตาม ก็ไม่ทำให้การขายทอดตลาดที่ได้ดำเนินการโดยชอบแล้วเสียไป กรณีเจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีในกรณีที่มีคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับในชั้นที่สุดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295(3) นั้นหมายถึงให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีที่จะดำเนินการต่อไปมิได้หมายความว่าการบังคับคดีที่ผ่านไปแล้ว กลายเป็นการบังคับคดีที่มิชอบ เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์ต่ำกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดินกว่าสองเท่าตัว แม้จะมีการประกาศขายถึง 5 ครั้งแต่เป็นการเลื่อนการขายเพราะไม่มีผู้นำขายถึง 2 ครั้ง อีก 3 ครั้งเลื่อนเพราะมีผู้เสนอราคาต่ำ การขายในครั้งนี้แม้จะเป็นการขายครั้งที่ 4 ที่มีผู้เสนอราคา แต่ก็เห็นได้ว่าราคาที่ผู้ซื้อทรัพย์เสนอต่ำเกินไป หากเลื่อนการขายออกไปอีกอาจมีผู้เสนอราคาสูงกว่าก็ได้เจ้าพนักงานบังคับคดีก็น่าจะถอนทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดครั้งนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 แล้วประกาศขายทอดตลาดใหม่ การอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513ประกอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 308 เป็นการไม่ชอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีที่ราคาต่ำกว่าราคาประเมิน และอำนาจฎีกาของผู้ไม่มีส่วนได้เสีย
การที่โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องการบังคับคดีนี้หลังจากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องโจทก์ไปแล้ว โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทั้งไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องการบังคับคดี แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาของโจทก์ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุที่ศาลจะมีคำสั่งยกเลิกการขายทอดตลาดทรัพย์ได้ต่อเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง หากการบังคับคดีเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้ต่อมาจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดกลับให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีก็ตาม ก็ไม่ทำให้การขายทอดตลาดที่ได้ดำเนินการโดยชอบแล้วเสียไป สำหรับกรณีเจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีในกรณีที่มีคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับในชั้นที่สุด ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 295(3) นั้น หมายถึงให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีที่จะดำเนินการต่อไป มิได้หมายความว่าการบังคับคดีที่ผ่านไปแล้วกลายเป็นการบังคับคดีที่มิชอบแต่อย่างใดไม่ เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาที่ดินพิพาทไว้ 291,000 บาทตรงกับราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดิน และประเมินราคาสิ่งปลูกสร้าง17,000 บาท แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ไปเพียง 125,000 บาท ต่ำกว่าราคาประเมินกว่าสองเท่าตัว แม้จะมีการประกาศขายถึง 5 ครั้ง แต่เป็นการเลื่อนการขายเพราะไม่มีผู้นำขายถึง 2 ครั้ง อีก 3 ครั้งเลื่อนเพราะมีผู้เสนอราคาต่ำ เห็นได้ว่าราคาที่ผู้ซื้อทรัพย์เสนอไปนั้นเป็นราคาที่ต่ำเกินไป หากเลื่อนการขายออกไปอาจมีผู้เสนอราคาสูงกว่านั้นได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีน่าจะถอนทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 แล้วประกาศขายทอดตลาดใหม่การอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ ของการขายทอดตลาด เป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 308 เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดบังคับคดีชอบด้วยกฎหมาย แม้ราคาขายจะสูงกว่าราคาประเมิน และไม่มีหลักฐานการสมรู้กัน
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่ได้กระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษา โดยมีบุคคลภายนอกเข้าสู้ราคาเป็นการชอบด้วยกฎหมาย เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เห็นว่ามีผู้เข้าสู้ราคาสูงกว่าราคาที่ประเมินไว้ และไม่มีพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าการประมูลทรัพย์ที่ขายทอดตลาดรายนี้ เป็นการสมรู้กันกดราคาซื้อจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ขายให้แก่ผู้สู้ราคาสูงสุดนั้น ต้องถือว่าการขายทอดตลาดเป็นอันสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยจะมาขอให้ยกเลิกการขาย หรือมารื้อฟื้นให้ศาลสั่งขายทอดตลาดใหม่โดยอ้างว่าขายได้ราคาต่ำไปกว่าความเป็นจริงไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิคัดค้านการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: ผู้มีส่วนได้เสียต้องยื่นคำร้องภายใน 14 วัน
ปัญหาว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีและมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คดีไม่มีประเด็นพิพาทในปัญหาดังกล่าวในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควร ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกปัญหาข้อกฎหมายนั้นขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา142(5) ผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องเป็นผู้เข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดที่ดินของบริษัทค.ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้ล้มละลาย ผู้ร้องได้รับความเสียหายจากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งได้มอบให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวแทนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายและระเบียบของกรมบังคับคดีโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เข้าสู้ราคาในราคาต่ำกว่าที่ผู้ร้องเสนอ และเคาะไม้ตกลงขายโดยไม่นับ 1 ถึง 3 ก่อนดังนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มอบให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวแทนถือได้ว่าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 146แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 หากเป็นความจริงดังที่ผู้ร้องอ้าง ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 14 วัน นับแต่วันได้รับทราบการกระทำนั้น ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3543/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี การแจ้งวันขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งผู้มีส่วนได้เสียเพื่อให้ทราบและใช้สิทธิ
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดไปโดยมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบคำสั่งของศาลที่อนุญาตให้ขายทอดตลาดและวันขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 306 จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งภาค 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3519/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดต้องได้ราคาเหมาะสม หากราคาต่ำกว่าควรเลื่อนการขายเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ขาย
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตามคำสั่งศาลนั้นกฎหมายมีเจตนารมณ์ ว่าจะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดหรือศาลเห็นว่าราคาของผู้ประมูลสูงสุดในการประมูลครั้งนั้นต่ำไป เป็นราคาที่ไม่สมควรหรือควรจะได้ราคาที่สูงกว่านั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขาย แล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่ได้ แม้โจทก์จะเป็นผู้ประมูลได้โดยเสนอราคาสูงสุดซึ่งสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ตาม แต่ราคาดังกล่าวหาใช่เป็นการประเมินตามราคาท้องตลาดที่แท้จริงไม่ เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจคำนวณราคาท้องตลาดได้โดยอาศัยวงเงินที่โจทก์รับจำนองประกอบกับประเพณีของธนาคารที่จะ รับจำนองในวงเงินที่ต่ำกว่าราคาทรัพย์ที่แท้จริง ทั้งกรณีเป็นการประกาศขายทอดตลาดครั้งแรกหลังการจำนองเกินกว่า 5 ปี ราคาน่าจะต้องสูงขึ้นไปอีกมาก เจ้าพนักงานบังคับคดีพอจะเห็นได้ว่า ราคาซึ่งโจทก์เสนอสูงสุดนั้นยังไม่เพียงพอโดยต่ำกว่าวงเงินที่โจทก์รับจำนอง ฉะนั้น หากถอนทรัพย์จากการขายทอดตลาดในครั้งนี้แล้วประกาศขายทอดตลาดใหม่ อาจได้ราคาสูงกว่าที่โจทก์เสนอ ดังนี้ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตให้ขายทรัพย์แก่โจทก์จึงเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 513ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 308.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3519/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดต้องได้ราคาสูงสุด เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องพิจารณาราคาที่สมควร
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามคำสั่งของศาล กฎหมายมีเจตนารมณ์ว่า จะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ เพราะหากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดหรือศาลเห็นว่าราคาของผู้ประมูลสูงสุดในครั้งนั้นต่ำไป เป็นราคาที่ไม่สมควรหรือควรจะได้ราคาที่สูงกว่านั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขายแล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตให้ขายแก่ผู้ประมูลที่ให้ราคาสูงสุด ซึ่งต่ำกว่าวงเงินที่ธนาคารเคยรับจำนองเมื่อ 5 ปีก่อน แม้ราคาประมูลสูงสุดนั้นจะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่การประเมินดังกล่าวเป็นเพียงการประมาณราคาเพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมในกรณียึดแล้วไม่มีการขาย และเพื่อดูว่าทรัพย์สินที่ยึดเพียงพอที่จะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เป็นการประมาณราคาแบบคร่าว ๆ มิใช่ประเมินตามราคาท้องตลาดที่แท้จริง และการขายทอดตลาดนั้น ผู้ทอดตลาดอาจคำนวณราคาท้องตลาดโดยอาศัยวงเงินที่ธนาคารรับจำนอง ประกอบกับประเพณีของธนาคารที่จะรับจำนองในวงเงินต่ำกว่าราคาทรัพย์ที่แท้จริง อีกทั้งการขายทอดตลาดคดีนี้ก็กระทำภายหลังการจำนองเกินกว่า 5 ปี ทรัพย์ที่ขาย-ทอดตลาดเป็นอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินอยู่ในย่านทำเลการค้า ราคาน่าจะต้องสูงขึ้นไปอีกมาก และเป็นการขายทอดตลาดครั้งแรก ผู้ทอดตลาดพอจะเห็นได้ว่าราคาซึ่งผู้สู้สูงสุดนั้นยังไม่เพียงพอ หากมีการประกาศขายใหม่จะมีผู้สู้ราคาสูงกว่าในครั้งนี้ ดังนั้น การอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวจึงไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาด ฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 513 ประกอบป.วิ.พ. มาตรา 308 ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีในกรณีเช่นนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3519/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดต้องได้ราคาเหมาะสมตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องพิจารณาราคาที่สมเหตุสมผล
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามคำสั่งของศาล กฎหมายมีเจตนารมณ์ว่า จะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ เพราะหากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดหรือศาลเห็นว่าราคาของผู้ประมูลสูงสุดในครั้งนั้นต่ำไปเป็นราคาที่ไม่สมควรหรือควรจะได้ราคาที่สูงกว่านั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขายแล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตให้ขายแก่ผู้ประมูลที่ให้ราคาสูงสุด ซึ่งต่ำกว่าวงเงินที่ธนาคารเคยรับจำนองเมื่อ 5 ปีก่อนแม้ราคาประมูลสูงสุดนั้นจะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่การประเมินดังกล่าวเป็นเพียงการประมาณราคาเพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมในกรณียึดแล้วไม่มีการขาย และเพื่อดูว่าทรัพย์สินที่ยึดเพียงพอที่จะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่เป็นการประมาณราคาแบบคร่าว ๆ มิใช่ประเมินตามราคาท้องตลาดที่แท้จริง และการขายทอดตลาดนั้น ผู้ทอดตลาดอาจคำนวณราคาท้องตลาดโดยอาศัยวงเงินที่ธนาคารรับจำนอง ประกอบกับประเพณีของธนาคารที่จะรับจำนองในวงเงินต่ำกว่าราคาทรัพย์ที่แท้จริง อีกทั้งการขายทอดตลาดคดีนี้ก็กระทำภายหลังการจำนองเกินกว่า 5 ปีทรัพย์ที่ขายทอดตลาดเป็นอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินอยู่ในย่าน ทำเลการค้า ราคาน่าจะต้องสูงขึ้นไปอีกมาก และเป็นการขายทอดตลาดครั้งแรก ผู้ทอดตลาดพอจะเห็นได้ว่าราคาซึ่งผู้สู้สูงสุดนั้นยังไม่เพียงพอ หากมีการประกาศขายใหม่จะมีผู้สู้ราคาสูงกว่าในครั้งนี้ ดังนั้น การอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวจึงไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาด ฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 308 ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีในกรณีเช่นนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2566/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดที่ดินและการเพิกถอน หากราคาประเมินต่ำกว่าตลาดและชำระหนี้ได้ ศาลต้องไต่สวนข้อเท็จจริง
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 3 จำนวน2 แปลง จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องว่าที่ดินแปลงที่ 2 มีราคาเพียงพอชำระหนี้ ขอให้ระงับการขายที่ดินแปลงที่ 1 กับอ้างว่าการประเมินราคาและการขายทอดตลาดที่ดินทั้งสองแปลงต่ำกว่าราคาท้องตลาดทำให้จำเลยที่ 3 เสียหาย หากเป็นจริงก็ชอบที่จะขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนคำร้องของ จำเลยที่ 3 เสียก่อนที่จะพิจารณาสั่ง
of 27