คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 296 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 267 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดต้องคำนึงถึงราคาประเมินทางราชการและราคาตลาด หากต่ำกว่าเกณฑ์ จำเลยมีสิทธิขอเพิกถอนได้
ในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลนั้นต้องคำนึงถึงราคาประเมินของทางราชการราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมิน และราคาซื้อขายในท้องตลาดประกอบกัน ดังนั้น แม้จะปรากฏว่าราคาสูงสุดที่มีผู้ประเมินได้สูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ แต่ยังต่ำกว่าราคาประเมินของทางราชการอยู่มาก ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจำเลยจึงร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1705/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์สิ้นสุดเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาสิ้นสุดคดี
ศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาด โจทก์อุทธรณ์ และขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งห้ามทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่พิพาทในระหว่างอุทธรณ์ ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้คุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวของโจทก์ระหว่างอุทธรณ์จึงเป็นอันยกเลิกไปในตัวตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 260 (1) ฎีกาของผู้ซื้อทรัพย์ที่ขอให้ยกเลิกคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1705/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์ย่อมสิ้นสุดเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืน
ศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดโจทก์อุทธรณ์ และขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งห้ามทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่พิพาทในระหว่างอุทธรณ์ ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้คุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวของโจทก์ระหว่างอุทธรณ์จึงเป็นอันยกเลิกไปในตัวตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 260(1) ฎีกาของผู้ซื้อทรัพย์ที่ขอให้ยกเลิกคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5534/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดต้องแจ้งรายละเอียดครบถ้วนและราคาต้องสมเหตุสมผล เจ้าหนี้มีสิทธิคัดค้านหากราคาต่ำกว่าที่ควร
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 306 กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบ เพื่อโจทก์จะได้เตรียมตัวเข้าสู้ราคาหรือรักษาผลประโยชน์ส่วนได้เสียของโจทก์ในการบังคับคดี การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีให้ผู้แทนโจทก์เซ็นทราบวันนัดไว้ล่วงหน้า ผู้แทนโจทก์ย่อมทราบเฉพาะวันนัดขายทอดตลาดเท่านั้น แต่ไม่ทราบรายละเอียดการโฆษณาบอกขายที่ดินพิพาทตลอดถึงข้อสัญญาและเงื่อนไขต่าง ๆ ในการขายทอดตลาดซึ่งมีอยู่ในประกาศขายทอดตลาด และในการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทโดยปลอดจำนองนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีควรตั้งราคาขั้นต่ำเท่ากับจำนวนเงินที่จำเลยจำนองไว้พร้อมค่าอุปกรณ์ถ้าจะขายราคาต่ำกว่านั้น โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จำนองจะต้องไม่คัดค้าน การที่ศาลชั้นต้นสั่งขายและเจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายในราคาซึ่งต่ำกว่าราคาจำนองทั้งที่ผู้แทนโจทก์คัดค้าน แม้ว่าการขายครั้งนี้จะเป็นการขายครั้งที่ 6 และขายได้ราคาสูงกว่าที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ในขณะยึดทรัพย์ก็ตาม ก็หาเป็นราคาพอสมควรไม่ เพราะราคายังต่ำกว่าจำนวนเงินจำนองพร้อมค่าอุปกรณ์และต่ำกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดินมาก ส่อให้เห็นวี่แววอันไม่สุจริต เป็นการขายไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5534/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดต้องแจ้งรายละเอียดและราคาขั้นต่ำให้เจ้าหนี้จำนองทราบ เพื่อให้เจ้าหนี้มีสิทธิโต้แย้งและรักษาผลประโยชน์
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 306 กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบเพื่อโจทก์จะได้เตรียมตัวเข้าสู้ราคาหรือรักษาผลประโยชน์ส่วนได้เสียของโจทก์ในการบังคับคดี การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีให้ผู้แทนโจทก์เซ็นทราบวันนัดไว้ล่วงหน้า ผู้แทนโจทก์ย่อมทราบเฉพาะวันนัดขายทอดตลาดเท่านั้น แต่ไม่ทราบรายละเอียดการโฆษณาบอกขายที่ดินพิพาทตลอดถึงข้อสัญญาและเงื่อนไขต่าง ๆ ในการขายทอดตลาดซึ่งมีอยู่ในประกาศขายทอดตลาด และในการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทโดยปลอดจำนองนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีควรตั้งราคาขั้นต่ำเท่ากับจำนวนเงินที่จำเลยจำนองไว้พร้อมค่าอุปกรณ์ถ้าจะขายราคาต่ำกว่านั้น โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จำนองจะต้องไม่คัดค้าน การที่ศาลชั้นต้นสั่งขายและเจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายในราคาซึ่งต่ำกว่าราคาจำนองทั้งที่ผู้แทนโจทก์คัดค้าน แม้ว่าการขายครั้งนี้จะเป็นการขายครั้งที่ 6 และขายได้ราคาสูงกว่าที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ในขณะยึดทรัพย์ก็ตาม ก็หาเป็นราคาพอสมควรไม่ เพราะราคายังต่ำกว่าจำนวนเงินจำนองพร้อมค่าอุปกรณ์และต่ำกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดินมาก ส่อให้เห็นวี่แววอันไม่สุจริต เป็นการขายไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์-ขายทอดตลาด: การรู้เห็นราคา, อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดี, และราคาขายที่เหมาะสม
จำเลยที่ 3 ลงชื่อทราบหมายบังคับคดี กับลงชื่อในบันทึกการยึดทรัพย์ บัญชีทรัพย์ที่ยึด และสัญญารักษาทรัพย์ ซึ่งต่างลงวันที่วันเดียวกับวันที่ยึดทรัพย์ แสดงว่าจำเลยที่ 3 ได้รู้เห็นการยึดทรัพย์และการคำนวณราคาทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยตลอด เมื่อจำเลยที่ 3 อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ต่ำกว่าความเป็นจริง แม้จะมิใช่เรื่องการคำนวณราคาทรัพย์เพื่อเรียกค่าธรรมเนียมการยึดแล้วไม่ขายตามหมายเหตุท้ายตาราง 5จำเลยที่ 3 ก็ต้องเสนอเรื่องต่อศาลภายใน 8 วัน นับแต่วันที่ยึดทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296วรรคสอง
เมื่อจ่าศาลได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วย่อมมีอำนาจมอบหมายให้รองจ่าศาลไปปฏิบัติหน้าที่แทนได้
การขายทอดตลาดได้เลื่อนมาหลายครั้งแล้ว และราคาที่ขายได้ในครั้งหลังสุดก็สูงพอสมควร ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้หาผู้เข้าสู้ราคาให้ราคาสูงกว่านี้ได้ และการเลื่อนการขายทอดตลาดไปก็ไม่มีอะไรเป็นประกันว่าจะขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดได้ในราคาสูงกว่านี้อีก จึงไม่ควรให้เลื่อนการขายทอดตลาดต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ การประเมินราคา และการขายทอดตลาด: การปฏิบัติตามกฎหมายและอำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดี
จำเลยที่3ลงชื่อทราบหมายบังคับคดีกับลงชื่อในบันทึกการยึดทรัพย์บัญชีทรัพย์ที่ยึดและสัญญารักษาทรัพย์ซึ่งต่างลงวันที่วันเดียวกับวันที่ยึดทรัพย์แสดงว่าจำเลยที่3ได้รู้เห็นการยึดทรัพย์และการคำนวณราคาทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยตลอดเมื่อจำเลยที่3อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ต่ำกว่าความเป็นจริงแม้จะมิใช่เรื่องการคำนวณราคาทรัพย์เพื่อเรียกค่าธรรมเนียมการยึดแล้วไม่ขายตามหมายเหตุท้ายตาราง5จำเลยที่3ก็ต้องเสนอเรื่องต่อศาลภายใน8วันนับแต่วันที่ยึดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสอง เมื่อจ่าศาลได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วย่อมมีอำนาจมอบหมายให้รองจ่าศาลไปปฏิบัติหน้าที่แทนได้ การขายทอดตลาดได้เลื่อนมาหลายครั้งแล้วและราคาที่ขายได้ในครั้งหลังสุดก็สูงพอสมควรไม่ปรากฏว่าจำเลยที่3ได้หาผู้เข้าสู้ราคาให้ราคาสูงกว่านี้ได้และการเลื่อนการขายทอดตลาดไปก็ไม่มีอะไรเป็นประกันว่าจะขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดได้ในราคาสูงกว่านี้อีกจึงไม่ควรให้เลื่อนการขายทอดตลาดต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ การประเมินราคา การขายทอดตลาด และอำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดี
จำเลยที่ 3 ลงชื่อทราบหมายบังคับคดี กับลงชื่อในบันทึกการยึดทรัพย์ บัญชีทรัพย์ที่ยึด และสัญญารักษาทรัพย์ ซึ่งต่างลงวันที่วันเดียวกับวันที่ยึดทรัพย์ แสดงว่าจำเลยที่ 3 ได้รู้เห็นการยึดทรัพย์และการคำนวณราคาทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยตลอด เมื่อจำเลยที่ 3 อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ต่ำกว่าความเป็นจริง แม้จะมิใช่เรื่องการคำนวณราคาทรัพย์เพื่อเรียกค่าธรรมเนียมการยึดแล้วไม่ขายตามหมายเหตุท้ายตาราง 5จำเลยที่ 3 ก็ต้องเสนอเรื่องต่อศาลภายใน 8 วัน นับแต่วันที่ยึดทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296วรรคสอง เมื่อจ่าศาลได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วย่อมมีอำนาจมอบหมายให้รองจ่าศาลไปปฏิบัติหน้าที่แทนได้ การขายทอดตลาดได้เลื่อนมาหลายครั้งแล้ว และราคาที่ขายได้ในครั้งหลังสุดก็สูงพอสมควร ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้หาผู้เข้าสู้ราคาให้ราคาสูงกว่านี้ได้ และการเลื่อนการขายทอดตลาดไปก็ไม่มีอะไรเป็นประกันว่าจะขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดได้ในราคาสูงกว่านี้อีก จึงไม่ควรให้เลื่อนการขายทอดตลาดต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: การโต้แย้งการประเมินราคาและการมอบหมายให้รองจ่าศาลดำเนินการ
เมื่อจำเลยอ้างว่า การกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ในการดำเนินการบังคับคดี กรณีก็ตก อยู่ ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งจำเลยจะต้องเสนอเรื่องต่อศาลภายใน 8 วัน นับแต่วันทราบการฝ่าฝืนคือวันที่ยึดทรัพย์ เมื่อจ่าศาลได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีจากศาลแล้วย่อมมีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการตามกฎหมายและมีอำนาจที่จะมอบหมายให้รองจ่าศาลไปปฏิบัติหน้าที่แทนได้ในเมื่อตนเองไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้ การมอบหมายดังกล่าวเป็นเรื่องภายในและอยู่ในความรับผิดชอบของจ่าศาลโดยตรง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4507/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: คำสั่งศาลต้องเป็นที่สุดก่อนการขายทอดตลาด การกระทำโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติมีผลให้เพิกถอนการขายได้
คำสั่งของศาลที่จะเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 วรรคสอง จะต้องเป็นกรณีที่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรวมหรือแยกทรัพย์สินหรือขอให้ขายทรัพย์สินนั้นตามลำดับที่กำหนดไว้ หรือร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่สั่งให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินตามมาตรา 309(1)(2) หรือ (3) และเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยอมปฏิบัติตามคำร้องขอหรือคำคัดค้านเช่นว่านั้น ผู้ร้องได้ยื่นคำขอต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายใน 2 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิเสธ เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งชี้ขาดในเรื่องนั้น คำสั่งชี้ขาดของศาลจึงจะเป็นที่สุดแต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะต้องดำเนินการชั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อน ให้ยกคำร้อง จึงมิใช่คำสั่งชี้ขาดในเรื่องรวมหรือแยกทรัพย์สินขายทอดตลาด อันจะทำให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุดตามบทกฎหมายดังกล่าว
เมื่อคำสั่งของศาลชั้นต้น มิใช่คำสั่งชี้ขาดในเรื่องให้รวมหรือแยกทรัพย์สินขายทอดตลาด อันจะทำให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบที่จะเลื่อนการขายทอดตลาดไปจนกว่าศาลจะได้มีคำสั่งชี้ขาดในเรื่องนี้ตามมาตรา 309 วรรคสองและจำเลยที่ 1 ก็ได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์แล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมไม่มีอำนาจขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ไปในระหว่างที่ยังไม่มีคำสั่งของศาลในเรื่องให้รวมหรือแยกทรัพย์สินขายทอดตลาดซึ่งเป็นที่สุด การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ไปในขณะที่คดีเรื่องนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เช่นนี้จึงเป็นการกระทำโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดี จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา296 วรรคสอง
ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในคำร้องเป็นลายมือปลอมนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
of 27