พบผลลัพธ์ทั้งหมด 267 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดบังคับคดี: การมีผู้ประมูลเพียงรายเดียวและการใช้อำนาจดุลพินิจของเจ้าพนักงานบังคับคดี
ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นกฎหมายมิได้บัญญัติให้ต้องมีผู้เข้าแข่งขันในการประมูลราคาเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศให้ผู้มีส่วนได้เสียรวมทั้งจำเลยที่ 1 เจ้าของทรัพย์ทราบโดยชอบแล้วแม้จะมีผู้เข้าประมูลสู้ราคาเพียงรายเดียว เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ดำเนินการขายทอดตลาดไปได้ และในการ ขายทอดตลาดครั้งนี้มีผู้แทนโจทก์เข้าประมูลสู้ราคาแล้ว การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดต่อไปจึงชอบ ทั้งไม่จำต้องเรียกขานชื่อจำเลยที่ 1 ก่อนการขายทอดตลาด เพราะเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องแจ้งให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีทราบด้วยตนเอง การอนุมัติให้ขายทอดตลาดโดยวิธีเคาะไม้เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าผู้ประมูลให้ราคาที่สมควรแล้ว ก็มีอำนาจที่จะอนุมัติให้ขายทอดตลาดในครั้งแรก เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่ามีผู้ประมูลราคาต่ำไป จึงไม่อนุมัติให้ขายและขอให้ผู้แทนโจทก์ ประมูลราคาเพิ่มขึ้น เมื่อผู้แทนโจทก์ประมูลราคาเพิ่มขึ้นแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าเป็นราคาที่สมควรแล้ว ก็มีอำนาจ อนุมัติให้ขายโดยวิธีเคาะไม้ได้หาจำต้องฟังคำคัดค้านของ จำเลยที่ 1 ตลอดไปไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีกระทำโดยไม่สุจริตขายในราคาต่ำ เกินสมควรแล้วก็ไม่เป็นเหตุให้การขายทอดตลาดเสียไปและไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในครั้งนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาจำเลยที่ถูกควบคุมตัว, การยื่นคำร้องคัดค้านการบังคับคดี, และกรอบเวลาการดำเนินการตามกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 2 ถูกควบคุมตัวระหว่างการพิจารณาคำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน เป็นกรณีที่ศาลใช้อำนาจ ตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดนฯ มาตรา 10 ที่ให้สั่งขังจำเลยไว้มิใช่สั่งจำคุก จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาล หรือถูกจำคุกตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครจึงมิใช่ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ตามคำร้องของ จำเลยที่ 2 ระบุว่า โจทก์และเจ้าพนักงาน บังคับคดีคบคิดกันฉ้อฉลแกล้งประเมินราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต่ำกว่าความเป็นจริง ขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิก หมายบังคับคดีและเพิกถอนการยึดที่ดินกับให้งดการบังคับคดี เป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิก กระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวง จึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 296 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งจะต้องยื่นไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันทราบการฝ่าฝืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7515/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดที่ไม่ชอบเนื่องจากราคาต่ำกว่าราคาประเมินและจำเลยไม่ทราบวันขาย
แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะประเมินราคาที่ดินพิพาทขณะยึดเพียง 404,000 บาท และผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ให้ราคาสูงสุด430,000 บาท ก็ตาม แต่ก่อนมีการขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีหนังสือสอบถามราคาที่ดินพิพาทไปยังเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินมีหนังสือตอบมาว่า ที่ดินพิพาทราคา 808,000 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินและสูงกว่าราคาที่ผู้ซื้อทรัพย์ประมูลเกือบเท่าตัวประกอบกับการขายทอดตลาดครั้งนี้เป็นการขายครั้งแรกและจำเลยที่ 1 ไม่ได้มาระวังการขายเนื่องจากไม่ทราบวันขายทอดตลาด ทั้งค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ในขณะนั้นมีเพียง 100,000 บาทเศษเท่านั้น พฤติการณ์ในการขายทอดตลาดดังกล่าวมีลักษณะเป็นการรวบรัดและกดราคา จึงเป็นการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4208/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดต้องได้ราคาเหมาะสม หากราคาต่ำกว่าที่ควร ศาลมีอำนาจเพิกถอนได้
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามคำสั่งศาลนั้นจะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดหรือศาลเห็นว่าราคาของผู้ประมูลสูงสุดในการประมูลครั้งนั้นต่ำไป เป็นราคาที่ไม่สมควร หรือควรที่จะได้ราคาสูงกว่านั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขายแล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์พิพาทไว้เป็นเงิน186,025 บาท แต่ทรัพย์พิพาทอยู่ติดถนนสาธารณประโยชน์และอยู่ในทำเลที่ดิน แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะกำหนดราคาประเมินทรัพย์พิพาทไว้จำนวน 123,320 บาท แต่ก็เป็นการประเมินเพื่อเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมหรือค่าภาษี จึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริงทั้งทรัพย์พิพาททำประโยชน์แล้วโดยทำสวนยางมีต้นยางพารา ปลูกเต็มพื้นที่ และสามารถกรีดยางได้แล้ว ดังนั้นขณะขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงควรตั้งราคาขายขั้นต่ำเท่ากับราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประเมินไว้ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทให้ผู้คัดค้านไปในราคาเพียง 150,000 บาททั้งที่เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรก และมีผู้ซื้อเพียงรายเดียวโดยไม่ปรากฏเหตุผลพิเศษที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องรีบด่วนขายไปในราคานี้ การขายทอดตลาดจึงส่อไปในทางรวบรัดและหากมีการ ประกาศขายใหม่จะมีผู้สู้ราคาสูงกว่าได้ เมื่อการอนุญาตให้ขาย ของเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาด ย่อมเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนมาตรา 513 ประกอบมาตรา 308 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ชอบที่ศาลจะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ในกรณีที่ศาลสั่งปรับนายประกัน นายประกันย่อมตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา และผู้เป็นเจ้าหนี้คือแผ่นดิน แผ่นดินย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับชำระเงินค่าขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่เป็นเจ้าของทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน ยังไม่ถือว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระเงิน เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งเงินค่าปรับที่ได้จากการขายทอดตลาด และจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายให้ศาลชั้นต้น เพื่อส่งเป็นรายได้แผ่นดินเมื่อเวลา 15 นาฬิกา โดยผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในวันเดียวกันเวลา 9.30 นาฬิกา จึงเป็นการยื่นคำร้องก่อนเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ถือได้ว่าการบังคับคดียังไม่เสร็จลง และผู้ร้องเพิ่งทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2538การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2538จึงไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่ทราบพฤติการณ์แห่งการฝ่าฝืนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4208/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ราคาต่ำกว่าเกณฑ์ และระยะเวลาในการยื่นคำร้องเพิกถอน
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามคำสั่งศาลนั้นจะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาด หรือศาลเห็นว่าราคาของผู้ประมูลสูงสุดในการประมูลครั้งนั้นต่ำไป เป็นราคาที่ไม่สมควร หรือควรที่จะได้ราคาสูงกว่านั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขายแล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 513
เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์พิพาทไว้เป็นเงิน186,025 บาท แต่ทรัพย์พิพาทอยู่ติดถนนสาธารณประโยชน์และอยู่ในทำเลที่ดี แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะกำหนดราคาประเมินทรัพย์พิพาทไว้จำนวน 123,320 บาท แต่ก็เป็นการประเมินเพื่อเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมหรือค่าภาษี จึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริงทั้งทรัพย์พิพาททำประโยชน์แล้วโดยทำสวนยางมีต้นยางพาราปลูกเต็มพื้นที่ และสามารถกรีดยางได้แล้ว ดังนั้นขณะขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงควรตั้งราคาขายขั้นต่ำเท่ากับราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประเมินไว้ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทให้ผู้คัดค้านไปในราคาเพียง 150,000 บาท ทั้งที่เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรก และมีผู้ซื้อเพียงรายเดียว โดยไม่ปรากฏเหตุผลพิเศษที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องรีบด่วนขายไปในราคานี้ การขายทอดตลาดจึงส่อไปในทางรวบรัดและหากมีการประกาศขายใหม่จะมีผู้สู้ราคาสูงกว่าได้ เมื่อการอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาดย่อมเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนมาตรา 513 ประกอบมาตรา 308 แห่ง ป.วิ.พ. ชอบที่ศาลจะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง
ในกรณีที่ศาลสั่งปรับนายประกัน นายประกันย่อมตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา และผู้เป็นเจ้าหนี้คือแผ่นดิน แผ่นดินย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับชำระเงินค่าขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน ยังไม่ถือว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระเงิน ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งเงินค่าปรับที่ได้จากการขายทอดตลาด และจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายให้ศาลชั้นต้น เพื่อส่งเป็นรายได้แผ่นดินเมื่อเวลา 15 นาฬิกา โดยผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในวันเดียวกันเวลา 9.30 นาฬิกา จึงเป็นการยื่นคำร้องก่อนเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ถือได้ว่าการบังคับคดียังไม่เสร็จลง และผู้ร้องเพิ่งทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2538 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2538 จึงไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่ทราบพฤติการณ์แห่งการฝ่าฝืนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนี้ได้
เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์พิพาทไว้เป็นเงิน186,025 บาท แต่ทรัพย์พิพาทอยู่ติดถนนสาธารณประโยชน์และอยู่ในทำเลที่ดี แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะกำหนดราคาประเมินทรัพย์พิพาทไว้จำนวน 123,320 บาท แต่ก็เป็นการประเมินเพื่อเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมหรือค่าภาษี จึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริงทั้งทรัพย์พิพาททำประโยชน์แล้วโดยทำสวนยางมีต้นยางพาราปลูกเต็มพื้นที่ และสามารถกรีดยางได้แล้ว ดังนั้นขณะขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงควรตั้งราคาขายขั้นต่ำเท่ากับราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประเมินไว้ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทให้ผู้คัดค้านไปในราคาเพียง 150,000 บาท ทั้งที่เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรก และมีผู้ซื้อเพียงรายเดียว โดยไม่ปรากฏเหตุผลพิเศษที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องรีบด่วนขายไปในราคานี้ การขายทอดตลาดจึงส่อไปในทางรวบรัดและหากมีการประกาศขายใหม่จะมีผู้สู้ราคาสูงกว่าได้ เมื่อการอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาดย่อมเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนมาตรา 513 ประกอบมาตรา 308 แห่ง ป.วิ.พ. ชอบที่ศาลจะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง
ในกรณีที่ศาลสั่งปรับนายประกัน นายประกันย่อมตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา และผู้เป็นเจ้าหนี้คือแผ่นดิน แผ่นดินย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับชำระเงินค่าขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน ยังไม่ถือว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระเงิน ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งเงินค่าปรับที่ได้จากการขายทอดตลาด และจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายให้ศาลชั้นต้น เพื่อส่งเป็นรายได้แผ่นดินเมื่อเวลา 15 นาฬิกา โดยผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในวันเดียวกันเวลา 9.30 นาฬิกา จึงเป็นการยื่นคำร้องก่อนเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ถือได้ว่าการบังคับคดียังไม่เสร็จลง และผู้ร้องเพิ่งทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2538 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2538 จึงไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่ทราบพฤติการณ์แห่งการฝ่าฝืนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3859/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ราคาต่ำกว่าราคาจริง, การไม่ไต่สวน, สิทธิลูกหนี้
ก่อนวันขายทอดตลาด 1 วัน จำเลยนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาบางส่วนแก่ น.ภริยาโจทก์ที่บ้าน และ น.ตกลงกับจำเลยที่ 2 ว่าจะงดการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้จากจำเลยทั้งสองตามประกาศซึ่งกำหนดจะขายในวันรุ่งขึ้น แม้โจทก์มิได้ขอให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยดังกล่าว เมื่อข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ น.ดังกล่าว ไม่กี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ถูกยึดเป็นเรื่องที่หาก น.ผิดข้อตกลงกับจำเลยที่ 2 เท่านั้น ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งได้ขายทอดตลาดตามวันเวลาที่ได้กำหนดไว้ตามประกาศขายทอดตลาดที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศให้ทราบทั่วกันล่วงหน้าก่อนแล้ว ไม่ทำให้การขายทอดตลาดดังกล่าวของเจ้าพนักงานบังคับคดีเสียไป
จำเลยยื่นคำร้องว่าที่ดินและบ้าน 2 ชั้น ของจำเลยทั้งสองมีราคาจริงถึง 1,500,000 บาท แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ ธ.ผู้ซื้อในราคาเพียง 500,000 บาท ซึ่งเป็นการขายทอดตลาดต่ำกว่าราคาจริงหลายเท่า เป็นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์ที่ขายทอดตลาดไปในราคาต่ำเกินสมควร ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 513 ซึ่งอาจถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ป.พ.พ.มาตรา 308 ที่บังคับให้การขายทอดตลาดต้องดำเนินไปตาม ป.พ.พ.ว่าด้วยการขายทอดตลาด จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา296 วรรคสอง การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งและคำพิพากษาให้ยกคำร้องของจำเลยโดยยังมิได้ทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยทั้งสองให้ได้ความชัดว่า ข้อกล่าวอ้างเกี่ยวกับราคาที่ดินและบ้านเป็นความจริงหรือไม่ จึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยยื่นคำร้องว่าที่ดินและบ้าน 2 ชั้น ของจำเลยทั้งสองมีราคาจริงถึง 1,500,000 บาท แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ ธ.ผู้ซื้อในราคาเพียง 500,000 บาท ซึ่งเป็นการขายทอดตลาดต่ำกว่าราคาจริงหลายเท่า เป็นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์ที่ขายทอดตลาดไปในราคาต่ำเกินสมควร ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 513 ซึ่งอาจถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ป.พ.พ.มาตรา 308 ที่บังคับให้การขายทอดตลาดต้องดำเนินไปตาม ป.พ.พ.ว่าด้วยการขายทอดตลาด จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา296 วรรคสอง การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งและคำพิพากษาให้ยกคำร้องของจำเลยโดยยังมิได้ทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยทั้งสองให้ได้ความชัดว่า ข้อกล่าวอ้างเกี่ยวกับราคาที่ดินและบ้านเป็นความจริงหรือไม่ จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3859/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ราคาต่ำกว่าราคาจริง & ข้อตกลงงดขายที่ไม่ผูกพันเจ้าพนักงานบังคับคดี
ก่อนวันขายทอดตลาด 1 วัน จำเลยนำเงินไปชำระหนี้ตาคำพิพากษาบางส่วนแก่ น. ภริยาโจทก์ที่บ้าน และ น. ตกลงกับจำเลยว่าจะงดการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ยึดไว้ซึ่งกำหนดจะขายในวันรุ่งขึ้น แม้โจทก์มิได้ขอให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ น. ดังกล่าว ไม่เกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ถูกยึดกรณีจึงเป็นเรื่องที่ น. ผิดข้อตกลงกับจำเลย ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งได้ขายทอดตลาดตามวันเวลาที่ได้กำหนดไว้ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศให้ทราบทั่วกันล่วงหน้าก่อนแล้วการขายทอดตลาดดังกล่าวของเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงมิเสียไป
จำเลยยื่นคำร้องว่า ที่ดินและบ้าน 2 ชั้น ของจำเลยที่ถูกยึดมีราคาจริงถึง1,500,000 บาท แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ ธ.ผู้ซื้อในราคาเพียง 500,000 บาท ต่ำกว่าราคาจริงหลายเท่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบที่จะถอนทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 หากเป็นความจริงก็อาจถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 308 ที่บังคับให้การขายทอดตลาดต้องดำเนินไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการขายทอดตลาด จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยโดยยังมิได้ทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยยื่นคำร้องว่า ที่ดินและบ้าน 2 ชั้น ของจำเลยที่ถูกยึดมีราคาจริงถึง1,500,000 บาท แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ ธ.ผู้ซื้อในราคาเพียง 500,000 บาท ต่ำกว่าราคาจริงหลายเท่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบที่จะถอนทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 หากเป็นความจริงก็อาจถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 308 ที่บังคับให้การขายทอดตลาดต้องดำเนินไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการขายทอดตลาด จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยโดยยังมิได้ทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3775/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีขายทอดตลาดต้องพิจารณาราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม โดยเทียบกับราคาประเมินและสภาพทรัพย์
ที่ดินของจำเลยที่โจทก์นำยึดมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้นสำนักงานที่ดินจังหวัดได้ประเมินราคาไว้เพื่อเป็นทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินรวมทั้งแปลงราคา 493,400 บาท การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาที่ดินไว้ในขณะยึดเพียง30,837.50 บาท เป็นการประเมินที่ต่ำกว่าราคาจริงมาก เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ให้ราคาสูงสุด 38,000 บาท ถือว่าเป็นราคา ที่ยังไม่เพียงพอกับราคาทรัพย์ที่ขายอีกมาก ชอบที่ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะถอนทรัพย์สินนั้นออกจากการขายทอดตลาด ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกลับอนุมัติให้ขายในราคาที่ไม่ถูกต้องแก่ผู้ซื้อ จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการ บังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 308 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 513 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะคัดค้านราคาขายและขอให้เพิกถอนการอนุมัติขายนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ที่ดินที่ขายทอดตลาดสำนักงานที่ดินจังหวัดประเมินราคากลางไว้ถึง 493,400 บาท เจ้าพนักงานบังคับคดีขายไปในราคาเพียง38,000 บาท โดยมีผู้ซื้อทรัพย์ที่เข้าประมูลเพียงรายเดียวทั้งเป็นในการขายทอดตลาดครั้งแรก ซึ่งเป็นการขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาประเมินของทางราชการประมาณ 13 เท่า เห็นได้ชัดแจ้งว่า ราคาที่ขายนั้นจะถูกต้องสมควรไปมิได้ ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้เพิกถอนเสีย แล้วให้ดำเนินการขายใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: เจ้าพนักงานศาลละเลยหน้าที่ส่งสำเนาคำร้องขัดทรัพย์ ทำให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ทราบ
ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ต่อศาลชั้นต้นในวันที่7 พฤศจิกายน 2539 เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลแล้ว โดยกำหนดขายในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2539ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาคำร้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 7 วัน ต่อมาในวันที่ 12พฤศจิกายน 2539 ผู้ร้องได้เสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนา คำร้องขัดทรัพย์ให้เจ้าพนักงานศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคท้ายแล้วเมื่อสำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์อยู่ในอาคารเดียวกันกับศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานศาลผู้มีหน้าที่นำส่งสำเนาคำร้องขัดทรัพย์ทราบดีอยู่แล้วว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีมีสำนักงานอยู่ ณ ที่ใด ไม่มีความจำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องไปร้องขอต่อเจ้าพนักงานศาลเพื่อให้ส่งสำเนาคำร้องขัดทรัพย์ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(1) อีก การที่ผู้ร้องได้เสียค่าธรรมเนียมในการส่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคท้ายในคดีนี้มีผลเท่ากับผู้ร้องได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว เมื่อเจ้าพนักงานศาลผู้มีหน้าที่นำส่งไม่ดำเนินการส่งสำเนาคำร้องขัดทรัพย์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจนเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่ทราบว่าศาลได้รับคำร้องดังกล่าวไว้แล้วและได้ดำเนิน การขายทอดตลาดไปตามกำหนดการขายทอดตลาดจึงไม่ชอบผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาทรัพย์บังคับคดี: ผู้มีส่วนได้เสียยังไม่มีสิทธิโต้แย้งก่อนการบังคับคดี
การประเมินราคาทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดเพื่อดำเนินการบังคับคดีต่อไปนั้น การที่จะประเมินราคาเท่าใดยังไม่มีข้อผูกมัดผู้ที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีจึงยังไม่มีกรณีที่เป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีที่จะร้องขอต่อศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองจำเลยจึงไม่อาจจะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อคัดค้านการประเมินราคา ของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามบทกฎหมายข้างต้น