คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 296 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 267 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาทรัพย์บังคับคดี: ยังไม่มีสิทธิโต้แย้งจนกว่าจะเกิดข้อผูกมัดต่อผู้มีส่วนได้เสีย
การประเมินราคาทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดเพื่อดำเนินการบังคับคดีต่อไปนั้น การที่จะประเมินราคาเท่าใดยังไม่มีข้อผูกมัดผู้ที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี จึงยังไม่มีกรณีที่เป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีที่จะร้องขอต่อศาลได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง จำเลยจึงไม่อาจจะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อคัดค้านการประเมินราคาของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามบทกฎหมายข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมศาลในการขอเพิกถอนการบังคับคดีและการพิจารณาความสมเหตุสมผลของการขายทอดตลาด
การยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้มีคำสั่งยกเลิกกระบวนวิธีการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้น ผู้ร้องจะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลท้าย ป.วิ.พ.คือ ค่าคำร้องตามตาราง 2 (3) จำนวน 20 บาท และค่าคำสั่งตามตาราง 2 (7) อีกจำนวน 50 บาท ส่วนชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (2) (ก) จำนวน 200 บาท และเสียค่าคำสั่งตามตาราง2 (7) อีกจำนวน 100 บาท
คดีนี้จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกกระบวนวิธีการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296วรรคสอง โดยจำเลยเพียงแต่เสียค่าคำร้อง แต่มิได้เสียค่าคำสั่ง เป็นการเสียค่าธรรมเนียมศาลไม่ครบ แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นรับคำร้องทำการไต่สวนจนมีคำสั่งชี้ขาดแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยจะจงใจหลีกเลี่ยงไม่ยอมเสีย ศาลฎีกาเห็นสมควรให้โอกาสแก่จำเลยเสียค่าธรรมเนียมศาลให้ครบ
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่พิพาทกันนี้ในราคา46,200,000 บาท ได้มีการประกาศขายมาแล้ว 10 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 11โดยขายทอดตลาดครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2532 ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 15พฤษภาคม 2538 ใช้เวลาขายรวม 5 ปีเศษ ผู้เข้าประมูลทุกครั้งมีแต่โจทก์และอ.ผู้เคยเป็นภริยาของจำเลยเข้าประมูลเท่านั้น ไม่มีผู้อื่นสนใจเข้าประมูล ราคาที่ประมูลอยู่ระหว่าง 45,000,000 บาท ถึง 46,000,000 บาท บางครั้งไม่มีผู้เข้าสู้ราคา จำเลยรับว่าจะหาผู้มาสู้ราคา แต่ไม่เคยจัดหามา การที่จะให้ไปประกาศขายทอดตลาดใหม่อีกก็ไม่แน่ว่าจะขายได้ราคาดีขึ้น จึงไม่มีเหตุจะเพิกถอนการขายทอดตลาดตามคำร้องของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7318/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้ราคาต่ำกว่าราคาตลาด หากจำเลยไม่ขวนขวายหาผู้สู้ราคา และไม่มีพฤติการณ์ทุจริต
คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์มาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกขายในราคา 4,200,000 บาท แต่ศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอน ครั้งที่ 2 ขายได้ในราคา 10,000,000 บาท แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนการขาย การขายทอดตลาดครั้งนี้จึงมิใช่เป็นการขายครั้งแรก และขายได้ในราคา 10,000,000 บาท ซึ่งในการขายทอดตลาดทั้งสามครั้ง จำเลยไม่เคยไปแต่อย่างใด แต่ได้มอบให้บุคคลอื่นไปแทน เมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวได้เนิ่นช้ามาเป็นหลายปี หากจำเลยเห็นว่าการขายทอดตลาดราคาต่ำไปก็ควรจะขวนขวายหาบุคคลที่สนใจเข้าสู้ราคา และข้ออ้างของจำเลยว่า ราคาที่ขายต่ำไปเลื่อนลอย ส่วนการที่โจทก์เป็นผู้ซื้อได้ก็ไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์ส่อว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการโดยไม่สุจริตหรือสมคบกับโจทก์กดราคาให้ต่ำกว่าเป็นจริงเพื่อประโยชน์ของโจทก์ ดังนี้ การขายทอดตลาดในครั้งที่สามนี้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7318/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยไม่เคยเข้าร่วม และราคาขายอาจไม่สูงที่สุด หากไม่มีพฤติการณ์ทุจริต
คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์มาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกขายในราคา 4,200,000 บาท แต่ศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอน ครั้งที่ 2 ขายได้ในราคา 10,000,000 บาท แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนการขาย การขายทอดตลาดครั้งนี้จึงมิใช่เป็นการขายครั้งแรก และขายได้ในราคา 10,000,000 บาท ซึ่งในการขายทอดตลาดทั้งสามครั้ง จำเลยไม่เคยไปแต่อย่างใด แต่ได้มอบให้บุคคลอื่นไปแทน เมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวได้เนิ่นช้ามาเป็นหลายปี หากจำเลยเห็นว่าการขายทอดตลาดราคาต่ำไปก็ควรจะขวนขวายหาบุคคลที่สนใจเข้าสู้ราคา และข้ออ้างของจำเลยว่าราคาที่ขายต่ำไปเลื่อนลอย ส่วนการที่โจทก์เป็นผู้ซื้อได้ก็ไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์ส่อว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการโดยไม่สุจริตหรือสมคบกับโจทก์กดราคาให้ต่ำกว่าเป็นจริงเพื่อประโยชน์ของโจทก์ ดังนี้ การขายทอดตลาดในครั้งที่สามนี้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7318/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้ราคาต่ำกว่าที่จำเลยคาดหวัง หากจำเลยไม่ขวนขวายหาผู้สู้ราคา และไม่มีพฤติการณ์ทุจริต
คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์มาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกขายในราคา 4,200,000 บาท แต่ศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอน ครั้งที่ 2 ขายได้ในราคา 10,000,000 บาท แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนการขาย การขายทอดตลาดครั้งนี้จึงมิใช่เป็นการขายครั้งแรก และขายได้ในราคา 10,000,000 บาท ซึ่งในการขายทอดตลาดทั้งสามครั้ง จำเลยไม่เคยไปแต่อย่างใด แต่ได้มอบให้บุคคลอื่นไปแทน เมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวได้เนิ่นช้ามาเป็นหลายปี หากจำเลยเห็นว่าการขายทอดตลาดราคาต่ำไปก็ควรจะขวนขวายหาบุคคลที่สนใจเข้าสู้ราคา และข้ออ้างของจำเลยว่า ราคาที่ขายต่ำไปเลื่อนลอย ส่วนการที่โจทก์เป็นผู้ซื้อได้ก็ไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์ส่อว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการโดยไม่สุจริตหรือสมคบกับโจทก์กดราคาให้ต่ำกว่าเป็นจริงเพื่อประโยชน์ของโจทก์ ดังนี้ การขายทอดตลาดในครั้งที่สามนี้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดล่าช้าเกินกำหนด 8 วัน ผู้ร้องขาดสิทธิขอให้ยกเลิกการขาย
เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2538 และผู้ร้องก็ทราบว่ามีการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทในวันดังกล่าว แต่ไม่ได้มาคัดค้านเพราะป่วยเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ผู้ร้องได้ไปตรวจสอบที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจำศาล จึงทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ไปในราคาต่ำกว่าราคาที่ประเมินไว้ ดังนี้ ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งยกเลิกการบังคับคดีที่ผู้ร้องเห็นว่าไม่ถูกต้องได้ภายใน 8 วัน นับแต่วันที่ 19พฤษภาคม 2538 ซึ่งเป็นวันที่ผู้ร้องทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์โดยไม่ถูกต้อง แต่ปรากฏว่าผู้ร้องเพิ่งมายื่นคำร้องคัดค้านการบังคับคดีต่อศาล ขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อวันที่ 8มิถุนายน 2538 ซึ่งล่วงพ้นกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องทราบการฝ่าฝืนนั้นแล้ว ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง
แม้ระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสองนั้น ศาลมีอำนาจขยายให้ได้ก็ตาม แต่จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ตามมาตรา 23 เมื่อผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวอีกทั้งกรณีตามคำร้องก็ไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัย จึงไม่อาจยื่นคำร้องเกินกำหนดระยะเวลา 8 วันได้ ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่าเชื่อตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ว่ายื่นคำร้องเกินกำหนดได้ก็เป็นข้ออ้างที่ปราศจากเหตุผลให้รับฟัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดล่าช้า: ผู้มีส่วนได้เสียต้องยื่นคำร้องภายใน 8 วันนับจากวันที่ทราบการฝ่าฝืน
เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2538 และผู้ร้องก็ทราบว่ามีการขายทอดตลาดทรัพย์สินพิพาทในวันดังกล่าวแต่ไม่ได้มาคัดค้านเพราะป่วยเนื่องจากประสบอุบัติเหตุหลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ผู้ร้องได้ไปตรวจสอบที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจำศาล จึงทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ไปในราคาต่ำกว่าราคา ที่ประเมินไว้ ดังนี้ ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งยกเลิกการบังคับคดีที่ผู้ร้องเห็นว่าไม่ถูกต้องได้ภายใน 8 วัน นับแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2538ซึ่งเป็นวันที่ผู้ร้องทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์โดยไม่ถูกต้อง แต่ปรากฏว่าผู้ร้องเพิ่งมายื่นคำร้องคัดค้านการบังคับคดีต่อศาล ขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดของ เจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2538 ซึ่งล่วงพ้นกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องทราบการฝ่าฝืนนั้นแล้ว ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง แม้ระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง นั้นศาลมีอำนาจขยายให้ได้ก็ตาม แต่จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ตามมาตรา 23 เมื่อผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวอีกทั้งกรณีตามคำร้องก็ไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัยจึงไม่อาจยื่นคำร้องเกินกำหนดระยะเวลา 8 วันได้ ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่าเชื่อตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ว่ายื่นคำร้องเกินกำหนดได้ก็เป็นข้ออ้างที่ปราศจากเหตุผลให้รับฟัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3617/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาตามทะเบียนในขณะฟ้องสำคัญกว่าการเปลี่ยนแปลงภายหลัง การส่งหมายถูกต้องแม้มีการย้ายภูมิลำเนา
ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยปรากฏตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนเอกสารท้ายฟ้องว่า จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เลขที่ 66 ถนนเทียมร่วมมิตร เขตห้วยขวางกรุงเทพมหานคร ในชั้นบังคับคดีก็ปรากฏตามหนังสือรับรองของนายทะเบียน ในสำนวนของกรมบังคับคดีก็ระบุว่าจำเลยมีภูมิลำเนาดังกล่าว แม้ว่าต่อมาจำเลยได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาเป็นเลขที่ 869 ซอยรัชดานิเวศน์ ถนนประชาอุทิศ แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าในขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยและในการดำเนินกระบวนพิจารณาตลอดมา จำเลยยังคงมีภูมิลำเนาอยู่ที่เลขที่ 66 ถนนเทียมร่วมมิตร จึงต้องถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ ณ สถานที่นั้น ดังนั้นเมื่อมีการส่งหมายเรียก หมายนัด และเอกสารต่าง ๆ ที่ภูมิลำเนาดังกล่าว ไม่ว่าโดยวิธีใดก็ตาม ย่อมถือว่าเป็นการส่งโดยชอบและจำเลยได้รับโดยชอบแล้ว จำเลยจะยกเรื่องการย้ายภูมิลำเนาไปที่ใหม่ของจำเลยโดยที่จำเลยไม่ได้แจ้งการย้ายภูมิลำเนาไปที่ใหม่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีและศาลทราบมาเป็นข้ออ้างว่าไม่ได้รับหมายแจ้งวันขายทอดตลาดที่ดินจากเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3617/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาจำเลยเปลี่ยนแปลงหลังฟ้องคดี การส่งหมายไปยังภูมิลำเนาเดิมยังถือว่าชอบด้วยกฎหมาย หากจำเลยไม่แจ้งเปลี่ยนแปลง
ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยปรากฏตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนเอกสารท้ายฟ้องว่า จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เลขที่ 66 ถนนเทียมร่วมมิตร เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานครในชั้นบังคับคดีก็ปรากฏตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนในสำนวนของกรมบังคับคดีก็ระบุว่าจำเลยมีภูมิลำเนาดังกล่าวแม้ว่าต่อมาจำเลยได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาเป็นเลขที่ 869 ซอยรัชดานิเวศน์ ถนนประชาอุทิศแขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าในขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยและในการดำเนินกระบวนพิจารณาตลอดมา จำเลยยังคงมีภูมิลำเนาอยู่ที่เลขที่ 66 ถนนเทียมร่วมมิตร จึงต้องถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ ณ สถานที่นั้น ดังนั้นเมื่อมีการส่งหมายเรียกหมายนัด และเอกสารต่าง ๆ ที่ภูมิลำเนาดังกล่าวไม่ว่าโดยวิธีใดก็ตาม ย่อมถือว่าเป็นการส่งโดยชอบและจำเลยได้รับโดยชอบแล้ว จำเลยจะยกเรื่องการย้ายภูมิลำเนาไปที่ใหม่ของจำเลยโดยที่จำเลยไม่ได้แจ้งการย้ายภูมิลำเนาไปที่ใหม่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีและศาลทราบมาเป็นข้ออ้างว่าไม่ได้รับหมายแจ้งวันขายทอดตลาดที่ดินจากเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3518/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: สิทธิคัดค้าน, กำหนดเวลา, และการวินิจฉัยของศาล
จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องว่าในการขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ขายทอดตลาดและโจทก์กระทำการโดยไม่สุจริตก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยซึ่งเป็นการกล่าวอ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมายจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 และมาตรา 296 วรรคสอง โดยจำเลยจะต้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่า8 วัน นับแต่ทราบการฝ่าฝืนนั้น ปรากฏว่าจำเลยยื่นคำร้องเมื่อพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิร้องคัดค้านเพื่อให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้การที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินการไต่สวนคำร้อง ของ จำเลยไปนั้นก็เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยผิดหลงและเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แม้โจทก์จะไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้เมื่อความปรากฏแก่ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ แต่ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ยกอุทธรณ์ของจำเลยนั้นเป็นการไม่ชอบ เพราะอุทธรณ์ของจำเลยไม่ต้องห้ามอุทธรณ์แต่อย่างใด
of 27