คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 150

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 538 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8576/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลฟ้องแย้งกรรมสิทธิ์: ศาลชอบที่จะไม่รับฟ้องแย้งหากไม่ชำระค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่พิพาท จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์และฟ้องแย้งขอให้โจทก์รังวัดแบ่งแยกที่ดินใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยประเมินราคาทุนทรัพย์ตามที่ฟ้องแย้งและเสียค่าขึ้นศาลภายใน 7 วัน ดังนี้เมื่อจำเลยฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยจำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องแย้ง จะอ้างว่าฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการขอให้ศาลพิพากษารับรองและคุ้มครองสิทธิของตนที่มีและได้มาแล้วโดยผลของกฎหมายมิได้ เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องแย้งภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลชอบที่จะไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4039/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท & ฎีกาข้อเท็จจริง – ที่ดินสาธารณประโยชน์
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินตาม น.ส.3 ประมาณ 17 ไร่ จำเลยมีคำสั่งให้แก้ไขเนื้อที่ดินของโจทก์ด้านทิศเหนือเป็นเนื้อที่ 2 ไร่ 20 ตารางวา โดยอ้างว่าน.ส.3 ของโจทก์เฉพาะที่ดินส่วนนั้นออกทับหนองน้ำสาธารณประโยชน์ และมีคำขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 2 ไร่ 20 ตารางวา เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตาม น.ส.3ที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง เท่ากับกล่าวอ้างว่าคำสั่งเพิกถอนของจำเลยมีผลให้โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินส่วนที่ถูกเพิกถอน ซึ่งถ้าหากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีย่อมมีผลให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทกลับคืนมา คดีของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์แม้โจทก์จะมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ให้แก้ไข น.ส.3 ของโจทก์และขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์อีกต่อไปก็ตาม แต่การที่ศาลจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยต้องได้ความก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ มิใช่หนองน้ำสาธารณประโยชน์ดังนั้น คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงเป็นคำขออันเป็นประธาน เมื่อที่ดินพิพาทมีราคา 82,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นหนองน้ำสาธารณประโยชน์ และโจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์ทราบคำสั่งทำให้คดีขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 นั้น ล้วนเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4039/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ทุนทรัพย์เกินสองแสนบาท & ฎีกาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินตาม น.ส.3 ประมาณ 17 ไร่ จำเลยมีคำสั่งให้แก้ไขเนื้อที่ดินของโจทก์ด้านทิศเหนือเป็นเนื้อที่ 2 ไร่ 20 ตารางวา โดยอ้างว่าน.ส.3 ของโจทก์เฉพาะที่ดินส่วนนั้นออกทับหนองน้ำสาธารณประโยชน์ และมีคำขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 2 ไร่ 20 ตารางวา เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตาม น.ส.3ที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง เท่ากับกล่าวอ้างว่าคำสั่งเพิกถอนของจำเลยมีผลให้โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินส่วนที่ถูกเพิกถอน ซึ่งถ้าหากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีย่อมมีผลให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทกลับคืนมา คดีของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์แม้โจทก์จะมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ให้แก้ไข น.ส.3 ของโจทก์และขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์อีกต่อไปก็ตาม แต่การที่ศาลจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยต้องได้ความก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ มิใช่หนองน้ำสาธารณประโยชน์ดังนั้น คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงเป็นคำขออันเป็นประธาน เมื่อที่ดินพิพาทมีราคา 82,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นหนองน้ำสาธารณประโยชน์ และโจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์ทราบคำสั่งทำให้คดีขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 นั้น ล้วนเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1321/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์เกิน 200,000 บาท และฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสามคนละหนึ่งในหกส่วน จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการโต้เถียงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทต่อกัน เป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อคดีมีทุนทรัพย์จำนวน 275,000 บาท โจทก์แต่ละคนมีสิทธิจะได้รับจำนวน 91,666.67 บาท ดังนั้น แม้ว่าโจทก์ทั้งสามจะฟ้องคดีรวมกันมา ก็ต้องคิดจำนวนทุนทรัพย์แยกจากกันตามส่วนที่โจทก์แต่ละคนจะได้รับซึ่งไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อฎีกาโจทก์ทั้งสามล้วนแต่เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง กรณีจึงเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7088/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีกรรมสิทธิ์ที่ดิน: ทุนทรัพย์, อัตราค่าทนายความ, และการคืนค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยบุกรุกเข้าไปครอบครอง ขอให้ขับไล่จำเลย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินเป็น น.ส. 3 โจทก์ขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของจำเลย คดีจึงมีประเด็นโต้เถียงกรรมสิทธ์ในที่ดินพิพาท เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท
แม้โจทก์จะกล่าวมาในคำฟ้องว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยบุกรุกมีเนื้อที่ 1 งาน 47 ตารางวา แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความทั้งสองฝ่ายขอให้ทำแผนที่พิพาท ในการทำแผนที่พิพาทเจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้รังวัดโดยคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นผู้นำชี้ และรับกันว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 1 งาน 33 ตารางวา จึงมีประเด็นโต้เถียงกรรมสิทธิ์ที่ดินกัน ในเนื้อที่ 1 งาน 33 ตารางวา ซึ่งคิดเป็นราคาในขณะที่ยื่นคำฟ้องเพียง 49,875 บาท คดีนี้จึงมีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นเงินจำนวนดังกล่าว แม้จำเลยจะเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ 55,125 บาท ก็ไม่ทำให้ทุนทรัพย์ในคดีเพิ่มขึ้นได้ คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความแทนโจทก์เกินกว่าอัตราค่าทนายความขั้นสูงตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งเป็นการกำหนดโดยผิดกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้
จำเลยฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้วินิจฉัย ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. สองร้อยบาท แต่จำเลยเสียเกินมาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่เสียเกินมาแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6809/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะจากการสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมยกที่ดินให้เป็นสาธารณประโยชน์ ศาลเพิกถอนนิติกรรมได้
ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินมาก่อน แต่เป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งสัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1265 ซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 สำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมว่าได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้วคงเหลือแต่ที่ดินส่วนที่เป็นถนนเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 แสดงเจตนายกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 เท่ากับที่ดินพิพาทไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมาก่อนกรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1305 การที่ศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1265 แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับและไม่ขัดต่อกฎหมาย
ในคำขอยกที่ดิน 2 แปลงของจำเลยที่ 1 ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 ระบุไว้ว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงหนึ่ง จำเลยที่ 1ทำสัญญาจะขายให้โจทก์และโจทก์ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินแปลงหนึ่งแล้ว เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ยกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ด้วย กับก่อนฟ้องโจทก์ได้บอกให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว และจำเลยที่ 2 ก็ยังให้การต่อสู้คดีตลอดมาว่าที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เมื่อจำเลยที่ 2 แพ้คดีจึงมีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคแรก
โจทก์และจำเลยที่ 2 โต้เถียงกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ หากโจทก์ขอเพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่ได้ ที่ดินพิพาทก็ต้องตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาตามกฎหมาย แต่ถ้าโจทก์ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทประโยชน์ที่โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้รับย่อมเป็นการปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นการพิพาทด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6657/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อนาคืนของผู้เช่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินฯ และประเด็นอำนาจฟ้อง/การโต้แย้งราคา
เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2535 คชก.จังหวัดได้ประชุมและมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การที่ ช.ให้จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์รวมในนาพิพาทโดยมีค่าตอบแทนเป็นการชำระหนี้เงินยืมอย่างอื่นแทนเงิน ไม่เป็นการซื้อขายนาพิพาท โจทก์ได้ทราบคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2535 ซึ่งตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 57 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด โจทก์จะต้องฟ้องคดีนี้ภายในวันที่ 20 มิถุนายน 2535 แต่วันที่ 20 มิถุนายน 2535 เป็นวันเสาร์ ศาลหยุดทำการ ดังนั้นโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ในวันที่ 22 มิถุนายน 2535 ซึ่งเป็นวันจันทร์ศาลเปิดทำการวันแรกได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/8 โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน30 วัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้ฟ้องจะระบุข้อความซึ่งหมายความว่าโจทก์ที่ 1และที่ 2 ฟ้องคดีด้วยตนเอง แต่โจทก์ทั้งสองได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ดำเนินคดีแทนตามหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้อง เมื่ออ่านรวมกันแล้วย่อมเข้าใจได้ดีแล้วว่า โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 2 อีกฐานะหนึ่งด้วย หลังจากที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำให้การแล้ว โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมข้อความในช่องคู่ความ เฉพาะโจทก์ที่ 2 เป็นว่า "พ.โดย ผ.ผู้รับมอบอำนาจที่ 2" และศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วหลังจากที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำให้การ โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง แก้ฟ้องในเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าเคลือบคลุม โดยตัดข้อความว่า "แสดงเจตนาลวงโดยสมยอม ซึ่งความจริงเป็นเรื่องซื้อขายกัน" ออก แล้วเพิ่มข้อความ "ทำนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายเพราะเจตนาจริง ๆ เป็นเรื่องซื้อขาย หาใช่เป็นเรื่องให้ถือกรรมสิทธิ์รวมไม่" แทน และตัดข้อความ "ทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลตามกฎหมาย" ออก แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองแก้ฟ้องโดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้รับสำเนาคำร้องก่อนตามมาตรา 181 แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้โต้แย้งคัดค้าน อีกทั้งในคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็วินิจฉัยจากข้อความที่โจทก์ทั้งสองขอแก้ไข จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้อุทธรณ์โต้แย้งในเรื่องนี้ การแก้ไขคำฟ้องจึงชอบแล้ว
คำฟ้องและข้อที่แก้ไขคำฟ้องเมื่อเข้าใจได้ว่า ฟ้องข้อ 4 โจทก์ทั้งสองอ้างว่า บันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายส่วนฟ้องข้อ 5 เป็นเรื่องที่ ช.กับจำเลยที่ 2 แจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าไม่มีการเช่านา ทั้ง ๆ ที่โจทก์ทั้งสองเช่าอยู่ ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหาย คำฟ้องจึงมิได้มีข้อความขัดกัน ฟ้องโจทก์ทั้งสองได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว มิได้เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คชก.ประจำจังหวัดนนทบุรี จำเลยที่ 3 แม้จะไม่ใช่นิติบุคคลแต่โจทก์ทั้งสองก็ได้แก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ประกอบด้วย ท.ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีเป็นประธานกรรมการ ส.อัยการจังหวัดนนทบุรี พ.เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรี ป.แทนเกษตรจังหวัดนนทบุรี ส.ประมงจังหวัดนนทบุรี พ.ปศุสัตว์จังหวัดนนทบุรี ผู้แทนผู้เช่านาจังหวัดนนทบุรี 4 คน คือ สว. สจ. บก.และ สม.กับผู้แทนผู้ให้เช่านาจังหวัดนนทบุรี 4 คน คือ สส. พจ. สน. และ ผอ. โดยมีสต.จ่าจังหวัดนนทบุรี เป็นกรรมการและเลขานุการ แม้จะมิได้ระบุรายชื่อคณะกรรมการแต่ละคนในช่องคู่ความตามฟ้องโจทก์ทั้งสอง ก็พอถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องตัวบุคคลที่ประกอบเป็นคณะกรรมการดังกล่าว คดีนี้โจทก์ทั้งสองไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดนนทบุรีที่ไม่เห็นชอบตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล โจทก์ทั้งสองจึงต้องฟ้อง คชก.จังหวัดนนทบุรีเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดนนทบุรีทั้งนี้เพื่อให้ คชก.จังหวัดนนทบุรีได้มีโอกาสเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3
พยานโจทก์เบิกความว่า เอกสารหมาย จ.6 เป็นการซื้อขายนาพิพาทโดยเป็นวิธีการจดทะเบียนขายที่ดินบางส่วน ที่ตอนท้ายของข้อ 3 ในเอกสารดังกล่าวระบุว่าผู้ขายได้ที่ดินมาอย่างไรและผู้ซื้อจะนำนาพิพาทไปทำอะไรนั้น ก็ได้ความมาจากการสอบถามผู้รับมอบอำนาจของ ช.และจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะพยานโจทก์เบิกความยืนยันว่าก่อนที่จะให้บุคคลทั้งสองลงลายมือชื่อในเอกสาร ได้สอบถามถึงการชำระเงินตามที่ระบุในเอกสารแล้ว ทั้งสองคนตอบว่าชำระกันเรียบร้อยแล้วจึงเห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองนำสืบถึงความหมายของเอกสารหมาย จ.6 ไม่ใช่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 โจทก์ทั้งสองจึงนำสืบได้
สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดต่อศาลภายใน 30 วันตามมาตรา 57 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524เป็นสิทธิในการฟ้องคดีที่กฎหมายกำหนดให้ต้องใช้สิทธิดังกล่าว ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด หาใช่เป็นสิทธิเรียกร้องซึ่งจะมีอายุความไม่ ดังนั้น สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดต่อศาลภายใน 30 วัน ซึ่งเป็นอำนาจฟ้อง จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ฟ้องว่า ช.ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบก่อน ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3 และบังคับให้จำเลยที่ 1และที่ 2 โอนขายนาพิพาทให้โจทก์ เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ซึ่งโจทก์มีสิทธิบังคับซื้อนาพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ซื้อเท่านั้น ไม่ได้รวมถึง ช.ซึ่งเป็นผู้ขายด้วย อีกทั้งคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ไม่ได้ขอเพิกถอนนิติกรรมระหว่าง ช.กับจำเลยที่ 2 ดังนั้น นิติกรรมระหว่าง ช.กับจำเลยที่ 2 จึงยังมีผลสมบูรณ์ โจทก์ไม่อาจขอให้บังคับ ช.ตามฟ้องได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของ ช.
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การในข้อ 2 ว่า บันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมระหว่าง ช.กับจำเลยที่ 2 มิใช่เป็นการขายนาพิพาท แต่เป็นเสมือนการให้โดยเสน่หาตอบแทนความดีของจำเลยที่ 2 ที่มีต่อ ช.ตลอดมา และให้การในข้อ 3 ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปฏิเสธคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลละหารที่ให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิซื้อนาพิพาทจากจำเลยที่ 2 ในราคา 1,100,000 บาท ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากโจทก์ทั้งสองจะบังคับซื้อคืนจะต้องซื้อตามราคาตลาดในขณะนั้นคือไร่ละ 1,500,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 จะเห็นได้ว่า ตามคำให้การในข้อ 2จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสองว่า ช.มิได้ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 ส่วนคำให้การในข้อ 3 เป็นเรื่องราคานาพิพาทที่โจทก์ทั้งสองจะต้องซื้อนั้น ก็เป็นการปฏิเสธราคานาพิพาทที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยบังคับให้จำเลยที่ 2 ขายนาพิพาทคืนให้โจทก์ทั้งสองว่าเป็นราคาที่ไม่ถูกต้อง เพราะตามกฎหมายดังกล่าวโจทก์ทั้งสองจะต้องซื้อคืนตามราคาตลาดในขณะนั้นคือ 30,000,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าราคาที่ คชก.ตำบลเชื่อว่า ช.ขายให้จำเลยที่ 2 ดังนั้น ราคานาพิพาทกับเรื่องที่ ช.ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 หรือไม่ จึงเป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกันเพราะเป็นการปฏิเสธตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงยกขึ้นต่อสู้ได้โดยไม่จำต้องรับว่า ช.ได้ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 ก่อน คำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว หาขัดแย้งกันไม่
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา53 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้ให้เช่านาจะขายนาได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนา พร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธาน คชก.ตำบล เพื่อแจ้งให้ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวันและถ้าผู้เช่านาแสดงความจำนงจะซื้อนาเป็นหนังสือยื่นต่อประธาน คชก.ตำบลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ให้เช่านาต้องขายนาแปลงดังกล่าวให้ผู้เช่านาตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ได้แจ้งไว้..." และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 ไม่ว่านานั้นจะถูกโอนต่อไปยังผู้ใดผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้นตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน จากบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวหมายความว่า เมื่อ ช.ผู้ให้เช่านาไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 53ไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างใดก็ตาม โจทก์ทั้งสองผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาพิพาทจากจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนตามมาตรา 54 แต่จะต้องซื้อนาพิพาทคืนตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากันหาใช่ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะหมดสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านและไม่อาจยกมาตรา54 ขึ้นอ้าง ดังนั้น ศาลชอบที่จะให้โจทก์ทั้งสองซื้อนาพิพาทคืนตามราคาตลาดในขณะนั้นได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การเกี่ยวกับราคาตลาดของนาพิพาทว่ามีราคา 30,000,000 บาท เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กล่าวอ้างราคาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 เพื่อปฏิเสธราคานาพิพาทที่โจทก์ทั้งสองจะซื้อคืนว่า โจทก์ทั้งสองจะต้องซื้อในราคาตลาดในขณะนั้น เพราะเป็นราคาที่สูงกว่าจำนวนเงิน 30,000,000 บาทนี้ มิได้เป็นทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เรียกร้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่จำต้องฟ้องแย้งและเสียค่าขึ้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6657/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อคืนนาแปลงที่ขายฝ่าฝืน พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ราคาซื้อตามราคาตลาดหรือราคาซื้อเดิม
เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2535 คชก.จังหวัดได้ประชุมและมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การที่ช. ให้จำเลยที่ 2มีกรรมสิทธิ์รวมในนาพิพาทโดยมีค่าตอบแทนเป็นการชำระหนี้เงินยืมอย่างอื่นแทนเงิน ไม่เป็นการซื้อขายนาพิพาทโจทก์ได้ทราบคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดตั้งแต่วันที่21 พฤษภาคม 2535 ซึ่งตาม พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 57 วรรคหนึ่งบัญญัติให้คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดโจทก์จะต้องฟ้องคดีนี้ภายในวันที่ 20 มิถุนายน 2535 แต่วันที่ 20 มิถุนายน 2535 เป็นวันเสาร์ ศาลหยุดทำการดังนั้นโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ในวันที่ 22 มิถุนายน 2535ซึ่งเป็นวันจันทร์ศาลเปิดทำการวันแรกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8 โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 30 วัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง แม้ฟ้องจะระบุข้อความซึ่งหมายความว่าโจทก์ที่ 1และที่ 2 ฟ้องคดีด้วยตนเอง แต่โจทก์ทั้งสองได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ที่ 2 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ดำเนินคดีแทนตามหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้อง เมื่ออ่านรวมกันแล้วย่อมเข้าใจได้ดีแล้วว่า โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 2อีกฐานะหนึ่งด้วย หลังจากที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ยื่นคำให้การแล้ว โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมข้อความในช่องคู่ความ เฉพาะโจทก์ที่ 2เป็นว่า "พ.โดยผ. ผู้รับมอบอำนาจที่ 2"และศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วหลังจากที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ยื่นคำให้การ โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องแก้ฟ้องในเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าเคลือบคลุมโดยตัดข้อความว่า "แสดงเจตนาลวงโดยสมยอม ซึ่งความจริงเป็นเรื่องซื้อขายกัน" ออก แล้วเพิ่มข้อความ"ทำนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายเพราะเจตนาจริง ๆเป็นเรื่องซื้อขาย หาใช่เป็นเรื่องให้ถือกรรมสิทธิ์รวมไม่"แทน และตัดข้อความ "ทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลตามกฎหมาย" ออก แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองแก้ฟ้องโดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้รับสำเนาคำร้องก่อนตามมาตรา 181 แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้โต้แย้งคัดค้าน อีกทั้งในคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็วินิจฉัยจากข้อความที่โจทก์ทั้งสองขอแก้ไข จำเลยที่ 1 และที่ 2ก็มิได้อุทธรณ์โต้แย้งในเรื่องนี้ การแก้ไขคำฟ้องจึงชอบแล้ว คำฟ้องและข้อที่แก้ไขคำฟ้องเมื่อเข้าใจได้ว่า ฟ้องข้อ 4โจทก์ทั้งสองอ้างว่า บันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายส่วนฟ้องข้อ 5เป็นเรื่องที่ช. กับจำเลยที่ 2 แจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าไม่มีการเช่านา ทั้ง ๆ ที่โจทก์ทั้งสองเช่าอยู่ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหาย คำฟ้องจึงมิได้มีข้อความขัดกันฟ้องโจทก์ทั้งสองได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพ แห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลัก แห่งข้อหาแล้ว มิได้เป็นฟ้องเคลือบคลุม คชก. ประจำจังหวัดนนทบุรี จำเลยที่ 3 แม้จะไม่ใช่นิติบุคคลแต่โจทก์ทั้งสองก็ได้แก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยที่ 3ประกอบด้วย ท.ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีเป็นประธานกรรมการ ส.อัยการจังหวัดนนทบุรีพ.เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรี ป. แทนเกษตรจังหวัดนนทบุรีส.ประมงจังหวัดนนทบุรีพ.ปศุสัตว์ จังหวัดนนทบุรีผู้แทนผู้เช่านาจังหวัดนนทบุรี 4 คน คือ สว.สจ. บก.และสม. กับผู้แทนผู้ให้เช่านาจังหวัดนนทบุรี 4 คน คือสส.พจ.สน.และผอ.โดยมีสต.จ่าจังหวัดนนทบุรีเป็นกรรมการและเลขานุการ แม้จะมิได้ระบุรายชื่อคณะกรรมการแต่ละคนในช่องคู่ความตามฟ้องโจทก์ทั้งสองก็พอถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องตัวบุคคลที่ประกอบเป็นคณะกรรมการดังกล่าว คดีนี้โจทก์ทั้งสองไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดนนทบุรีที่ไม่เห็นชอบตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล โจทก์ทั้งสองจึงต้องฟ้องคชก.จังหวัดนนทบุรีเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดนนทบุรี ทั้งนี้เพื่อให้ คชก.จังหวัดนนทบุรีได้มี โอกาสเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 3 พยานโจทก์เบิกความว่า เอกสารหมาย จ.6เป็นการซื้อขายนาพิพาทโดยเป็นวิธีการจดทะเบียนขายที่ดิน บางส่วน ที่ตอนท้ายของข้อ 3 ในเอกสารดังกล่าวระบุว่า ผู้ขายได้ที่ดินมาอย่างไรและผู้ซื้อจะนำนาพิพาทไปทำอะไรนั้น ก็ได้ความมาจากการสอบถามผู้รับมอบอำนาจของ ช. และจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะพยานโจทก์เบิกความยืนยันว่าก่อนที่จะให้บุคคลทั้งสองลงลายมือชื่อในเอกสารได้สอบถามถึงการชำระเงินตามที่ระบุในเอกสารแล้วทั้งสองคนตอบว่าชำระกันเรียบร้อยแล้วจึงเห็นได้ว่าโจทก์ทั้งสองนำสืบถึงความหมายของเอกสารหมาย จ.6ไม่ใช่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94โจทก์ทั้งสองจึงนำสืบได้ สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดต่อศาลภายใน 30 วันตามมาตรา 57 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 เป็นสิทธิในการฟ้องคดีที่กฎหมายกำหนดให้ต้องใช้สิทธิดังกล่าว ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด หาใช่เป็นสิทธิเรียกร้องซึ่งจะมีอายุความไม่ดังนั้น สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดต่อศาลภายใน 30 วัน ซึ่งเป็นอำนาจฟ้อง จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ฟ้องว่า ช. ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบก่อน ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3 และบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2โอนขายนาพิพาทให้โจทก์ เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตาม พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ซึ่งโจทก์มีสิทธิบังคับซื้อนาพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ซื้อเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงช. ซึ่งเป็นผู้ขายด้วย อีกทั้งคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ไม่ได้ขอเพิกถอนนิติกรรมระหว่างช. กับจำเลยที่ 2 ดังนั้นนิติกรรมระหว่าง ช. กับจำเลยที่ 2 จึงยังมีผลสมบูรณ์โจทก์ไม่อาจขอให้บังคับช. ตามฟ้องได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของช. จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การในข้อ 2 ว่า บันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมระหว่าง ช. กับจำเลยที่ 2 มิใช่เป็นการขายนาพิพาท แต่เป็นเสมือนการให้โดยเสน่หาตอบแทนความดีของจำเลยที่ 2 ที่มีต่อ ช. ตลอดมาและให้การในข้อ 3 ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปฏิเสธคำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลละหารที่ให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิซื้อนาพิพาทจากจำเลยที่ 2 ในราคา 1,100,000 บาทว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากโจทก์ทั้งสองจะบังคับซื้อคืนจะต้องซื้อตามราคาตลาดในขณะนั้นคือไร่ละ 1,500,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 54จะเห็นได้ว่า ตามคำให้การในข้อ 2 จำเลยที่ 1 และที่ 2ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสองว่า ช. มิได้ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 ส่วนคำให้การในข้อ 3 เป็นเรื่อง ราคานาพิพาทที่โจทก์ทั้งสองจะต้องซื้อนั้น ก็เป็นการปฏิเสธราคานาพิพาทที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยบังคับให้จำเลยที่ 2ขายนาพิพาทคืนให้โจทก์ทั้งสองว่าเป็นราคาที่ไม่ถูกต้องเพราะตามกฎหมายดังกล่าวโจทก์ทั้งสองจะต้องซื้อคืนตามราคาตลาดในขณะนั้นคือ 30,000,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าราคาที่ คชก.ตำบลเชื่อว่า ช. ขายให้จำเลยที่ 2ดังนั้น ราคานาพิพาทกับเรื่องที่ ช. ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 หรือไม่ จึงเป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกันเพราะเป็นการปฏิเสธตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงยกขึ้นต่อสู้ได้โดยไม่จำต้องรับว่า ช.ได้ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 2 ก่อน คำให้การของจำเลย ที่ 1 และที่ 2 เป็นคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว หาขัดแย้งกันไม่ พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 53 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้ให้เช่านาจะขายนาได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนองจะขายนา พร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธาน คชก.ตำบล เพื่อแจ้งให้ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวันและถ้าผู้เช่านาแสดงความจำนงจะซื้อนาเป็นหนังสือยื่นต่อประธานคชก.ตำบลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ให้เช่านาต้องขายนาแปลงดังกล่าวให้ผู้เช่านาตามราคาและวิธี การชำระเงินที่ได้แจ้งไว้" และมาตรา 54 วรรคหนึ่งบัญญัติว่าถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53ไม่ว่านานั้นจะถูกโอนต่อไปยังผู้ใดผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้นตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน จากบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวหมายความว่า เมื่อ ช. ผู้ให้เช่านาไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 ไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างใดก็ตาม โจทก์ทั้งสองผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาพิพาท จากจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนตามมาตรา 54 แต่จะต้องซื้อนาพิพาท คืนตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือ ตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน หาใช่ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะหมดสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้าน และไม่อาจยกมาตรา 54 ขึ้นอ้าง ดังนั้น ศาลชอบ ที่จะให้โจทก์ทั้งสองซื้อนาพิพาทคืนตามราคาตลาดในขณะนั้นได้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การเกี่ยวกับราคาตลาดของ นาพิพาทว่ามีราคา 30,000,000 บาท เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กล่าวอ้างราคาตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 54เพื่อปฏิเสธราคานาพิพาทที่โจทก์ทั้งสองจะซื้อคืนว่าโจทก์ทั้งสองจะต้องซื้อในราคาตลาดในขณะนั้น เพราะเป็นราคาที่สูงกว่าจำนวนเงิน 30,000,000 บาทนี้ มิได้ เป็นทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เรียกร้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่จำต้องฟ้องแย้งและเสียค่าขึ้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6567/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกา และประเด็นการครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท
ที่ดินพิพาทมีสามแปลงซึ่งโจทก์แต่ละคนอ้างว่าเป็นเจ้าของโดยที่ดินของโจทก์ทั้งสามมีเขตติดต่อกันเท่านั้นการที่จำเลยที่ 1 ออกโฉนดที่ดินทับที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสามแล้วขายฝากให้แก่จำเลยที่ 2 จนกรรมสิทธิ์ตกเป็นของจำเลยที่ 2 จึงเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนถูกโต้แย้งสิทธิแม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์ แต่ละคนแยกกัน ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งการที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ของโจทก์ทั้งสามแต่เป็นของจำเลยที่ 1 และได้ออกโฉนดที่ดินโดยชอบแล้วจึงขายฝากให้แก่จำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ไถ่ถอนคืนภายในกำหนด กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดดังกล่าวจึงตกเป็นของจำเลยที่ 2 โดยชอบนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ทั้งสามแต่เป็นของจำเลยที่ 1 ซึ่งครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาหากฟังว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิครอบครองจำเลยที่ 1 ก็ได้แย่งการครอบครองจากโจทก์เกินกว่า 1 ปี ส่วนจำเลยที่ 2ให้การยืนยันเพียงว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1ดังนั้น ตามคำให้การของจำเลยทั้งสองคงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า โจทก์ทั้งสามหรือจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทไม่อาจมีประเด็นในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองอ้างว่าเดิมจำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาท ศาลก็ไม่อาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นการวินิจฉัยขัดแย้งกับประเด็นที่จำเลยทั้งสองต่อสู้ไว้ในคำให้การ ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ทั้งสามเป็น เจ้าของที่ดินพิพาทหรือไม่ จึงมิได้ครอบคลุมถึงว่าโจทก์ ทั้งสามมีสิทธิฟ้องเรียกคืนที่ดินพิพาทหรือไม่แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6545/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามเมื่อทุนทรัพย์ในชั้นบังคับคดีต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฎีกาว่าทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่เป็นของผู้ร้อง อันเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมาซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาทรัพย์สินพิพาทไว้เพียง 71,000 บาท และโจทก์เองก็เห็นชอบในราคาประเมินดังกล่าว อันถือได้ว่าเป็นทุนทรัพย์ในชั้นร้องขัดทรัพย์ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
of 54