คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 150

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 538 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6258/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีราคาทรัพย์พิพาทในคดีรุกล้ำที่ดิน: ความชอบด้วยกฎหมายของกระบวนการพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองปลูกสร้างบ้านรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์จำเลยให้การว่าจำเลยสร้างบ้านในที่ดินของจำเลย ต้องถือว่าเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันคำนวณเป็นราคาเงินได้ในที่ดินพิพาทตามฟ้อง การพิจารณาว่าคดีนี้จะต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่ ต้องถือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งซึ่งจะต้องให้คู่ความตีราคาทรัพย์ที่พิพาทว่ามีราคาเท่าใดแต่ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ปรากฏว่าศาลทั้งสองสั่งให้คู่ความตีราคาทุนทรัพย์ในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด แต่กลับวินิจฉัยคำอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองว่าต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสองโดยเห็นว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตีราคาทุนทรัพย์ในที่ดินพิพาทและเรียกเก็บค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ให้ครบถ้วน แล้วส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5626/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินรวมและการพิพากษาตามข้อตกลงของคู่ความ ศาลสามารถงดสืบพยานและพิพากษาตามที่ตกลงกันได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104ให้อำนาจแก่ศาลที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่จำเลยและโจทก์นำเข้าสู่กระบวนพิจารณานั้นเป็นการเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีหรือไม่ คดีนี้ศาลชั้นต้นได้ดำเนิน กระบวนพิจารณาอันเป็นสาระสำคัญ โดยสั่งให้ทำแผนที่ วิวาทตามที่คู่ความนำชี้ เมื่อคู่ความแถลงรับว่าแผนที่ วิวาทถูกต้อง และแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลชั้นต้น ก็เป็น การเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง งดสืบพยานทั้งสองฝ่าย จึงเป็นการใช้อำนาจศาลตามกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2534 ซึ่งใช้บังคับอยู่ ในขณะนั้นและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมิได้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ กันเป็นส่วนสัด เมื่อโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมโดยมิได้แบ่งแยกการครอบครองกันเป็นส่วนสัด ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามส่วน โดยกำหนดวิธีการแบ่งตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 บัญญัติไว้ได้ไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น หรือพิพากษาเกินคำขอ โจทก์และจำเลยตกลงกันให้โจทก์ครอบครองที่ดินที่เป็น กรรมสิทธิ์รวมด้านทิศเหนือและจำเลยครอบครองด้านทิศใต้ ตามแผนที่วิวาทซึ่งคู่ความรับว่าถูกต้องและจำเลยได้ปลูกบ้าน อยู่ในที่ดินพิพาททางด้านทิศใต้แล้ว หากจะให้เอาที่ดิน พิพาทประมูลขายทอดตลาดแล้วเอาเงินแบ่งให้โจทก์ จำเลยตามส่วนตามบทบัญญัติของกฎหมาย จำเลยอาจ ได้รับความเดือดร้อน ดังนี้ศาลให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทตามแนว แผนที่วิวาทดังกล่าว โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ในฐานะเจ้าของรวมจำเลยให้การกล่าวแก้ว่าวิธีการแบ่งทรัพย์ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องนั้นไม่ถูกต้อง ขอให้ยกฟ้องมิได้ขอ บังคับให้ที่ดินส่วนใดเป็นของจำเลยเกินกว่าสิทธิของจำเลยเมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5543/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนที่ดินเป็นทางสาธารณประโยชน์ขัดเจตนาเจ้าของที่ดิน การแก้ไขทะเบียนที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มิได้มีเจตนาจะยกที่ดินพิพาทในคดีนี้ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ แต่จำเลยกลับจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณ-ประโยชน์ ขัดต่อเจตนาของโจทก์ ขอให้จำเลยจดทะเบียนแก้คำว่า แบ่งหักให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ออกไปจากโฉนดที่ดินของโจทก์ แล้วใส่ชื่อโจทก์แทน เมื่อปรากฏตามหลักฐานทางทะเบียนว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นทางสาธารณ-ประโยชน์ ดังนั้น หากโจทก์ชนะคดีโจทก์ย่อมได้รับที่ดินพิพาทดังกล่าวกลับคืนมาเป็นของโจทก์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5543/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนที่ดินผิดวัตถุประสงค์และข้อจำกัดการฎีกาในคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มิได้มีเจตนาจะยกที่ดินพิพาทในคดีนี้ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ แต่จำเลยกลับจดทะเบียน ให้ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ ขัดต่อเจตนาของโจทก์ ขอให้จำเลยจดทะเบียนแก้คำว่า แบ่งหักให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ ออกไปจากโฉนดที่ดินของโจทก์ แล้วใส่ชื่อโจทก์แทน เมื่อปรากฎตามหลักฐานทางทะเบียนว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นทางสาธารณประโยชน์ ดังนั้น หากโจทก์ชนะคดีโจทก์ย่อมได้รับที่ดินพิพาทดังกล่าวกลับคืนมาเป็นของโจทก์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4931/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยกรณีพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน ราคาไม่เกิน 2 แสนบาท เหตุฎีกาในข้อเท็จจริง
คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินรวม 3 แปลงมาโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่าการเข้าครอบครองที่ดิน ดังกล่าวครอบครองแทน พ. กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามคำร้องขอ เป็นคดีมีทุนทรัพย์และศาลจะต้องแยกพิจารณาที่ดินแต่ละแปลงออกต่างหากจากกันเป็นรายแปลงว่าเป็นดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้างหรือเป็นดังที่ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านทุนทรัพย์จึงต้องแยกออกเฉพาะที่ดินแต่ละแปลง เมื่อปรากฏว่าที่ดินทั้งสามแปลงมี ราคาแปลงละไม่เกินสองแสนบาท จึงเป็นคดีที่ราคา ทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของที่ดิน แต่ละแปลงไม่เกินสองแสนบาท อันต้องห้ามมิให้คู่ความ ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4931/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์, ทุนทรัพย์, ข้อจำกัดการฎีกา: คดีที่ดินราคาไม่เกินสองแสนบาท ไม่อาจฎีกาในข้อเท็จจริงได้
คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินรวม 3 แปลงมาโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า การเข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวครอบครองแทน พ. กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามคำร้องขอ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ และศาลจะต้องแยกพิจารณาที่ดินแต่ละแปลงออกต่างหากจากกันเป็นรายแปลงว่าเป็นดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้างหรือเป็นดังที่ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านทุนทรัพย์จึงต้องแยกออกเฉพาะที่ดินแต่ละแปลง เมื่อปรากฎว่าที่ดินทั้งสามแปลงมีราคาแปลงละไม่เกินสองแสนบาท จึงเป็นคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของที่ดินแต่ละแปลงไม่เกินสองแสนบาท อันต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีหลายข้อหา: ศาลมีอำนาจแยกพิจารณาได้ แม้ฟ้องรวมกันได้แต่มีเจตนาหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล
ตามมาตรา 29 แห่ง ป.วิ.พ.ได้บัญญัติถึงการฟ้องคดีที่มีหลายข้อหาด้วยกันไว้ 2 กรณี คือ คดีที่ฟ้องกันนั้นมีข้อหาหลายข้อด้วยกันและศาลเห็นว่าข้อหาข้อหนึ่งข้อใดเหล่านั้นมิได้เกี่ยวข้องกันกับข้ออื่น ๆ ศาลอาจมีคำสั่งให้แยกคดีตามที่ศาลเห็นสมควรหรือคู่ความผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องขอกรณีหนึ่ง อีกกรณีหนึ่งถ้าคดีที่ฟ้องกันนั้นมีข้อหาหลายข้อและศาลเห็นว่าหากแยกพิจารณาข้อหาทั้งหมดหรือข้อใดข้อหนึ่งออกจากกันแล้วจะทำให้การพิจารณาข้อหาเหล่านั้นสะดวก ก็ให้ศาลมีอำนาจสั่งแยกข้อหาเหล่านั้นทั้งหมด หรือแต่ข้อใดข้อหนึ่งออกพิจารณาต่างหากเป็นเรื่อง ๆ ไปตามที่ศาลเห็นสมควรหรือคู่ความผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องขอ
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินการนำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้ารวม 94 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งมีจำนวนเงินที่ขอให้จำเลยคืนแตกต่างกัน หากต้องแยกพิจารณาตามใบขนสินค้าขาเข้าแต่ละครั้ง เท่ากับต้องพิจารณาคดีแยกกันถึง 94 คดี ทั้ง ๆ ที่คำฟ้องมีสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกันและเป็นคู่ความรายเดียวกัน การพิจารณาไปคราวเดียวกันย่อมสะดวกรวดเร็วและเป็นประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย อีกทั้งข้อหาตามคำฟ้องยังเกี่ยวเนื่องกันหากแยกฟ้องก็สามารถขอให้พิจารณารวมกันได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 28 โจทก์จึงใช้สิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันได้ แต่อย่างไรก็ตาม ตามคำฟ้องของโจทก์จำนวน 94 ข้อ ซึ่งแต่ละข้อสามารถคิดคำนวณจำนวนเงินที่ขอให้เพิกถอนการประเมินและให้จำเลยคืนเงินแยกต่างหากออกจากกันได้ การที่โจทก์ขอให้จำเลยคืนเงินรวมกันมาจำนวนเดียวและเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดครั้งเดียว โดยมิได้แยกทุนทรัพย์แต่ละข้อย่อมประจักษ์ชัดว่า โจทก์เจตนาหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล กรณีโจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามคำฟ้องทุกข้อแยกต่างหากจากกัน
แม้โจทก์สามารถฟ้องข้อหาหลายข้อเป็นคดีเดียวกันได้ก็ดีแต่ต่อมาศาลเห็นว่าหากแยกพิจารณาข้อหาเป็นกลุ่มหรือเป็นประเภทออกจากกันแล้วจะทำให้การพิจารณาข้อหาเหล่านั้นสะดวก ศาลก็ยังมีอำนาจสั่งแยกข้อหาดังกล่าวออกพิจารณาต่างหากเป็นเรื่อง ๆ ไปดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งป.วิ.พ.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีหลายข้อหา - อำนาจศาลในการแยกพิจารณาคดี และการหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล
ตามมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้บัญญัติถึงการฟ้องคดีที่มีหลายข้อหาด้วยกันไว้2 กรณี คือ คดีที่ฟ้องกันนั้นมีข้อหาหลายข้อด้วยกันและศาลเห็นว่าข้อหาข้อหนึ่งข้อใดเหล่านั้นมิได้เกี่ยวข้องกันกับข้ออื่น ๆ ศาลอาจมีคำสั่งให้แยกคดีตามที่ศาลเห็นสมควรหรือคู่ความผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องขอกรณีหนึ่ง อีกกรณีหนึ่งถ้าคดีที่ฟ้องกันนั้นมีข้อหาหลายข้อและศาลเห็นว่าหากแยกพิจารณาข้อหาทั้งหมดหรือข้อใดข้อหนึ่งออกจากกันแล้วจะทำให้การพิจารณาข้อหาเหล่านั้นสะดวก ก็ให้ศาลมีอำนาจสั่งแยกข้อหาเหล่านั้นทั้งหมด หรือแต่ข้อใดข้อหนึ่งออกพิจารณาต่างหากเป็นเรื่อง ๆ ไปตามที่ศาลเห็นสมควรหรือคู่ความผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องขอ คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินการนำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้ารวม 94 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้ง มีจำนวนเงินที่ขอให้จำเลยคืนแตกต่างกัน หากต้องแยก พิจารณาตามใบขนสินค้าขาเข้าแต่ละครั้ง เท่ากับต้อง พิจารณาคดีแยกกันถึง 94 คดี ทั้ง ๆ ที่คำฟ้องมีสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่ง ข้อหาเช่นว่านั้นมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกันและเป็นคู่ความ รายเดียวกัน การพิจารณาไปคราวเดียวกันย่อม สะดวกรวดเร็วและเป็นประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย อีกทั้งข้อหาตามคำฟ้องยังเกี่ยวเนื่องกันหากแยกฟ้องก็สามารถ ขอให้ พิจารณารวมกันได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 28โจทก์จึงใช้สิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันได้แต่อย่างไรก็ตาม ตามคำฟ้องของโจทก์จำนวน 94 ข้อซึ่งแต่ละข้อสามารถคิดคำนวณจำนวนเงินที่ขอให้เพิกถอนการประเมินและให้จำเลยคืนเงินแยกต่างหากออกจากกันได้ การที่โจทก์ขอให้จำเลยคืนเงินรวมกันมาจำนวนเดียวและเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดครั้งเดียว โดยมิได้แยกทุนทรัพย์แต่ละข้อย่อมประจักษ์ชัดว่าโจทก์เจตนาหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล กรณีโจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามคำฟ้องทุกข้อแยกต่างหากจากกัน แม้โจทก์สามารถฟ้องข้อหาหลายข้อเป็นคดีเดียวกันได้ก็ดีแต่ต่อมาศาลเห็นว่าหากแยกพิจารณาข้อหาเป็นกลุ่มหรือเป็นประเภทออกจากกันแล้วจะทำให้การพิจารณาข้อหาเหล่านั้นสะดวก ศาลก็ยังมี อำนาจสั่งแยกข้อหาดังกล่าวออกพิจารณาต่างหากเป็นเรื่อง ๆไปดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การประเมินราคาที่ดินตามสภาพจริง, การกระทำโดยไม่สุจริตเพื่อหวังผลประโยชน์ และค่าขึ้นศาล
แม้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตพระโขนงและเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2530 ได้สิ้นอายุการใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2535 แต่ต่อมาเมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร พ.ศ. 2535 ประกาศใช้ อันมีผลบังคับใช้ในวันที่ 29 สิงหาคม 2535 โดยกำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาฉบับก่อนซึ่งเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือ เนื่องจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 ทำการสำรวจเขตที่ดินเพื่อเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง พ.ศ. 2530 เพื่อประโยชน์ในการสร้างทางพิเศษสายพระโขนง-หัวลำโพง-บางซื่อและสาธร-ลาดพร้าว ยังไม่แล้วเสร็จ การออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร พ.ศ. 2535 เป็นการออกเพื่อดำเนินการในกิจการเดียวกันกับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตพระโขนง พ.ศ. 2530และต่อมาวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2536 โจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530เพื่อสร้างทางพิเศษ โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สายสาธร-ลาดพร้าว(บริเวณโรงซ่อมบำรุง) กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน อันอยู่ในระหว่างเวลาบังคับใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร พ.ศ. 2535 ซึ่งขณะนั้นจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ดังนั้น การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ จำเลยที่ 2 กระทำโดยมีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนกับโจทก์ทั้งสองได้ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ จึงไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ย่อมไม่ตกเป็นโมฆะ
จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ทั้งสองยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดดังนี้เมื่อปรากฏตามสำเนาหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนที่จำเลยทั้งสองอ้างส่งศาลมีข้อความประทับไว้ว่า รับเรื่องแล้ว โดยมีลายมือชื่อผู้รับและผู้ส่งกับวันที่รับหนังสือ คือวันที่ 8 เมษายน 2536 นอกจากนี้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองไว้พิจารณา ย่อมแสดงให้เห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่ 8เมษายน 2536 ที่โจทก์ทั้งสองยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2536 จึงอยู่ภายในกำหนดเวลา 60 วัน ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง และโจทก์ทั้งสองได้ยื่นฟ้องคดีนี้ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ แล้วโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯกันเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2536 ตามเอกสารหมาย จ.7 อันอยู่ในระหว่างเวลาบังคับใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร พ.ศ. 2535 ซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ทำให้จำเลยที่ 2 มีอำนาจตกลงซื้อขายและกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนจากโจทก์ทั้งสองได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 10 เมื่อการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ ที่ถูกเวนคืนจำเลยที่ 1 กระทำโดยอาศัยอำนาจของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 การดำเนินการของฝ่ายจำเลยในการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ทั้งสอง จึงต้องอาศัยอำนาจที่ให้ไว้ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน พ.ศ. 2535 และเนื่องจากไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ทั้งสองที่จะต้องเวนคืนไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนั้น การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสองที่จะต้องเวนคืนจึงต้องคำนึงถึง มาตรา 21(1) ถึง (5) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ
เจ้าของที่ดินได้ทำการพัฒนาที่ดินภายหลังที่ทราบว่ามีพระราชกฤษฎีกาเวนคืนเพื่อให้ที่ดินมีความเจริญขึ้น โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เวนคืนย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนในส่วนที่พัฒนาให้เจริญขึ้นนั้น
โจทก์กับเจ้าของที่ดินข้างเคียงซึ่งมีที่ดินอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตพระโขนงพ.ศ. 2530 และตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตจตุจักร พ.ศ. 2535 ได้ร่วมกันทำการแบ่งแยกที่ดินและทำทางเข้าออกที่ดินในบริเวณดังกล่าวในขณะที่รู้อยู่แล้วว่าที่ดินเหล่านั้นจะต้องถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และโดยมีเจตนาในการแบ่งแยกที่ดินและใช้ส่วนหนึ่งของที่ดินที่แบ่งแยกนั้นสร้างทางลูกรังขึ้น เพื่อใช้เป็นข้ออ้างว่าที่ดินส่วนมากในบริเวณนั้นอยู่ติดทางเพื่อให้ได้เงินค่าทดแทนที่ดินมากขึ้นอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต หากกำหนดเงินค่าทดแทนของโจทก์โดยถือว่าที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์มีสภาพและที่ตั้งในขณะที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตจตุจักร พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับอยู่ติดกับทางลูกรังที่ฝ่ายโจทก์กระทำขึ้นโดยไม่สุจริตดังกล่าวเพิ่มขึ้นกว่าที่ควรจะได้รับอย่างกรณีปกติ ย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่สังคม กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนในคดีนี้มีด้านหนึ่งอยู่ติดทางหรืออยู่ติดถนนสาธารณะ
สภาพที่ดินที่ถูกเวนคืนทั้งสองแปลงของโจทก์ในขณะที่ถูกเวนคืนยังไม่ได้รับการพัฒนา และไม่มีถนนหรือทางสาธารณะเข้าถึงที่ดินทั้งสองแปลง การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้พิจารณากำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนโดยถือตามราคาบัญชีประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน ซึ่งได้ประเมินราคาที่ดินเป็นรายแปลง โดยทางราชการได้สำรวจถึงสภาพทำเลและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ ตลอดจนนำราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินและข้อมูลจากธนาคารพาณิชย์ประกอบในการพิจารณาประเมินราคาที่ดิน โดยคำนึงถึงราคาในขณะประกาศใช้และราคาในอนาคตตามสภาพความเจริญของที่ดินเป็นเกณฑ์ ตามบัญชีประเมินทุนทรัพย์ดังกล่าว กรมที่ดินได้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2538 กำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินของโจทก์สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 138118 ใช้ราคาประเมินของที่ดินที่อยู่ติดซอยตารางวาละ 30,000 บาท และที่ดินโฉนดเลขที่ 138113 ซึ่งเป็นที่ดินทางภารจำยอมตารางวาละ 15,000 บาทซึ่งเชื่อได้ว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 138118 มีราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้ ตารางวาละไม่เกิน 30,000 บาท ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 138118 ตารางวาละ 30,000 บาท จึงชอบด้วยหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21(1) ถึง (5) อันเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนแล้ว
ส่วนการที่ที่ดินโฉนดเลขที่ 138113 เป็นที่ดินที่ได้จดทะเบียนภารจำยอมให้แก่ที่ดินแปลงอื่น 13 แปลง โดยการกระทำที่ไม่สุจริตเพื่อใช้เป็นข้ออ้างให้ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นกว่าที่ควรจะได้รับอย่างกรณีปกติ โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจึงต้องรับผลเสียอันเกิดจากการจดทะเบียนภารจำยอมของที่ดินแปลงนี้เอง การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 138113 ตารางวาละ 15,000 บาท เพราะสภาพที่ดินตกอยู่ในภารจำยอมของที่ดินแปลงอื่นนั้น เป็นธรรมแก่โจทก์แล้ว
โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินที่จะต้องเวนคืนทั้งสองแปลงที่ถูกเวนคืน และโจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นโดยบรรยายฟ้องถึงสิทธิในที่ดินและความเสียหายของโจทก์ทั้งสองรวมกันมา มิได้ระบุแยกเป็นส่วนของโจทก์แต่ละคน และเป็นการฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในที่ดินที่จะต้องเวนคืนในฐานะที่โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวม การคิดค่าขึ้นศาลในแต่ละชั้นศาลจึงต้องคำนวณรวมกันจากจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง โจทก์ทั้งสองจึงต้องชำระค่าขึ้นศาลรวมกันไม่เกิน200,000 บาท ตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ(1)(ก)การที่ศาลชั้นต้นเรียกให้โจทก์ทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นคนละ 200,000 บาทจึงเป็นการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเกินกว่าที่จะต้องเสีย ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นในส่วนที่เรียกเก็บเกินมาให้แก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละที่ดินให้รัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ และการตั้งตัวแทนในการสละ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทโดยโจทก์ไม่ได้แจ้งการครอบครองไว้ แต่ได้เสียภาษีบำรุงท้องที่ตลอดมา ต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ต่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้ทำหนังสือสละการครอบครอง ที่พิพาทตกเป็นของรัฐและแผ่นดินแล้ว เป็นการต่อสู้โดยอ้างกรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เอกสารมีข้อความตอนท้ายว่า ตามที่ทางราชการประสงค์จะใช้ที่ดินที่ข้าพเจ้ายึดถือครอบครองอยู่นี้ เป็นวนอุทยานและแหล่งท่องเที่ยว โจทก์มีความยินดีและเต็มใจไม่ขัดข้องที่ทางราชการจะจัดเป็นวนอุทยานและแหล่งท่องเที่ยว แต่จะขอ ถือกรรมสิทธิ์ในผลอาสินต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ที่ได้ถือครอบครองมาแต่เพียงอย่างเดียวหนังสือดังกล่าวแสดงไว้ ชัดเจนว่าได้มีการสละการครอบครองที่พิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว คงสงวนไว้แต่เพียงสิทธิเหนือพื้นดินเท่านั้นต่อมาทางราชการได้เข้าพัฒนาที่ดินของโจทก์อย่างเปิดเผยและวางแผนดำเนินงานเป็นขั้นตอนติดต่อกันทุกปี นับแต่โจทก์ได้สละการครอบครองโดยใช้งบประมาณแผ่นดินก่อสร้างถนนอาคารเอนกประสงค์ จัดหาม้าหินอ่อนมาวางบริการนักท่องเที่ยวสร้างถังขยะสาธารณะก่อสร้างบ้านพักรับรอง ติดตั้งป้ายชื่อหาดโดยโจทก์ไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน และโจทก์ปล่อยให้ทางราชการดำเนินการก่อสร้างและพัฒนาที่พิพาทเสียงบประมาณไปเป็นจำนวนมาก เป็นระยะเวลา 5 ปี โดยไม่ปรากฏว่าทางราชการได้หลอกลวงโจทก์ให้สละการครอบครองที่พิพาท กรณีฟังได้ว่าโจทก์ได้สละการครอบครองที่พิพาทให้เป็นของรัฐหรือแผ่นดินแล้ว การสละการครอบครองที่ดินมือเปล่าให้แก่ทางราชการโดยจะขอถือกรรมสิทธิ์เฉพาะผลอาสินแต่เพียงอย่างเดียวนั้นมีผลให้ที่ดินที่โจทก์สละการครอบครองกลายเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินทันที โดยไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก เมื่อการแสดงเจตนาสละการครอบครองที่ดินมือเปล่าเป็นกิจการที่กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การตั้งตัวแทนในการสละการครอบครองจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ การที่ อ.สามีโจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือสละการครอบครองที่ดินพิพาทถือได้ว่าโจทก์ได้ตั้งตัวแทนในการสละการครอบครองที่พิพาทแล้ว
of 54