พบผลลัพธ์ทั้งหมด 538 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3656/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทนายความในคดีต่อสู้กรรมสิทธิ์: ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ให้โจทก์ไปประเมินราคาที่พิพาทและเสียค่าขึ้นศาลเพิ่ม ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงขอเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เจ้าพนักงานที่ดินประเมินราคาที่พิพาทซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับไว้ในวันเดียวกันนั้นเองจึงเป็นกรณีที่มีการคำนวณทุนทรัพย์และเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์นั้นแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และขับไล่จำเลยพร้อมบริวารออกไปจากที่พิพาท จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน การกำหนดค่าทนายความใช้แทนให้แก่ผู้ชนะคดีต้องถือเอาค่าทนายความในอัตราขั้นสูงกว่า ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.เป็นหลัก
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ในศาลชั้นต้นสูงกว่าอัตราขั้นสูงตามกฎหมาย แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และขับไล่จำเลยพร้อมบริวารออกไปจากที่พิพาท จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน การกำหนดค่าทนายความใช้แทนให้แก่ผู้ชนะคดีต้องถือเอาค่าทนายความในอัตราขั้นสูงกว่า ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.เป็นหลัก
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ในศาลชั้นต้นสูงกว่าอัตราขั้นสูงตามกฎหมาย แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3656/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณทุนทรัพย์คดี และการกำหนดค่าทนายความตามอัตราขั้นสูงในคดีที่มีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์
ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ให้โจทก์ไปประเมินราคาที่พิพาทและเสียค่าขึ้นศาลเพิ่ม ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงขอเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เจ้าพนักงานที่ดินประเมินราคาที่พิพาทซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับไว้ในวันเดียวกันนั้นเองจึงเป็นกรณีที่มีการ คำนวณทุนทรัพย์และเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์นั้นแล้ว โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และขับไล่จำเลยพร้อมบริวารออกไปจากที่พิพาท จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน การกำหนดค่าทนายความใช้แทนให้แก่ผู้ชนะคดีต้องถือเอาค่าทนายความในอัตราขึ้นสูงกว่า ตามตาราง 6ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เป็นหลัก ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ในศาลชั้นต้นสูงกว่าอัตราขั้นสูงตามกฎหมาย แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2710/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืน, การฟ้องเรียกค่าเสียหาย, และค่าขึ้นศาล: ศาลฎีกาตัดสินเรื่องการประเมินราคา, ขอบเขตการเรียกร้องค่าเสียหาย, และการคืนค่าขึ้นศาล
การกำหนดเงินค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนนั้นจะต้องกำหนดโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21(1) ถึง (5) บัญญัติไว้ประกอบกัน การที่ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทน ให้แก่โจทก์โดยอาศัยราคาประเมินจากสำนักงานกลางประเมินการจัดหาที่ดินเพื่อกิจการของรัฐ กรมที่ดิน และอาศัยราคาซื้อขายที่ดินข้างเคียงที่อยู่ตรงกันข้ามกับที่ดินของโจทก์ที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดขณะนั้นมาเป็นเกณฑ์พิจารณา นับว่าได้นำหลักฐานทั้ง 5 ประการตามมาตรา 21(1) ถึง (5) มาพิจารณาประกอบแล้วจึงเป็นราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์ โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาลดลงและค่าทดแทนความเสียหายที่ต้อง ขาดประโยชน์ในที่ดินที่ต้องเวนคืนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 25 บัญญัติบังคับไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเรียกค่าทดแทนทั้งสองจำนวนดังกล่าวเอาแก่จำเลย โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และที่ 7 เป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่จะต้องเวนคืนโดยมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัด โจทก์ทุกคนจึงมีส่วนเป็นเจ้าของทุกส่วนรวมกัน เมื่อโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และที่ 7ใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนมาจำนวนเดียวกัน โดยมิได้แบ่งแยกว่าแต่ละคนมีสิทธิได้เงินจำนวนเท่าใด อันเป็นการใช้สิทธิร่วมกันมิใช่เป็นกรณีที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัว จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลรวมกันในอัตราสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อมีการเก็บค่าขึ้นศาลเกินกว่าฝ่ายโจทก์จะต้องเสีย จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เรียกเก็บเกินให้แก่ฝ่ายโจทก์ตามส่วนที่โจทก์แต่ละคนเสียเกินมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลฎีกา: เจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์รวมของที่ดินที่ถูกเวนคืน หากไม่ปฏิบัติตามศาลมีสิทธิไม่รับฎีกา
เมื่อโจทก์ทั้งสี่ยื่นฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์ทั้งสี่เสียค่าขึ้นศาลในส่วนของแต่ละคนเพิ่มภายใน10 วัน แม้โจทก์ทั้งสี่เห็นว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินโฉนดที่ถูกเวนคืน ในการจ่ายค่าทดแทนของจำเลยจะจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสี่ร่วมกัน ในการคำนวณทุนทรัพย์เสียค่าฤชาธรรมเนียมในคดีจึงต้องคำนวณ จากทุนทรัพย์ที่เป็นข้อโต้แย้งของการจ่ายค่าทดแทนในที่ดินโฉนดที่ถูกเวนคืน มิใช่เสียค่าขึ้นศาลในแต่ละคนตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก็ตาม โจทก์ทั้งสี่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวก่อน หากโจทก์ทั้งสี่ไม่เห็นพ้องกับคำสั่งของศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งในภายหลังได้เมื่อโจทก์ทั้งสี่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ทั้งสี่จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคดีเวนคืนที่ดินร่วม: คำนวณจากทุนทรัพย์ข้อโต้แย้ง ไม่ใช่รายบุคคล
เมื่อโจทก์ทั้งสี่ยื่นฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์ทั้งสี่เสียค่าขึ้นศาลในส่วนของแต่ละคนเพิ่มภายใน 10 วัน แม้โจทก์ทั้งสี่เห็นว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินโฉนดที่ถูกเวนคืน ในการจ่ายค่าทดแทนของจำเลยจะจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสี่ร่วมกัน ในการคำนวณทุนทรัพย์เสียค่าฤชาธรรมเนียมในคดีจึงต้องคำนวณจากทุนทรัพย์ที่เป็นข้อโต้แย้งของการจ่ายค่าทดแทนในที่ดินโฉนดที่ถูกเวนคืน มิใช่เสียค่าขึ้นศาลในแต่ละคนตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก็ตาม โจทก์ทั้งสี่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวก่อน หากโจทก์ทั้งสี่ไม่เห็นพ้องกับคำสั่งของศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งในภายหลังได้ เมื่อโจทก์ทั้งสี่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ทั้งสี่จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดทุนทรัพย์ที่ไม่ถูกต้อง การรังวัดที่ดิน และการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ศาลยุติการดำเนินคดี
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินภายในเส้นสีน้ำเงิน จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ในบริเวณเส้นสีแดงเนื้อที่ 3 ไร่เศษ ราคา 15,000 บาทตามแผนที่ท้ายฟ้อง และตัดฟันต้นไม้ของโจทก์คิดค่าเสียหาย5,000 บาท กับค่าขาดประโยชน์ 250 บาท ขอให้ขับไล่และ ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง และให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย5,250 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย มีเนื้อที่ 10 ไร่ ราคาไร่ละ 7,000 บาทรวมทุนทรัพย์ 70,000 บาท ทุนทรัพย์ตามฟ้องโจทก์ไม่ถูกต้องและแผนที่ท้ายฟ้องไม่ถูกต้อง ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ และค่าเสียหายโจทก์มีเพียงใด ส่วนประเด็นว่า ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่เพียงใด และราคาไร่ละเท่าใด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทและตรวจสอบราคาที่ดิน แทนที่โจทก์และจำเลยจะนำชี้เพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินพิพาทในเขตสีแดงตามประเด็นแห่งคดี จำเลยกลับนำชี้เอาที่ดินนอกเขตพิพาทอันเป็นส่วนที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องรวมเข้ากับที่ดินพิพาทภายในเขตสีน้ำเงินที่จำเลยต่อสู้ ว่าเป็นที่ดินของจำเลย โดยโจทก์และจำเลยไม่ได้นำชี้ให้รังวัดที่ดินพิพาทในแนวเขตสีแดง เช่นนี้จึงไม่อาจทราบว่า ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่เท่าใด กรณีต้องถือว่า ที่ดินพิพาท มีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ ตามฟ้องโจทก์และมีราคาไร่ละ 6,000 บาทตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองรับกันเมื่อรวมค่าเสียหายของต้นไม้ 5,000 บาท และค่าขาดประโยชน์อีก 250 บาท ตามฟ้องโจทก์คดีจึงมีทุนทรัพย์รวม 23,250 บาท ทุนทรัพย์ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเกิดจากการนำเอาที่ดินนอกแนวเขตพิพาทที่จำเลยนำชี้ตามแนวเขตสีน้ำเงินของโจทก์ทั้งหมดมารวมเข้าเป็นที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นที่ดินนอกคำฟ้องโจทก์และนอกเหนือคำให้การของจำเลยจึงเป็นที่ดินนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่อาจนำมารวมเข้าเป็นที่ดินพิพาทได้ จึงเป็นการกำหนดทุนทรัพย์พิพาทที่ไม่ชอบ แม้โจทก์จะยอมเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามทุนทรัพย์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามคำสั่งศาลชั้นต้นก็ตาม ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงทุนทรัพย์เดิมที่ถูกต้องอยู่แล้วมาเป็นทุนทรัพย์ใหม่ที่ไม่ถูกต้องได้ คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่เป็นของโจทก์ พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าตามพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์5,250 บาท ตามฟ้อง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะยกอุทธรณ์เสียการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ และเป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ต้องถือว่าคดีโจทก์ยุติลงในศาลชั้นต้นแม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองฎีกาของโจทก์ว่ามีเหตุอันควรฎีกาในข้อเท็จจริงได้ ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์ที่ยุติไปแล้วกลับฟื้นคืนมาได้อีก ทั้งไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะฎีกาในคดีที่ยุติไปแล้ว ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาของโจทก์ ให้คืนค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาทั้งหมดแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดทุนทรัพย์พิพาทที่ไม่ชอบ และข้อห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ส่งผลให้ฎีกาไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินภายในเส้นสีน้ำเงิน จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ในบริเวณเส้นสีแดงเนื้อที่ 3 ไร่เศษราคา 15,000 บาท ตามแผนที่ท้ายฟ้อง และตัดฟันต้นไม้ของโจทก์คิดค่าเสียหาย5,000 บาท กับค่าขาดประโยชน์ 250 บาท ขอให้ขับไล่และห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง และให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 5,250 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย มีเนื้อที่ 10 ไร่ ราคาไร่ละ 7,000 บาทรวมทุนทรัพย์ 70,000 บาท ทุนทรัพย์ตามฟ้องโจทก์ไม่ถูกต้อง และแผนที่ท้ายฟ้องไม่ถูกต้อง ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ และค่าเสียหายโจทก์มีเพียงใด ส่วนประเด็นว่า ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่เพียงใด และราคาไร่ละเท่าใดศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทและตรวจสอบราคาที่ดิน แทนที่โจทก์และจำเลยจะนำชี้เพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินพิพาทในเขตสีแดงตามประเด็นแห่งคดี จำเลยกลับนำชี้เอาที่ดินนอกเขตพิพาทอันเป็นส่วนที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องรวมเข้ากับที่ดินพิพาทภายในเขตสีน้ำเงินที่จำเลยต่อสู้ว่าเป็นที่ดินของจำเลย โดยโจทก์และจำเลยไม่ได้นำชี้ให้รังวัดที่ดินพิพาทในแนวเขตสีแดง เช่นนี้จึงไม่อาจทราบว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่เท่าใด กรณีต้องถือว่า ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ตามฟ้องโจทก์ และมีราคาไร่ละ 6,000 บาท ตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองรับกันเมื่อรวมค่าเสียหายของต้นไม้ 5,000 บาท และค่าขาดประโยชน์อีก 250 บาทตามฟ้องโจทก์ คดีจึงมีทุนทรัพย์รวม 23,250 บาท
ทุนทรัพย์ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเกิดจากการนำเอาที่ดินนอกแนวเขตพิพาทที่จำเลยนำชี้ตามแนวเขตสีน้ำเงินของโจทก์ทั้งหมดมารวมเข้าเป็นที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นที่ดินนอกคำฟ้องโจทก์และนอกเหนือคำให้การของจำเลยจึงเป็นที่ดินนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่อาจนำมารวมเข้าเป็นที่ดินพิพาทได้ จึงเป็นการกำหนดทุนทรัพย์พิพาทที่ไม่ชอบ แม้โจทก์จะยอมเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามทุนทรัพย์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามคำสั่งศาลชั้นต้นก็ตาม ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงทุนทรัพย์เดิมที่ถูกต้องอยู่แล้วมาเป็นทุนทรัพย์ใหม่ที่ไม่ถูกต้องได้
คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่เป็นของโจทก์ พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าตามพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ 5,250 บาท ตามฟ้อง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะยกอุทธรณ์เสียการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ และเป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ต้องถือว่าคดีโจทก์ยุติลงในศาลชั้นต้น แม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองฎีกาของโจทก์ว่ามีเหตุอันควรฎีกาในข้อเท็จจริงได้ ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์ที่ยุติไปแล้วกลับฟื้นคืนมาได้อีก ทั้งไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะฎีกาในคดีที่ยุติไปแล้ว ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาของโจทก์ ให้คืนค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาทั้งหมดแก่โจทก์
ทุนทรัพย์ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเกิดจากการนำเอาที่ดินนอกแนวเขตพิพาทที่จำเลยนำชี้ตามแนวเขตสีน้ำเงินของโจทก์ทั้งหมดมารวมเข้าเป็นที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นที่ดินนอกคำฟ้องโจทก์และนอกเหนือคำให้การของจำเลยจึงเป็นที่ดินนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่อาจนำมารวมเข้าเป็นที่ดินพิพาทได้ จึงเป็นการกำหนดทุนทรัพย์พิพาทที่ไม่ชอบ แม้โจทก์จะยอมเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามทุนทรัพย์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามคำสั่งศาลชั้นต้นก็ตาม ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงทุนทรัพย์เดิมที่ถูกต้องอยู่แล้วมาเป็นทุนทรัพย์ใหม่ที่ไม่ถูกต้องได้
คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่เป็นของโจทก์ พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าตามพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ 5,250 บาท ตามฟ้อง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะยกอุทธรณ์เสียการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ และเป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ต้องถือว่าคดีโจทก์ยุติลงในศาลชั้นต้น แม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองฎีกาของโจทก์ว่ามีเหตุอันควรฎีกาในข้อเท็จจริงได้ ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์ที่ยุติไปแล้วกลับฟื้นคืนมาได้อีก ทั้งไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะฎีกาในคดีที่ยุติไปแล้ว ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาของโจทก์ ให้คืนค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาทั้งหมดแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์หรือไม่พิจารณาจากคำให้การ หากจำเลยต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์ ฟ้องไม่เคลือบคลุมเมื่อบรรยายรายละเอียดได้
การที่จะถือว่าเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์หรือไม่นั้นจะต้องพิเคราะห์คำให้การประกอบด้วย มิใช่พิเคราะห์แต่คำฟ้องเพียงอย่างเดียว เพราะแม้คำฟ้องจะเป็นคดีขอให้ปลดเปลื้อง ทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ก็ตาม แต่ถ้าจำเลยให้การต่อสู้ในเรื่องกรรมสิทธิ์แล้ว ก็ต้องกลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ปลูกสร้างโรงเรือนที่จอดรถในที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศตะวันตกซึ่งเป็นทางเข้าในที่ดินของโจทก์เป็นเนื้อที่ประมาณ 15 ตารางวา ทั้งได้แสดงภาพถ่ายโรงเรือนที่จอดรถของจำเลยมาด้วย ซึ่งทำให้จำเลยสามารถเข้าใจได้แล้ว ส่วนในเรื่องที่ดินที่เสียหายอยู่ในส่วนไหน กว้างยาวเท่าใดและวัน เดือน ปีที่จำเลยทำการปลูกสร้างโรงเรือนที่จอดรถนั้น เป็นรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ตลอดจนปรากฎจากคำให้การว่าจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้องด้วย ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8221/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การคำนวณค่าทดแทนที่เหมาะสมและดอกเบี้ยตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า "ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น" จากบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่มโดยที่ศาลวินิจฉัยให้ก็ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นแต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 13 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ทั้งสาม โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดหรือ ผิดนัดชำระหนี้ต่อโจทก์หรือไม่ โจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของรวมในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนโดยมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดโจทก์ทุกคนจึงมีส่วนเป็นเจ้าของทุกส่วนรวมกัน เมื่อโจทก์ทั้งสามใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนมาจำนวนเดียวกันโดย มิได้แบ่งแยกว่าแต่ละคนมีสิทธิได้เงินค่าทดแทนเท่าใดอันเป็นการใช้สิทธิร่วมกัน มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัว จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลรวมกัน สำหรับคดีนี้โจทก์ทั้งสามต้องร่วมกันเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดคือศาลละ 200,000 บาท เนื่องจากมีการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเฉพาะในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาเกินกว่าศาลละ 200,000 บาทจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาในส่วนที่เรียกเก็บเกินกว่าศาลละ 200,000 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสาม ค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้แก่โจทก์ และจำเลยยังจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสามไม่ครบนั้น เมื่อฝ่ายจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับ หรือโต้แย้งว่าจะไม่จ่ายเงินค่าทดแทนดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์จึงชอบที่จะไปขอ รับเงินค่าทดแทนที่ยังจ่ายไม่ครบดังกล่าวนั้นจากจำเลย ทั้งสองได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8221/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนเวนคืน, ดอกเบี้ย, ค่าขึ้นศาล, สิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทน, เจ้าของรวม
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า "ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น..." จากบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่มโดยที่ศาลวินิจฉัยให้ ก็ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นแต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 13 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ทั้งสาม โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดหรือผิดนัดชำระหนี้ต่อโจทก์หรือไม่
โจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของรวมในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนโดยมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัด โจทก์ทุกคนจึงมีส่วนเป็นเจ้าของทุกส่วนรวมกัน เมื่อโจทก์ทั้งสามใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนมาจำนวนเดียวกันโดยมิได้แบ่งแยกว่าแต่ละคนมีสิทธิได้เงินค่าทดแทนเท่าใด อันเป็นการใช้สิทธิร่วมกัน มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัว จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลรวมกัน สำหรับคดีนี้โจทก์ทั้งสามต้องร่วมกันเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดคือศาลละ 200,000 บาท เนื่องจากมีการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเฉพาะในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาเกินกว่าศาลละ 200,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาในส่วนที่เรียกเก็บเกินกว่าศาลละ 200,000 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสาม
ค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้แก่โจทก์ และจำเลยยังจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสามไม่ครบนั้น เมื่อฝ่ายจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับ หรือโต้แย้งว่าจะไม่จ่ายเงินค่าทดแทนดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์จึงชอบที่จะไปขอรับเงินค่าทดแทนที่ยังจ่ายไม่ครบดังกล่าวนั้นจากจำเลยทั้งสองได้อีก
โจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของรวมในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนโดยมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัด โจทก์ทุกคนจึงมีส่วนเป็นเจ้าของทุกส่วนรวมกัน เมื่อโจทก์ทั้งสามใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนมาจำนวนเดียวกันโดยมิได้แบ่งแยกว่าแต่ละคนมีสิทธิได้เงินค่าทดแทนเท่าใด อันเป็นการใช้สิทธิร่วมกัน มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัว จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลรวมกัน สำหรับคดีนี้โจทก์ทั้งสามต้องร่วมกันเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดคือศาลละ 200,000 บาท เนื่องจากมีการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเฉพาะในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาเกินกว่าศาลละ 200,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาในส่วนที่เรียกเก็บเกินกว่าศาลละ 200,000 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสาม
ค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้แก่โจทก์ และจำเลยยังจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสามไม่ครบนั้น เมื่อฝ่ายจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับ หรือโต้แย้งว่าจะไม่จ่ายเงินค่าทดแทนดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์จึงชอบที่จะไปขอรับเงินค่าทดแทนที่ยังจ่ายไม่ครบดังกล่าวนั้นจากจำเลยทั้งสองได้อีก