คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 150

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 538 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5194/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทายาทตามพินัยกรรมมีอำนาจฟ้องเรียกร้องมรดก แม้มีผู้จัดการมรดก และข้อจำกัดการฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริง
การตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมก็เพื่อความสะดวกในการแบ่งทรัพย์ให้แก่ทายาทเท่านั้น หาได้มีกฎหมายห้ามทายาทตามพินัยกรรมฟ้องเรียกเอามรดกเป็นส่วนของตนไม่ โจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้ใส่ชื่อโจทก์ทั้งห้าเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทคนละ 78.33 ตารางวา ในคำฟ้องเดียวกันเป็นเรื่องแต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55ต้องถือทุนทรัพย์แต่ละคนแยกกัน โจทก์ทั้งห้าตั้งทุนทรัพย์รวมกันมาเป็นเงิน 833,466 บาท เท่ากับโจทก์ตั้งทุนทรัพย์คนละ 166,693.20บาท ซึ่งไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4950/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: คดีเถียงกรรมสิทธิ์ในที่ดินราคาน้อยกว่าสองแสนบาท ฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงซึ่งมีราคา 25,000 บาท และ 30,000 บาทตามลำดับขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และให้จำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ต. ผู้ตายไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงชื่อทางทะเบียนตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของที่ดินพิพาทเป็นชื่อโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของ ต.และ ส.ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาต่อมาต.ยกให้ส.ที่ดินพิพาทจึงเป็นของ ส. มิใช่ของโจทก์ ดังนี้ เป็นการต่อสู้เถียงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4875/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องถอดถอนผู้จัดการทรัพย์สิน และการแต่งตั้งผู้จัดการทรัพย์สินใหม่ ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอหรือไม่
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งถอดถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ และแต่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ต่อไป จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ถอดถอนจำเลย และโจทก์ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทรวม2 ประเด็น คือ สมควรถอดถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่หรือไม่ เป็นประเด็นข้อแรก และสมควรตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่หรือไม่ เป็นประเด็นข้อ 2 ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรและมีคำพิพากษาตั้งโจทก์เข้าร่วมเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ จึงเป็นการวินิจฉัยในข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นโดยชอบ และเป็นคำพิพากษาตามคำขอในประเด็นข้อ 2 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์ของผู้ไม่อยู่ร่วมกับจำเลย เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันแล้วในศาลชั้นต้นโดยชอบ และเป็นการพิพากษาเกินคำขอ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบนั้น เป็นฎีกาเกี่ยวกับคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวนเป็นราคาเงินได้ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4875/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอดถอนและแต่งตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่เกินคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งถอดถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ และแต่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ต่อไป จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ถอดถอนจำเลย และโจทก์ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทรวม 2 ประเด็น คือ สมควรถอดถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่หรือไม่ เป็นประเด็นข้อแรกและสมควรตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่หรือไม่เป็นประเด็นข้อ 2 ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรและมีคำพิพากษาตั้งโจทก์เข้าร่วมเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ จึงเป็นการวินิจฉัยในข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นโดยชอบ และเป็นคำพิพากษาตามคำขอในประเด็นข้อ 2 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์ของผู้ไม่อยู่ร่วมกับจำเลย เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันแล้วในศาลชั้นต้นโดยชอบ และเป็นการพิพากษาเกินคำขอคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบนั้น เป็นฎีกาเกี่ยวกับคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4875/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาศาลอุทธรณ์ตั้งผู้จัดการทรัพย์สินร่วมกับจำเลยเดิม ไม่เกินคำขอและชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งถอดถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ และแต่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ต่อไป จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ถอดถอนจำเลย และโจทก์ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทรวม 2 ประเด็น คือ สมควรถอดถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่หรือไม่ เป็นประเด็นข้อแรกและสมควรตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่หรือไม่เป็นประเด็นข้อ 2 ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรและมีคำพิพากษาตั้งโจทก์เข้าร่วมเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ จึงเป็นการวินิจฉัยในข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นโดยชอบและเป็นคำพิพากษาตามคำขอในประเด็นข้อ 2 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว ที่จำเลยฎีกาเฉพาะข้อกฎหมายว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์ของผู้ไม่อยู่ร่วมกับจำเลยเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันแล้วในศาลชั้นต้นโดยชอบและเป็นการพิพากษาเกินคำขอคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบนั้นเป็นฎีกาเกี่ยวกับคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก) เมื่อปรากฏว่าจำเลยเสียค่าขึ้นศาลดังกล่าวเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เกินให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4819/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-ประเด็นทรัพย์มรดก: ศาลฎีกายืนตามศาลล่าง คดีฟ้องแย้งเรื่องกรรมสิทธิ์รถยนต์
จำเลยเคยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ว่า รถยนต์คันพิพาทในคดีนี้เป็นทรัพย์มรดกของพลตำรวจตรีท. ขอให้โจทก์คืนรถยนต์คันพิพาทให้จำเลยหรือใช้ราคาโจทก์ให้การว่ารถยนต์คันพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ซึ่งมีประเด็นว่ารถยนต์คันพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของพลตำรวจตรีท. หรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีเดิมยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ว่ารถยนต์คันพิพาทโจทก์เป็นเจ้าของร่วมกับพลตำรวจตรีท.ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าโจทก์มีสิทธิในทรัพย์มรดกของพลตำรวจตรี ท. ด้วยหรือไม่ อันเป็นประเด็นเดียวกันกับที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยมาแล้วในคดีเดิมฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 โจทก์ฎีกาเพียงแต่ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่ มิได้ฎีกาขอให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดี จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาคิดตามจำนวนทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เสียเกินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดิน: วิธีการแบ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1364 และข้อจำกัดในการฎีกา
โจทก์ฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่เศษ จากจำนวนที่ดิน 7 ไร่ 1 งาน จำเลยให้การว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมเพียง1 งาน 26 ตารางวา เป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่โต้แย้งกันในจำนวนที่ดินส่วนที่ต่างกัน คู่ความตีราคาทุนทรัพย์พิพาท 90,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองไปทำการรังวัดแบ่งแยกที่ดินให้โจทก์กึ่งหนึ่ง หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะไม่เป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดเรียกร้องที่ดินจากโจทก์ ถือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินมีโฉนดของโจทก์จำเลยให้การต่อสู้คดี ต่อมาผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามอ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของผู้ร้องสอดให้โจทก์มีชื่อในโฉนดถือกรรมสิทธิ์แทนผู้ร้องสอดขอให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้เป็นชื่อของผู้ร้องสอด ดังนี้ คำร้องสอดของผู้ร้องสอดเป็นการเรียกร้องที่ดินพิพาทจากโจทก์ ทั้งโจทก์ก็ให้การแก้คำร้องสอดปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไว้แทนผู้ร้องสอด จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ผู้ร้องสอดต้องเสียค่าขึ้นศาลตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยตาราง 1 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2449/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเกี่ยวกับเนื้อที่และราคาที่ดิน ส่งผลต่อการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และขับไล่จำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย และครอบครองตลอดมา ดังนี้ เป็นการโต้เถียงกันในสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์
แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยครอบครองมีเนื้อที่ประมาณ28 ไร่เศษ แต่เมื่อในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์และจำเลยขอให้ทำแผนที่พิพาทปรากฏตามแผนที่พิพาทว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยครอบครองมีเนื้อที่ 17 ไร่ 1 งาน 45 ตารางวาจึงต้องถือว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 17 ไร่ 1 งาน 45 ตารางวา ในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1ตีราคาที่ดินพิพาทตามคำให้การของจำเลยในราคาไร่ละ 10,000 บาท ซึ่งโจทก์มิได้คัดค้านและมิได้ฎีกาโต้เถียงราคาทรัพย์ที่พิพาทที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดดังกล่าวจึงถือว่าโจทก์ยอมรับในข้อนี้ ดังนี้จึงเป็นคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน173,625 บาท หาใช่เนื้อที่ 28 ไร่ เป็นเงิน 280,000 บาทไม่ คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2449/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 173,625 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และขับไล่จำเลยจำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย และครอบครองตลอดมาดังนี้ เป็นการโต้เถียงกันในสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยครอบครองมีเนื้อที่ประมาณ 28 ไร่เศษ แต่เมื่อในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์และจำเลยขอให้ทำแผนที่พิพาทปรากฏตามแผนที่พิพาทว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยครอบครองมีเนื้อที่ 17 ไร่ 1 งาน 45 ตารางวาจึงต้องถือว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 17 ไร่ 1 งาน 45 ตารางวาในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตีราคาที่ดินพิพาทตามคำให้การของจำเลยในราคาไร่ละ 10,000 บาท ซึ่งโจทก์มิได้คัดค้านและมิได้ฎีกาโต้เถียงราคาทรัพย์ที่พิพาทที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดดังกล่าวจึงถือว่าโจทก์ยอมรับในข้อนี้ ดังนี้จึงเป็นคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน 173,625 บาทหาใช่เนื้อที่ 28 ไร่ เป็นเงิน 280,000 บาทไม่ คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา248 วรรคหนึ่ง
of 54