พบผลลัพธ์ทั้งหมด 538 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7423/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: ผู้ร้องไม่ต้องบรรยายสถานะบุคคลภายนอกของคู่กรณีในคำร้อง
ในชั้นยื่นคำร้องขอครอบครองปรปักษ์ ผู้ร้องเพียงแต่บรรยายให้ปรากฏว่า ผู้ร้องได้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 5 ปี หรือ 10 ปี แล้วแต่กรณี ก็ถือว่าเป็นคำร้องที่ได้บรรยายโดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนผู้คัดค้านจะเป็นบุคคลภายนอกและได้ทรัพย์ที่ผู้ร้องร้องขอครอบครองปรปักษ์มาโดยสุจริตหรือไม่ ไม่ใช่สภาพแห่งข้อหาหรือข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ไม่จำต้องบรรยายมาในคำร้องขอ
ผู้ร้องและผู้คัดค้านอุทธรณ์และฎีกาขอให้ศาลสูงพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลล่าง แต่เมื่อผลของคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 และศาลฎีกามีเพียงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่หรือไม่เท่านั้น จึงเป็นการขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันมิอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าชึ้นศาลเพียง 200 บาท
ผู้ร้องและผู้คัดค้านอุทธรณ์และฎีกาขอให้ศาลสูงพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลล่าง แต่เมื่อผลของคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 และศาลฎีกามีเพียงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่หรือไม่เท่านั้น จึงเป็นการขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันมิอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าชึ้นศาลเพียง 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7191/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิฟ้องโดยไม่สุจริตและเจตนาทำให้ผู้อื่นเสียหาย ถือเป็นการละเมิดและมีอำนาจฟ้องได้
การเป็นโจทก์ฟ้องคดี แม้จะถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิทางศาลตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ แต่หากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและมีความมุ่งหมายหรือเจตนาที่จะให้จำเลยได้รับความเสียหาย ก็ย่อมเป็นการละเมิด
การที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้อง หากศาลฎีกาพิพากษาให้ตามขอก็เป็นเพียงการย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
การที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้อง หากศาลฎีกาพิพากษาให้ตามขอก็เป็นเพียงการย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6343/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหลังศาลตัดสินแล้ว ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์อ้างว่า ผู้ร้องได้รับโอนสินทรัพย์รวมทั้งสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยมาจากโจทก์ ซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวโจทก์ได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติการชำระหนี้เป็นคดีนี้พร้อมกับได้เสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องและศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้บังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจึงเป็นการขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนที่โจทก์เดิมเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยต่อไปเท่านั้น หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตก็ไม่มีผลทำให้ผู้ร้องได้รับเงินหรือทรัพย์สินใดๆ เพิ่มขึ้น ผู้ร้องจึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4407/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้างว่าความ, การพิจารณาคดีหลังยกคำพิพากษา, กระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียกค่าจ้างว่าความขาดอายุความแล้ว โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกเอาค่าจ้างว่าความยังไม่ขาดอายุความ จึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ประเด็นเรื่องอายุความจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลชั้นต้นจึงต้องดำเนินการพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาใหม่เฉพาะในประเด็นเรื่องค่าจ้างว่าความเท่านั้น
ศาลชั้นต้นสืบพยานจนเสร็จสิ้นกระแสความและมีคำพิพากษาแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อไปได้ โดยไม่ต้องกำหนดวันนัดพิจารณาอีก
จำเลยฎีกาโต้แย้งกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ประเด็นตามฎีกาของจำเลยมิได้มีผลเกี่ยวกับทุนทรัพย์ในคดี จำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์จำนวน 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นสืบพยานจนเสร็จสิ้นกระแสความและมีคำพิพากษาแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อไปได้ โดยไม่ต้องกำหนดวันนัดพิจารณาอีก
จำเลยฎีกาโต้แย้งกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ประเด็นตามฎีกาของจำเลยมิได้มีผลเกี่ยวกับทุนทรัพย์ในคดี จำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์จำนวน 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3050/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: คดีมีทุนทรัพย์เกิน 300,000 บาท แม้คำขอท้ายฟ้องระบุจำนวนเงินน้อยกว่า ศาลแขวงไม่มีอำนาจพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญากู้เงินซึ่งเป็นโมฆะ และขอเรียกเงินคืน 275,957 บาท อันเป็นจำนวนเงินที่ไม่เกิน 300,000 บาท แต่เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ยังคงค้างชำระต้นเงินตามสัญญากู้ดังกล่าวจำนวน 445,502.50 บาท ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าว ผลของคำพิพากษาก็คือเมื่อโจทก์ชนะคดีทำให้โจทก์ไม่ต้องชำระต้นเงินที่ค้างจำนวน 445,502.50 บาท กรณีจึงเป็นคำฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 150 เป็นคดีมีทุนทรัพย์เกินกว่า 300,000 บาท ศาลแขวงจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 และ 25 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2184/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์: กรณีอุทธรณ์ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นคดีมีทุนทรัพย์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 8,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับถัดจากวันกู้เงินจนถึงวันชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด คืออัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 และมาตรา 224 ทั้งเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 จึงบังคับดอกเบี้ยได้เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควร คืออัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ โดยให้จำเลยรับผิดในดอกเบี้ยเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควร ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยอุทธรณ์คัดค้านจำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ ซึ่งหากศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชนะคดีตามอุทธรณ์ ทุกข์ของจำเลยย่อมปลดเปลื้องไปเท่ากับจำนวนดอกเบี้ยที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยไม่ต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่จำเลยเรียกร้องให้รับผิดลดลง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 150 วรรคสอง ทั้งนี้ ไม่เกี่ยวกับว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1997/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์: กรณีคัดค้านมูลหนี้ร่วมรับผิด
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า ตามคำฟ้องของโจทก์ โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้ยืมเงินของโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในโฉนดที่ดินที่จำนอง เมื่อสัญญากู้มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้แต่เพียงผู้เดียว จำเลยที่ 2 มิได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ด้วย จึงไม่ต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 ทั้งมิได้อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกัน จึงไม่ต้องรับผิดตามตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 ขอให้ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องจำเลยที่ 2 นั้น เป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์คัดค้านมูลหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการพิพาทกันในเรื่องทรัพย์สิน จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ จำเลยที่ 2 จะต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1917/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองที่ดินโดยผู้ไม่มีสิทธิ และสิทธิในการเพิกถอนนิติกรรมจำนองของผู้มีสิทธิในที่ดิน
ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสอง การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมเป็นการต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 ไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสอง โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 จะรับจำนองไว้โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อการจำนองไม่มีผลตามกฎหมายเสียแล้ว โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนนิติกรรมจำนองนั้นได้ การที่โจทก์ทั้งสองขอให้ศาลพิพากษาห้ามจำเลยทั้งสองเกี่ยวข้อง จึงมีความหมายรวมอยู่ในตัวว่าโจทก์ทั้งสองขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง เพื่อให้จำเลยทั้งสองสิ้นสิทธิในที่ดินพิพาทจะเข้ามาเกี่ยวข้องอีกต่อไปไม่ได้ การที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง จึงเป็นการปรับกฎหมายให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่เข้าใจได้จากรายละเอียดของคำฟ้อง ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
โจทก์ทั้งสองฎีกาขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทโดยข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 แล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสอง คดีในชั้นฎีกาไม่มีประเด็นโต้เถียงเรื่องความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จึงไม่มีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ.
โจทก์ทั้งสองฎีกาขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทโดยข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 แล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสอง คดีในชั้นฎีกาไม่มีประเด็นโต้เถียงเรื่องความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จึงไม่มีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค้า: กิจการลูกหนี้เป็นหลักพิจารณาข้อยกเว้นอายุความ 2 ปี
ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบซึ่งอยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี นั้น ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) บัญญัติยกเว้นกรณีที่ไม่อยู่ในบังคับของกำหนดอายุความดังกล่าวไว้ว่า เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดข้อยกเว้นโดยให้พิจารณาถึงกิจการของฝ่ายลูกหนี้เป็นสำคัญ กรณีใดจะเข้าข้อยกเว้นดังกล่าวหรือไม่ จึงไม่จำต้องคำนึงว่าเป็นการที่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของฝ่ายเจ้าหนี้ด้วยหรือไม่ การที่จำเลยที่ 1 ซื้อปูนซีเมนต์จากโจทก์นำไปจำหน่ายหรือนำไปผสมเป็นคอนกรีตผสมเสร็จจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป ย่อมถือได้ว่าเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ อันเป็นกรณีที่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี แต่มีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (3)
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาบังคับตามฟ้อง และเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความแล้ว มิได้วินิจฉัยประเด็นอื่นต่อไป แต่ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ โจทก์ชอบที่จะเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์เป็นเงิน 200 บาท แต่เมื่อศาลอุทธรณ์สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์ได้
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาบังคับตามฟ้อง และเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความแล้ว มิได้วินิจฉัยประเด็นอื่นต่อไป แต่ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ โจทก์ชอบที่จะเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์เป็นเงิน 200 บาท แต่เมื่อศาลอุทธรณ์สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10306/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันการผ่อนชำระภาษีฯ ผู้ค้ำประกันสละสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน ทำให้เป็นลูกหนี้ร่วม
ตามสัญญาค้ำประกันการผ่อนชำระภาษีอากร จำเลยที่ 3 ให้สัญญาไว้กับกรมสรรพากรโจทก์ว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าภาษีอากร จำเลยที่ 3 จะนำเงินมาชำระให้แก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง โดยจำเลยที่ 3 จะนำเงินมาชำระให้แทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขอผ่อนชำระภาษีอากรโดยมิต้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ต้องชำระก่อน เป็นกรณีที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันสละสิทธิที่จะขอให้เรียกจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนและสละสิทธิที่จะให้โจทก์บังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 688 และ 689 อันมีผลทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 หรือที่ 3 คนใดคนหนึ่งชำระหนี้สิ้นเชิง โดยจำเลยที่ 1 และที่ 3 ยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์จนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นเชิง จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 อย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 691
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 อย่างลูกหนี้ร่วม จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จำนวน 200 บาท เท่านั้น ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2) (ก) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 24
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 อย่างลูกหนี้ร่วม จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จำนวน 200 บาท เท่านั้น ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2) (ก) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 24