คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 150

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 538 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6882/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคำนวณจากทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคน แม้ฟ้องรวมกัน
การพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาจากคำฟ้องของคดีนั้นเป็นเกณฑ์
โจทก์ทั้งยี่สิบบรรยายฟ้องว่า โจทก์แต่ละคนต่างเป็นผู้เช่าแผงขายของในตลาด โดยมิได้เกี่ยวข้องกัน โจทก์ทั้งยี่สิบจึงมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีและต่างใช้สิทธิฟ้องคดีนี้เป็นการเฉพาะตัว โจทก์ทั้งยี่สิบสามารถที่จะยื่นฟ้องจำเลยแยกจากกันได้ ทั้งศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แต่ละคนแยกฟ้องจำเลยออกจากกันหรือศาลอาจให้รวมพิจารณาไปในคราวเดียวกันได้ เมื่อเห็นว่าเป็นการสะดวกรวดเร็ว และเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนจึงแยกจากกันได้ เมื่อโจทก์ทั้งยี่สิบฟ้องจำเลยรวมกันมาในคดีเดียวกัน จึงต้องคำนวณค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งยี่สิบเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเป็นรายคนการที่โจทก์ทั้งยี่สิบไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้น จึงเป็นการทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6796/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่มีทุนทรัพย์ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และอำนาจศาลอุทธรณ์ภาคในการพิจารณา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน จำเลยให้การว่า ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของมารดาจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คดีไม่มีทุนทรัพย์และต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 234 แต่จำเลยไม่นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ภาค 2ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีอำนาจที่จะสั่งว่า จำเลยทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับสั่งว่าคดีของจำเลยมีทุนทรัพย์ ให้ศาลชั้นต้นเรียกให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์แล้วให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.ว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 243 ประกอบมาตรา 247 ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและให้ยกคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2มีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี กับให้ยกฎีกาของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6796/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่มีทุนทรัพย์และการอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 สั่งคดีผิดพลาด
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน จำเลยให้การว่า ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของมารดาจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คดีไม่มีทุนทรัพย์และต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 แต่จำเลยไม่นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ภาค 2ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีอำนาจที่จะสั่งว่า จำเลยทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)ประกอบมาตรา 246 แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับสั่งว่าคดีของจำเลยมีทุนทรัพย์ ให้ศาลชั้นต้นเรียกให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์แล้วให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 243 ประกอบมาตรา 247ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและให้ยกคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี กับให้ยกฎีกาของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5873/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคำฟ้องหลายข้อหา และการคำนวณรายได้จากเงินปันผลหลังการขายหุ้น
การเรียกค่าขึ้นศาลต้องดูว่าคำฟ้องที่เสนอต่อศาลมีกี่ข้อหา แต่ละข้อหาเกี่ยวข้องกันหรือแยกจากกันได้ ในกรณีที่คำฟ้องมีหลายข้อหา ย่อมสามารถคิดค่าขึ้นศาลเป็นรายข้อหาไปได้ โดยต้องพิจารณาถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับของโจทก์ในคำฟ้องนั้นเป็นแต่ละข้อหาไป โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินที่ให้โจทก์ชำระภาษีการค้า ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งเป็นภาษีคนละประเภทและแต่ละประเภทมีจำนวนเงินแยกต่างหากออกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามฟ้องและจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลตามฟ้องอุทธรณ์ทุกข้อหาแยกต่างหากจากกัน
การโอนหุ้นจะใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนชื่อและสำนักของผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสาม เมื่อโจทก์รับว่าการโอนหุ้นให้แก่ ม. มิได้จดแจ้งการโอนต่อนายทะเบียนผู้ถือหุ้นของ ป. ในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงยังคงปรากฏชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นอยู่โจทก์จึงไม่อาจอ้างเหตุว่ามีการโอนหุ้นไปแล้วยันจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ โจทก์ต้องนำเงินปันผลจากหุ้นของ ป. มาคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2970/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินอุทิศเป็นทางสาธารณะแล้ว แม้ซื้อมาจากการขายทอดตลาดก็ไม่ได้รับกรรมสิทธิ์
การที่เจ้าของที่ดินพิพาทคนเดิมแสดงเจตนายกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์และยอมให้ประชาชนทั่วไปใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางสัญจรไปมาเป็นเวลาหลายสิบปี ย่อมถือได้ว่ามีเจตนาอุทิศให้ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะโดยปริยายมาตั้งแต่ต้นแล้ว เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) ย่อมมีผลทันทีโดยไม่จำต้องจดทะเบียนเป็นทางสาธารณประโยชน์อีก และย่อมไม่สามารถโอนให้แก่กันได้โดยทางนิติกรรม แม้จำเลยจะได้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 ก็ตาม จำเลยก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ดินพิพาทจึงยังคงสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเช่นเดิม
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นกรณีราษฎรฟ้องกันเองขอให้บังคับว่าที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคดีภาษีอากร: คำฟ้องหลายข้อหาแยกจากกันได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนข้อหา
ท้าย ป.วิ.พ. (ค่าขึ้นศาล)
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 และข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2539 มิได้บัญญัติเรื่องค่าขึ้นศาลไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. เรื่องค่าขึ้นศาลมิได้บัญญัติว่า คดีหนึ่งเสียค่าขึ้นศาล ไม่เกินสองแสนบาท ดังนั้นในการพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาคำฟ้องเป็นเกณฑ์ ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) บัญญัติว่า คำฟ้อง หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาลฯ ดังนี้ การเรียกค่าขึ้นศาลจึงต้องดูว่าคำฟ้องที่เสนอต่อศาลมีกี่ข้อหา แต่ละข้อหาเกี่ยวข้องกันหรือแยกจากกันได้หรือไม่
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 และปี 2538 และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีสิงหาคม 2537 ตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ซึ่งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มจัดอยู่ในประเภทภาษีอากรประเมินและให้เจ้าพนักงานประเมินผู้ประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 38 และ 77 โดยการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินการเสียภาษีเงินได้ของนิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 และการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของ เจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 83 และ 83/1 ว่าถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้รายได้และรายจ่ายหรือแสดงรายการภาษีขายและภาษีซื้อ รวมทั้งการเครดิตภาษีแตกต่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหรือ แต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีแล้วแต่กรณี และการฟ้องคดีของโจทก์ก็เพื่อให้จำเลยชำระภาษีตามที่ได้มีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่จำเลยในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหรือแต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีแล้วแต่กรณี ดังนั้น สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเรื่อง การประเมินภาษีในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหรือแต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีแล้วแต่กรณี ซึ่งในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีและแต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ข้อหาหนึ่งและปี 2538 ข้อหาหนึ่ง รวมทั้งฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีสิงหาคม 2537 อีกข้อหนึ่ง คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการเสนอข้อหาต่อศาล 3 ข้อหา ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งสามข้อหา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคำฟ้องหลายข้อหา: พิจารณาจากมูลหนี้แต่ละข้อหาแยกกันได้
การพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาจากคำฟ้องคดีนั้นเป็นเกณฑ์ โจทก์ฟ้องจำเลยมา 3 ข้อหา คือให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามหนี้เบิกเงินเกินบัญชี หนี้ตามสัญญากู้เงิน และหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งหนี้ในแต่ละข้อหานั้น จำเลยก่อหนี้ขึ้นกับโจทก์ต่างเวลากัน และมีกำหนดเงื่อนไขในการชำระแตกต่างกัน ดังนั้น หนี้ในแต่ละข้อหาจึงแยกจากกันได้แม้จะได้นำที่ดินจดทะเบียนจำนองเป็นประกัน ก็เป็นเรื่องของหลักประกันซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก และโดยสภาพโจทก์อาจฟ้องรวมกัน 3 ข้อหามาในคำฟ้องเดียวกันได้ แต่ค่าขึ้นศาลโจทก์จะรวม 3 ข้อหาแล้วเสียค่าขึ้นศาลมาในอัตราสูงสุดนั้นหาชอบไม่ ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มมาในแต่ละข้อหานั้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากอัตราดอกเบี้ยสูงเกินสัญญา และการแจ้งเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามสัญญา
อัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินกำหนดไว้ 2 อัตรา คิดอัตราสูงสุดกรณีผู้กู้มิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามสัญญา และอัตราสูงสุดกรณีผู้กู้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามสัญญา ซึ่งอัตราดอกเบี้ยทั้งสองดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงโดยเพิ่มหรือลดได้ตามที่โจทก์ผู้ให้กู้จะประกาศกำหนดเป็นคราว ๆ เมื่อตามสัญญาดอกเบี้ยสูงสุดผิดเงื่อนไขมีอัตราสูงกว่าดอกเบี้ยสูงสุดไม่ผิดเงื่อนไข แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยคู่สัญญาประสงค์จะให้อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นค่าเสียหายแก่โจทก์ในกรณีที่จำเลยผิดนัดหรือผิดเงื่อนไขตามสัญญาโดยกำหนดเป็นค่าเสียหายล่วงหน้าในรูปของดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง
ในสัญญากู้เงินระบุว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินที่ผู้กู้จะต้องผ่อนชำระอันเนื่องมาจากการปรับอัตราดอกเบี้ยในภายหลัง ผู้กู้ก็ตกลงยินยอมด้วย ในการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระเพียงแต่ผู้ให้กู้แจ้งให้ผู้กู้ทราบเท่านั้นซึ่งจากข้อสัญญาดังกล่าวมิได้กำหนดให้โจทก์มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยได้พลการเองโดยมิต้องแจ้งให้จำเลยทราบก่อนแต่อย่างใด เมื่อโจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบก่อนว่าจะปรับดอกเบี้ยกับจำเลยเป็นเท่าใดแล้ว จึงต้องถือว่าโจทก์ยังคิดดอกเบี้ยแก่จำเลยในอัตราตามข้อสัญญาที่กำหนดไว้เดิม
โจทก์อุทธรณ์ขอดอกเบี้ยส่วนที่ขาดเนื่องจากศาลชั้นต้นลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 15.25 ต่อปี และ 18.50 ต่อปีลงเหลือร้อยละ 15 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2538 จนถึงวันฟ้องเป็นเงิน 34,409.85 บาท ซึ่งโจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามทุนทรัพย์ดังกล่าวจำนวน 860 บาท เท่านั้นแต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาเกิน จึงต้องคืนส่วนที่เกินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8658-8686/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะนิติบุคคลมิซซังโรมันคาทอลิก การครอบครองปรปักษ์ และอำนาจฟ้อง คดีขับไล่
ตามบทบัญญัติมาตรา 65,66 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ไม่ได้บัญญัติให้ยกเลิกมิซซังโรมันคาธอลิคว่าไม่เป็นนิติบุคคล แต่ได้บัญญัติรับรองไว้ว่านิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น และนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่ หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือ กำหนดไว้ในกฎหมายข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง
โจทก์เป็นมิซซังโรมันคาธอลิคเป็นนิติบุคคลอยู่ก่อนแล้วตามพระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาดหลวงโรมันคาธอลิคในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ.128 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษยังใช้บังคับจนปัจจุบันนี้ พระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นกฎหมายอื่นฉบับหนึ่งตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 65โจทก์จึงย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายอยู่ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8658-8686/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การครอบครองปรปักษ์, ฐานะนิติบุคคลมิซซัง, ค่าขึ้นศาล, คดีไม่มีทุนทรัพย์
ชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้ต่อสู้กรรมสิทธิ์แล้ว คดีไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยในเรื่องกรรมสิทธิ์ในชั้นอุทธรณ์อีก จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ และถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำนวนทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาเป็นอย่างเดียวกับในศาลชั้นต้นซึ่งผู้อุทธรณ์หรือผู้ฎีกาต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาเดียวกับในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 150 วรรคสอง ศาลฎีกาต้องสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์แก่จำเลย
สำหรับจำเลยที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มย่อมถือได้ว่าเป็นการทิ้งคำฟ้องอุทธรณ์ แม้จำเลยใดไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มก็ตาม จำเลยนั้นก็ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ไปก่อนแล้วจึงฎีกาขอคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยอมเสียเพิ่มไปก่อนได้
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ และจำเลยได้สละประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทไปตั้งแต่ในชั้นอุทธรณ์แล้ว จำเลยกลับอ้างในฎีกาว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นที่ดินในเขตชลประทานของกรมชลประทานอันเป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามบทบัญญัติมาตรา 65, 66 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่ได้บัญญัติให้ยกเลิกมิซซังโรมันคาธอลิคว่าไม่เป็นนิติบุคคล แต่ได้บัญญัติรับรองไว้ว่านิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น และนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่ หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมายข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง
โจทก์เป็นมิซซังโรมันคาธอลิคเป็นนิติบุคคลอยู่ก่อนแล้วตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาดหลวงโรมันคาธอลิคในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ.128 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษยังใช้บังคับจนปัจจุบันนี้ พระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นกฎหมายอื่นฉบับหนึ่งตามความหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 65 โจทก์จึงย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายอยู่ต่อไป
of 54