คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 73

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8938/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการและการแก้ไขอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ: ศาลสามารถตั้งผู้แทนชั่วคราวได้ แม้ไม่มีบทกฎหมายรองรับโดยตรง
ตามข้อบังคับของบริษัทกำหนดให้ ส. และผู้ร้องลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท แต่ ส. ขัดขวางและทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อบริษัทและผู้ร้อง โดยไม่ยอมลงลายมือชื่อร่วมกับผู้ร้องในกิจการที่ต้องกระทำในนามบริษัทหลายประการ และข้อบังคับของบริษัทไม่มีวิธีการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว การที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนชั่วคราวของบริษัท โดยให้ผู้ร้องแต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทมีอำนาจกระทำการแทนบริษัท เพื่อผู้ร้องจะกระทำกิจการต่าง ๆ ในนามบริษัทได้ อันเป็นการแก้ไขอุปสรรค และข้อขัดข้องของบริษัทมิให้เกิดความเสียหายอีกต่อไป แม้ตามคำร้องขอของผู้ร้องขอจะไม่ใช่กรณีตำแหน่งผู้แทนของบริษัทว่างลงตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 73 บัญญัติไว้แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีนี้ได้ ทั้งไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในกรณีนี้ต้องอาศัยมาตรา 73 ที่เป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาวินิจฉัย และหากได้ความจริงตามคำร้องขอ ศาลก็สามารถตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนชั่วคราวตามบทกฎหมายดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลชั้นต้นมีอำนาจไต่สวนคำร้องถอดถอนกรรมการชั่วคราว การส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์โดยไม่ไต่สวนไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งตั้งผู้ร้องและ ต. เป็นกรรมการของบริษัท ม. ชั่วคราวคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ แม้ในคำร้องจะขอให้ศาลอุทธรณ์ไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งก็ตาม แต่จากข้ออ้างในคำร้องประกอบด้วยพฤติการณ์แห่งคดีเมื่อเป็นที่เข้าใจได้ว่าผู้คัดค้านประสงค์ที่จะให้ศาลมีคำสั่งถอดถอนผู้ร้องและ ต. ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม. แล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม. แทน ซึ่งผู้ร้องและ ต. คัดค้านคำร้องดังกล่าวของผู้คัดค้าน เมื่อมูลคดีเป็นเรื่องผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวของนิติบุคคล กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 70,73 กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนข้อเท็จจริงให้ได้ความว่ามีเหตุสมควรที่จะถอดถอนผู้ร้องและ ต. ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวแล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม. แทนหรือไม่ และมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งงดการไต่สวนและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณานั้น เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
คดีจะขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ทั้งนี้ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ แต่คดีนี้กลับขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา และศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งยกคำร้องของผู้คัดค้านโดยไม่มีการวินิจฉัยถึงคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาแม้ผู้คัดค้านจะไม่ฎีกามาก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),243,247 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี และให้ยกคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องของผู้คัดค้าน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้าน แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนคำร้องแต่งตั้ง/ถอดถอนกรรมการชั่วคราว: ศาลชั้นต้นต้องไต่สวนก่อนส่งสำนวน
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งตั้งผู้ร้องและ ต.เป็นกรรมการของบริษัทม.ชั่วคราวคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ แม้ในคำร้องจะขอให้ศาลอุทธรณ์ไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งก็ตาม แต่จากข้ออ้างในคำร้องประกอบด้วยพฤติการณ์แห่งคดีเมื่อเป็นที่เข้าใจได้ว่าผู้คัดค้านประสงค์ที่จะให้ศาลมีคำสั่งถอดถอนผู้ร้องและ ต.ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม. แล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม.แทน ซึ่งผู้ร้องและ ต.คัดค้านคำร้องดังกล่าวของผู้คัดค้าน เมื่อมูลคดีเป็นเรื่องผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวของนิติบุคคล กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 70, 73 กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนข้อเท็จจริงให้ได้ความว่ามีเหตุสมควรที่จะถอดถอนผู้ร้องและ ต.ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวแล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัทม.แทนหรือไม่ และมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งงดการไต่สวนและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณานั้น เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
คดีจะขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ทั้งนี้ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ แต่คดีนี้กลับขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา และศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งยกคำร้องของผู้คัดค้านโดยไม่มีการวินิจฉัยถึงคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา แม้ผู้คัดค้านจะไม่ฎีกามาก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน กรณีต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา142 (5), 243, 247 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี และให้ยกคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องของผู้คัดค้าน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้าน แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอดถอนกรรมการชั่วคราวและการส่งสำนวนไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา ศาลฎีกายกคำสั่งเดิมให้ไต่สวนใหม่
ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วให้ตั้งผู้ร้องและต.เป็นกรรมการของบริษัทม.ชั่วคราว ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้อง ซึ่งแม้ในคำร้องจะขอให้ศาลอุทธรณ์ไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งก็ตาม แต่จากข้ออ้างในคำร้องประกอบด้วยพฤติการณ์แห่งคดีเป็นที่เข้าใจได้ว่าผู้คัดค้านประสงค์ที่จะให้ศาลมีคำสั่งถอดถอนผู้ร้องและต.ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัทม.แล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวแทนนั่นเอง ซึ่งผู้ร้องและต.คัดค้านคำร้องดังกล่าวของผู้คัดค้านกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนข้อเท็จจริงให้ได้ความว่ามีเหตุสมควรที่จะถอดถอนผู้ร้องและต.ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวแล้วตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นแทนหรือไม่และมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี การที่ศาลชั้นต้นด่วนมี คำสั่งงดการไต่สวนและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณานั้นจึงไม่ชอบ เพราะโดยปกติคดีจะขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งหรือ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในภาค 3 ลักษณะ 1ว่าด้วยอุทธรณ์ แต่คดีกลับขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว และศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งยกคำร้อง ของผู้คัดค้านโดยไม่มีการวินิจฉัยถึงคำสั่งศาลชั้นต้นแต่ประการใดคำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาเช่นกันแม้ผู้คัดค้านจะไม่ฎีกามาก็ตามแต่เนื่องจากเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),243,247 ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ และเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4049/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการถอนกรรมการชั่วคราวที่ศาลตั้งตามมาตรา 73 แม้มาตรา 1151 กำหนดอำนาจเฉพาะที่ประชุมใหญ่
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1151 จะกำหนดให้เฉพาะที่ประชุมใหญ่เท่านั้นที่จะตั้งหรือถอนกรรมการบริษัทได้ก็ตาม แต่ก็มิได้ตัดอำนาจของศาลที่จะถอนผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราวที่ศาลตั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 73 ถึงแม้ว่าจะไม่มีบทบัญญัติโดยตรงให้ศาลถอนผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราวก็ตาม แต่ศาลก็มีอำนาจที่จะสั่งถอนผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราวที่ศาลตั้งได้หากมีเหตุอันสมควร ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าหากกฎหมายประสงค์จะให้ศาลมีอำนาจถอนผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราวที่ศาลตั้งขึ้นก็ย่อมจะบัญญัติไว้แต่ไม่ปรากฏว่าได้บัญญัติเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใดนั้น จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4049/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการถอนผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราว แม้มีข้อจำกัดเรื่องการตั้ง/ถอนกรรมการ
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1151 จะบัญญัติว่า อันผู้เป็นกรรมการนั้นเฉพาะแต่ที่ประชุมใหญ่เท่านั้นอาจจะตั้งหรือถอนได้ก็ตาม บทบัญญัติดังกล่าวก็เป็นเรื่องการตั้งหรือถอนกรรมการบริษัทโดยที่ประชุมใหญ่ จึงมิได้ตัดอำนาจของศาลที่จะถอนผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราวที่ศาลตั้งตาม ป.พ.พ.มาตรา 73 ซึ่งแม้ว่าจะไม่มีบทบัญญัติให้ศาลถอนผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราวดังกล่าวก็ตาม ศาลก็มีอำนาจที่จะมีคำสั่งถอนผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราวดังกล่าวที่ศาลตั้งได้หากมีเหตุอันสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7030/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแย้งและการแก้ไขข้อบกพร่องเอกสารแต่งตั้งทนายความที่ศาลมีอำนาจแก้ไขเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
แม้ใบแต่งทนายความของจำเลยจะลงชื่อส. หุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยเพียงคนเดียวไม่เป็นไปตามข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการที่ระบุให้ส. ลงลายมือชื่อร่วมกับค. และประทับตราห้างจำเลยตามหนังสือรับรองนิติบุคคลซึ่งทำให้อำนาจของผู้แทนนิติบุคคลในการดำเนินคดีของจำเลยบกพร่องก็ตามแต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้ใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา66ให้ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องโดยการร้องขอต่อศาลตั้งผู้แทนชั่วคราวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา73และให้จัดทำใบแต่งทนายความขึ้นมาใหม่ซึ่งเป็นอำนาจที่ศาลอุทธรณ์กระทำได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจให้แก้ไขข้อบกพร่องนี้ได้เมื่อพบเห็นเองส่วนการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งส. เป็นผู้แทนชั่วคราวของจำเลยตามที่จำเลยยื่นคำร้องขอมาโดยค.ยังเป็นหุ้นส่วนของจำเลยผู้มีอำนาจลงชื่อร่วมกับส.ในการทำนิติกรรมต่างๆของห้างอยู่แต่ปรากฎว่าค.แสดงตนเป็นปฏิปักษ์กับจำเลยไม่ยอมลงชื่อในใบแต่งทนายความร่วมกับส.ตามข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการพฤติการณ์เช่นนี้ย่อมเกิดความเสียหายแก่จำเลยได้และไม่มีทางใดที่จะบังคับค. ได้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของจำเลยการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งส. เป็นผู้แทนชั่วคราวของจำเลยและจำเลยได้เสนอใบแต่งทนายความฉบับใหม่ตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์แล้วย่อมทำให้อำนาจฟ้องที่บกพร่องนั้นเป็นอำนาจฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมายมาตั้งแต่เริ่มแรกจำเลยจึงมีอำนาจให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7030/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคล: การแก้ไขข้อบกพร่องของใบแต่งทนายความและการตั้งผู้แทนชั่วคราวเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
แม้ใบแต่งทนายความของจำเลยจะลงชื่อ ส.หุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยเพียงคนเดียว ไม่เป็นไปตามข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการที่ระบุให้ ส.ลงลายมือชื่อร่วมกับ ค. และประทับตราห้างจำเลยตามหนังสือรับรองนิติบุคคลซึ่งทำให้อำนาจของผู้แทนนิติบุคคลในการดำเนินคดีของจำเลยบกพร่องก็ตาม แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้ใช้อำนาจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 66 ให้ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องโดยการร้องขอต่อศาลตั้งผู้แทนชั่วคราวตาม ป.พ.พ.มาตรา 73 และให้จัดทำใบแต่งทนายความขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นอำนาจที่ศาลอุทธรณ์กระทำได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจให้แก้ไขข้อบกพร่องนี้ได้เมื่อพบเห็นเอง ส่วนการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง ส.เป็นผู้แทนชั่วคราวของจำเลยตามที่จำเลยยื่นคำร้องขอมา โดย ค.ยังเป็นหุ้นส่วนของจำเลยผู้มีอำนาจลงชื่อร่วมกับ ส.ในการทำนิติกรรมต่าง ๆ ของห้างอยู่ แต่ปรากฏว่า ค.แสดงตนเป็นปฏิปักษ์กับจำเลย ไม่ยอมลงชื่อในใบแต่งทนายความร่วมกับ ส.ตามข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ พฤติการณ์เช่นนี้ย่อมเกิดความเสียหายแก่จำเลยได้ และไม่มีทางใดที่จะบังคับ ค.ได้ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของจำเลย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง ส.เป็นผู้แทนชั่วคราวของจำเลยและจำเลยได้เสนอใบแต่งทนายความฉบับใหม่ตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์แล้วย่อมทำให้อำนาจฟ้องที่บกพร่องนั้นเป็นอำนาจฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมายมาตั้งแต่เริ่มแรก จำเลยจึงมีอำนาจให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7289/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้แทนเฉพาะคดี/ผู้แทนชั่วคราวเพื่อแก้ไขอุปสรรคในการต่อสู้คดี: ศาลต้องไต่สวนก่อนตัดสิน
ตามคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของผู้ร้องกล่าวอ้างว่าการปล่อยตำแหน่งกรรมการกลุ่ม ข.ว่างไว้น่าจะเกิดความเสียหายขึ้นแก่จำเลยได้ เพราะจำเลยจะไม่อาจต่อสู้คดีกับโจทก์และผู้ร้องได้ ขอให้ศาลแก้ไขโดยอนุญาตให้ผู้ร้องเป็นผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อจำเลยจะต่อสู้คดีกับโจทก์ได้ แม้คำร้องของผู้ร้องจะใช้เรียกคำว่าผู้แทนเฉพาะคดีซึ่งแตกต่างจากที่ ป.พ.พ.มาตรา 73ใช้คำว่าผู้แทนชั่วคราวก็ตาม แต่ก็พึงเห็นได้ว่าผู้ร้องประสงค์ให้ศาลตั้งผู้ร้องให้เป็นผู้แทนชั่วคราวโดยเป็นกรรมการกลุ่ม ข.เข้าไปมีอำนาจแก้ไขอุปสรรคข้อขัดข้องของบริษัทจำเลยในการที่จะต่อสู้คดีกับโจทก์เท่านั้น ซึ่งหากได้ความจริงดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ก็ชอบที่ศาลจะแต่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนชั่วคราวขึ้นได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา73 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยไม่ไต่สวนเสียก่อน จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6615/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขอุปสรรคในการต่อสู้คดี: ศาลปรับบทกฎหมายให้ตรงกับเจตนาของผู้ร้องได้
แม้คำร้องของผู้ร้องจะใช้คำว่าผู้แทนเฉพาะคดีต่างจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา73ที่ใช้คำว่าผู้แทนชั่วคราวก็ตามแต่ก็พึงเห็นได้ว่าผู้ร้องประสงค์จะให้ศาลตั้งผู้ร้องให้มีอำนาจเข้าไปแก้ไขอุปสรรค์ข้อบกพร่องของจำเลยในการที่จะยื่นคำให้การต่อสู้คดีกับโจทก์เพียงแต่ผู้ร้องใช้ถ้อยคำในคำร้องผิดจากถ้อยคำในกฎหมายเท่านั้นชอบที่ศาลจะปรับบทกฎหมายให้เข้ากับข้อเท็จจริงตามคำร้องได้
of 6