คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 75

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจยังใช้ได้แม้กรรมการลาออก การเลิกจ้างที่เป็นธรรมเมื่อบริษัทขาดทุน
การที่ อ. กับ จ. กรรมการบริษัทจำเลยลงชื่อมอบอำนาจให้ ถ.ดำเนินคดีแทนบริษัทจำเลย เป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบริษัทจำเลยจึงเป็นการกระทำของบริษัทจำเลย แม้ต่อมา อ. จะพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยไป หนังสือมอบอำนาจฉบับนั้นก็หาระงับไปไม่ ถ. จึงยังมีอำนาจที่จะมอบอำนาจให้ ส. ต่อสู้คดีแทนจำเลยโดยทำคำให้การยื่นต่อศาลได้
จำเลยประสบภาวะการขาดทุนมาก มีความจำเป็นเพียงพอต้องเลิกจ้างลูกจ้าง และจำเลยได้ใช้หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกว่าจะเลิกจ้างผู้ใดก่อนอย่างสมเหตุผล การที่โจทก์เป็นผู้ต้องถูกเลิกจ้างเพราะลากิจ ลาป่วยและมาทำงานสายมากจะถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อลูกจ้างบางคนมิได้ เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจยังสมบูรณ์แม้กรรมการลาออก การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากผลประกอบการและเกณฑ์สมเหตุผล
การที่อ.กับจ.กรรมการบริษัทจำเลยลงชื่อมอบอำนาจให้ถ.ดำเนินคดีแทนบริษัทจำเลยเป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบริษัทจำเลยจึงเป็นการกระทำของบริษัทจำเลยแม้ต่อมาอ.จะพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยไปหนังสือมอบอำนาจฉบับนั้นก็หาระงับไปไม่ถ.จึงยังมีอำนาจที่จะมอบอำนาจให้ส.ต่อสู้คดีแทนจำเลยโดยทำคำให้การยื่นต่อศาลได้. จำเลยประสบภาวะการขาดทุนมากมีความจำเป็นเพียงพอต้องเลิกจ้างลูกจ้างและจำเลยได้ใช้หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกว่าจะเลิกจ้างผู้ใดก่อนอย่างสมเหตุผลการที่โจทก์เป็นผู้ต้องถูกเลิกจ้างเพราะลากิจลาป่วยและมาทำงานสายมากจะถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อลูกจ้างบางคนมิได้เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจลงนามในสัญญาประนีประนอมยอมความต้องเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท การลงนามโดยกรรมการคนเดียวไม่ผูกพันบริษัท
ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยส.กรรมการบริษัทจำเลยเพียงคนเดียวลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความแทนจำเลยซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยที่ต้องมีกรรมการของจำเลยตามที่ระบุชื่อไว้ในข้อบังคับจำนวนสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลผูกพันจำเลยการที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับส. และศาลแรงงานกลางได้พิพากษาตามยอมนั้นจึงเป็นการกระทำโดยละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามป.วิ.พ.มาตรา138วรรคสอง(2)ไม่มีผลบังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันคำให้การของตัวแทน และการรับพยานหลักฐานที่มิได้ส่งสำเนาตามอำนาจศาลแรงงาน
หนังสือมอบอำนาจของจำเลยที่มอบอำนาจให้ ช.ต่อสู้คดีไม่ได้ประทับตราสำคัญของจำเลย แต่การที่ ช. ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้แล้วจำเลยได้แต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีต่อมาโดยนำสืบพยานไปตามคำให้การนั้น ถือได้ว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันยอมรับคำให้การดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำสืบพยานไปตามคำให้การนั้นได้โดยชอบ.
จำเลยนำสืบเอกสารหมาย ล.1 ถึงล.15 โดยมิได้ส่งสำเนาให้แก่โจทก์ แต่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับคดีและจำเลยได้ยื่นบัญชีระบุอ้างเป็นพยานแล้ว เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมถือว่าเป็นพยานที่ศาลเรียกมา ดังนี้ เมื่อศาลแรงงานได้ใช้อำนาจตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 แล้ว เอกสารดังกล่าวย่อมรับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันคำให้การของตัวแทน และการรับฟังพยานที่ศาลเรียกเองในคดีแรงงาน
หนังสือมอบอำนาจของจำเลยที่มอบอำนาจให้ช.ต่อสู้คดีไม่ได้ประทับตราสำคัญของจำเลยแต่การที่ช.ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้แล้วจำเลยได้แต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีต่อมาโดยนำสืบพยานไปตามคำให้การนั้นถือได้ว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันยอมรับคำให้การดังกล่าวแล้วจำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำสืบพยานไปตามคำให้การนั้นได้โดยชอบ. จำเลยนำสืบเอกสารหมายล.1ถึงล.15โดยมิได้ส่งสำเนาให้แก่โจทก์แต่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับคดีและจำเลยได้ยื่นบัญชีระบุอ้างเป็นพยานแล้วเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมถือว่าเป็นพยานที่ศาลเรียกมาดังนี้เมื่อศาลแรงงานได้ใช้อำนาจตามมาตรา45แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522แล้วเอกสารดังกล่าวย่อมรับฟังได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารผิดแบบและคำสั่งรื้อถอน: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยเป็นผู้ก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและเป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ทั้งเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ เมื่อกรุงเทพมหานครได้พิจารณาและตราข้อบัญญัติไว้แล้ว อาคารที่ก่อสร้างขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อบัญญัติดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นอาคารที่ก่อสร้างขึ้นโดยไม่มีความปลอดภัย
จำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับ อนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้สั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างตามมาตรา 40 และต่อมา ได้สั่งให้จำเลยรื้อถอนตามมาตรา 42 วรรคแรกแล้ว อาคารดังกล่าวก็จะต้องถูกรื้อถอน แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยโดยอ้างบทกฎหมายไม่ถูกต้องและเจ้าพนักงานเขตออกหมายเลขที่บ้านให้จำเลยโดยมิได้คัดค้านว่าจำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตก็ตาม
ผู้ควบคุมงานของจำเลยเป็นผู้รับทราบคำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาท ก็ถือได้ว่าจำเลยได้ทราบด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต
การมอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้หัวหน้าเขตปฏิบัติราชการแทน เป็นการมอบอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 มาตรา 35 ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้มีอำนาจมอบอำนาจที่ตนมีอยู่ให้หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดปฏิบัติราชการแทนตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ จึงไม่จำต้องปิดแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ทั้งไม่มีกฎหมายบังคับให้จำต้องมีพยานรับรองลายมือ ชื่อผู้มอบอำนาจด้วย จึงรับฟังเอกสารเป็นพยานได้
เมื่อพยานโจทก์คนสุดท้ายคอบคำถามติงแล้ว โจทก์ส่งเอกสารเป็นพยานต่อศาล แล้วให้พยานนั้นดูเอกสารดังกล่าว และพยานโจทก์แถลงประกอบเอกสาร ถือได้ว่าเป็นการซักถามพยานเมื่อได้ถามติงพยานเสร็จแล้ว แต่การที่ศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์กระทำเช่นนั้น ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากศาลแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 117 วรรคสี่ จึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้
การที่หัวหน้าเขตซึ่งได้รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มอบหมายงานโยธา ให้ผู้ช่วยหัวหน้าเขตเป็นผู้ควบคุมรับผิดชอบสั่งการแทนหัวหน้าเขตได้ เป็นการมอบให้ปฏิบัติราชการแทนตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 มาตรา 17 ให้อำนาจไว้ ไม่เป็นการมอบอำนาจช่วง ผู้ช่วยหัวหน้าเขตมีอำนาจลงลายมือชื่อในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ และหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ก็รับฟังเป็นพยานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4511-4512/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้ามาในคดีของจำเลยที่ 1 (นิติบุคคล) ผ่านตัวแทน แม้ไม่ได้แต่งตั้งทนายโดยตรง
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล การดำเนินกิจการทั้งหลายของจำเลยที่ 1 ย่อมต้องอาศัย ช. หุ้นส่วนผู้จัดการดำเนินการแทน เมื่อ ช. มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ติดต่อกับโจทก์ คิดบัญชีหนี้สินที่เกี่ยวค้างกัน และยังมอบงานบางอย่างให้จำเลยที่ 2 ทำ โดยให้ใช้ตราของห้างได้ในชั้นส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสอง เจ้าพนักงานก็ได้ส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองตามที่ปรากฏในหนังสือรับรองของนายทะเบียน ในคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวของจำเลยที่ 2 ก็ระบุว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ในวันเดียวกันนั้น ช. ได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 2 ด้วย เมื่อศาลอนุญาต ช.ได้ทำสัญญาประกันตัวจำเลยที่ 2 ตามคำร้องดังกล่าวมีข้อความระบุชื่อจำเลยที่ 1 ว่าเป็นจำเลยไว้อย่างชัดแจ้ง ช.ย่อมทราบดีว่าจำเลยที่ 1 ถูกฟ้อง และที่จำเลยที่ 2ต่อสู้คดีในนามของจำเลยที่ 1 มาแต่แรก ช. ก็ไม่ได้คัดค้านการกระทำของจำเลยที่ 2 พฤติการณ์ของ ช. ดังกล่าวแสดงว่า ช. ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ต่อสู้คดีแทนตนในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 แล้วดังนั้นที่จำเลยที่ 2แต่งทนายความต่อสู้คดีในนามของจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาในคดีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4366/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีความรับผิดทางละเมิด: การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้รับผิดชอบทำให้เริ่มนับอายุความ
อธิบดีกรมตำรวจเป็นผู้แทนรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรมตำรวจ เมื่ออธิบดีกรมตำรวจได้ออกคำสั่งกำหนดสายงานของกรมตำรวจและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบให้รองอธิบดีและผู้ช่วยอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดี การปฏิบัติราชการของผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจภายในกรอบอำนาจตามคำสั่งดังกล่าวเป็นการปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจ มีผลเท่ากับเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ของอธิบดีกรมตำรวจ การที่ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจในฐานะดังกล่าวรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือจำเลยตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2521 ถือได้ว่ากรมตำรวจโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือจำเลยตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2523 คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4193/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้หักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำเพื่อชำระหนี้ แม้ต่อมาจะแจ้งยกเลิกอำนาจถอนเงิน ไม่ถือเป็นการละเมิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2523 ถึงวันที่ 3 ตุลาคม 2523 จำเลยทั้งสามรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 พ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์แล้ว ได้ร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ในใบถอนเงินฝากประจำทำการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของโจทก์ แล้วโอนไปเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 3 อันเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับและเป็นการยักยอกทรัพย์สินของโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์เสียหายต้องสูญเสียเงินฝากประจำขาดดอกเบี้ยที่จะได้รับ และต้องเสียชื่อเสียงในการดำเนินกิจการ ขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว จึงไม่เคลือบคลุมกรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำใบถอนเงินฝากประจำของโจทก์โดยมิได้ลงวันถอนมอบให้จำเลยที่1 ยึดถือไว้เป็นประกันการชำระหนี้อันเกิดจากการขายลดตั๋วเงินของจำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่งวันเดือนปีในใบถอนเงินแล้วใช้หักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของโจทก์โอนไปเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 3 เพื่อชำระหนี้ แม้จะกระทำภายหลังที่โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ขอยกเลิกลายเซ็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้วก็ตามถือได้ว่าโจทก์ยินยอมหรือสมัครใจให้ทำเช่นนั้น จึงไม่เป็นการทำละเมิด
โจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อค้ำประกันหนี้ผู้อื่น การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ทำใบถอนเงินฝากประจำของโจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 ยึดถือไว้เป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 3 เป็นการกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ จึงไม่ผูกพันโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4193/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบการหักเงินจากบัญชีฝากประจำ หากผู้ฝากยินยอมให้ใช้เป็นประกันหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2523ถึงวันที่ 3 ตุลาคม 2523 จำเลยทั้งสามรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 พ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์แล้ว ได้ร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ในใบถอนเงินฝากประจำทำการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของโจทก์ แล้วโอนไปเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 3 อันเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับและเป็นการยักยอกทรัพย์สินของโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์เสียหายต้องสูญเสียเงินฝากประจำขาดดอกเบี้ยที่จะได้รับ และต้องเสียชื่อเสียงในการดำเนินกิจการ ขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วจึงไม่เคลือบคลุมกรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำใบถอนเงินฝากประจำของโจทก์โดยมิได้ลงวันถอนมอบให้จำเลยที่1ยึดถือไว้เป็นประกันการชำระหนี้อันเกิดจากการขายลดตั๋วเงินของจำเลยที่3เมื่อจำเลยที่งวันเดือนปีในใบถอนเงินแล้วใช้หักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของโจทก์โอนไปเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 3 เพื่อชำระหนี้ แม้จะกระทำภายหลังที่โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ขอยกเลิกลายเซ็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้วก็ตามถือได้ว่าโจทก์ยินยอมหรือสมัครใจให้ทำเช่นนั้น จึงไม่เป็นการทำละเมิด โจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อค้ำประกันหนี้ผู้อื่น การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ทำใบถอนเงินฝากประจำของโจทก์มอบให้จำเลยที่ 1ยึดถือไว้เป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 3 เป็นการกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ จึงไม่ผูกพันโจทก์ จำเลยที่ 1ไม่มีสิทธิหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของโจทก์ได้
of 38