พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3950/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจะรับราชการของทหาร: อำนาจของหน่วยงาน, ความผูกพันของสัญญา, และการบังคับค่าปรับ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2503 และมาตรา 16แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวระบุให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ เตรียมกำลัง กองทัพอากาศและป้องกันราชอาณาจักร มีผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสียหาย ต่อการจัดเตรียมกำลัง กองทัพอากาศและป้องกันราชอาณาจักร จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจกำหนดให้ผู้สมัครเข้ารับราชการสังกัดจำเลยที่ 1 ทำสัญญาว่าจะรับราชการในกระทรวงกลาโหมไม่น้อยกว่า 2 ปีบริบูรณ์ และกำหนดค่าปรับในกรณีที่ผู้นั้นผิดสัญญาได้ แม้คำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ 555/18 จะระบุถึงบุคคลประเภทต่างๆ ซึ่งจะต้องทำสัญญากับ จำเลยที่ 1 โดยไม่รวมถึงนายทหารประทวนเช่นโจทก์ก็ตาม
เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญากันด้วยความสมัครใจ และไม่ปรากฏว่าสัญญานั้นมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย หรือเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงย่อมผูกพันคู่กรณีและมีผลใช้บังคับ แก่กันได้ และผู้แทนของจำเลยที่ 1 มีอำนาจที่จะทำสัญญาดังกล่าว ในนามของจำเลยที่ 1ได้โดยชอบ สัญญาจึงหาตกเป็นโมฆะไม่ เมื่อโจทก์ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจบังคับเอาค่าปรับจากโจทก์ตามสัญญานั้นได้ การที่โจทก์ชำระค่าปรับให้แก่จำเลยที่1 ไปแล้วนั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาคืนจากจำเลยทั้งสองได้
เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญากันด้วยความสมัครใจ และไม่ปรากฏว่าสัญญานั้นมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย หรือเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงย่อมผูกพันคู่กรณีและมีผลใช้บังคับ แก่กันได้ และผู้แทนของจำเลยที่ 1 มีอำนาจที่จะทำสัญญาดังกล่าว ในนามของจำเลยที่ 1ได้โดยชอบ สัญญาจึงหาตกเป็นโมฆะไม่ เมื่อโจทก์ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจบังคับเอาค่าปรับจากโจทก์ตามสัญญานั้นได้ การที่โจทก์ชำระค่าปรับให้แก่จำเลยที่1 ไปแล้วนั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาคืนจากจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3940/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาทำเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์กองทัพอากาศ ย่อมมีผลผูกพันและบังคับใช้ได้
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2503 และมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวระบุให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพอากาศและป้องกันราชอาณาจักร มีผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสียหายต่อการจัดเตรียมกำลังกองทัพอากาศและป้องกันราชอาณาจักร จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจกำหนดให้ผู้รับสมัครเข้ารับราชการยังสังกัดจำเลยที่ 1 ทำสัญญว่าจะรับราชการในกระทรวงกลาโหมไม่น้อยกว่า 2 ปีบริบูรณ์และกำหนดค่าปรับในกรณ๊ที่ผู้นั้นผิดสัญญาได้ แม้คำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ 555/18 จะระบุถึงบุคคลประเภทต่าง ๆ ซึ่งจะต้องทำสัญญากับจำเลยที่ 1 โดยไม่รวมถึงนายทหารประทวนเช่นโจทก์ก็ตาม
เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญากันด้วยความสมัครใจและไม่ปรากฏว่าสัญญานั้นมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย หรือเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงย่อมผูกพันคู่กรณีและมีผลใช้บังคับแก่กันได้ และผู้แทนของจำเลยที่ 1 มีอำนาจที่จะทำสัญญาดังกล่าวในนามของจำเลยที่ 1 ได้โดยชอบ สัญญาจึงหาตกเป็นโมฆะไม่ เมื่อโจทก์ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจบังคับเอาค่าปรับจากโจทก์ตามสัญญานั้นได้ การที่โจทก์ชำระค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้วนั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้อยเอาคืนจากจำเลยทั้งสองได้
เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญากันด้วยความสมัครใจและไม่ปรากฏว่าสัญญานั้นมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย หรือเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงย่อมผูกพันคู่กรณีและมีผลใช้บังคับแก่กันได้ และผู้แทนของจำเลยที่ 1 มีอำนาจที่จะทำสัญญาดังกล่าวในนามของจำเลยที่ 1 ได้โดยชอบ สัญญาจึงหาตกเป็นโมฆะไม่ เมื่อโจทก์ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจบังคับเอาค่าปรับจากโจทก์ตามสัญญานั้นได้ การที่โจทก์ชำระค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้วนั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้อยเอาคืนจากจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3601/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีมัสยิด: กรรมการหมดวาระ ย่อมขาดอำนาจดำเนินคดีแทน
คณะกรรมการมัสยิดได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 15 เมษายน2522 ซึ่งตามระเบียบว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการ อิสลามประจำมัสยิด(สุเหร่า) และวิธีดำเนิน การอันเกี่ยวแก่ศาสนกิจของมัสยิด(สุเหร่า) พ.ศ.2492 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พุทธศักราช 2488 ข้อ 12 กำหนดให้กรรมการอิสลามประจำมัสยิดอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ4 ปี ฉะนั้นการที่คณะกรรมการมัสยิดดังกล่าวมาประชุมกันเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2526 และลงมติมอบอำนาจให้ พ.เป็นผู้แทนโจทก์เพื่อดำเนินคดีอันเป็นระยะเวลาที่ล่วงพ้นวาระในการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการมัสยิดไปแล้ว เช่นนี้จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอำนาจเพราะบุคคลเหล่านั้นมิได้อยู่ในฐานะเป็นกรรมการมัสยิดแล้ว จึงไม่มีผลทำให้มัสยิดโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีได้ เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดี ปัญหาที่ว่าคำสั่งของจำเลยในการถอดถอนและแต่งตั้งกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ของโจทก์จะชอบด้วยกฎหมายและระเบียบข้อบังคับหรือไม่ ก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3488/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โทษปรับสำหรับนิติบุคคลในความผิดฐานฟ้องเท็จ แม้กฎหมายกำหนดทั้งจำคุกและปรับ
ศาลอาจลงโทษนิติบุคคลในความผิดฐานฟ้องเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175 ซึ่งมีทั้งโทษจำคุกและปรับโดยลงโทษปรับแต่เพียงสถานเดียวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3488/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โทษปรับสำหรับนิติบุคคลในความผิดฐานฟ้องเท็จ: ศาลสามารถลงโทษปรับได้เพียงสถานเดียว
ศาลอาจลงโทษนิติบุคคลในความผิดฐานฟ้องเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175 ซึ่งมีทั้งโทษจำคุกและปรับ โดยลงโทษปรับแต่เพียงสถานเดียวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3218/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งจ่ายเช็คหลังพ้นตำแหน่ง: ผู้สั่งจ่ายที่พ้นสถานะไม่ผูกพัน ห้างไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 2 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 1 แต่ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาท เมื่อพ้นจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 1 ไปแล้วมีผลเท่ากับขณะออกเช็คพิพาทผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 ไม่ได้ลงชื่อ เป็นผู้สั่งจ่ายจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตามเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3218/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งจ่ายเช็คหลังพ้นตำแหน่ง: ผู้สั่งจ่ายที่หมดอำนาจไม่ผูกพันห้าง
จำเลยที่ 2 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่1แต่ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาท เมื่อพ้นจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 1 ไปแล้วมีผลเท่ากับขณะออกเช็คพิพาทผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 ไม่ได้ลงชื่อ เป็นผู้สั่งจ่ายจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตามเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2507/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสัญญาจ้างเลี้ยงรักษาสัตว์ยึด: ต้องเป็นผู้มีอำนาจตามกฎหมาย
นายอำเภอเป็นนายทะเบียนสัตว์พาหนะและเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะยึดสัตว์พาหนะส่งต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ที่ครอบครองสัตว์พาหนะไว้โดยไม่มีตั๋วรูปพรรณหรือมีแต่ไม่ถูกต้องกับตัวสัตว์ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 4 และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ พ.ศ. 2482 และนายอำเภอเป็นพนักงานสอบสวน มีอำนาจสอบสวนเกี่ยวกับความผิดตาม พระราชบัญญัติสัตว์พาหนะฯ การที่นายอำเภอเมืองในฐานะ พนักงานสอบสวนได้ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 เลี้ยงโคที่ไม่มีตั๋วรูปพรรณที่ยึดไว้โดยไม่ปรากฏว่านายอำเภอเมืองได้ทำสัญญาแทนหรือในนามของอำเภอหรือจังหวัดนั้น การทำสัญญา ของนายอำเภอเมืองดังกล่าวจึงทำไปตามอำนาจและหน้าที่ ของพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะฯ โดยเฉพาะซึ่งไม่มีบทกฎหมายใดให้บุคคลอื่นใช้อำนาจหน้าที่นี้แทนฉะนั้นจังหวัด ซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงาน ตามพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะฯ และมิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เพื่อบังคับตามสัญญาจ้างเลี้ยงรักษาสัตว์ที่ยึดไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2507/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัญญาเลี้ยงสัตว์ยึดจากคดีอาญา: นายอำเภอทำสัญญาเอง จังหวัดไม่มีอำนาจฟ้อง
นายอำเภอเป็นนายทะเบียนสัตว์พาหนะและเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะยึดสัตว์พาหนะส่งต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ที่ครอบครองสัตว์พาหนะไว้โดยไม่มีตั๋วรูปพรรณหรือมีแต่ไม่ถูกต้องกับตัวสัตว์ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 4 และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ พ.ศ. 2482 และ นายอำเภอเป็นพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนเกี่ยวกับความผิดตาม พระราชบัญญัติสัตว์พาหนะฯการที่นายอำเภอเมืองในฐานะ พนักงานสอบสวนได้ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 เลี้ยงโคที่ไม่มี ตั๋วรูปพรรณที่ยึดไว้โดยไม่ปรากฏว่านายอำเภอเมืองได้ทำสัญญาแทนหรือในนามของอำเภอหรือจังหวัดนั้น การทำสัญญา ของนายอำเภอเมืองดังกล่าวจึงทำไปตามอำนาจและหน้าที่ ของพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะฯ โดยเฉพาะซึ่งไม่มีบทกฎหมายใดให้บุคคลอื่นใช้อำนาจหน้าที่ นี้แทนฉะนั้นจังหวัดซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงาน ตามพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะฯ และมิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เพื่อบังคับตามสัญญาจ้างเลี้ยงรักษาสัตว์ที่ยึดไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2503/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คห้ามเปลี่ยนมือ: การสลักหลังไม่ผูกพันโจทก์ ธนาคารต้องรับผิดเมื่อเรียกเก็บเงินผิดบัญชี
แม้เช็คพิพาทจะมี ส. หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ลงชื่อสลักหลังเช็คและประทับตราสำคัญของโจทก์แต่หุ้นส่วนอีก คนหนึ่งไม่ได้ลงชื่อด้วยตามข้อบังคับจึงถือไม่ได้ว่า ส. เป็นผู้แทนกระทำการแทนโจทก์การสลักหลังเช็คดังกล่าว ย่อมไม่ผูกพันโจทก์โจทก์จึงยังเป็นผู้ทรงเช็คโดย ชอบด้วยกฎหมายและมีอำนาจฟ้อง
เช็คพิพาทเป็นเช็คขีดคร่อมมีคำว่า 'เปลี่ยนมือไม่ได้' แม้จะมิได้ขีดฆ่าคำว่า 'จ่ายตามคำสั่งของ ห้างหุ้นส่วนจำกัดจตุรมิตรก่อสร้าง (โจทก์)'ออก ก็แสดงว่า ผู้สั่งจ่ายต้องการให้นำเช็คเข้าบัญชีของโจทก์เท่านั้นไม่ให้จ่ายตามคำสั่งของโจทก์ต่อไป
คำว่า 'เอซี เปยีออลลี่' มีความหมายทำนองเดียวกับ 'เปลี่ยนมือไม่ได้'หรือ 'ห้ามเปลี่ยนมือ' ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 995
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้มีวิชาชีพประกอบการธนาคาร เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีของส.ผู้รับสลักหลังทั้ง ๆ ที่เช็คพิพาทเป็นเช็คห้ามเปลี่ยนมือ ต้องนำเงินตาม เช็คเข้าบัญชีของโจทก์เท่านั้นจะถือว่าจำเลยกระทำโดยปราศจากความประมาทเลินเล่อหาได้ไม่จึงไม่ได้รับความ คุ้มครอง จากบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1000
ส. ไม่ได้เป็นผู้แทนกระทำแทนโจทก์ การที่ ส. ทราบการกระทำละเมิดของจำเลยในวันใดจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนจาก การกระทำดังกล่าวในวันนั้นเมื่อผู้ชำระบัญชีของโจทก์ เพิ่งทราบการกระทำละเมิดของจำเลยนับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 1 ปีคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เช็คพิพาทเป็นเช็คขีดคร่อมมีคำว่า 'เปลี่ยนมือไม่ได้' แม้จะมิได้ขีดฆ่าคำว่า 'จ่ายตามคำสั่งของ ห้างหุ้นส่วนจำกัดจตุรมิตรก่อสร้าง (โจทก์)'ออก ก็แสดงว่า ผู้สั่งจ่ายต้องการให้นำเช็คเข้าบัญชีของโจทก์เท่านั้นไม่ให้จ่ายตามคำสั่งของโจทก์ต่อไป
คำว่า 'เอซี เปยีออลลี่' มีความหมายทำนองเดียวกับ 'เปลี่ยนมือไม่ได้'หรือ 'ห้ามเปลี่ยนมือ' ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 995
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้มีวิชาชีพประกอบการธนาคาร เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีของส.ผู้รับสลักหลังทั้ง ๆ ที่เช็คพิพาทเป็นเช็คห้ามเปลี่ยนมือ ต้องนำเงินตาม เช็คเข้าบัญชีของโจทก์เท่านั้นจะถือว่าจำเลยกระทำโดยปราศจากความประมาทเลินเล่อหาได้ไม่จึงไม่ได้รับความ คุ้มครอง จากบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1000
ส. ไม่ได้เป็นผู้แทนกระทำแทนโจทก์ การที่ ส. ทราบการกระทำละเมิดของจำเลยในวันใดจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนจาก การกระทำดังกล่าวในวันนั้นเมื่อผู้ชำระบัญชีของโจทก์ เพิ่งทราบการกระทำละเมิดของจำเลยนับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 1 ปีคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ