พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2130/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของกรรมการและผู้รับมอบอำนาจในคดีฉ้อโกง
บริษัทจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล และเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3จะเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 เป็นผู้อำนวยการสาขาของจำเลยที่ 1 ที่กรุงเทพมหานครด้วยอีก ตำแหน่งหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มอบอำนาจการ ดำเนินกิจการของสาขากรุงเทพมหานครให้แก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 โดยระบุว่า ผู้รับมอบอำนาจคนใดคนหนึ่งมีอำนาจ ดำเนินกิจการแทนจำเลยที่ 1 แสดงว่าผู้รับมอบอำนาจต่างมีสิทธิดำเนินกิจการแทนจำเลยที่ 1 ได้โดยเอกเทศประกอบกับการสั่งซื้อขายหุ้นโจทก์สั่งกับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 โดยตรง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับการกระทำใด ๆ ที่โจทก์อ้างว่าเป็นการฉ้อโกงโจทก์ และไม่ต้องรับผิดชอบในการดำเนินงานของสาขาจำเลยที่ 1 ที่กรุงเทพมหานคร จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2130/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจดำเนินงานสาขา ทำให้กรรมการไม่ต้องรับผิดชอบการฉ้อโกง หากไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง
บริษัทจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล และเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 เป็นผู้อำนวยการสาขาของจำเลยที่ 1 ที่กรุงเทพมหานครด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มอบอำนาจการดำเนินกิจการของสาขากรุงเทพมหานครให้แก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 โดยระบุว่า ผู้รับมอบอำนาจคนใดคนหนึ่งมีอำนาจ ดำเนินกิจการแทนจำเลยที่ 1 แสดงว่าผู้รับมอบอำนาจต่างมีสิทธิดำเนินกิจการแทนจำเลยที่ 1 ได้โดยเอกเทศประกอบกับการสั่งซื้อขายหุ้นโจทก์สั่งกับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 โดยตรงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับการกระทำใด ๆที่โจทก์อ้างว่าเป็นการฉ้อโกงโจทก์ และ ไม่ต้องรับผิดชอบในการดำเนินงานของสาขาจำเลยที่ 1 ที่ กรุงเทพมหานคร จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: เริ่มนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้ต้องรับผิด
ข้อเท็จจริงได้ความจากการนำสืบของโจทก์ว่า รถยนต์โจทก์ถูกรถยนต์จำเลยที่ 2 ซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทชนได้รับความเสียหายเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2518 ต่อมาวันที่ 29 สิงหาคม 2518 นาย น.ข้าราชการในสังกัดกรมโจทก์ และได้รับมอบหมายจากกรมโจทก์ให้เดินทางไปสังเกตการณ์และสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับอุบัติเหตุรถยนต์คันของโจทก์ถูกชน นาย น.ได้ทำบันทึกรายงานแจ้งถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ดังปรากฏตามรายงานข้อ 7 ในบันทึกเอกสารหมายจ.5 ว่า "กระผมได้ไปพบเจ้าของรถบรรทุก ร. น. 00562 และตัวแทนบริษัทธนกิจประกันภัย จำกัด (นายธัญญะ เอื้ออารี) เพื่อเรียกร้องการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งทางบริษัทประกันภัยได้ตกลงเป็นหลักการไว้ว่ายินดีจะชดใช้ ค่าเสียหายโดยจะซ่อมแซม รถยนต์แลนด์โรเวอร์ ก.ท.ฬ.- 1021 ให้อยู่ในสภาพเดิม " นายภักดี ลุศนันท์ อธิบดีกรมโจทก์ในขณะนั้นได้มีบันทึกสั่งการไว้ในท้ายบันทึกรายงานดังกล่าว ลงวันที่ 2 กันยายน 2518 ว่า 1. การตกลงกับบริษัทประกันภัยและเจ้าของรถบรรทุกต้องมีลายลักษณ์อักษร 2. ทำรายงานไปกระทรวงการคลัง 3. ตั้งกรรมการสอบ ผู้รับผิดชอบทางแพ่งตามระเบียบซึ่งต่อมานาง ฉ.ประธานกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งตามที่กรมโจทก์ตั้ง ขึ้นก็ได้ทำรายงานความเห็นต่ออธิบดีกรมโจทก์ ดังปรากฏตามบันทึกข้อความเอกสารหมายจ.6หน้าที่ 3 ความว่าเห็นว่ารถยนต์บรรทุกหมายเลขทะเบียน ร.น.00562 เป็นฝ่ายผิดซึ่งเจ้าของรถยนต์ดังกล่าวจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่กรมโจทก์แต่เหตุเกิดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2518 และรู้ตัวผู้ที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2518 ฉะนั้นการที่จะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าของรถยนต์บรรทุกหมายเลขทะเบียนร.น.00562 นั้น ขาดอายุความ แล้ว
จากข้อเท็จจริงตามที่ได้ความดังกล่าวเห็นว่า กรมโจทก์โดยอธิบดีในขณะนั้นได้รู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัว ผู้ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งได้แก่จำเลยแล้วตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2518ตามที่อธิบดีกรมโจทก์ในขณะนั้นได้ เขียนบันทึกสั่งการไว้ท้ายบันทึกรายงานตามเอกสารหมายจ.5 ซึ่งแม้แต่นางฉ.ประธานกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งที่โจทก์แต่งตั้งขึ้นก็ยังให้ความเห็นว่าคดีขาดอายุความแล้ว ดังนี้ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2522 ซึ่งเป็นเวลาพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวจำเลยผู้ต้องรับผิดดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องแล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2527)
จากข้อเท็จจริงตามที่ได้ความดังกล่าวเห็นว่า กรมโจทก์โดยอธิบดีในขณะนั้นได้รู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัว ผู้ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งได้แก่จำเลยแล้วตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2518ตามที่อธิบดีกรมโจทก์ในขณะนั้นได้ เขียนบันทึกสั่งการไว้ท้ายบันทึกรายงานตามเอกสารหมายจ.5 ซึ่งแม้แต่นางฉ.ประธานกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งที่โจทก์แต่งตั้งขึ้นก็ยังให้ความเห็นว่าคดีขาดอายุความแล้ว ดังนี้ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2522 ซึ่งเป็นเวลาพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวจำเลยผู้ต้องรับผิดดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องแล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2527)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: เริ่มนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและตัวผู้รับผิด แม้มีการสอบสวนภายในก็ไม่หยุดนับ
ข้อเท็จจริงได้ความจากการนำสืบของโจทก์ว่า รถยนต์โจทก์ถูกรถยนต์จำเลยที่ 2 ซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทชนได้รับความเสียหายเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2518 ต่อมาวันที่ 29 สิงหาคม 2518 นาย น.ข้าราชการในสังกัดกรมโจทก์ และได้รับมอบหมายจากกรมโจทก์ให้เดินทางไปสังเกตการณ์และสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับอุบัติเหตุรถยนต์คันของโจทก์ถูกชน นาย น.ได้ทำบันทึกรายงานแจ้งถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ดังปรากฏตามรายงานข้อ 7 ในบันทึกเอกสารหมายจ.5 ว่า "กระผมได้ไปพบเจ้าของรถบรรทุก ร. น.00562และตัวแทนบริษัทธนกิจประกันภัยจำกัด(นายธัญญะเอื้ออารี) เพื่อเรียกร้องการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งทางบริษัทประกันภัยได้ตกลงเป็นหลักการไว้ว่ายินดีจะชดใช้ ค่าเสียหายโดยจะซ่อมแซม รถยนต์แลนด์โรเวอร์ก.ท.ฬ.-1021ให้อยู่ในสภาพเดิม" นายภักดีลุศนันท์ อธิบดีกรมโจทก์ ในขณะนั้นได้มีบันทึกสั่งการไว้ในท้ายบันทึกรายงานดังกล่าว ลงวันที่ 2 กันยายน 2518 ว่า 1. การตกลงกับบริษัทประกันภัยและเจ้าของรถบรรทุกต้องมีลายลักษณ์อักษร 2. ทำรายงานไปกระทรวงการคลัง 3. ตั้งกรรมการสอบ ผู้รับผิดชอบทางแพ่งตามระเบียบซึ่งต่อมานาง ฉ.ประธานกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งตามที่กรมโจทก์ตั้ง ขึ้นก็ได้ทำรายงานความเห็นต่ออธิบดีกรมโจทก์ ดังปรากฏตามบันทึกข้อความเอกสารหมายจ.6หน้าที่ 3 ความว่าเห็นว่ารถยนต์บรรทุกหมายเลขทะเบียน ร.น.00562 เป็นฝ่ายผิด ซึ่งเจ้าของรถยนต์ดังกล่าวจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่กรมโจทก์แต่เหตุเกิดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2518 และรู้ตัวผู้ที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2518 ฉะนั้นการที่จะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าของรถยนต์บรรทุกหมายเลขทะเบียน ร.น.00562 นั้น ขาดอายุความ แล้ว จากข้อเท็จจริงตามที่ได้ความดังกล่าวเห็นว่า กรมโจทก์โดยอธิบดีในขณะนั้นได้รู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัว ผู้ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งได้แก่จำเลยแล้วตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2518ตามที่อธิบดีกรมโจทก์ในขณะนั้นได้ เขียนบันทึกสั่งการไว้ท้ายบันทึกรายงานตามเอกสารหมายจ.5 ซึ่งแม้แต่นางฉ.ประธานกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งที่โจทก์แต่งตั้งขึ้นก็ยังให้ความเห็นว่าคดีขาดอายุความแล้ว ดังนี้ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2522 ซึ่งเป็นเวลาพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวจำเลยผู้ต้องรับผิดดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องแล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2527)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการ, การผูกพันสัญญา, การปฏิเสธสิทธิ, และการสละเงื่อนเวลาในการบังคับตามสัญญา
การเป็นหม้ายเป็นเพียงรายละเอียดข้อเท็จจริง มิใช่สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับหรือข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่ง ข้อหา แม้โจทก์จะมิได้ระบุไว้ในคำฟ้องและหนังสือมอบอำนาจ โจทก์นำสืบได้ว่าโจทก์เป็นหม้าย หาเป็นการนำสืบนอกฟ้อง แต่อย่างใดไม่
ฎีกาของจำเลยที่มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัย
สัญญามัดจำก่อสร้างมีข้อความระบุว่า ป. ทำสัญญาในฐานะที่เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย มิใช่ทำในนามของตนเองแม้อำนาจกรรมการของบริษัทจำเลยที่จดทะเบียนไว้จะต้องมีกรรมการสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทเมื่อ ป. เป็นกรรมการและคณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้ ป. เป็นผู้จัดการบริษัทจำเลย ป. แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจ ทำสัญญาแทนจำเลย ทั้งบริษัทจำเลยก็ยอมรับเอาผลแห่งการกระทำของ ป. ตลอดมาเพื่อจะอ้างว่า ป. ไม่มีอำนาจ หลังจากที่มีการเปลี่ยนกรรมการใหม่ จึงไม่มีผลลบล้างสัญญาที่ทำไว้แล้ว สัญญาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย
จำเลยปฏิเสธสิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่ตามสัญญาตลอดมาตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องและเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยแล้ว จำเลยก็ยังคงให้การปฏิเสธสิทธิของโจทก์อยู่เช่นเดิม ดังนั้น ไม่ว่าตามสัญญาจะมีเงื่อนเวลาอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็น ประโยชน์แก่จำเลยถือได้ว่าจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลา นั้นแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา ได้
ฎีกาของจำเลยที่มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัย
สัญญามัดจำก่อสร้างมีข้อความระบุว่า ป. ทำสัญญาในฐานะที่เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย มิใช่ทำในนามของตนเองแม้อำนาจกรรมการของบริษัทจำเลยที่จดทะเบียนไว้จะต้องมีกรรมการสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทเมื่อ ป. เป็นกรรมการและคณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้ ป. เป็นผู้จัดการบริษัทจำเลย ป. แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจ ทำสัญญาแทนจำเลย ทั้งบริษัทจำเลยก็ยอมรับเอาผลแห่งการกระทำของ ป. ตลอดมาเพื่อจะอ้างว่า ป. ไม่มีอำนาจ หลังจากที่มีการเปลี่ยนกรรมการใหม่ จึงไม่มีผลลบล้างสัญญาที่ทำไว้แล้ว สัญญาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย
จำเลยปฏิเสธสิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่ตามสัญญาตลอดมาตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องและเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยแล้ว จำเลยก็ยังคงให้การปฏิเสธสิทธิของโจทก์อยู่เช่นเดิม ดังนั้น ไม่ว่าตามสัญญาจะมีเงื่อนเวลาอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็น ประโยชน์แก่จำเลยถือได้ว่าจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลา นั้นแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการ, สัญญา, การปฏิเสธสิทธิ, การสละประโยชน์, การบังคับตามสัญญา
การเป็นหม้ายเป็นเพียงรายละเอียดข้อเท็จจริง มิใช่สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับหรือข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่ง ข้อหา แม้โจทก์จะมิได้ระบุไว้ในคำฟ้องและหนังสือมอบอำนาจ โจทก์นำสืบได้ว่าโจทก์เป็นหม้าย หาเป็นการนำสืบนอกฟ้องแต่อย่างใดไม่
ฎีกาของจำเลยที่มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญามัดจำก่อสร้างมีข้อความระบุว่า ป. ทำสัญญาในฐานะที่เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย มิใช่ทำในนามของตนเอง แม้อำนาจกรรมการของบริษัทจำเลยที่จดทะเบียนไว้จะต้องมีกรรมการสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท เมื่อ ป. เป็นกรรมการและคณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้ ป. เป็นผู้จัดการบริษัทจำเลย ป. แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจ ทำสัญญาแทนจำเลย ทั้งบริษัทจำเลยก็ยอมรับเอาผลแห่งการกระทำของ ป. ตลอดมาเพื่อจะอ้างว่า ป. ไม่มีอำนาจ หลังจากที่มีการเปลี่ยนกรรมการใหม่จึงไม่มีผลลบล้างสัญญาที่ทำไว้แล้ว สัญญาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย
จำเลยปฏิเสธสิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่ตามสัญญาตลอดมา ตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องและเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยแล้ว จำเลยก็ยังคงให้การปฏิเสธสิทธิของโจทก์อยู่เช่นเดิม ดังนั้น ไม่ว่าตามสัญญาจะมีเงื่อนเวลาอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นประโยชน์แก่จำเลยถือได้ว่าจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
ฎีกาของจำเลยที่มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญามัดจำก่อสร้างมีข้อความระบุว่า ป. ทำสัญญาในฐานะที่เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย มิใช่ทำในนามของตนเอง แม้อำนาจกรรมการของบริษัทจำเลยที่จดทะเบียนไว้จะต้องมีกรรมการสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท เมื่อ ป. เป็นกรรมการและคณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งให้ ป. เป็นผู้จัดการบริษัทจำเลย ป. แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจ ทำสัญญาแทนจำเลย ทั้งบริษัทจำเลยก็ยอมรับเอาผลแห่งการกระทำของ ป. ตลอดมาเพื่อจะอ้างว่า ป. ไม่มีอำนาจ หลังจากที่มีการเปลี่ยนกรรมการใหม่จึงไม่มีผลลบล้างสัญญาที่ทำไว้แล้ว สัญญาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย
จำเลยปฏิเสธสิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่ตามสัญญาตลอดมา ตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องและเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยแล้ว จำเลยก็ยังคงให้การปฏิเสธสิทธิของโจทก์อยู่เช่นเดิม ดังนั้น ไม่ว่าตามสัญญาจะมีเงื่อนเวลาอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นประโยชน์แก่จำเลยถือได้ว่าจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำของตัวแทนย่อมผูกพันหลัก การประกันภัยรถยนต์ ความรับผิดของผู้รับประกัน
กรมธรรม์ประกันภัยระบุชื่อ อ. เป็นผู้เอาประกันภัย โดยไม่ระบุว่า กระทำในฐานะผู้แทนห้างจำเลยที่ 2 แต่ อ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของ ห้างจำเลยที่ 2 และรถยนต์คันที่ เอาประกันภัยค้ำจุนไว้กับจำเลยที่ 3 ก็เป็นของห้างจำเลยที่ 2 มิใช่ของ อ.เป็นส่วนตัวอ. จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสีย ในรถยนต์ที่เอาประกันภัย การที่ อ. นำรถยนต์ดังกล่าวไปทำ สัญญาประกันภัยกับจำเลยที่ 3 จึงเป็น การกระทำในฐานะผู้แทนของ ห้างจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคล เพราะความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงปรากฏจากผู้แทนของนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 ถือได้ว่าเป็นการกระทำของห้างจำเลยที่ 2 เอง การ ที่ไม่ระบุไว้ ในกรมธรรม์ประกันภัยว่า อ. กระทำการแทนห้าง จำเลยที่ 2 หาทำให้ การกระทำในฐานะผู้แทนของนิติบุคคลกลับกลายเป็นการกระทำใน ฐานะส่วนตัวไปไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 3 เป็น ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 887
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัย-หนี้สินล้นพ้นตัว: ศาลยืนตามเดิม เหตุผลการขาดส่งมอบน้ำมันไม่ใช่เหตุสุดวิสัย และการส่งหนังสือทวงถามชอบแล้ว
การที่จำเลยไม่สามารถหาเรือมาบรรทุกน้ำมันเพื่อส่งมอบให้โจทก์ได้นั้นเป็นเรื่องด้อยความสามารถของจำเลยเองและการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้นเป็นเหตุให้จำเลยขาดทุนก็เป็นธรรมดาของการค้าขายซึ่งอาจจะมีทั้งกำไรและขาดทุน พฤติการณ์ดังกล่าวมิใช่เหตุสุดวิสัยตามมาตรา 8 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
หนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นค่าปรับซึ่งสามารถคำนวณได้จากปริมาณน้ำมันที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบให้โจทก์ได้ครบจำนวนที่สั่งซื้อ ซึ่งคำนวณแล้วเป็นจำนวนเงินตามที่โจทก์ฟ้อง จึงเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตามมาตรา9(3) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย และโจทก์ไม่จำเป็นต้องสืบพยานให้เห็นว่าโจทก์เสียหายเพียงใดหรือไม่
เมื่อผู้จัดการบริษัทจำเลยได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ทั้งสองฉบับจากโจทก์แล้ว แม้หนังสือนั้นได้ส่งไปยังที่อยู่ของผู้จัดการบริษัทจำเลยซึ่งไม่ใช่ภูมิลำเนาอันเป็นที่ตั้งของบริษัทจำเลยก็ตาม ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามดังกล่าวโดยชอบแล้ว และหนังสือทั้งสองฉบับนี้ได้ส่งในระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน จำเลยไม่ชำระหนี้ตามหนังสือทวงถาม กรณีต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8(9) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฟังได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
การที่ศาลชั้นต้นส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยปิดไว้ ณสำนักงานบริษัทจำเลยตามที่จดทะเบียนไว้นั้น เป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
หนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นค่าปรับซึ่งสามารถคำนวณได้จากปริมาณน้ำมันที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบให้โจทก์ได้ครบจำนวนที่สั่งซื้อ ซึ่งคำนวณแล้วเป็นจำนวนเงินตามที่โจทก์ฟ้อง จึงเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตามมาตรา9(3) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย และโจทก์ไม่จำเป็นต้องสืบพยานให้เห็นว่าโจทก์เสียหายเพียงใดหรือไม่
เมื่อผู้จัดการบริษัทจำเลยได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ทั้งสองฉบับจากโจทก์แล้ว แม้หนังสือนั้นได้ส่งไปยังที่อยู่ของผู้จัดการบริษัทจำเลยซึ่งไม่ใช่ภูมิลำเนาอันเป็นที่ตั้งของบริษัทจำเลยก็ตาม ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามดังกล่าวโดยชอบแล้ว และหนังสือทั้งสองฉบับนี้ได้ส่งในระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน จำเลยไม่ชำระหนี้ตามหนังสือทวงถาม กรณีต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8(9) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฟังได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
การที่ศาลชั้นต้นส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยปิดไว้ ณสำนักงานบริษัทจำเลยตามที่จดทะเบียนไว้นั้น เป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: เหตุสุดวิสัย, จำนวนหนี้, การส่งหนังสือทวงถาม, และการส่งสำเนาคำฟ้อง
การที่จำเลยไม่สามารถหาเรือมาบรรทุกน้ำมันเพื่อส่งมอบให้โจทก์ได้นั้นเป็นเรื่องด้อยความสามารถของจำเลยเอง และการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้นเป็นเหตุให้จำเลยขาดทุนก็เป็นธรรมดาของการค้าขายซึ่งอาจจะมีทั้งกำไรและขาดทุน พฤติการณ์ดังกล่าวมิใช่เหตุสุดวิสัยตามมาตรา 8 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
หนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นค่าปรับซึ่งสามารถคำนวณได้จากปริมาณน้ำมันที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบให้โจทก์ได้ครบจำนวนที่สั่งซื้อ ซึ่งคำนวณแล้วเป็นจำนวนเงินตามที่โจทก์ฟ้อง จึงเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตามมาตรา 9(3) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย และโจทก์ไม่จำเป็นต้องสืบพยานให้เห็นว่าโจทก์เสียหายเพียงใดหรือไม่
เมื่อผู้จัดการบริษัทจำเลยได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ทั้งสองฉบับจากโจทก์แล้ว แม้หนังสือนั้นได้ส่งไปยังที่อยู่ของผู้จัดการบริษัทจำเลยซึ่งไม่ใช่ภูมิลำเนาอันเป็นที่ตั้งของบริษัทจำเลยก็ตาม ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามดังกล่าวโดยชอบแล้ว และหนังสือทั้งสองฉบับนี้ได้ส่งในระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน จำเลยไม่ชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามกรณีต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8(9) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ฟังได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
การที่ศาลชั้นต้นส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยปิดไว้ ณ สำนักงานบริษัทจำเลยตามที่จดทะเบียนไว้นั้น เป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
หนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นค่าปรับซึ่งสามารถคำนวณได้จากปริมาณน้ำมันที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบให้โจทก์ได้ครบจำนวนที่สั่งซื้อ ซึ่งคำนวณแล้วเป็นจำนวนเงินตามที่โจทก์ฟ้อง จึงเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตามมาตรา 9(3) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย และโจทก์ไม่จำเป็นต้องสืบพยานให้เห็นว่าโจทก์เสียหายเพียงใดหรือไม่
เมื่อผู้จัดการบริษัทจำเลยได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ทั้งสองฉบับจากโจทก์แล้ว แม้หนังสือนั้นได้ส่งไปยังที่อยู่ของผู้จัดการบริษัทจำเลยซึ่งไม่ใช่ภูมิลำเนาอันเป็นที่ตั้งของบริษัทจำเลยก็ตาม ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามดังกล่าวโดยชอบแล้ว และหนังสือทั้งสองฉบับนี้ได้ส่งในระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน จำเลยไม่ชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามกรณีต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8(9) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ฟังได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
การที่ศาลชั้นต้นส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยปิดไว้ ณ สำนักงานบริษัทจำเลยตามที่จดทะเบียนไว้นั้น เป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน และอายุความการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญา
ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเชื้อเพลิง พ.ศ. 2503 มาตรา 20ผู้อำนวยการองค์การโจทก์มีอำนาจและหน้าที่จัดการและดำเนินกิจการ ขององค์การโจทก์ให้เป็นไปตามนโยบายและข้อบังคับที่คณะกรรมการ กำหนด การฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้ก่อความเสียหายก็เป็นการดำเนินกิจการอย่างหนึ่ง จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า การที่ผู้อำนวยการองค์การโจทก์ ฟ้องคดีนี้เป็นการขัดต่อนโยบายและข้อบังคับของคณะกรรมการประการใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ส. กับ ว. ต่างเป็นพนักงานของโจทก์ซึ่งมีหน้าที่ทำงานให้แก่โจทก์และโจทก์จ่ายสินจ้างให้ตลอดเวลาที่ทำงาน แม้โจทก์จะจัดตั้งขึ้น โดยพระราชกฤษฎีกา โจทก์ก็เป็นเพียงองค์การรัฐวิสาหกิจ หาใช่ส่วนราชการไม่ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับบุคคลทั้งสอง จึงมิใช่ความสัมพันธ์ระหว่าง กรมกระทรวงในรัฐบาลกับข้าราชการซึ่งมีขึ้นโดยกฎหมายฝ่ายปกครองแต่เป็นความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงาน แม้โจทก์จะมีข้อบังคับ ว่าด้วยวินัยพนักงานซึ่งคณะกรรมการองค์การโจทก์วางไว้โดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเชื้อเพลิง พ.ศ. 2503 เพื่อใช้บังคับแก่บรรดาพนักงานของโจทก์ ก็เป็นเพียงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับบุคคลทั้งสองจึงยังคงเป็นความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงานอยู่นั่นเอง
โจทก์มีคำสั่งมอบหมายให้ ส. กับ ว. เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของโจทก์ และในกรณีที่จ้างบุคคลอื่น มาทำการขนส่งแทนก็ให้อยู่ในความควบคุมตรวจตราดูแลให้เป็น ที่เรียบร้อย แต่บุคคลทั้งสองกลับละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งของโจทก์ โดยไม่ควบคุมตรวจตราดูแลการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นที่เรียบร้อยจนเป็นเหตุให้ ก. กับพวกซึ่งรับจ้างโจทก์ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงได้ร่วมกันเอาน้ำมันเชื้อเพลิงของโจทก์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยผิดกฎหมาย จึงเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน ย่อมเป็นการไม่ชำระหนี้ แก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ถึงแม้โจทก์จะได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สินเนื่องจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลทั้งสอง อันถือได้ว่า เป็นการกระทำละเมิด แต่การไม่ชำระหนี้ของลูกจ้างตามสัญญาก็เป็นการผิดสัญญาด้วย เมื่อการกระทำของ ส. กับ ว. เป็นทั้งละเมิด และผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นได้ทั้งสองทาง สำหรับสิทธิเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานนั้น มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ถึงหากสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดจะขาดอายุความแล้ว ก็หามีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย อันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 820/2513) จำเลยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการองค์การโจทก์ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2508 โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของ ส. กับ ว.ลูกจ้างของโจทก์ ระหว่างวันที่ 16 มีนาคม 2510 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2511 จำเลยพ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การโจทก์ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2519 และ ช. ผู้อำนวยการคนใหม่ได้ทราบเรื่องนี้ตั้งแต่ก่อนวันเข้ารับตำแหน่ง เพราะเป็นผู้รักษาการแทนระหว่างจำเลยลาป่วยมาก่อนขณะนั้นสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจาก การผิดสัญญาจ้างแรงงานยังไม่ขาดอายุความ หากโจทก์จะฟ้อง ส. กับ ว.ให้รับผิดก็ยังมีสิทธิฟ้องได้ แต่โจทก์มิได้ฟ้องเอง การที่จำเลยมิได้ ดำเนินการฟ้องบุคคลทั้งสองภายในกำหนดอายุความ 1 ปี จึงไม่เป็นเหตุ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นละเมิด ดังโจทก์ฟ้อง
ส. กับ ว. ต่างเป็นพนักงานของโจทก์ซึ่งมีหน้าที่ทำงานให้แก่โจทก์และโจทก์จ่ายสินจ้างให้ตลอดเวลาที่ทำงาน แม้โจทก์จะจัดตั้งขึ้น โดยพระราชกฤษฎีกา โจทก์ก็เป็นเพียงองค์การรัฐวิสาหกิจ หาใช่ส่วนราชการไม่ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับบุคคลทั้งสอง จึงมิใช่ความสัมพันธ์ระหว่าง กรมกระทรวงในรัฐบาลกับข้าราชการซึ่งมีขึ้นโดยกฎหมายฝ่ายปกครองแต่เป็นความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงาน แม้โจทก์จะมีข้อบังคับ ว่าด้วยวินัยพนักงานซึ่งคณะกรรมการองค์การโจทก์วางไว้โดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเชื้อเพลิง พ.ศ. 2503 เพื่อใช้บังคับแก่บรรดาพนักงานของโจทก์ ก็เป็นเพียงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับบุคคลทั้งสองจึงยังคงเป็นความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงานอยู่นั่นเอง
โจทก์มีคำสั่งมอบหมายให้ ส. กับ ว. เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของโจทก์ และในกรณีที่จ้างบุคคลอื่น มาทำการขนส่งแทนก็ให้อยู่ในความควบคุมตรวจตราดูแลให้เป็น ที่เรียบร้อย แต่บุคคลทั้งสองกลับละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งของโจทก์ โดยไม่ควบคุมตรวจตราดูแลการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นที่เรียบร้อยจนเป็นเหตุให้ ก. กับพวกซึ่งรับจ้างโจทก์ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงได้ร่วมกันเอาน้ำมันเชื้อเพลิงของโจทก์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยผิดกฎหมาย จึงเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน ย่อมเป็นการไม่ชำระหนี้ แก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ถึงแม้โจทก์จะได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สินเนื่องจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลทั้งสอง อันถือได้ว่า เป็นการกระทำละเมิด แต่การไม่ชำระหนี้ของลูกจ้างตามสัญญาก็เป็นการผิดสัญญาด้วย เมื่อการกระทำของ ส. กับ ว. เป็นทั้งละเมิด และผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นได้ทั้งสองทาง สำหรับสิทธิเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานนั้น มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ถึงหากสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดจะขาดอายุความแล้ว ก็หามีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย อันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 820/2513) จำเลยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการองค์การโจทก์ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2508 โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของ ส. กับ ว.ลูกจ้างของโจทก์ ระหว่างวันที่ 16 มีนาคม 2510 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2511 จำเลยพ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การโจทก์ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2519 และ ช. ผู้อำนวยการคนใหม่ได้ทราบเรื่องนี้ตั้งแต่ก่อนวันเข้ารับตำแหน่ง เพราะเป็นผู้รักษาการแทนระหว่างจำเลยลาป่วยมาก่อนขณะนั้นสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจาก การผิดสัญญาจ้างแรงงานยังไม่ขาดอายุความ หากโจทก์จะฟ้อง ส. กับ ว.ให้รับผิดก็ยังมีสิทธิฟ้องได้ แต่โจทก์มิได้ฟ้องเอง การที่จำเลยมิได้ ดำเนินการฟ้องบุคคลทั้งสองภายในกำหนดอายุความ 1 ปี จึงไม่เป็นเหตุ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นละเมิด ดังโจทก์ฟ้อง