คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 75

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน และอายุความการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญา
ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเชื้อเพลิง พ.ศ. 2503 มาตรา 20ผู้อำนวยการองค์การโจทก์มีอำนาจและหน้าที่จัดการและดำเนินกิจการ ขององค์การโจทก์ให้เป็นไปตามนโยบายและข้อบังคับที่คณะกรรมการ กำหนด การฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้ก่อความเสียหายก็เป็นการดำเนินกิจการอย่างหนึ่ง จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า การที่ผู้อำนวยการองค์การโจทก์ ฟ้องคดีนี้เป็นการขัดต่อนโยบายและข้อบังคับของคณะกรรมการประการใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ส. กับ ว. ต่างเป็นพนักงานของโจทก์ซึ่งมีหน้าที่ทำงานให้แก่โจทก์และโจทก์จ่ายสินจ้างให้ตลอดเวลาที่ทำงาน แม้โจทก์จะจัดตั้งขึ้น โดยพระราชกฤษฎีกา โจทก์ก็เป็นเพียงองค์การรัฐวิสาหกิจ หาใช่ส่วนราชการไม่ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับบุคคลทั้งสอง จึงมิใช่ความสัมพันธ์ระหว่าง กรมกระทรวงในรัฐบาลกับข้าราชการซึ่งมีขึ้นโดยกฎหมายฝ่ายปกครองแต่เป็นความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงาน แม้โจทก์จะมีข้อบังคับ ว่าด้วยวินัยพนักงานซึ่งคณะกรรมการองค์การโจทก์วางไว้โดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเชื้อเพลิง พ.ศ. 2503 เพื่อใช้บังคับแก่บรรดาพนักงานของโจทก์ ก็เป็นเพียงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับบุคคลทั้งสองจึงยังคงเป็นความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงานอยู่นั่นเอง
โจทก์มีคำสั่งมอบหมายให้ ส. กับ ว. เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของโจทก์ และในกรณีที่จ้างบุคคลอื่น มาทำการขนส่งแทนก็ให้อยู่ในความควบคุมตรวจตราดูแลให้เป็น ที่เรียบร้อย แต่บุคคลทั้งสองกลับละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งของโจทก์ โดยไม่ควบคุมตรวจตราดูแลการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นที่เรียบร้อยจนเป็นเหตุให้ ก. กับพวกซึ่งรับจ้างโจทก์ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงได้ร่วมกันเอาน้ำมันเชื้อเพลิงของโจทก์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยผิดกฎหมาย จึงเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน ย่อมเป็นการไม่ชำระหนี้ แก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ถึงแม้โจทก์จะได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สินเนื่องจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลทั้งสอง อันถือได้ว่า เป็นการกระทำละเมิด แต่การไม่ชำระหนี้ของลูกจ้างตามสัญญาก็เป็นการผิดสัญญาด้วย เมื่อการกระทำของ ส. กับ ว. เป็นทั้งละเมิด และผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นได้ทั้งสองทาง สำหรับสิทธิเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานนั้น มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ถึงหากสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดจะขาดอายุความแล้ว ก็หามีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย อันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 820/2513) จำเลยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการองค์การโจทก์ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2508 โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของ ส. กับ ว.ลูกจ้างของโจทก์ ระหว่างวันที่ 16 มีนาคม 2510 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2511 จำเลยพ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การโจทก์ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2519 และ ช. ผู้อำนวยการคนใหม่ได้ทราบเรื่องนี้ตั้งแต่ก่อนวันเข้ารับตำแหน่ง เพราะเป็นผู้รักษาการแทนระหว่างจำเลยลาป่วยมาก่อนขณะนั้นสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจาก การผิดสัญญาจ้างแรงงานยังไม่ขาดอายุความ หากโจทก์จะฟ้อง ส. กับ ว.ให้รับผิดก็ยังมีสิทธิฟ้องได้ แต่โจทก์มิได้ฟ้องเอง การที่จำเลยมิได้ ดำเนินการฟ้องบุคคลทั้งสองภายในกำหนดอายุความ 1 ปี จึงไม่เป็นเหตุ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นละเมิด ดังโจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2000/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชี และสั่งห้ามจ่ายเงิน ถือเป็นตัวการออกเช็คโดยเจตนาทุจริต ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวได้
จำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัท ธ. การที่จำเลยออกเช็คโดยลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายและประทับตราของบริษัทให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ของบริษัท เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คเพราะจำเลยมีคำสั่งห้ามธนาคารใช้เงินตามเช็ค และไม่มีเงินในบัญชีเงินฝากของบริษัท อันเป็นการออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คซึ่งเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ก็ถือว่าจำเลยร่วมกับบริษัทออกเช็ครายนี้ และมีความผิดฐานเป็นตัวการด้วยโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2523 ซึ่งแตกต่างกับที่ปรากฏในการพิจารณาว่าจำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2522 ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่กระทำผิด ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการที่โจทก์ฟ้องผิดไปนั้นมิได้เป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2000/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทออกเช็คโดยเจตนาทุจริต มีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกับบริษัท
จำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัท ธ. การที่จำเลยออกเช็คโดยลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายและประทับตราของบริษัทให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ของบริษัท เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คเพราะจำเลยมีคำสั่งห้ามธนาคารใช้เงินตามเช็คและไม่มีเงินในบัญชีเงินฝากของบริษัท อันเป็นการออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คซึ่งเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ก็ถือว่าจำเลยร่วมกับบริษัทออกเช็ครายนี้ และมีความผิดฐานเป็นตัวการด้วยโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2523ซึ่งแตกต่างกับที่ปรากฏในการพิจารณาว่าจำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2522 ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่กระทำผิดซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการที่โจทก์ฟ้องผิดไปนั้นมิได้เป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเช็ค: ผู้มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทไม่ใช่ผู้สั่งจ่ายเช็คโดยตรง
จำเลยและ อ.เป็นผู้มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทผู้เป็นเจ้าของบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน การที่จำเลยและ อ.ลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายในเช็คที่มีเลขบัญชีดังกล่าวของบริษัทโดยประทับตราของบริษัทด้วย จึงถือว่าบริษัทเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คฉบับนี้ จำเลยเป็นเพียงผู้แทนของบริษัทหาใช่ผู้สั่งจ่ายซึ่งจะต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้แทนบริษัทออกเช็ค: ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายเช็คและอำนาจฟ้อง
จำเลยและ อ.เป็นผู้มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทผู้เป็นเจ้าของบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน การที่จำเลยและ อ.ลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายในเช็คที่มีเลขบัญชีดังกล่าวของบริษัทโดยประทับตราของบริษัทด้วย จึงถือว่าบริษัทเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คฉบับนี้ จำเลยเป็นเพียงผู้แทนของบริษัทหาใช่ผู้สั่งจ่ายซึ่งจะต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกค่าเช่าบ้านเท็จ – อำนาจฟ้องของกรม – ความรับผิดทางแพ่ง
กรมสามัญศึกษาโจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาลการฟ้องคดีของโจทก์ย่อมแสดงออกโดยการกระทำของอธิบดีซึ่งเป็นผู้แทนเมื่อเห็นว่าโจทก์มีสิทธิเรียกเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยเบิกไปโดยไม่มีสิทธิคืนโจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องคดีได้ อ.ก.พ.กระทรวงไม่มีอำนาจที่จะกระทำการแทนโจทก์ ฉะนั้นจะมีมติอย่างไรในเรื่องนี้จึงไม่เกี่ยวข้องกับอำนาจของโจทก์ในการฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3896/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วัตถุประสงค์การกู้ยืมเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัด และความรับผิดของผู้กู้ ผู้ค้ำประกัน
การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์มาใช้ในกิจการค้าของจำเลยที่ 1 หาเป็นการนอกวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ไม่
การที่โจทก์เบิกความว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้ และรับเงินจากโจทก์ไปต่างกับฟ้องที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ เมื่อข้อเท็จจริงเป็นอันยุติ และตามอุทธรณ์ฎีกาของจำเลยยอมรับว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้เงินโจทก์แล้วก็ไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยปัญหานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3896/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนกู้เงินเพื่อใช้ในกิจการค้า สัญญาผูกพัน หุ้นส่วนและผู้ค้ำประกันต้องรับผิด
การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์มาใช้ในกิจการค้าของจำเลยที่ 1 หาเป็นการนอกวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ไม่
การที่โจทก์เบิกความว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้ และรับเงินจากโจทก์ไปต่างกับฟ้องที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ เมื่อข้อเท็จจริงเป็นอันยุติ และตามอุทธรณ์ฎีกาของจำเลยยอมรับว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้เงินโจทก์แล้วก็ไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยปัญหานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3546/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจผู้แทนเจรจาข้อพิพาทแรงงาน แม้ไม่มีอากรแสตมป์ก็ผูกพันจำเลยได้ หากเป็นการแจ้งชื่อผู้แทนตามกฎหมาย
การแจ้งชื่อตนเองหรือผู้แทนของฝ่ายรับข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 16 นั้นกฎหมายมิได้กำหนดว่าจะต้องกระทำในรูปแบบใด เพียงแต่บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้นหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1มอบอำนาจให้ลูกจ้างจำเลยสองคนมาเป็นผู้แทนในการเจรจาตกลงกับฝ่ายเรียกร้องจึงใช้บังคับได้ แม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรก็ตาม
การประนอมข้อพิพาทแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯนั้นหมายถึงทั้งสองฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันเพื่อที่จะระงับข้อพิพาทแรงงานอันเกิดจากการเรียกร้องของลูกจ้างดังนั้นข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันโดยมีเหตุสืบเนื่องมาจากการยื่นข้อเรียกร้องของลูกจ้างนั้น ย่อมใช้บังคับได้
ข้อบังคับของบริษัทที่ว่าต้องมีกรรมการลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทจึงจะผูกพันบริษัทนั้น หมายถึงบริษัททำการเอง ไม่ใช้แก่กิจการที่ผู้แทนบริษัททำแทนบริษัท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3546/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจผู้แทนในการเจรจาข้อพิพาทแรงงาน ไม่ต้องติดอากรแสตมป์ ผูกพันจำเลย หากสืบเนื่องจากข้อเรียกร้อง
การแจ้งชื่อตนเองหรือผู้แทนของฝ่ายรับข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 16 นั้น กฎหมายมิได้กำหนดว่าจะต้องกระทำในรูปแบบใด เพียงแต่บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้นหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้ลูกจ้างจำเลยสองคนมาเป็นผู้แทนในการเจรจาตกลงกับฝ่ายเรียกร้องจึงใช้บังคับได้ แม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรก็ตาม
การประนอมข้อพิพาทแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ นั้นหมายถึงทั้งสองฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันเพื่อที่จะระงับข้อพิพาทแรงงานอันเกิดจากการเรียกร้องของลูกจ้างดังนั้นข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันโดยมีเหตุสืบเนื่องมาจากการยื่นข้อเรียกร้องของลูกจ้างนั้นย่อมใช้บังคับได้
ข้อบังคับของบริษัทที่ว่าต้องมีกรรมการลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทจึงจะผูกพันบริษัทนั้น หมายถึงบริษัททำการเอง ไม่ใช้แก่กิจการที่ผู้แทนบริษัททำแทนบริษัท
of 38