พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลมีอำนาจฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องขออนุมัติ และสัญญาต่างตอบแทนไม่ต้องจดทะเบียน
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 7 และมาตรา 39 กำหนดให้เทศบาลตำบลเมืองพลโจทก์เป็นทบวงการเมือง มีคณะเทศมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า โจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 และนายกเทศมนตรีมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ตามที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 75 ที่จะแสดงให้ปรากฏซึ่งความประสงค์ของโจทก์ที่เป็นนิติบุคคล การฟ้องคดีนั้นเป็นการบริหารกิจการของเทศบาลอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีบทบัญญัติใน พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 กำหนดไว้ในที่ใดว่าจะต้องมีการขออนุมัติผู้ใดก่อน นายกเทศมนตรีจึงมีอำนาจเป็นผู้แทนโจทก์ที่จะฟ้องคดีจำเลยได้ ในเมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย โจทก์จำเลยได้มีข้อตกลงเป็นการตอบแทนกันให้จำเลยสร้างโรงภาพยนตร์ในที่ดินของโจทก์โดยให้โรงภาพยนตร์ตกเป็นของโจทก์แต่จำเลยมีสิทธิเช่ามีกำหนด 20 ปี การที่มีข้อตกลงเป็นการตอบแทนกันดังกล่าวเป็นเรื่องของสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาข้อสัญญาต่างตอบแทนกันเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายกำหนดไว้ให้ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่คู่กรณีจึงต้องผูกพันกันตามสัญญาที่มีลักษณะต่างตอบแทน เมื่อระยะเวลาที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมานั้นอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยยังมีสิทธิใช้ประโยชน์ในโรงภาพยนตร์ตามสัญญา จำเลยก็ต้องมีหน้าที่ชำระค่าตอบแทนตามสัญญา การที่ข้อตกลงในสัญญาจะเรียกว่าเป็นค่าเช่าหรืออย่างไรนั้นไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงไปให้ข้อตกลงที่มีอยู่ต่อกันขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใดในเมื่อจำเลยไม่ชำระตามข้อตกลงโจทก์ก็มีสิทธิที่จะฟ้องให้จำเลยชำระได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงชื่อที่จะเรียกว่าเป็นค่าเช่าหรือค่าตอบแทนตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลมีอำนาจฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องขออนุมัติ และสัญญาต่างตอบแทนไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน
พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 7 และมาตรา 39 กำหนดให้เทศบาลตำบลเมืองพลโจทก์เป็นทบวงการเมือง มีคณะเทศมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า โจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม ป.พ.พ.มาตรา 72 และนายกเทศมนตรีมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ตามที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 75ที่จะแสดงให้ปรากฏซึ่งความประสงค์ของโจทก์ที่เป็นนิติบุคคล การฟ้องคดีนั้นเป็นการบริหารกิจการของเทศบาลอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 กำหนดไว้ในที่ใดว่าจะต้องมีการขออนุมัติผู้ใดก่อน นายกเทศมนตรีจึงมีอำนาจเป็นผู้แทนโจทก์ที่จะฟ้องคดีจำเลยได้ ในเมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย
โจทก์จำเลยได้มีข้อตกลงเป็นการตอบแทนกันให้จำเลยสร้างโรงภาพยนตร์ในที่ดินของโจทก์โดยให้โรงภาพยนตร์ตกเป็นของโจทก์ แต่จำเลยมีสิทธิเช่ามีกำหนด 20 ปี การที่มีข้อตกลงเป็นการตอบแทนกันดังกล่าวเป็นเรื่องของสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาข้อสัญญาต่างตอบแทนกันเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายกำหนดไว้ให้ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่คู่กรณีจึงต้องผูกพันกันตามสัญญาที่มีลักษณะต่างตอบแทน เมื่อระยะเวลาที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมานั้นอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยยังมีสิทธิใช้ประโยชน์ในโรงภาพยนตร์ตามสัญญา จำเลยก็ต้องมีหน้าที่ชำระค่าตอบแทนตามสัญญา การที่ข้อตกลงในสัญญาจะเรียกว่าเป็นค่าเช่าหรืออย่างไรนั้นไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงไปให้ข้อตกลงที่มีอยู่ต่อกันขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด ในเมื่อจำเลยไม่ชำระตามข้อตกลงโจทก์ก็มีสิทธิที่จะฟ้องให้จำเลยชำระได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงชื่อที่จะเรียกว่าเป็นค่าเช่าหรือค่าตอบแทนตามสัญญา
โจทก์จำเลยได้มีข้อตกลงเป็นการตอบแทนกันให้จำเลยสร้างโรงภาพยนตร์ในที่ดินของโจทก์โดยให้โรงภาพยนตร์ตกเป็นของโจทก์ แต่จำเลยมีสิทธิเช่ามีกำหนด 20 ปี การที่มีข้อตกลงเป็นการตอบแทนกันดังกล่าวเป็นเรื่องของสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาข้อสัญญาต่างตอบแทนกันเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายกำหนดไว้ให้ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่คู่กรณีจึงต้องผูกพันกันตามสัญญาที่มีลักษณะต่างตอบแทน เมื่อระยะเวลาที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมานั้นอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยยังมีสิทธิใช้ประโยชน์ในโรงภาพยนตร์ตามสัญญา จำเลยก็ต้องมีหน้าที่ชำระค่าตอบแทนตามสัญญา การที่ข้อตกลงในสัญญาจะเรียกว่าเป็นค่าเช่าหรืออย่างไรนั้นไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงไปให้ข้อตกลงที่มีอยู่ต่อกันขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด ในเมื่อจำเลยไม่ชำระตามข้อตกลงโจทก์ก็มีสิทธิที่จะฟ้องให้จำเลยชำระได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงชื่อที่จะเรียกว่าเป็นค่าเช่าหรือค่าตอบแทนตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิด: เริ่มนับเมื่อผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้กระทำผิด
วันที่ 9 กันยายน 2526 จำเลยขับรถยนต์ของกองทัพเรือโจทก์ไปตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา ชนกำแพงเรือนจำทหารเรือ ทำให้รถยนต์และกำแพงเสียหาย โจทก์ตั้งกรรมการสอบสวนหาผู้รับผิดทางแพ่ง กรรมการสอบสวนแล้วมีความเห็นแจ้งให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2527ว่า กรณีไม่สมควรมีผู้หนึ่งผู้ใดต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเพราะมีเหตุสุดวิสัย ตามความเห็นดังกล่าวไม่ปรากฏว่าได้มีการละเมิดหรือมีผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในขณะนั้น โจทก์จึงไม่อาจรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน โจทก์ส่งเรื่องให้กระทรวงการคลังทราบ กระทรวงการคลังเสนอเรื่องให้คณะกรรมการสอบสวนหาผู้รับผิดทางแพ่งซึ่งตั้ง ขึ้นโดยคณะรัฐมนตรีพิจารณา คณะกรรมการพิจารณาแล้วมีความเห็นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2528ว่า จำเลยขับรถโดยประมาทต้องรับผิดทางแพ่ง กระทรวงการคลังได้แจ้งเรื่องให้โจทก์ทราบ ถือว่าโจทก์เพิ่งรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหลังวันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2529 ยังไม่เกิน 1 ปี จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหัวหน้างานการเงินต่อความเสียหายจากการทุจริตของลูกน้อง กรณีละเลยการควบคุมดูแลการเก็บรักษาเงินและใบเสร็จ
ฎีกาจำเลยที่ 2 ที่ว่า กรมการขนส่งทางบกโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 3(พ.ศ. 2523) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ข้อ 1 กำหนดให้เงินภาษีรถประจำปีเป็นเงินของจังหวัด หาใช่เงินของกรมการขนส่งทางบกไม่แม้สำนักงานขนส่งจังหวัดอุบลราชธานีจะยังไม่ได้นำส่งแก่คลังจังหวัดอุบลราชธานี ตามระเบียบของราชการ ก็ถือว่าเป็นเงินรายได้ของจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อเจ้าหน้าที่สำนักงานขนส่งจังหวัดอุบลราชธานียักยอกเงินค่าภาษีรถประจำปี จังหวัดอุบลราชธานีจึงเป็นผู้เสียหายไม่ใช่โจทก์นั้น จำเลยที่ 2 มิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นในคำให้การไว้ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้ จึงไม่ยกขึ้นวินิจฉัยตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ระเบียบการเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 ข้อ 73 และมติคณะรัฐมนตรีตามหนังสือนว.155/2503 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2503 ที่กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งคณะกรรมการต้องเสนอผลการสอบสวนระบุตัวผู้รับผิดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ เพื่อเรียกให้ผู้รับผิดชดใช้เงินหากผู้ต้องรับผิดไม่ชดใช้ก็ให้ส่งเรื่องแก่พนักงานอัยการดำเนินคดีได้ทันที ไม่ต้องส่งให้กระทรวงหรือกรมเจ้าสังกัดสั่งการนั้นเป็นเรื่องการตั้งกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งเท่านั้นส่วนผู้ที่มีอำนาจฟ้องเป็นเรื่องที่กำหนดไว้ในกฎหมายซึ่งผู้เสียหายเท่านั้นที่จะฟ้องได้ ระเบียบดังกล่าวมิได้กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นโจทก์ฟ้องได้ ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งสอบสวนเรื่องที่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานขนส่งจังหวัดอุบลราชธานียักยอกเงินค่าภาษีรถประจำปีเสร็จส่งเรื่องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีพิจารณาและผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้ส่งเรื่องให้อธิบดีของกรมการขนส่งทางบกโจทก์ดำเนินคดีแก่ผู้ต้องรับผิดในทางแพ่งเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2526 และอธิบดีได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2526 ถือว่าโจทก์ได้ทราบตัวผู้ต้องรับผิดในวันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2527 ยังไม่พ้น 1 ปี นับแต่วันรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ยังไม่ขาดอายุความตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคแรก จำเลยที่ 2 ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้างานการเงิน บัญชีและธุรการสารบรรณทั้งหมด รับผิดชอบในการกำกับ ควบคุมงานการเงินบัญชีและธุรการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชาจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบงานดังกล่าว และมีหน้าที่เก็บรักษาใบเสร็จรับเงินทั้งหมดด้วย จำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการพ.ศ. 2520 ข้อ 8 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับมอบพัสดุต่าง ๆ จากคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ซึ่งเป็นใบเสร็จรับเงินค่าภาษี 200 เล่มรวมอยู่ด้วย ซึ่งจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ดูแลเก็บรักษาไว้ แต่จำเลยที่ 2 กลับละเว้นปล่อยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้เก็บไว้เป็นการเปิดโอกาสให้จำเลยที่ 1 ทุจริตนำใบเสร็จรับเงินเล่มที่ยังไม่ถึงกำหนดนำออกใช้เอาออกมาใช้รับเงินค่าภาษีรถและไม่ลงบัญชีไม่นำส่งเงินตามระเบียบ ได้เบียดบังเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวจึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6016/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของบริษัทจำกัด: กรรมการต้องดำเนินการตามข้อบังคับบริษัท และมีอำนาจกระทำการแทนตามที่จดทะเบียน
ฟ้องโจทก์ได้ความว่า โจทก์ที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด มีกรรมการ3 คน คือ โจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 7 ที่ 8 กรรมการสองคนในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันประทับตราสำคัญของบริษัทมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทได้ กรณีจะมีการฟ้องคดีในฐานะที่บริษัทเป็นโจทก์จึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทที่จดทะเบียนไว้ ถึงแม้ในคำฟ้องของบริษัทโจทก์ที่ 1 จะกล่าวอ้างว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 7 ที่ 8ร่วมกับจำเลยอื่นทำให้บริษัทเสียหาย โจทก์ที่ 2 ในฐานะที่เป็นกรรมการของบริษัทคนหนึ่งนั้นจะมีอำนาจดำเนินการฟ้องร้องตามกรณีที่กล่าวอ้างในคำฟ้องได้ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่จะต้องดำเนินการในฐานะนั้นเท่านั้น ไม่อาจดำเนินการฟ้องร้องในฐานะเป็นผู้แทนของบริษัทอันจะถือว่าบริษัทเป็นผู้ฟ้องคดีได้ เพราะในกรณีที่บริษัทจำกัดฟ้องคดีนั้น บริษัทจำกัดจะต้องเข้าไปรับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในกรณีที่ศาลจะให้ใช้แทนอีกฝ่ายหนึ่งโดยบังคับเอาจากทรัพย์สินของบริษัทมิใช่ผู้ฟ้องคดีแทนจะต้องรับผิดหรือบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของผู้ฟ้องคดีแทน การที่โจทก์ที่ 2 เพียงผู้เดียวแม้จะเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์ที่ 1 แต่ก็ไม่อาจที่จะมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทตามที่จดทะเบียนไว้ได้ โจทก์ที่ 2จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนบริษัทโจทก์ที่ 1 ในฐานะที่เป็นนิติบุคคลได้ กรณีเป็นเรื่องบริษัทโจทก์ที่ 1 ในฐานะนิติบุคคลฟ้องคดีโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจกระทำแทนได้ เป็นเรื่องฟ้องคดีโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจไม่ใช่กรณีที่เป็นเรื่องบกพร่องในความสามารถที่ศาลต้องสั่งให้แก้ไขก่อนมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 แต่เป็นกรณีที่ความประสงค์ของนิติบุคคลนั้นไม่แสดงปรากฏจากผู้แทนของนิติบุคคลนั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 75 คำฟ้องของโจทก์ที่ 1ซึ่งดำเนินการโดยโจทก์ที่ 2 จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่อาจรับไว้พิจารณาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6016/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของกรรมการบริษัทจำกัด ต้องเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท การลงนามโดยกรรมการคนเดียวจึงไม่มีอำนาจผูกพันบริษัท
โจทก์ที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด กรรมการ 2 ใน 3 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันประทับตราสำคัญของบริษัทมีอำนาจกระทำการแทนได้ การที่โจทก์ ที่ 2กรรมการของบริษัทลงลายมือชื่อแต่เพียงผู้เดียว จึงไม่มี อำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 1 ในฐานะที่เป็นนิติบุคคลได้ กรณีเป็นการฟ้องคดีโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจ เป็นกรณีความประสงค์ของนิติบุคคล นั้นไม่แสดงปรากฏจากผู้แทนของนิติบุคคลนั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 75 ไม่ใช่กรณีเป็นเรื่องบกพร่องในความสามารถที่ ศาลต้องสั่งให้แก้ไขก่อนมีคำพิพากษาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 56 คำฟ้องของโจทก์ที่ 1 ซึ่งดำเนินการโดยโจทก์ที่ 2 จึง เป็นคำฟ้องที่ศาลไม่อาจรับไว้พิจารณาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6016/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกรรมการบริษัทจำกัด: ต้องเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท และความประสงค์ของนิติบุคคล
ฟ้องโจทก์ได้ความว่า โจทก์ที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด มีกรรมการ 3 คน คือโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 7 ที่ 8 กรรมการสองคนในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันประทับตราสำคัญของบริษัทมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทได้ กรณีจะมีการฟ้องคดีในฐานะที่บริษัทเป็นโจทก์จึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทที่จดทะเบียนไว้ ถึงแม้ในคำฟ้องของบริษัทโจทก์ที่ 1 จะกล่าวอ้างว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 7 ที่ 8 ร่วมกับจำเลยอื่นทำให้บริษัทเสียหาย โจทก์ที่ 2 ในฐานะที่เป็นกรรมการของบริษัทคนหนึ่งนั้นจะมีอำนาจดำเนินการฟ้องร้องตามกรณีที่กล่าวอ้างในคำฟ้องได้ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่จะต้องดำเนินการในฐานะนั้นเท่านั้น ไม่อาจดำเนินการฟ้องร้องในฐานะเป็นผู้แทนของบริษัทอันจะถือว่าบริษัทเป็นผู้ฟ้องคดีได้ เพราะในกรณีที่บริษัทจำกัดฟ้องคดีนั้น บริษัทจำกัดจะต้องเข้าไปรับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในกรณีที่ศาลจะให้ใช้แทนอีกฝ่ายหนึ่งโดยบังคับเอาจากทรัพย์สินของบริษัทมิใช่ผู้ฟ้องคดีแทนจะต้องรับผิดหรือบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของผู้ฟ้องคดีแทน การที่โจทก์ที่ 2 เพียงผู้เดียวแม้จะเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์ที่ 1 แต่ก็ไม่อาจที่จะมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทตามที่จดทะเบียนไว้ได้ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนบริษัทโจทก์ที่ 1 ในฐานะที่เป็นนิติบุคคลได้กรณีเป็นเรื่องบริษัทโจทก์ที่ 1 ในฐานะนิติบุคคลฟ้องคดีโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจกระทำแทนได้ เป็นเรื่องฟ้องคดีโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจ ไม่ใช่กรณีที่เป็นเรื่องบกพร่องในความสามารถที่ศาลต้องสั่งให้แก้ไขก่อนมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 แต่เป็นกรณีที่ความประสงค์ของนิติบุคคลนั้นไม่แสดงปรากฏจากผู้แทนของนิติบุคคลนั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 75 คำฟ้องของโจทก์ที่ 1 ซึ่งดำเนินการโดยโจทก์ที่ 2 จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่อาจรับไว้พิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5608/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเป็นบุคคลล้มละลายจากคดีกู้ยืมเงินตามพ.ร.ก.กู้ยืมเงินฯ จำเลยมีส่วนร่วมหรือไม่
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาในฐานะประธานกรรมการยังจัดให้ประชุมผู้ร่วมลงทุนออกหนังสือยืนยันว่าบริษัทยังดำเนินธุรกิจเป็นปกติ ทั้งยังออกหนังสือขอผ่อนผันชำระเงินทุนคืนแก่ผู้ร่วมลงทุนทุกราย เป็นการกำกับดูแลธุรกิจบริษัทประหนึ่งตนเป็น กรรมการผู้จัดการ พฤติการณ์บ่งชัดว่าได้ร่วมคบคิดกับบริษัท ซึ่งเป็นนิติบุคคลทำการกู้ยืมเงินด้วย แม้จำเลยที่ 1 จะมิใช่ กรรมการผู้จัดการและ มิได้ลงนามในสัญญาในฐานะผู้แทนบริษัท จำเลย ที่ 1 ก็เป็นผู้กู้ยืม เงินตามนัยพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็น การฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527มาตรา 3 เมื่อจำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะ เป็นผู้กู้ยืมเงินและได้ตกเป็นผู้ต้องหาตามพระราชกำหนดดังกล่าว มาตรา 4,5 ทั้งได้ถูกฟ้องต่อศาลอาญาไว้แล้ว พนักงานอัยการจึงมี อำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลล้มละลายได้ตามพระราชกำหนด ดังกล่าว มาตรา 10 บริษัทเป็นผู้กู้ยืมเงินโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงนามในสัญญาในฐานะผู้แทนบริษัท จำเลยที่ 2 ย่อมเป็นผู้กู้ยืมเงินไปด้วยตามนัยแห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527มาตรา 3 การที่จำเลยที่ 2 กระทำให้เกิดข้อบกพร่องขึ้นโดยลงนามคนเดียว และไม่ประทับตราสำคัญของบริษัทนั้น หาทำให้ฐานะของจำเลยที่ 2 ที่เป็นผู้แทนบริษัทเปลี่ยนแปลงไปไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้ยืมเงิน และได้ตกเป็นผู้ต้องหาตามพระราชกำหนดดังกล่าว มาตรา4,5 ทั้งได้ถูกฟ้องต่อศาลอาญาไว้แล้ว เช่นนี้ พนักงานอัยการ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลายได้ตาม พระราชกำหนดดังกล่าว มาตรา 10 จำเลยที่ 2 จะได้หลอกลวงประชาชน หรือไม่ หา ได้กระทบถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ไม่ แม้จำเลยที่ 6 จะเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทด้วยผู้หนึ่ง แต่ จำเลย ที่ 6ก็มิได้เป็นกรรมการบริษัท และไม่เคยได้รับเงินจาก ผู้ ร่วม ลงทุน โดยจ่ายหรือตกลงจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ร่วมลงทุน แต่ อย่างใดจำเลยที่ 6 ไม่มีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 2 หรือกับบริษัท ใน การ กู้ยืม เงินจากผู้ร่วมลงทุน จำเลยที่ 6 จึงมิใช่ผู้กู้ยืมเงิน ตาม นัย พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 3 พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 6 เป็นบุคคลล้มละลาย ตาม พระราชกำหนด ดังกล่าวมาตรา 10 ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งไม่รอฟังข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญา และได้ดำเนินการพิจารณาสืบพยานหลักฐานจนเสร็จสิ้นแล้วมีคำพิพากษา ไปประกอบกับคดีส่วนอาญาที่อ้างถึงนั้นจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อใด ก็ไม่อาจทราบได้ จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะรอคดีนี้ไว้ ฟัง ข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5339/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของกรรมการบริษัท: การมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนโจทก์โดยประทับตราบริษัท
ช.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส.ดำเนินคดีต่อจำเลยโดยระบุว่า"ช.ขอมอบอำนาจให้ ส.เป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจของข้าพเจ้าโดย ให้มีอำนาจฟ้องกรมศุลกากร..." มิได้ระบุว่า ช. ได้มอบอำนาจในฐานะใด แต่เมื่อช.ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราของโจทก์ไว้ ในช่องลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ และกิจการที่มอบให้ ส.ฟ้อง ก็เป็นกิจการของโจทก์ ดังนี้ ถือว่าโจทก์เป็นผู้มอบอำนาจให้ ส.ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากเรือชนสะพาน: ความรับผิดของเจ้าของเรือ ผู้ควบคุม และผู้ว่าจ้าง รวมถึงประเด็นอายุความและการฟ้องเคลือบคลุม
จำเลยที่ 7 มิได้ให้การต่อสู้คดีในเรื่องฟ้องเคลือบคลุมไว้เช่นเดียวกับจำเลยอื่นจึงไม่มีสิทธิที่จะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์เพราะเป็นข้ออุทธรณ์ที่นอกเหนือคำให้การของตน ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ก็ไม่มีผลให้จำเลยที่ 7 มีสิทธิฎีกา โจทก์เป็นเจ้าของสะพานเทพหัสดินทร์ซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 5 แม้จำเลยที่ 1 ได้ออกเงินค่าซ่อมแซมสะพานที่เสียหายนั้นไปแทนโจทก์ ก็เป็นการออกเงินทดรองจ่ายไปก่อนเท่านั้น โจทก์ยังต้องชดใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ทดรองจ่ายไปดังกล่าวคืนให้แก่จำเลยที่ 1 มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง สัญญาเอกสารหมาย ล.15 เป็นสัญญาที่จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ตกลงว่าจ้างบริษัท น. เป็นผู้รับจ้างซ่อมสะพานโดยได้จ่ายค่าซ่อมสะพานแทนจำเลยที่ 3 ไปก่อนแล้ว จำเลยที่ 3 จะจ่ายเงินนั้นคืนให้จำเลยที่ 1สัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสะพานที่ถูกละเมิดกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหาทำให้หนี้ซึ่งเกิดจากมูลละเมิดระงับไปไม่ สะพานเทพหัสดินทร์มีช่องกลางสะพานให้เรือลอด ได้ ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ผู้เดินเรือด้วยกัน ช่องทางที่เกิดเหตุเรือชนเสาสะพานไม่ใช่ช่องทางให้เรือแล่น การที่เรือพ่วงชนเสาสะพานจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ควบคุมเรือลากจูงที่ไม่บังคับเรือเข้าไปในช่องทางที่ใช้เป็นทางสำหรับให้เรือแล่นผ่านโดยเฉพาะ เป็นเหตุให้ผักตบชวาไปปะทะ กับหัวเรือพ่วงที่ลากจูงมาแล้วเบี่ยงเบนไปชนกับเสาสะพานจนเกิดความเสียหาย ในระหว่างที่จำเลยที่ 5 ขับเรือลากจูงเรือพ่วงของจำเลยที่ 1นั้นยังมืดอยู่ไม่มีแสงจันทร์ และจำเลยที่ 5 ไม่ได้ใช้ไฟฉายเป็นสัญญาณใด ๆ ระหว่างเรือลากจูงกับเรือพ่วงเลย จำเลยที่ 5 เห็นผักตบชวาในระยะใกล้เมื่อเรือเข้าไปอยู่ใต้สะพานแล้วไม่สามารถกลับลำได้ จึงไม่มีทางที่ผู้ที่อยู่ในเรือพ่วงจะทราบและเตรียมป้องกันเหตุที่จะเกิดขึ้นได้ การที่เรือพ่วงชนสะพานของโจทก์จึงมิใช่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ผู้ควบคุมเรือพ่วง กรมทางหลวงโจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการ มีระเบียบแบบแผนในการหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งในกรณีที่มีการละเมิดเกิดขึ้น จะถือเอาวันที่อธิบดีของโจทก์รับทราบโดยทางบอกเล่าหรือโดยทางหนังสือพิมพ์นั้นหาได้ไม่ ต้องถือเอาวันที่อธิบดีของโจทก์รับทราบผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่ง เป็นวันที่โจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน การที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ จำเลยที่ 9 ว่าจ้างจำเลยที่ 7 เจ้าของเรือลากจูงไปทำการลากจูงเรือพ่วงโดยจำเลยที่ 5ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 7 เป็นผู้ควบคุมเรือแล้วขับไปชนสะพานเทพหัสดินทร์ เท่ากับจำเลยที่ 7 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 9 และถือได้ว่าจำเลยที่ 9 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 5 ด้วย จำเลยที่ 9จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 7 ในผลแห่งละเมิด.