พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากเรือชนสะพาน: ความรับผิดของเจ้าของเรือ ผู้ควบคุม และผู้ว่าจ้าง รวมถึงประเด็นอายุความและการฟ้องเคลือบคลุม
จำเลยที่ 7 มิได้ให้การต่อสู้คดีในเรื่องฟ้องเคลือบคลุมไว้เช่นเดียวกับจำเลยอื่นจึงไม่มีสิทธิที่จะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์เพราะเป็นข้ออุทธรณ์ที่นอกเหนือคำให้การของตน ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ก็ไม่มีผลให้จำเลยที่ 7 มีสิทธิฎีกา โจทก์เป็นเจ้าของสะพานเทพหัสดินทร์ซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 5 แม้จำเลยที่ 1 ได้ออกเงินค่าซ่อมแซมสะพานที่เสียหายนั้นไปแทนโจทก์ ก็เป็นการออกเงินทดรองจ่ายไปก่อนเท่านั้น โจทก์ยังต้องชดใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ทดรองจ่ายไปดังกล่าวคืนให้แก่จำเลยที่ 1 มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง สัญญาเอกสารหมาย ล.15 เป็นสัญญาที่จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ตกลงว่าจ้างบริษัท น. เป็นผู้รับจ้างซ่อมสะพานโดยได้จ่ายค่าซ่อมสะพานแทนจำเลยที่ 3 ไปก่อนแล้ว จำเลยที่ 3 จะจ่ายเงินนั้นคืนให้จำเลยที่ 1สัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสะพานที่ถูกละเมิดกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหาทำให้หนี้ซึ่งเกิดจากมูลละเมิดระงับไปไม่ สะพานเทพหัสดินทร์มีช่องกลางสะพานให้เรือลอด ได้ ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ผู้เดินเรือด้วยกัน ช่องทางที่เกิดเหตุเรือชนเสาสะพานไม่ใช่ช่องทางให้เรือแล่น การที่เรือพ่วงชนเสาสะพานจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ควบคุมเรือลากจูงที่ไม่บังคับเรือเข้าไปในช่องทางที่ใช้เป็นทางสำหรับให้เรือแล่นผ่านโดยเฉพาะ เป็นเหตุให้ผักตบชวาไปปะทะ กับหัวเรือพ่วงที่ลากจูงมาแล้วเบี่ยงเบนไปชนกับเสาสะพานจนเกิดความเสียหาย ในระหว่างที่จำเลยที่ 5 ขับเรือลากจูงเรือพ่วงของจำเลยที่ 1นั้นยังมืดอยู่ไม่มีแสงจันทร์ และจำเลยที่ 5 ไม่ได้ใช้ไฟฉายเป็นสัญญาณใด ๆ ระหว่างเรือลากจูงกับเรือพ่วงเลย จำเลยที่ 5 เห็นผักตบชวาในระยะใกล้เมื่อเรือเข้าไปอยู่ใต้สะพานแล้วไม่สามารถกลับลำได้ จึงไม่มีทางที่ผู้ที่อยู่ในเรือพ่วงจะทราบและเตรียมป้องกันเหตุที่จะเกิดขึ้นได้ การที่เรือพ่วงชนสะพานของโจทก์จึงมิใช่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ผู้ควบคุมเรือพ่วง กรมทางหลวงโจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการ มีระเบียบแบบแผนในการหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งในกรณีที่มีการละเมิดเกิดขึ้น จะถือเอาวันที่อธิบดีของโจทก์รับทราบโดยทางบอกเล่าหรือโดยทางหนังสือพิมพ์นั้นหาได้ไม่ ต้องถือเอาวันที่อธิบดีของโจทก์รับทราบผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่ง เป็นวันที่โจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน การที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ จำเลยที่ 9 ว่าจ้างจำเลยที่ 7 เจ้าของเรือลากจูงไปทำการลากจูงเรือพ่วงโดยจำเลยที่ 5ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 7 เป็นผู้ควบคุมเรือแล้วขับไปชนสะพานเทพหัสดินทร์ เท่ากับจำเลยที่ 7 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 9 และถือได้ว่าจำเลยที่ 9 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 5 ด้วย จำเลยที่ 9จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 7 ในผลแห่งละเมิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3902/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โรงแรมต้องรับผิดชอบความเสียหายรถยนต์ของผู้เข้าพัก หากระเบียบยกเว้นความรับผิดไม่ชัดเจนและผู้เข้าพักไม่ได้ตกลง
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยอ้างว่าได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องบังคับจำเลย โดยนำเอาสัญญาเช่าซื้อมานำสืบประกอบฐานะของผู้เอาประกันภัยว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ มิได้นำสืบบังคับตามสัญญาเช่าซื้อโดยตรง แม้สัญญาเช่าซื้อมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ จำเลยประกอบธุรกิจโรงแรมมีระเบียบว่าผู้เข้าพักต้องแจ้งให้ทางจำเลยทราบว่า มีรถยนต์เข้ามาจอดในที่จอดรถด้วย เพื่อจะได้จัดพนักงานดูแล มิฉะนั้นหากเกิดความเสียหายหรือสูญหายจำเลยจะไม่รับผิดชอบ ต่อมา ร. ได้เข้าพักในโรงแรมจำเลยโดยนำรถยนต์ไปจอดในที่จอดรถของโรงแรมจำเลย แต่ไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบเมื่อปรากฏว่า ร. มิได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดังกล่าวของจำเลย ระเบียบดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 677 จำเลยจะบอกปัดความรับผิดไม่ได้ เมื่อรถยนต์ของ ร.หายไปจากที่จอดรถของโรงแรมจำเลยร.ได้แจ้งให้ พ. ซึ่งเป็นผู้จัดการทั่วไปของโรงแรมจำเลยทราบ แต่พ.ปฏิเสธความรับผิดดังนี้ถือได้ว่าร. บอกกล่าวให้จำเลยทราบแล้ว เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปตามสัญญาประกันภัยและรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยเช่นนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3902/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โรงแรมต้องรับผิดต่อความเสียหายรถยนต์ของผู้เข้าพัก หากระเบียบจำกัดความรับผิดไม่ชัดเจนและผู้เข้าพักไม่ได้ตกลง
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยอ้างว่าได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องบังคับจำเลย โดยนำเอาสัญญาเช่าซื้อมานำสืบประกอบฐานะของผู้เอาประกันภัยว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ มิได้นำสืบบังคับตามสัญญาเช่าซื้อโดยตรง แม้สัญญาเช่าซื้อมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้
จำเลยประกอบธุรกิจโรงแรมมีระเบียบว่าผู้เข้าพักต้องแจ้งให้ทางจำเลยทราบว่ามีรถยนต์เข้ามาจอดในที่จอดรถด้วย เพื่อจะได้จัดพนักงานดูแล มิฉะนั้นหากเกิดความเสียหายหรือสูญหายจำเลยจะไม่รับผิดชอบ ต่อมา ร.ได้เข้าพักในโรงแรมจำเลยโดยนำรถยนต์ไปจอดในที่จอดรถของโรงแรมจำเลย แต่ไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบ เมื่อปรากฏว่า ร.มิได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดังกล่าวของจำเลย ระเบียบดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 677จำเลยจะบอกปัดความรับผิดไม่ได้
เมื่อรถยนต์ของ ร.หายไปจากที่จอดรถของโรงแรมจำเลย ร.ได้แจ้งให้ พ.ซึ่งเป็นผู้จัดการทั่วไปของโรงแรมจำเลยทราบ แต่ พ.ปฏิเสธความรับผิด ดังนี้ ถือได้ว่า ร.บอกกล่าวให้จำเลยทราบแล้ว เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปตามสัญญาประกันภัยและรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยเช่นนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน
จำเลยประกอบธุรกิจโรงแรมมีระเบียบว่าผู้เข้าพักต้องแจ้งให้ทางจำเลยทราบว่ามีรถยนต์เข้ามาจอดในที่จอดรถด้วย เพื่อจะได้จัดพนักงานดูแล มิฉะนั้นหากเกิดความเสียหายหรือสูญหายจำเลยจะไม่รับผิดชอบ ต่อมา ร.ได้เข้าพักในโรงแรมจำเลยโดยนำรถยนต์ไปจอดในที่จอดรถของโรงแรมจำเลย แต่ไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบ เมื่อปรากฏว่า ร.มิได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดังกล่าวของจำเลย ระเบียบดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 677จำเลยจะบอกปัดความรับผิดไม่ได้
เมื่อรถยนต์ของ ร.หายไปจากที่จอดรถของโรงแรมจำเลย ร.ได้แจ้งให้ พ.ซึ่งเป็นผู้จัดการทั่วไปของโรงแรมจำเลยทราบ แต่ พ.ปฏิเสธความรับผิด ดังนี้ ถือได้ว่า ร.บอกกล่าวให้จำเลยทราบแล้ว เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปตามสัญญาประกันภัยและรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยเช่นนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3301/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนในหนี้ภาษีและการอุทธรณ์การประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลรัษฎากร มาตรา 21 บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินภาษีอากรและแจ้งจำนวนเงินซึ่งต้องชำระไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร เมื่อปรากฏว่าผู้ต้องเสียภาษีอากรคือจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 แล้ว แม้มิได้แจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ทราบก็เป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อหนี้ที่ให้รับผิดเป็นหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 2 ออกจากหุ้นส่วนไปยังไม่เกินสองปี โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1068
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินได้หลักฐานข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน กับมีรายจ่ายต้องห้าม จึงมีอำนาจปรับปรุงรายการใหม่ให้ถูกต้อง และแจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 1 เสียภาษีและเบี้ยปรับได้ จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนั้น แม้โจทก์มิได้ระบุว่ารายจ่ายทั้ง 5 รายการนั้นต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี อนุมาตราใดก็เป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้ว เพราะกฎหมายมิได้บังคับว่าคำฟ้องของโจทก์ต้องระบุตัวบทกฎหมายตลอดจนมาตราและอนุมาตราไว้ด้วย
แม้ประมวลรัษฎากร มาตรา 21 จะบัญญัติห้ามอุทธรณ์การประเมินในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรไม่ปฏิบัติตามหมายหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 19 หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถามโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรก็ตาม แต่ในคดีนี้จำเลบยที่ 1 เป็นผู้ต้องเสียภาษี จำเลยที่ 1เท่านั้นที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมิน จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้ถูกประเมินด้วยจึงต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบได้
การคำนวณเงินเพิ่มนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 วรรคสาม บัญญัติห้ามมิให้คำนวณเกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่ง การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินเพิ่มเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
เมื่อหนี้ที่ให้รับผิดเป็นหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 2 ออกจากหุ้นส่วนไปยังไม่เกินสองปี โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1068
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินได้หลักฐานข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน กับมีรายจ่ายต้องห้าม จึงมีอำนาจปรับปรุงรายการใหม่ให้ถูกต้อง และแจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 1 เสียภาษีและเบี้ยปรับได้ จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนั้น แม้โจทก์มิได้ระบุว่ารายจ่ายทั้ง 5 รายการนั้นต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี อนุมาตราใดก็เป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้ว เพราะกฎหมายมิได้บังคับว่าคำฟ้องของโจทก์ต้องระบุตัวบทกฎหมายตลอดจนมาตราและอนุมาตราไว้ด้วย
แม้ประมวลรัษฎากร มาตรา 21 จะบัญญัติห้ามอุทธรณ์การประเมินในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรไม่ปฏิบัติตามหมายหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 19 หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถามโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรก็ตาม แต่ในคดีนี้จำเลบยที่ 1 เป็นผู้ต้องเสียภาษี จำเลยที่ 1เท่านั้นที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมิน จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้ถูกประเมินด้วยจึงต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบได้
การคำนวณเงินเพิ่มนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 วรรคสาม บัญญัติห้ามมิให้คำนวณเกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่ง การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินเพิ่มเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3301/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดชอบ และขอบเขตการบังคับใช้หนี้ภาษี
ประมวลรัษฎากร มาตรา 21 บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินภาษีอากรและแจ้งจำนวนเงินซึ่งต้องชำระไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร เมื่อปรากฏว่าผู้ต้องเสียภาษีอากรคือจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 แล้ว แม้มิได้แจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ทราบ ก็เป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อหนี้ที่ให้รับผิดเป็นหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 2 ออกจากหุ้นส่วนไปยังไม่เกินสองปีโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1068 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินได้หลักฐานข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน กับมีรายจ่ายต้องห้ามจึงมีอำนาจปรับปรุงรายการใหม่ให้ถูกต้อง และแจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 1 เสียภาษีและเบี้ยปรับได้ จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1ด้วย ดังนั้น แม้โจทก์มิได้ระบุว่ารายจ่ายทั้ง 5 รายการนั้นต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี อนุมาตราใดก็เป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้ว เพราะกฎหมายมิได้บังคับว่าคำฟ้องของโจทก์ต้องระบุตัวบทกฎหมายตลอดจนมาตราและอนุมาตราไว้ด้วย แม้ประมวลรัษฎากร มาตรา 21 จะบัญญัติห้ามอุทธรณ์การประเมินในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรไม่ปฏิบัติตามหมายหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 19 หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถามโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรก็ตาม แต่ในคดีนี้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ต้องเสียภาษี จำเลยที่ 1 เท่านั้นที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้ถูกประเมินด้วยจึงต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบได้ การคำนวณเงินเพิ่มนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 วรรคสามบัญญัติห้ามมิให้คำนวณเกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่ง การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินเพิ่มเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี: กรณีรับจ้างผลิตสินค้า vs. การขายสินค้า พิจารณาจากกรรมสิทธิ์ในสินค้าและลักษณะของสัญญา
แม้ ป. กรรมการของโจทก์คนเดียวลงลายมือชื่อในคำอุทธรณ์ที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โดยมิได้มีกรรมการอื่นลงชื่อร่วมและประทับตราบริษัทโจทก์ แต่ได้กระทำภายในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ นับว่า ป. เป็นผู้แทนของโจทก์โดยไม่จำต้องมีสัญญาแต่อย่างใด เมื่อ ป. กระทำไปแล้วโจทก์ยอมรับเอาผลของการกระทำนั้นอันเป็นการให้สัตยาบันแก่การยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวอีกทั้งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ยอมรับคำอุทธรณ์ที่ ป. ทำว่าเป็นอุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้ ถือว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การที่โจทก์เพียงแต่ใช้แรงงานและเครื่องมือเครื่องใช้ของโจทก์ผลิตสบู่ขึ้นมา ตามสูตรและส่วนผสมที่ผู้ว่าจ้างกำหนด โดยผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระทั้งหมดที่ใช้ในการผลิต ย่อมแสดงว่าผู้ว่าจ้างหวังผลสำเร็จแห่งการงานที่จ้างเป็นสำคัญ และเห็นได้ว่าสบู่ที่โจทก์ผลิตขึ้นนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างมาแต่แรกเงินที่ผู้ว่าจ้างจ่ายให้โจทก์ จึงมิใช่ค่าตอบแทนการโอนกรรมสิทธิ์ในสบู่ที่โจทก์ผลิตขึ้น แต่เป็นเงินสินจ้างหรือค่าตอบแทนในการที่โจทก์ผลิตสบู่ให้ตามที่ว่าจ้าง ทั้งผู้ว่าจ้างก็ได้เสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตให้แก่จำเลยไว้แล้ว กรณีจึงมิใช่การขายของ แต่เป็นการรับจ้างทำของ ดังนี้ จะต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 4การรับจ้างทำของชนิด 1(ฉ) ในฐานะผู้รับจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2753/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางภาษีอากรต้องเป็นไปตามกฎหมาย มิฉะนั้นโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ห้างหุ้นส่วนแม้จะได้เลิกกันแล้วก็ให้ถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1249 ดังนั้น การแก้ต่างว่าต่างในนามของห้างฯ โจทก์ในอรรถคดีต่าง ๆ และการดำเนินกิจการของห้างฯ จึงเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259(1)และ (2) ประมวลรัษฎากร มาตรา 8 และ 34 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือและให้ส่งไปยังผู้อุทธรณ์ กับได้กำหนดวิธีปฏิบัติในการส่งไว้โดยเฉพาะแล้ว การส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวให้โจทก์จะต้องไปส่งที่สำนักงานของห้างฯ โจทก์ หรืออย่างน้อยก็ต้องส่งให้ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ จึงจะเป็นการส่งโดยชอบ กรมสรรพากรจำเลยได้ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์โดยนำไปปิดไว้ที่หน้าบ้านของป. ซึ่งเคยเป็นผู้จัดการของห้างฯ โจทก์ เมื่อห้างฯ โจทก์เลิกไปแล้ว ป. จึงมิใช่ผู้จัดการหรือผู้แทนโจทก์อีกต่อไป และสำนักงานของโจทก์อยู่คนละเลขที่กับบ้านของ ป. การส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้โจทก์ จึงไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 34 ประกอบมาตรา 8 ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้เจ้าพนักงานของจำเลยทำเพื่อจะให้เกิดผลตามกฎหมาย หากจำเลยมิได้ปฏิบัติตามก็จะทำให้การส่งนั้นไม่มีผลเมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานของจำเลยจงใจหรือละเลยไม่นำส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวแต่อย่างใดศาลจึงไม่อาจที่จะสั่งตามคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ใหม่ได้ เมื่อการส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แก่โจทก์ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร จึงมีผลเท่ากับว่าโจทก์ยังมิได้ทราบผลการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการที่จำเลยสั่งยึดทรัพย์และประกาศยึดทรัพย์สินส่วนตัวของ ป. มิใช่ทรัพย์ของโจทก์ จึงไม่มีการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนประทานบัตรเนื่องจากเจ้าหนี้เสียเปรียบและการรับโอนโดยรู้เท่าถึงข้อเท็จจริง
ขณะเกิดกรณีพิพาท ว.ดำรงตำแหน่งอธิบดีโจทก์ว. จึงเป็นผู้แทนที่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เมื่อนับระยะเวลาที่ ว.ในฐานะผู้แทนโจทก์ได้รู้ถึงเหตุที่จะขอเพิกถอนการโอนถึงวันที่โจทก์ฟ้องยังไม่เกินกำหนด 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความการที่เจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ ของโจทก์ทราบเรื่องที่จะขอให้เพิกถอนการโอนแต่เจ้าหน้าที่ของโจทก์ในระดับต่าง ๆ ดังกล่าวมิใช่ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์จะถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงสิทธิเรียกร้องดังกล่าวด้วยไม่ได้ จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากประทานบัตรที่พิพาทในอันที่จะนำมาชำระหนี้โจทก์ได้ ช. รับโอน ประทานบัตรที่พิพาทโดยรู้ถึงความจริงดังกล่าว กรณีจึงเป็นการรับโอนโดยรู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบถือไม่ได้ว่าเป็นการรับโอนโดยสุจริต และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นทายาทของ ช. รับโอนประทานบัตรที่พิพาทมาในฐานะที่เป็นมรดกจำเลยที่ 3 จึงไม่มีสิทธิดีไปกว่า ช. ซึ่งเป็นเจ้ามรดกเมื่อนิติกรรมการได้ประทานบัตรที่พิพาทของ ช. เป็นอันจะต้องถูกเพิกถอนเนื่องจากผลแห่งการกระทำของ ช. เอง จำเลยที่ 3ในฐานะทายาทจึงไม่อาจอ้างสิทธิในฐานะที่เป็นบุคคลภายนอกได้แต่กลับมีหน้าที่ในฐานะทายาทที่จะต้องโอนประทานบัตรที่พิพาทกลับคืนตามหน้าที่ที่ ช. เจ้ามรดกมีอยู่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของกรรมการผู้จัดการจากการลงนามในใบสั่งซื้อแทนบริษัท และการจำกัดขอบเขตค่าเสียหายจากการผิดสัญญา
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมี ส. เป็นกรรมการผู้จัดการ การที่ ส. สั่งซื้อกรอบรูปจากโจทก์แม้จะลงลายมือชื่อในใบสั่งซื้อเพียงผู้เดียว ก็ถือได้ว่า ส. ทำการแทนจำเลยจำเลยจึงต้องรับผิดชอบตามใบสั่งซื้อดังกล่าว จำเลยสั่งซื้อกรอบรูปจากโจทก์แล้วต่อมาเป็นฝ่ายผิดสัญญาเงินกำไรที่โจทก์จะได้รับจึงเป็นค่าเสียหายตามปกติอันเกิดจากการผิดสัญญาของจำเลย จำเลยจึงต้องมีหน้าที่ชดใช้ให้โจทก์ ส่วนค่าจ้างทำแม่พิมพ์กรอบรูปนั้น โจทก์มีข้อตกลงกับ ท. ซึ่งโจทก์ว่าจ้างให้ทำกรอบรูปเพื่อขายให้จำเลยว่า หากมีการส่งมอบกรอบรูปให้จำเลยเรียบร้อยค่าจ้างแม่พิมพ์ ท. จะเป็นผู้ออก แต่หากผิดสัญญาโจทก์ต้องรับผิดชอบเองเช่นนี้ แม้ค่าจ้างทำแม่พิมพ์จะเป็นค่าเสียหายอันเนื่องจากการที่จำเลยผิดสัญญา แต่ก็เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลยไม่สามารถคาดเห็นหรือควรจะคาดเห็นได้ก่อนล่วงหน้า โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งซื้อสินค้าโดยกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำกัด ถือเป็นการกระทำแทนบริษัท และขอบเขตความรับผิดชอบต่อค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมี ส. เป็นกรรมการผู้จัดการการที่ ส. สั่งซื้อกรอบรูปจากโจทก์แม้จะลงลายมือชื่อในใบสั่งซื้อเพียงผู้เดียว ก็ถือได้ว่า ส. ทำการแทนจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดชอบตามใบสั่งซื้อดังกล่าว จำเลยสั่งซื้อกรอบรูปจากโจทก์แล้วผิดสัญญา เงินกำไรที่โจทก์จะได้รับจากการขายกรอบรูปย่อมเป็นค่าเสียหายตามปกติอันเกิดจากการผิดสัญญาของจำเลย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชดใช้ให้โจทก์ ส่วนค่าจ้างทำแม่พิมพ์กรอบรูปนั้น โจทก์มีข้อตกลงกับ ท.ซึ่งโจทก์ว่าจ้างให้ทำกรอบรูปเพื่อขายให้จำเลยว่า หากมีการส่งมอบกรอบรูปให้จำเลยเรียบร้อยค่าจ้างแม่พิมพ์ ท. จะเป็นผู้ออก แต่หากผิดสัญญาโจทก์ต้องรับผิดชอบเอง เช่นนี้ แม้ค่าจ้างทำแม่พิมพ์จะเป็นค่าเสียหายอันเนื่องจากการที่จำเลยผิดสัญญา แต่ก็เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลยไม่สามารถคาดเห็นหรือควรจะคาดเห็นได้ก่อนล่วงหน้า โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้