คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 75

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเงินฝากโดยไม่ได้รับอนุญาตและการรับผิดในสัญญา แม้ไม่มีข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร
โจทก์นำเงินไปฝาก ณ ที่ทำการของบริษัทเงินทุนจำเลยพนักงานของจำเลยรับฝากเงินจากโจทก์และดำเนินการให้กรรมการผู้มีอำนาจออกเช็คสั่งจ่ายเงินตามจำนวนเงินที่รับจากโจทก์ และกำหนดวันสั่งจ่ายคืนตามเช็คเป็นเวลา 1 ปีแล้วนำเช็คบรรจุในซองพลาสติกมีตราของบริษัทจำเลยแล้วใส่ในซองจดหมายซึ่งมีชื่อบริษัทจำเลยนำมามอบให้แก่โจทก์ มีลักษณะเพื่อเป็นการใช้เงินคืนซึ่งจำเลยเคยปฏิบัติต่อโจทก์เช่นเดียวกันนี้มาก่อน อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนฯ การที่โจทก์นำเงินไปมอบให้แก่จำเลยก็เพื่อประสงค์จะได้ดอกเบี้ยตามข้อตกลงที่จำเลยให้สัญญา แต่โจทก์มิได้ตกลงกับจำเลยโดยเฉพาะว่าการใช้เงินคืนจำเลยจะต้องทำการออกตั๋วสัญญาใช้เงินหรือออกเช็คให้แก่โจทก์หรือต้องทำในรูปสัญญากู้ยืมหรือประการอื่นใด เมื่อกรรมการผู้มีอำนาจออกเช็คสั่งจ่ายเงินตามจำนวนที่รับมอบจากโจทก์ จึงเป็นกรณีที่ตัวแทนจำเลยปฏิบัติต่อโจทก์ฝ่ายเดียว โจทก์มิได้ตกลงหรือรู้เห็นด้วยว่าเป็นการฝ่าฝืนประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย จึงมิใช่นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายพฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยเป็นคู่สัญญากับโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินคืนแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเงินและออกเช็คเพื่อใช้คืน ถือเป็นสัญญารับฝากเงินโดยปริยาย แม้ไม่ได้ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร
โจทก์นำเงินไปฝาก ณ ที่ทำการของบริษัทเงินทุนจำเลย พนักงานของจำเลยรับฝากเงินจากโจทก์และดำเนินการให้กรรมการผู้มีอำนาจออกเช็คสั่งจ่ายเงินตามจำนวนเงินที่รับจากโจทก์ และกำหนดวันสั่งจ่ายคืนตามเช็คเป็นเวลา 1 ปี แล้วนำเช็คบรรจุในซองพลาสติกมีตราของบริษัทจำเลยแล้วใส่ในซองจดหมายซึ่งมีชื่อบริษัทจำเลยนำมามอบให้แก่โจทก์ มีลักษณะเพื่อเป็นการใช้เงินคืนซึ่งจำเลยเคยปฏิบัติต่อโจทก์เช่นเดียวกันนี้มาก่อน อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนฯ การที่โจทก์นำเงินไปมอบให้แก่จำเลยก็เพื่อประสงค์จะได้ดอกเบี้ยตามข้อตกลงที่จำเลยให้สัญญา แต่โจทก์มิได้ตกลงกับจำเลยโดยเฉพาะว่าการใช้เงินคืนจำเลยจะต้องทำการออกตั๋วสัญญาใช้เงินหรือออกเช็คให้แก่โจทก์หรือต้องทำในรูปสัญญากู้ยืมหรือประการอื่นใด เมื่อกรรมการผู้มีอำนาจออกเช็คสั่งจ่ายเงินตามจำนวนที่รับมอบจากโจทก์ จึงเป็นกรณีที่ตัวแทนจำเลยปฏิบัติต่อโจทก์ฝ่ายเดียว โจทก์มิได้ตกลงหรือรู้เห็นด้วยว่าเป็นการฝ่าฝืนประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย จึงมิใช่นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายพฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยเป็นคู่สัญญากับโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินคืนแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1014/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของนายกสมาคมที่ยังมิได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง
โจทก์ที่ 2 ได้ รับ เลือกเป็นนายกสมาคมของโจทก์ที่ 1 แต่ ยังไม่ได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้โจทก์ที่ 2 เป็น นายกสมาคมของโจทก์ที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1284 โจทก์ที่ 2 จึงมิใช่ผู้จัดการ หรือผู้แทนอื่น ๆ ของโจทก์ที่ 1 ซึ่ง เป็นนิติบุคคลดังนั้น โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ในฐานะ สมาชิกสมาคมก็ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดที่กระทำต่อ สมาคมโจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องในนามส่วนตัวเช่นเดียว กัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนิติบุคคลต่อการกระทำผิดฐานพนัน: การรู้เห็นเป็นใจของผู้แทน
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลยื่นคำร้องขอให้คืนของกลางแก่ผู้ร้องในการที่จะพิจารณาว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดหรือไม่นั้น ต้อง พิจารณาจากผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของผู้ร้อง คดีนี้การจัดให้มีโต๊ะสนุกเกอร์ อยู่ในวัตถุประสงค์ของผู้ร้อง ผู้ที่ดูแล โต๊ะสนุกเกอร์ จึงต้อง ถือ ว่าเป็นผู้แทนอื่น ๆ ของผู้ร้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4153/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดส่วนตัวของเจ้าอาวาสในสัญญาที่ทำแทนวัด: เจ้าอาวาสไม่ต้องรับผิดหากทำหน้าที่ผู้แทนวัด
จำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์ให้ปรับปรุงที่ดินของจำเลยที่ 1 และบอกเลิกสัญญากับโจทก์ในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสของจำเลยที่เป็นการกระทำในหน้าที่ในฐานะที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4153/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าอาวาสในฐานะผู้แทนวัด: ไม่ต้องรับผิดส่วนตัวต่อสัญญาที่ทำในหน้าที่
จำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์ให้ปรับปรุงที่ดินของจำเลยที่ 1 และบอกเลิกสัญญากับโจทก์ในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสของจำเลยที่เป็นการกระทำในหน้าที่ในฐานะที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อหุ้นส่วนถึงแก่กรรม และผลของการรับทายาทเป็นหุ้นส่วนแทน
เมื่อหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดตาย ห้างหุ้นส่วนจำกัดย่อมเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(5)1080แต่หุ้นส่วนที่ยังคงอยู่อาจตกลงให้ห้างยังคงอยู่ต่อไป โดยรับทายาทของหุ้นส่วนที่ตายเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทนได้ เมื่อปรากฏว่า บ. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างโจทก์ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาหุ้นส่วนอื่นได้รับ ช. ซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกให้เข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทน บ. ห้างโจทก์จึงคงอยู่ต่อมาและเมื่อศาลอนุญาตให้ ช. เข้าเป็นผู้แทนโจทก์แทน บ. แล้ว ห้างโจทก์จึงมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้โดยชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อหุ้นส่วนผู้จัดการเสียชีวิต และการรับทายาทเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทน
เมื่อหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดตาย ห้างหุ้นส่วนจำกัดย่อมเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055 (5), 1080 แต่หุ้นส่วนที่ยังคงอยู่อาจตกลงให้ห้างยังคงอยู่ต่อไป โดยรับทายาทของหุ้นส่วนที่ตายเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทนได้ เมื่อปรากฏว่า บ. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างโจทก์ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาหุ้นส่วนอื่นได้รับ ช. ซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกให้เข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทน บ. ห้างโจทก์จึงคงอยู่ต่อมาและเมื่อศาลอนุญาตให้ ช. เข้าเป็นผู้แทนโจทก์แทน บ. แล้ว ห้างโจทก์จึงมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดี: ตราประทับบริษัทใช้ได้แม้ขนาดเล็กกว่าที่จดทะเบียน หากเป็นตราที่ใช้ในกิจการทั่วไป
ตราสำคัญของบริษัทโจทก์ที่ประทับในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับตราสำคัญซึ่งได้จดทะเบียนไว้ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท แม้จะมีขนาดเล็กกว่าแต่ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้ และเป็นตราที่โจทก์ใช้ในกิจการทั่ว ๆ ไปเป็นประจำทั้งกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ยืนยันว่าเป็นผู้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์จึงชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา มาตรา 157: ความเสียหายโดยนิตินัยของกรรมการสมาคมที่ถูกเพิกถอน
การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะ เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งสมาคม ศ. เป็นการกระทำต่อ สมาคม ศ. ซึ่ง เป็นนิติบุคคลมิได้กระทำต่อ โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่ง เป็นคณะกรรมการของสมาคม ศ. เป็นส่วนตัว และเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะ นายทะเบียนสมาคมจังหวัดมีประกาศขีดชื่อ สมาคม ศ. ออกจากทะเบียนสมาคมแล้ว อันเป็นเหตุให้สมาคม ศ. ต้อง เลิกไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1292(7) ไม่ได้เป็นนิติบุคคลอีกต่อไป โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นกรรมการของสมาคม ศ. ในขณะนั้นจึงต้อง พ้นจากตำแหน่งกรรมการของสมาคม ศ. ไปด้วย ไม่มีอำนาจหน้าที่หรือความสัมพันธ์ใด ๆ เกี่ยวข้องกันอีก แม้โจทก์ทั้งเจ็ดจะได้ บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้รับการดูหมิ่น เหยียดหยามจากบุคคลอื่น และอาจถูก สมาชิกของสมาคม ศ. เรียกร้องค่าเสียหายได้ นั้น ก็เป็นความรู้สึกและคาดคิดส่วนตัวของโจทก์ทั้งเจ็ดเองถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้รับความเสียหายเนื่องจากการออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวโจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดย นิตินัยอันจะมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ได้.
of 38