พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4778/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วัตถุประสงค์บริษัทจำกัด, สัญญาค้ำประกัน, การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญา, ความรับผิดตามสัญญา
จำเลยที่ 3 เป็นบริษัทจำกัด ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ภายในขอบวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งเมื่อบริษัทจำเลยที่ 3 มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้า และเพื่อทำการกู้ยืมเงินค้ำประกันและรับรองทั้งบุคคลหรือนิติบุคคลเพื่อกิจการค้าของบริษัทดังนั้นการที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยมิได้กระทำเพื่อกิจการค้าของบริษัทเป็นการกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิด แม้ตามสัญญาชักส่วนลดเช็คข้อ 1 จะระบุว่า เช็คที่จำเลยที่ 1เสนอให้โจทก์ชักส่วนลดต้องเป็นเช็คของธนาคารในประเทศไทยสั่งจ่ายให้จำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้สินค้าที่จำเลยที่ 1 ขายให้แก่ผู้สั่งจ่ายก็ตามแต่ตามสัญญาข้อ 7 ให้สิทธิโจทก์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของสัญญาและไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1หลุดพ้นหรือลดน้อยลง เมื่อจำเลยที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาชักส่วนลดเช็คของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์โดยไม่จำกัดจำนวนและยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและตามสัญญาค้ำประกันยินยอมให้โจทก์มีสิทธิเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อกำหนดใด ๆของสัญญาชักส่วนลดเช็ค โดยไม่จำต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 4ทราบ และให้ถือว่าจำเลยที่ 4 ได้ตกลงยินยอมด้วย ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 หลุดพ้นจากข้อผูกพันและความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังนั้นแม้โจทก์จะรับเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายนำมาชักส่วนลดก็ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 4 ได้ตกลงยินยอมด้วยจำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ เมื่อฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2ได้ทำสัญญาชักส่วนลดเช็คกับโจทก์รายละเอียดปรากฏตามภาพถ่ายหนังสือสัญญาชักส่วนลดเช็คท้ายฟ้องและจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันให้ไว้กับโจทก์ รายละเอียด ปรากฏตามภาพถ่ายหนังสือค้ำประกันท้ายฟ้อง ดังนั้นสัญญาชักส่วนลดเช็คและสัญญาค้ำประกันถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง การที่ศาลวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าว จึงหาเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3657/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินร่วมกัน, เลิกห้างหุ้นส่วน, ภาระจำยอม, และการไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาเข้าหุ้นส่วนได้ทำที่บริษัทต.มีข้อความว่าบริษัทต.โจทก์และ ส. ตกลงเข้าหุ้นกันทำการค้าเกี่ยวกับที่ดินเพื่อหากำไรโดยได้มอบให้โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินหนึ่งแปลง และให้จำเลยที่ 1ซื้อที่ดินพิพาท แม้จำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อในสัญญานั้นโดยไม่ได้ประทับตราสำคัญบริษัท ต. แต่ใต้ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1มีข้อความอยู่ภายในวงเล็บว่า บริษัทต.โดยจำเลยที่ 1 กำกับไว้ด้วย เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินมาแล้วในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บริษัท ต.ได้ให้ใส่ชื่อจ.กรรมการคนหนึ่งของบริษัทต.เป็นผู้ซื้อและเป็นเจ้าของในโฉนดร่วมกับโจทก์ด้วย ครั้นเมื่อขายที่ดินดังกล่าวแล้วโจทก์และบริษัท ต. ต่างได้รับส่วนแบ่งกำไรไป มิใช่จำเลยที่ 1 รับส่วนแบ่งกำไรไปเป็นส่วนตัวแสดงว่าบริษัท ต. ยอมรับเอาสัญญาและยอมผูกพันตามสัญญาดังกล่าวแล้วการที่จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 2 ตามสัญญาแบ่งขายที่ดิน จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 2ในฐานะตัวแทนของหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับบริษัท ต. แม้ในสัญญาแบ่งขายที่ดินจะระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ซื้อแต่เพียงผู้เดียวก็เป็นการกระทำตามหน้าที่ที่จำเลยที่ 1 ได้มอบหมายจากสัญญาเข้าหุ้นส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3657/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเข้าหุ้นส่วน, อำนาจตัวแทน, ภาระจำยอม, การฉ้อฉล, สิทธิฟ้อง
สัญญาเข้าหุ้นส่วนได้ทำที่บริษัท ต. มีข้อความว่าบริษัท ต. โจทก์และ ส. ตกลงเข้าหุ้นกันทำการค้าเกี่ยวกับที่ดินเพื่อหากำไรโดยได้มอบให้โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินหนึ่งแปลง และให้จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาท แม้จำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อในสัญญานั้นโดยไม่ได้ประทับตราสำคัญบริษัท ต. แต่ใต้ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 มีข้อความอยู่ภายในวงเล็บว่าบริษัท ต. โดยจำเลยที่ 1 กำกับไว้ด้วย เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินมาแล้วในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ บริษัท ต. ได้ให้ใส่ชื่อ จ. กรรมการคนหนึ่งของบริษัท ต. เป็นผู้ซื้อและเป็นเจ้าของในโฉนดร่วมกับโจทก์ด้วย ครั้นเมื่อขายที่ดินดังกล่าวแล้วโจทก์และบริษัท ต. ต่างได้รับส่วนแบ่งกำไรไป มิใช่จำเลยที่ 1 รับส่วนแบ่งกำไรไปเป็นส่วนตัว แสดงว่าบริษัท ต. ยอมรับเอาสัญญาและยอมผูกพันตามสัญญาดังกล่าวแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนของหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับบริษัท ต. แม้ในสัญญาแบ่งขายที่ดินจะระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ซื้อแต่เพียงผู้เดียวก็เป็นการกระทำตามหน้าที่ที่จำเลยที่ 1 ได้มอบหมายจากสัญญาเข้าหุ้นส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของคู่สัญญาซื้อขายกิจการที่ผิดนัดชำระหนี้ค่าเครื่องเอกซเรย์ตามสัญญา
สัญญาทำขึ้นในขณะบริษัทโจทก์ใช้ชื่อว่าบริษัทโรงพยาบาลพัฒนเวช จำกัด ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นชื่อบริษัทพัฒนประเวศ จำกัด ซึ่งตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทมีกรรมการบริษัท 2 คน คือ ส.กับร.คนใดคนหนึ่งลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัทมีอำนาจทำการแทนบริษัทได้ ดังนี้ โจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นบริษัทเดียวกับบริษัทโรงพยาบาลพัฒนเวชจำกัดที่เป็นคู่สัญญากับจำเลยและส.ย่อมมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัท ฟ้องจำเลยแทนโจทก์ได้
จำเลยซื้อกิจการโรงพยาบาลจากโจทก์และได้รับมอบกิจการไปดำเนินการแล้ว โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์แทนโจทก์ต่อไป แต่จำเลยไม่นำเงินไปชำระ บริษัทผู้ให้เช่าซื้อจึงเรียกร้องให้โจทก์ชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระไปแล้ว จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับโจทก์จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามสัญญากำหนดเบี้ยปรับของการไม่ชำระหนี้เป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อกับบริษัทผู้ให้เช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์ตามข้อตกลง โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์นำสืบว่าโจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่บริษัทผู้ให้เช่าซื้ออัตราร้อยละ 18 ต่อปี ที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว.
จำเลยซื้อกิจการโรงพยาบาลจากโจทก์และได้รับมอบกิจการไปดำเนินการแล้ว โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์แทนโจทก์ต่อไป แต่จำเลยไม่นำเงินไปชำระ บริษัทผู้ให้เช่าซื้อจึงเรียกร้องให้โจทก์ชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระไปแล้ว จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับโจทก์จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามสัญญากำหนดเบี้ยปรับของการไม่ชำระหนี้เป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อกับบริษัทผู้ให้เช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์ตามข้อตกลง โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์นำสืบว่าโจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่บริษัทผู้ให้เช่าซื้ออัตราร้อยละ 18 ต่อปี ที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบริษัท, ความรับผิดจากสัญญาซื้อขาย, และการคิดดอกเบี้ยจากความผิดนัดชำระหนี้
สัญญาทำขึ้นในขณะบริษัทโจทก์ใช้ชื่อว่าบริษัทโรงพยาบาลพัฒนเวศ จำกัด ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นชื่อบริษัทพัฒนประเวศ จำกัด ซึ่งตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทมีกรรมการบริษัท 2 คน คือ ส.กับร. คนใดคนหนึ่งลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัทมีอำนาจทำการแทนบริษัทได้ ดังนี้โจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นบริษัทเดียวกับบริษัทโรงพยาบาลพัฒนเวชจำกัดที่เป็นคู่สัญญากับจำเลยและส.ย่อมมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัท ฟ้องจำเลยแทนโจทก์ได้ จำเลยซื้อกิจการโรงพยาบาลจากโจทก์และได้รับมอบกิจการไปดำเนินการแล้ว โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์ แทนโจทก์ต่อไป แต่จำเลยไม่นำเงินไปชำระ บริษัทผู้ให้เช่าซื้อจึงเรียกร้องให้โจทก์ชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระไปแล้วจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับโจทก์จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามสัญญากำหนดเบี้ยปรับของการไม่ชำระหนี้เป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อกับบริษัทผู้ให้เช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์ ตามข้อตกลง โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้โจทก์นำสืบว่าโจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่บริษัทผู้ให้เช่าซื้ออัตราร้อยละ 18 ต่อปี ที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล, การรับผิดในสัญญาซื้อขาย, และการชำระหนี้แทนกัน
สัญญาทำขึ้นในขณะบริษัทโจทก์ใช้ชื่อว่าบริษัทโรงพยาบาลพัฒนเวช จำกัด ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นชื่อบริษัทพัฒนประเวศ จำกัด ซึ่งตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทมีกรรมการบริษัท 2 คน คือ ส. กับ ร.คนใดคนหนึ่งลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัทมีอำนาจทำการแทนบริษัทได้ ดังนี้ โจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นบริษัทเดียวกับบริษัทโรงพยาบาลพัฒนเวช จำกัด ที่เป็นคู่สัญญากับจำเลย และ ส.ย่อมมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัท ฟ้องจำเลยแทนโจทก์ได้
จำเลยซื้อกิจการโรงพยาบาลจากโจทก์และได้รับมอบกิจการไปดำเนินการแล้ว โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์แทนโจทก์ต่อไป แต่จำเลยไม่นำเงินไปชำระ บริษัทผู้ให้เช่าซื้อจึงเรียกร้องให้โจทก์ชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระไปแล้ว จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับโจทก์จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามสัญญากำหนดเบี้ยปรับของการไม่ชำระหนี้เป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อกับบริษัทผู้ให้เช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์ตามข้อตกลง โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์นำสืบว่าโจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่บริษัทผู้ให้เช่าซื้ออัตราร้อยละ 18 ต่อปี ที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว
จำเลยซื้อกิจการโรงพยาบาลจากโจทก์และได้รับมอบกิจการไปดำเนินการแล้ว โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์แทนโจทก์ต่อไป แต่จำเลยไม่นำเงินไปชำระ บริษัทผู้ให้เช่าซื้อจึงเรียกร้องให้โจทก์ชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระไปแล้ว จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับโจทก์จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามสัญญากำหนดเบี้ยปรับของการไม่ชำระหนี้เป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อกับบริษัทผู้ให้เช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์ตามข้อตกลง โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์นำสืบว่าโจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่บริษัทผู้ให้เช่าซื้ออัตราร้อยละ 18 ต่อปี ที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามสัญญาขายลดตั๋วเงิน แม้ไม่มีตราสำคัญของนิติบุคคล เมื่อมีการรับเงินและชำระหนี้บางส่วน
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายลดแก่โจทก์ในนามจำเลยที่ 1 โดยไม่ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ในสัญญาขายลดตั๋วเงิน มีจำเลยที่ 3ทำสัญญาค้ำประกันไว้ด้วย จำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปจากโจทก์ตามสัญญาแล้ว และเมื่อครบกำหนดตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยที่ 1ใช้เงินแก่โจทก์บางส่วน ดังนี้แสดงว่าจำเลยที่ 2 ลงชื่อในสัญญาขายลดตั๋วเงินดังกล่าวในฐานะกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1ต้องผูกพันตามสัญญานั้น จำเลยที่ 3 ผู้ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามสัญญาของหุ้นส่วนผู้จัดการ แม้ไม่มีตราสำคัญ การค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายลดแก่โจทก์ในนามจำเลยที่ 1 โดยไม่ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ในสัญญาขายลดตั๋วเงิน มีจำเลยที่3 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ด้วยจำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปจากโจทก์ตามสัญญาแล้ว และเมื่อครบกำหนดตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยที่ 1ใช้เงินแก่โจทก์บางส่วน ดังนี้ แสดงว่าจำเลยที่ 2 ลงชื่อในสัญญาขายลดตั๋วเงินดังกล่าวในฐานะกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันตามสัญญานั้น จำเลยที่ 3 ผู้ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามสัญญาซื้อลดตั๋วเงินของห้างหุ้นส่วน โดยหุ้นส่วนผู้จัดการลงนามแทน แม้ไม่มีตราสำคัญ
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายลดแก่โจทก์ในนามจำเลยที่ 1 โดยไม่ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ในสัญญาขายลดตั๋วเงิน มีจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ด้วยจำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปจากโจทก์ตามสัญญาแล้ว และเมื่อครบกำหนดตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยที่ 1ใช้เงินแก่โจทก์บางส่วน ดังนี้ แสดงว่าจำเลยที่ 2 ลงชื่อในสัญญาขายลดตั๋วเงินดังกล่าวในฐานะกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันตามสัญญานั้น จำเลยที่ 3 ผู้ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1965/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการร่วมรับผิดชอบเช็ค: แม้พ้นตำแหน่งแล้ว ก็ยังมีความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชี
กรรมการผู้จัดการหรือกรรมการนิติบุคคลเป็นผู้แสดงออกซึ่งการกระทำของนิติบุคคลหากร่วมกับนิติบุคคลออกเช็คหรือสลักหลังเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คต้องถือว่าเป็นตัวการกระทำผิดร่วมกับนิติบุคคลนั้นด้วย ทั้งนี้ไม่ว่ากรรมการจะอยู่ในตำแหน่งในวันที่เช็คนั้นถึงกำหนดหรือไม่ก็ตาม.