คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 75

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1965/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการร่วมรับผิดเช็ค: แม้พ้นตำแหน่งแล้ว หากมีส่วนร่วมออกเช็คโดยเจตนาทุจริต หรือสั่งห้ามจ่ายเงินย่อมเป็นตัวการ
กรรมการผู้จัดการหรือกรรมการนิติบุคคลเป็นผู้แสดงออกซึ่งการกระทำของนิติบุคคล หากร่วมกับนิติบุคคลออกเช็คหรือสลักหลังเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คต้องถือว่าเป็นตัวการกระทำผิดร่วมกับนิติบุคคลนั้นด้วย ทั้งนี้ไม่ว่ากรรมการจะอยู่ในตำแหน่งในวันที่เช็คนั้นถึงกำหนดหรือไม่ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดที่ดินโดยไม่สุจริตหลังศาลตัดสินแล้ว เป็นความเท็จลงในเอกสารราชการและสร้างความเสียหาย
บริษัทจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการมอบอำนาจให้ ส. ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ขออายัดที่ดินหลายโฉนดของโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์เป็นลูกหนี้จำเลย ทั้งๆ ที่ศาลฎีกาพิพากษาแล้วว่าโจทก์มิได้เป็นลูกหนี้จำเลย จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน แม้ต่อมากรมที่ดินจะเห็นว่าจำเลยมิได้มีส่วนได้เสียจึงไม่รับอายัด ก็เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์และประชาชนแล้ว จำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 267, 83
การกระทำของนิติบุคคลย่อมแสดงให้ปรากฏโดยการกระทำของผู้แทนนิติบุคคลนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกันกระทำการเพื่อจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็ต้องร่วมรับผิดในการกระทำนั้นด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดที่ดินโดยไม่สุจริตหลังศาลตัดสินถึงที่สุด ถือเป็นความเท็จลงในเอกสารราชการและสร้างความเสียหาย
บริษัทจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการมอบอำนาจให้ ส. ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ขออายัดที่ดินหลายโฉนดของโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์เป็นลูกหนี้จำเลย ทั้งๆ ที่ศาลฎีกาพิพากษาแล้วว่าโจทก์มิได้เป็นลูกหนี้จำเลย จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน แม้ต่อมากรมที่ดินจะเห็นว่าจำเลยมิได้มีส่วนได้เสียจึงไม่รับอายัด ก็เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์และประชาชนแล้ว จำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,267,83
การกระทำของนิติบุคคลย่อมแสดงให้ปรากฏโดยการกระทำของผู้แทนนิติบุคคลนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกันกระทำการเพื่อจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็ต้องร่วมรับผิดในการกระทำนั้นด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความอายัดที่ดินเท็จเพื่อผลประโยชน์ธุรกิจ เป็นความผิดอาญาฐานแจ้งความเท็จและทำให้เจ้าพนักงานจดข้อความเท็จ
บริษัทจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการมอบอำนาจให้ ส. ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ขออายัดที่ดินหลายโฉนดของโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์เป็นลูกหนี้จำเลย ทั้ง ๆ ที่ศาลฎีกาพิพากษาแล้วว่าโจทก์มิได้เป็นลูกหนี้จำเลย จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน แม้ต่อมากรมที่ดินจะเห็นว่าจำเลยมิได้มีส่วนได้เสียจึงไม่รับอายัด ก็เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์และประชาชนแล้ว จำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,267,83 การกระทำของนิติบุคคลย่อมแสดงให้ปรากฏโดยการกระทำของผู้แทนนิติบุคคลนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกันกระทำการเพื่อจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ที่ 3ก็ต้องร่วมรับผิดในการกระทำเช่นนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1769/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในหนี้จากการทำสัญญาโดยตัวแทนเชิด และการชำระหนี้ผ่านตัวแทน
วัดจำเลยที่ 1 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้วจึงเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนวัด ขณะที่วัดจำเลยที่ 1ยังไม่มีเจ้าอาวาส จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพระลูกวัดเป็นผู้ติดต่อ ให้โจทก์มาช่วยสร้างโบสถ์ บอกบุญให้ประชาชนมาร่วมบริจาคเงินสร้างโบสถ์และคิดบัญชีกับโจทก์ เมื่อคิดบัญชีแล้วปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าวัสดุก่อสร้างที่โจทก์ออกเงินทดรองจ่ายไปก่อนจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้โดยระบุฐานะว่าเป็นตัวแทน คณะกรรมการจัดงานฝังลูกนิมิต วัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 ระบุว่า เป็นกรรมการของวัดจำเลยที่ 1 พฤติการณ์เหล่านี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 เจ้าคณะตำบลอาศัยอำนาจตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 6(พ.ศ. 2506) ข้อ 4 วรรคหนึ่ง แต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รักษาการแทน เจ้าอาวาสวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับ เจ้าอาวาสตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 หลังจากจำเลยที่ 2 ดำรงตำแหน่งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสอันเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ได้รู้ถึงพฤติการณ์ตามวรรคแรกของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ก็มิได้ทักท้วงหรือเพิกถอนการกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบัน แก่การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้สุจริตเสมือนว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 หาต้องร่วมรับผิดเป็นส่วนตัวไม่ โจทก์เข้าช่วยเหลือในการสร้างโบสถ์โดยมิได้หวังผลตอบแทนในทางการค้าจากจำเลยที่ 1 การกระทำของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นผู้ค้าในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำการงานต่าง ๆ การที่โจทก์เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปในการก่อสร้างโบสถ์จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7)ซึ่งมีอายุความ 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1769/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของวัดต่อหนี้ที่เกิดจากการก่อสร้างโบสถ์ และการให้สัตยาบันโดยผู้แทนวัด
วัดจำเลยที่ 1 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้วจึงเป็นนิติบุคคลตาม ป.พ.พ. มาตรา 72 เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนวัด ขณะที่วัดจำเลยที่ 1 ยังไม่มีเจ้าอาวาส จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพระลูกวัดเป็นผู้ติดต่อให้โจทก์มาช่วยสร้างโบสถ์ บอกบุญให้ประชาชนมาร่วมบริจาคเงินสร้างโบสถ์และคิดบัญชีกับโจทก์ เมื่อคิดบัญชีปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าวัสดุก่อสร้างที่โจทก์ออกเงินทดรองจ่ายไปก่อน จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้โดยจำเลยที่ 1 ระบุฐานะว่าเป็นตัวแทนคณะกรรมการจัดงานฝังลูกนิมิตวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 ระบุว่าเป็นกรรมการของวัดจำเลยที่ 1 พฤติการณ์เหล่านี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1
เจ้าคณะตำบลอาศัยอำนาจตามกฎหมายมหาเถระสมาคม ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2506) ข้อ 4 วรรคหนึ่ง แต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเจ้าอาวาสตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505
หลังจากจำเลยที่ 2 ดำรงตำแหน่งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสอันเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ได้รู้ถึงพฤติการณ์ตามวรรคแรกของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ก็มิได้ทักท้วงหรือเพิกถอนการกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้สุจริตเสมือนว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 หาต้องร่วมรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
โจทก์เข้าช่วยเหลือในการสร้างโบสถ์โดยมิได้หวังผลตอบแทนในทางการค้าจากจำเลยที่ 1 การกระทำของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นผู้ค้าในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำการงานต่าง ๆ การที่โจทก์เรียกเอาค่าที่ได้ดอกเงินทดรองไปในการก่อสร้างโบสถ์จึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 165 (7) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ 210 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการมัสยิด: การแต่งตั้งต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง หากไม่ชอบด้วยกฎหมาย สิทธิในการฟ้องคดีเป็นโมฆะ
การแต่งตั้งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดต้องปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ. 2488 มาตรา8 ระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (สุเหร่า)และวิธีดำเนินการอันเกี่ยวกับการศาสนกิจของมัสยิด (สุเหร่า)พ.ศ. 2492 กับพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 8คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดไม่มีอำนาจแต่งตั้งโดยพลการคณะกรรมการมัสยิดของโจทก์ที่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้มีคำสั่งแต่งตั้ง โดยมิได้มีการประชุมชาวสัปบุรุษเพื่อเลือกตั้ง ย่อมทำให้ผู้ได้รับแต่งตั้งไม่เป็นกรรมการโดยชอบและต่อมาคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้มีคำสั่งให้จำเลยกับพวกกลับเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดโจทก์ต่อไปตามเดิมก่อนยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้องในนามมัสยิดโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการมัสยิด: การแต่งตั้งต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ หากไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ได้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจฟ้อง
การแต่งตั้งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดต้องปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ. 2488 มาตรา 8 ระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (สุเหร่า) และวิธีดำเนินการอันเกี่ยวกับการศาสนกิจของมัสยิด (สุเหร่า)พ.ศ. 2492 กับพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 8 คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดไม่มีอำนาจแต่งตั้งโดยพลการ คณะกรรมการมัสยิดของโจทก์ที่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้มีคำสั่งแต่งตั้ง โดยมิได้มีการประชุมชาวสัปบุรุษเพื่อเลือกตั้ง ย่อมทำให้ผู้ได้รับแต่งตั้งไม่เป็นกรรมการโดยชอบและต่อมาคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้มีคำสั่งให้จำเลยกับพวกกลับเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดโจทก์ต่อไปตามเดิมก่อนยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้องในนามมัสยิดโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการมัสยิด: การแต่งตั้งต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ หากไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะไม่มีอำนาจฟ้อง
การแต่งตั้งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดต้องปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ. 2488 มาตรา 8ระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (สุเหร่า)และวิธีดำเนินการอันเกี่ยวกับการศาสนกิจของมัสยิด (สุเหร่า)พ.ศ. 2492 กับพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 8คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดไม่มีอำนาจแต่งตั้งโดยพลการคณะกรรมการมัสยิดของโจทก์ที่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้มีคำสั่งแต่งตั้ง โดยมิได้มีการประชุมชาวสัปบุรุษเพื่อเลือกตั้งย่อมทำให้ผู้ได้รับแต่งตั้งไม่เป็นกรรมการโดยชอบและต่อมาคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้มีคำสั่งให้จำเลยกับพวกกลับเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดโจทก์ต่อไป ตามเดิมก่อนยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้องในนามมัสยิดโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าเพิ่มเติมและการผูกพันตามการยินยอมของหุ้นส่วนผู้จัดการ
แม้เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 จะไม่มีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำประจำเดือนของโจทก์ล่วงหน้าตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2525 เป็นต้นไป เพราะโจทก์ยังมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือปฏิบัติขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ก็ตาม แต่ได้ความว่าเมื่อโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีการค้าในปี พ.ศ.2525 ไว้แล้ว ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ตรวจสอบพบว่า โจทก์ได้แสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีต่ำกว่าที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้ จึงแจ้งให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มสำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2525 ถึงเดือนธันวาคม 2525 และเดือนมกราคม 2526 ถึงเดือนเมษายน 2526 โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 87, 87 ทวิ (7) นั้นเป็นการแจ้งการประเมินภาษีการค้าที่ชอบแล้ว
หลังจากที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ชำระภาษีการค้าเพิ่มแล้ว การที่ น.หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ยอมรับว่าเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้เรียกเก็บภาษีการค้าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มถูกต้องแล้วรวมทั้งสละสิทธิในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จะโต้เถียงว่าเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ประเมินให้โจทก์ชำระภาษีการค้าเพิ่มรวมตลอดถึงคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5ว่าไม่ชอบนั้นไม่ได้ การกระทำของ น.ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์มีผลผูกพันโจทก์ให้ต้องเสียภาษีการค้าเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม ตามที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 เรียกเก็บเพิ่มขึ้น
of 38