คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 56

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 635 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 138/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอคืนเงินวางศาลเมื่อศาลไม่วินิจฉัยเหตุบรรเทาความเสียหายและไม่แจ้งผู้เสียหายรับเงิน
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและรับอันตรายสาหัส ฯลฯ การที่จำเลยให้การรับสารภาพและยื่นคำร้องขอวางเงินต่อศาลชั้นต้น โดยขอให้ศาลชั้นต้นแจ้งให้ผู้เสียหายมารับไปอันเป็นการบรรเทาความเสียหายบางส่วน แสดงว่าจำเลยวางเงินเพื่อจะชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายโดยมีเจตนาที่จะให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้แจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวางไว้ดังกล่าว และพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไปโดยไม่ได้วินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยพยายามบรรเทาความเสียหายด้วยการวางเงินต่อศาลเพื่อให้ผู้เสียหายรับไป แม้ต่อมาจำเลยอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษจำคุกให้จำเลย โดยอ้างเหตุที่ได้วางเงินชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นโดยไม่รอการลงโทษจำคุกให้จำเลยและไม่ได้วินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยวางเงินต่อศาลชั้นต้นดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองไม่ดำเนินการแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่วางศาลและไม่วินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยพยายามบรรเทาผลร้ายหรือความเสียหายด้วยการวางเงินชำระค่าเสียหายบางส่วนให้แก่ผู้เสียหายเพื่อใช้ดุลพินิจรอหรือไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลย และเมื่อคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว โดยไม่มีการดำเนินการตามคำร้องของจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะขอถอนเงินที่วางต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวคืนไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 120/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานจัดให้มีการเล่นพนันฟุตบอล และการพิจารณาโทษสำหรับเจ้ามือรายใหญ่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม 2544 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2544 เวลากลางวัน จำเลยร่วมกับพวกที่หลบหนีเล่นการพนันทายผลฟุตบอล อันเป็นการพนันอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ตามบัญชี ก. และ ข. ท้าย พ.ร.บ.การพนันฯ พนันเอาทรัพย์สินกันโดยจำเลยเป็นฝ่ายเจ้ามือจัดให้มีการแทงพนันผลการแข่งขันฟุตบอลระหว่างเวลาดังกล่าวข้างต้นรวม 5 ครั้ง โดยทุกครั้งมีลูกค้านำเงินมาแทงพนันผลการแข่งขันฟุตบอลกับจำเลยตามจำนวนที่ระบุมาในฟ้อง ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการบรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นพนันตาม พ.ร.บ.การพนันฯ มาตรา 4 ทวิ, 12 (2) แล้ว
จำเลยเป็นเจ้ามือจัดให้มีการพนันทายผลการแข่งขันฟุตบอลขึ้น ซึ่งปัจจุบันการพนันชนิดนี้แพร่ระบาดทั่วไปโดยเฉพาะในหมู่นักเรียนนักศึกษา การจัดให้มีการเล่นการพนันชนิดนี้ จึงมีส่วนสำคัญในการมอมเมาเยาวชนของชาติให้ลุ่มหลงในอบายมุข มีผลกระทบกระเทือนโดยตรงต่อการศึกษาและบั่นทอนอนาคตของเยาวชน ถือว่าเป็นการทำลายทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าอันเป็นความหวังของชาติ เป็นภัยร้ายแรงต่อเศรษฐกิจและความสงบสุขของสังคมโดยส่วนรวม หากไม่มีมาตรการดำเนินการโดยเด็ดขาดปัญหานี้จะลุกลามมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในคดีนี้จำเลยได้กระทำความผิดหลายกรรมต่อเนื่องกันมีวงเงินที่แทงพนันกันเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นเจ้ามือการพนันรายใหญ่มีการเล่นได้เสียเป็นอาชีพ พฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยนับว่าร้ายแรงที่จำเลยฎีกาอ้างว่าจำเลยมีภาระต้องเลี้ยงดูบุตร 2 คนและมารดาที่เจ็บป่วย หากจำเลยได้รับโทษจำคุกจะทำให้ครอบครัวได้รับความเดือดร้อนก็เป็นเพียงเหตุผลและความจำเป็นส่วนตัวของจำเลยเท่านั้น ไม่เป็นเหตุเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษให้แก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษทางอาญา: การบรรเทาโทษ, ความสามารถในการรู้ผิดชอบ, และการชดใช้ค่าเสียหาย
พฤติการณ์แห่งคดีตามรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยของพนักงานคุมประพฤติไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดข่มขู่หรือชักชวนให้จำเลยกระทำความผิด และจำเลยสามารถหลบหนีไปโดยว่าจ้างรถสามล้อเครื่องให้ไปส่งที่บ้านเพื่อน แสดงว่าระดับเชาวน์ปัญญาของจำเลยไม่ได้อยู่ในระดับปัญญาอ่อนรุนแรง จำเลยกระทำความผิดในขณะสามารถรู้ผิดชอบและสามารถบังคับตนเองได้ จึงไม่เป็นกรณีที่จะได้รับยกเว้นโทษหรือลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ตาม ป.อ. มาตรา 65
การที่บิดาของจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลสั่งให้จำเลยเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและตั้งให้เป็นผู้พิทักษ์จำเลย ก็เป็นเรื่องการจัดการทรัพย์สินของจำเลยเท่านั้น ส่วนที่จำเลยได้บรรเทาผลร้ายโดยการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่จำเลยตามบันทึกชดใช้ค่าเสียหายนั้น ก็ปรากฏว่าบันทึกดังกล่าวได้ทำขึ้นภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย และให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่ผู้เสียหาย การชดใช้ค่าเสียหายจึงเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาไม่ใช่เป็นการบรรเทาผลร้าย จึงไม่มีเหตุเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการใช้รายงานสืบเสาะพินิจประกอบการลงโทษ และเหตุไม่รอการลงโทษคดีลักรถ
ในคดีอาญาเมื่อศาลเห็นสมควรย่อมมีอำนาจสั่งให้พนักงานคุมประพฤติทำการสืบเสาะและพินิจจำเลยแล้วทำรายงานพร้อมทั้งความเห็นเสนอต่อศาล เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยได้ เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ได้โต้แย้งว่ารายงานดังกล่าวไม่ถูกต้อง ศาลย่อมหยิบยกข้อเท็จจริงตามรายงานมาประกอบการวินิจฉัยได้ ไม่ว่าจะเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่จำเลยที่ 3 การที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกเอาพฤติกรรมการกระทำความผิดหรือพฤติการณ์อันเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยที่ 3 ของพนักงานคุมประพฤติมาประกอบการใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยที่ 3 นั้น จึงชอบแล้ว
ในปัจจุบันคดีลักรถจักรยานยนต์มีเป็นจำนวนมาก สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนโดยทั่วไป และพฤติการณ์หลังจากที่จำเลยทั้งสามลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายแล้ว จำเลยทั้งสามช่วยกันถอดแผ่นป้ายทะเบียนรถและแผ่นป้ายประกันภัย ทั้งลอกสติกเกอร์ที่ติดรถออกเพื่อไม่ให้ผู้อื่นทราบว่าเป็นรถที่ถูกลักมา แสดงว่าจำเลยที่ 3 รู้สำนึกว่าการกระทำของตนกับพวกเป็นความผิด แต่จำเลยที่ 3 ยังคงกระทำความผิดโดยไม่สนใจในความเดือดร้อนของผู้อื่น นับว่าเป็นเรื่องร้ายแรงไม่มีเหตุผลที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน และอายุความแจ้งความเท็จ ศาลฎีกายกฟ้องบางข้อหา
จำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานเพื่อช่วยเหลือให้คนต่างด้าวได้รับบัตรประจำตัวประชาชน นับเป็นการกระทำที่กระทบต่อความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศชาติ พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องร้ายแรง ไม่สมควรรอการลงโทษให้
ภายหลังจากจำเลยที่ 2 กระทำความผิดคดีนี้มี พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2)ฯ มาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ โดยเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบความผิดจากเดิมที่กำหนดให้ผู้กระทำความผิดต้องเป็น "ผู้ไม่มีสัญชาติไทย" เป็น "ผู้ใด" ซึ่งอาจจะเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ได้ การพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดหรือไม่ ต้องพิจารณาจากองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 เมื่อคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีสัญชาติไทย ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ถือเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ ก็ลงโทษจำเลยที่ 2 ไม่ได้
ความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยที่ 2 สำหรับความผิดดังกล่าวในห้าปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) แต่โจทก์เพิ่งฟ้องจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2544 ซึ่งเกินกว่าห้าปีนับแต่วันกระทำความผิด ฟ้องโจทก์เฉพาะข้อหาดังกล่าว จึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 77/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขับรถแข่งประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลไม่รอการลงโทษจำคุก แม้ชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยทั้งสองขบรถแข่งขันกันด้วยความเร็ว ทำให้รถที่จำเลยที่ 1 ขับเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์ของ ว. ที่กำลังขับขึ้นมาจากทางแยกอย่างแรง รถของ ว. เสียหลักล้มลง ว. กระเด็นตกจากรถล้มลงและถูกรถที่จำเลยที่ 2 ขับแข่งขันกันมาในระยะกระชั้นชิดพุ่งเข้าชนขณะล้มลงอยู่บนถนน รถทั้งสามคันได้รับความเสียหาย ว. ถึงแก่ความตาย ส่วน ป. ซึ่งนั่งซ้อนท้ายรถของจำเลยที่ 2 ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ แม้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ร่วมจนเป็นที่พอใจและโจทก์ร่วมไม่ติดใจดำเนินคดีกับจำเลย แต่จำเลยนำเงินมาวางศาลจำนวน 10,000 บาท หลังจากศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาและจำเลยทั้งสองเพิ่งจะตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ร่วมในวันที่ยื่นฎีกา ซึ่งจำเลยทั้งสองไม่ได้สำนึกในการกระทำความผิดของตนโดยให้การปฏิเสธและสู้คดีตลอดมา จึงไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษจำคุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยติดนิสัยกระทำผิดซ้ำ แม้จะเคยได้รับโอกาสและรอการลงโทษ ศาลไม่รอการลงโทษ
บุคคลที่จะเข้ารับการฟื้นฟูตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดฯ มาตรา 19 ต้องเป็นเพียงผู้ต้องหามิใช่ถูกฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลแล้ว จำเลยจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
ตามรายงานการสืบเสาะและพินิจปรากฏว่า จำเลยที่ 2 เคยกระทำความผิดมาแล้วหลายครั้ง และมีสองครั้งที่เป็นคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ซึ่งศาลก็ได้ให้โอกาสแก่จำเลยที่ 2 ทั้งสองคดี แต่จำเลยที่ 2 ก็มาทำความผิดคดีนี้ในระหว่างรอการลงโทษในคดีครั้งหลังสุด แสดงว่าเป็นผู้กระทำผิดติดนิสัยและยากที่จะกลับตัวได้ด้วยตัวเอง ข้อสำคัญยังขับรถเบียดรถเจ้าพนักงานตำรวจที่เข้าจับกุม ส่อถึงการไม่รู้สำนึก แม้จะอ้างว่าเพราะเกรงจะถูกจับกุมก็ตาม จึงไม่รอการลงโทษให้จำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานตำรวจรับเงินค่าปรับแทนศาลและละเลยการส่งตัวผู้ต้องหา เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยละเมิดอำนาจศาล
การที่ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ควบคุมตัวผู้ต้องหาและจำเลยไม่มีหน้าที่รับเงินค่าปรับจากจำเลยมาชำระต่อศาล แต่มารับเงินค่าปรับจากจำเลยเองแทนศาลเช่นนี้ เป็นการไม่ถูกต้องตามระเบียบวิธีปฏิบัติ และจะเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตได้โดยง่าย เมื่อผู้ถูกกล่าวหาไม่นำเงินไปชำระต่อศาลเป็นเหตุให้ศาลไม่ได้รับค่าปรับไม่มีการส่งหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาและไม่มีการส่งตัว ส. ไปกักขังแทนค่าปรับที่สถานีตำรวจฯ จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) และการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อราชการและศาลชั้นต้น จึงไม่รอการลงโทษ
ส่วนกรณีที่ไม่มีการส่งหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาและตัว ป. ไปกักขังที่สถานีตำรวจฯ เพราะมีการปล่อยตัว ป. ไปก่อนแล้ว และมีผู้เอาหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาไปด้วย ผู้ถูกกล่าวหาเป็นแต่เพียงผู้รับหมายกักขังดังกล่าวมาจากเจ้าหน้าที่ศาลเท่านั้น แต่มิได้เอาหมายกักขังดังกล่าวไป และมิได้เป็นคนรับเงินค่าปรับและปล่อยตัว ป. ไป การกระทำของผู้ถูกกล่าวหากรณี ป. ยังไม่ถึงขนาดเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล จึงไม่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2595/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กหญิงและพรากเด็กไปอนาจาร ศาลพิจารณาโทษและรอการลงโทษโดยคำนึงถึงพฤติการณ์และเยาวชน
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 6 ปี และเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมามีกำหนด 1 ปี 6 เดือน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104 (2) เมื่อจำเลยอุทธรณ์ในปัญหานี้ โดยขอให้รอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษมาพร้อมกับอุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยในปัญหาการกระทำความผิดของจำเลย แต่ไม่วินิจฉัยในปัญหาขอให้รอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษ โดยอ้างว่าขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 นั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากจำเลยมิได้อุทธรณ์ การใช้ดุลพินิจในการลงโทษจำเลยแต่เพียงอย่างเดียวอันจะต้องต้องตามบทกฎหมายดังกล่าว ต่อมาเมื่อจำเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดและขอให้รอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษอีก เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยปัญหาการกระทำความผิดแล้ว ในส่วนการใช้ดุลพินิจการลงโทษจำเลยซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวพันกัน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาด้วยว่าโทษที่ลงแก่จำเลยนั้นเหมาะสมหรือไม่เพียงใด โดยไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปลอมและใช้เช็คปลอมฉ้อโกงธนาคาร – พิจารณารอการลงโทษ – การริบของกลาง (บัตร ATM)
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันปลอมเช็คของกระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกาแล้วนำเช็คปลอมดังกล่าวไปฉ้อโกงธนาคารผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้จำเลยได้รับเงินไปถึง1,485,628.18 บาท นั้น ลักษณะความผิดเป็นเรื่องร้ายแรงและกระทบต่อความเชื่อถือระหว่างธนาคารซึ่งเป็นสถาบันการเงินและของประชาชนผู้สุจริตทั่วไปในการใช้เช็คนับเป็นการกระทำที่มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนโดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนเสียหายของผู้อื่นและสังคมส่วนรวม กรณีไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษให้
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าบัตร เอ.ที.เอ็ม. เป็นทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด หรือเป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32,33 แต่อย่างใด จึงไม่อาจริบบัตรดังกล่าวได้ ต้องคืนแก่เจ้าของ
of 64