พบผลลัพธ์ทั้งหมด 635 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขาดองค์ประกอบความผิดฐานให้เช่าภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจ, ศาลฎีกายกฟ้อง, แก้โทษปรับ
โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาความผิดฐานให้เช่าภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 78 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เพียงว่าจำเลยนำแผ่นสามดีและแผ่นวีซีดีภาพยนตร์รวมจำนวน 3 แผ่น ซึ่งไม่ผ่านการตรวจพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ออกให้เช่าแก่ประชาชนทั่วไปในราชอาณาจักรเท่านั้น โดยไม่บรรยายให้ปรากฏว่าภาพยนตร์ที่จำเลยนำออกให้เช่านั้นเป็นภาพยนตร์ที่ต้องผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 25 แต่อย่างใด ทั้งนี้เนื่องจาก พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ได้บัญญัติถึงภาพยนตร์ที่ไม่ต้องผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ตามมาตรา 27 (1) (3) วรรคหนึ่ง ดังนั้น โจทก์ต้องบรรยายฟ้องให้ปรากฏข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 78 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ว่าภาพยนตร์ที่จำเลยนำออกให้เช่านั้นเป็นภาพยนตร์ที่ต้องผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์โดยเป็นภาพยนตร์ประเภทใดตามมาตรา 26 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง มาตรา 27 (2) (4) และ (6) วรรคสอง ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง มาตรา 27 (5) วรรคสาม ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เช่น เป็นภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้ดูทั่วไปตามมาตรา 26 (2) วรรคหนึ่ง หรือเป็นภาพยนตร์ที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่ายี่สิบปีดูตามมาตรา 26 (6) วรรคหนึ่ง ซึ่งการกระทำที่จะเป็นความผิดฐานให้เช่าภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 78 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ต้องเป็นการนำภาพยนตร์ประเภทที่ต้องผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ตามมาตรา 26 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง มาตรา 27 (2) (4) และ (6) วรรคสอง ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง มาตรา 27 (5) วรรคสาม ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว ออกให้เช่า แต่ฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 78 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เกี่ยวกับประเภทของภาพยนตร์ที่ต้องผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ดังกล่าว ทั้งมิได้บรรยายให้ปรากฏด้วยว่าผู้กระทำความผิดดังกล่าวต้องมีหน้าที่นำภาพยนตร์ที่จะนำออกให้เช่าไปผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เมื่อฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าภาพยนตร์ที่จำเลยนำออกให้เช่านั้นเป็นภาพยนตร์ที่ต้องผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ และเป็นภาพยนตร์ประเภทใดตามที่ระบุไว้ในบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว และจำเลยมีหน้าที่ต้องนำภาพยนตร์ดังกล่าวไปผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์หรือไม่ จึงเป็นฟ้องที่ขาดข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดดังกล่าวได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) มาตรา 161 วรรคหนึ่ง และมาตรา 185 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558 มาตรา 12 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 (เดิม) และ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
ภายหลังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาแล้ว ได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 25) พ.ศ.2559 มาตรา 7 ยกเลิกความในมาตรา 56 แห่ง ป.อ. และให้ใช้ความใหม่แทน ซึ่งตามมาตรา 56 ที่แก้ไขใหม่ เป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3
ภายหลังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาแล้ว ได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 25) พ.ศ.2559 มาตรา 7 ยกเลิกความในมาตรา 56 แห่ง ป.อ. และให้ใช้ความใหม่แทน ซึ่งตามมาตรา 56 ที่แก้ไขใหม่ เป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10126/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งดุลพินิจศาลเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย แต่โทษจำคุกให้รอการกำหนดโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ให้คุมความประพฤติจำเลยไว้มีกำหนด 1 ปี โดยวางเงื่อนไขคุมความประพฤติ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย แต่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรม อันเป็นการกำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญา ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 142 (1) การที่จำเลยฎีกาขอให้จำเลยปรับปรุงตัวเองอยู่กับครอบครัวแทนการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรม เป็นฎีกาที่โต้แย้งดุลพินิจของศาลเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม มาตรา 180 ต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 183 ประกอบมาตรา 180 และไม่มีบทบัญญัติใดให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2894/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษคดีเก่าเข้ากับคดีใหม่ต้องกระทำภายในระยะเวลาที่ศาลรอการลงโทษ การกระทำผิดก่อนศาลมีคำพิพากษาคดีเก่าจึงไม่สามารถนำโทษมาบวกได้
ตามบทบัญญัติของ ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก จะเห็นได้ว่าโทษที่รอไว้ในคดีก่อนอันจะนำมาบวกกับโทษในคดีหลังนั้น ความผิดในคดีหลังจะต้องกระทำภายในระยะเวลาระหว่างรอการลงโทษตามที่คดีก่อนกำหนดไว้ เมื่อคดีก่อนศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษารอการลงโทษจำคุกจำเลยในปี 2557 แต่คดีนี้จำเลยกระทำผิดวันที่ 16 พฤศจิกายน 2556 ก่อนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะพิพากษาคดีดังกล่าว และก่อนมีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในคดีดังกล่าวให้จำเลยทราบ การกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้จึงมิใช่กระทำภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษตามความใน ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก จะนำโทษในคดีก่อนที่รอการลงโทษไว้มาบวกเข้ากับคดีนี้ไม่ได้ ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 นำโทษจำคุกของจำเลยที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 57/2557 ของศาลอุทธรณ์ภาค 2 มาบวกเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้จึงเป็นการไม่ชอบ แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าร่วมเป็นโจทก์ของผู้เสียหาย ต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำผิด
แม้ข้อความที่จำเลยแจ้งจะเป็นความเท็จเพราะความจริงโฉนดที่ดินอยู่ที่ ภ. และจำเลยนำรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานที่เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จไปใช้อ้างเพื่อขอให้ออกใบแทนโฉนดที่ดินก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำต่อพันตำรวจโท บ.เจ้าพนักงาน ธ. และ พ. เจ้าพนักงานที่ดิน มิได้กล่าวพาดพิงไปถึง ภ. หรือนำรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานที่เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จไปใช้อ้างต่อ ภ. อันจะถือว่า ภ. ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลย อีกทั้งจำเลยมอบให้มารดานำโฉนดที่ดินทั้งสองฉบับไปเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินกับ ภ. เท่านั้น ซึ่ง ภ. ไม่มีสิทธิที่จะบังคับเอากับโฉนดที่ดินดังกล่าวได้ตามกฎหมาย ภ. จึงมิใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ และใช้หรืออ้างเอกสารราชการซึ่งแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ภ. เข้าร่วมเป็นโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อ ภ. มิใช่คู่ความในคดีจึงไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้ ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยอุทธรณ์ของ ภ. จึงเป็นการไม่ชอบเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินชดใช้ค่าเสียหายเพื่อสมานฉันท์แล้วไม่ตกลงกัน โจทก์ไม่มารับเงิน จำเลยมีสิทธิขอคืนได้
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 56 เดือน การที่ระหว่างฎีกาจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลนำคดีเข้าสู่กระบวนการสมานฉันท์และสันติวิธี และต่อมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าคดีมีทางตกลงกันได้โดยจำเลยที่ 1 ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายจนเป็นที่พอใจแก่โจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ดหลังจากนั้นจำเลยที่ 1 วางเงินต่อศาลชั้นต้น 883,357 บาท ซึ่งคิดเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของค่าเสียหายทั้งหมดที่โจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ดพิสูจน์ต่อศาล ชดใช้ให้แก่โจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ดเพื่อบรรเทาผลร้ายแก่โจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ด แสดงว่าจำเลยที่ 1 วางเงินจำนวนดังกล่าวโดยมีเจตนาที่จะให้โจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ดยอมความกับจำเลยที่ 1 ตามที่ศาลชั้นต้นได้นำคดีเข้าสู่กระบวนการสมานฉันท์และสันติวิธี มิใช่เพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยเป็นเหตุบรรเทาโทษจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้ยกฟ้อง มิได้ขอให้รอการลงโทษแก่จำเลยที่ 1 แต่เมื่อถึงวันนัดสมานฉันท์ครั้งที่ 2 ทนายโจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ดแถลงว่า ไม่ประสงค์จะเจรจากับฝ่ายจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 นำมูลเหตุในคดีนี้ไปฟ้องโจทก์บางคนเป็นคดีอาญาและคดีแพ่งต่อศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวม 6 คดี และหลังจากนั้นโจทก์บางคนซึ่งได้รับหมายนัดของศาลชั้นต้นที่แจ้งให้ทราบว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ดและได้นำเงินวางศาลจำนวน 883,357 บาทแล้ว ก็ไม่ได้มารับเงินที่จำเลยที่ 1 วางไว้ไปจากศาลชั้นต้น จนกระทั่งศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ดไม่ประสงค์ที่จะยอมความกับจำเลยที่ 1 ดังนี้ เมื่อคดีนี้ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาโดยไม่มีการดำเนินการตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ฉบับลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 แล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะขอถอนเงินที่วางต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวคืนไปได้ เพราะเมื่อจำเลยที่ 1 ขอถอนเงินที่วางศาลคืน ย่อมเป็นการพ้นวิสัยที่จะให้เป็นไปตามเจตนาของจำเลยที่ 1 แล้วศาลชั้นต้นมีหนังสือแจ้งผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ดมารับเงินก่อนจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15232/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการการเลือกตั้งใช้อำนาจหน้าที่มิชอบ เอื้อประโยชน์พรรคการเมือง คดีถึงที่สุด ศาลฎีกายืนโทษ
คณะกรรมการการเลือกตั้งถูกจัดตั้งขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ให้มีหน้าที่ควบคุมและดำเนินการจัด หรือจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงเป็นองค์กรที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการได้มาซึ่งผู้แทนของประชาชน หากไม่สามารถควบคุมหรือจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมแล้วจะบังเกิดผลทำให้บุคคลที่ไม่สุจริตโกงการเลือกตั้งได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าไปใช้อำนาจนิติบัญญัติหรืออำนาจบริหารราชการแผ่นดิน ย่อมคาดหมายได้ว่าบุคคลจำพวกนี้จะใช้อำนาจหน้าที่ของตนเพื่อประโยชน์แก่ตนและพวกพ้องยิ่งกว่าประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม อันทำให้ระบบการปกครองที่เรียกว่าประชาธิปไตยผิดเพี้ยนไป ความเสียหายย่อมตกแก่ประชาชน หรือรัฐซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน อันถือเป็นความเสียหายอย่างร้ายแรง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มาตรา 24 จึงได้บัญญัติเป็นข้อห้ามของกรรมการการเลือกตั้งว่า ห้ามมิให้กรรมการการเลือกตั้ง กรรมการการเลือกตั้งจังหวัด ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและอนุกรรมการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้ง กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่เพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด หรือกระทำการหรือละเว้นกระทำการโดยทุจริตหรือประพฤติมิชอบในการปฏิบัติหน้าที่ และมาตรา 42 บัญญัติกำหนดโทษทางอาญาแก่กรรมการการเลือกตั้งผู้ฝ่าฝืนมาตรา 24 ไว้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นประชาชนมีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 ได้ยื่นคำร้องกล่าวโทษต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมตามกฎหมาย เพราะก่อนวันรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรค ท. หรือผู้บริหารพรรค ท. กระทำการโดยไม่สุจริตด้วยการจ้างวานหรือใช้ให้พรรค พ. และพรรค ผ. จัดส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งต่าง ๆ หลายเขตหลายจังหวัดในประเทศเพื่อแข่งขันกับผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรค ท. ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งในแต่ละเขตดังกล่าวนั้น โดยผู้บริหารของพรรคการเมืองทั้ง 3 พรรค ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งปลอมทะเบียนผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งซึ่งเป็นเอกสารราชการเก็บรักษาอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยการแก้ไขฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ด้วยการลบชื่อผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งที่แท้จริงออกไปแล้วใส่ชื่อผู้ที่จะจัดให้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค พ. และพรรค ผ. แทน เพื่อให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค พ. และพรรค ผ. มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งโดยไม่สุจริตอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่เมื่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 แต่งตั้งทำการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วมีมติว่าพรรค พ. และพรรค ผ. ได้รับเงินสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงของพรรค ท. เพื่อดำเนินการแก้ไขข้อมูลในทะเบียนผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งและจัดส่งสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 จริง สมควรแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งพันตำรวจโท ท. รักษาการนายกรัฐมนตรีและในฐานะหัวหน้าพรรค ท. จำเลยทั้งสี่กลับดำเนินการบางส่วนแก่พรรค พ. และพรรค ผ. แต่เพิกเฉยไม่ดำเนินการแก่พรรค ท. และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งมีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่ามีเจตนาหน่วงเหนี่ยวประวิงเวลาเพื่อช่วยเหลือพรรค ท. อันเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ถือเป็นการปฏิบัติต่อโจทก์โดยไม่เป็นธรรม โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 136 ถึง มาตรา 148 กำหนดให้มีคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นองค์กรอิสระโดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และให้มีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง และกฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการการเลือกตั้งอื่น ทั้งมาตรา 147 แห่งรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้กำหนดไว้ด้วยว่า หากปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าก่อนได้รับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ฯลฯ ผู้ใดได้กระทำการโดยไม่สุจริตเพื่อให้ตนเองได้รับการเลือกตั้ง หรือได้รับการเลือกตั้งมาโดยไม่สุจริตโดยผลของการที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดได้กระทำลงไปอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง นอกจากคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงโดยพลันแล้ว เมื่อได้ผลการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องวินิจฉัยสั่งการโดยพลันด้วย การที่ข้อเท็จจริงปรากฏต่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกตั้งแต่แรกแล้วว่า พลเอก ธ. รองหัวหน้าพรรค ท. และ พ. รองเลขาธิการพรรค ท. ซึ่งขณะนั้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อันแสดงให้เห็นได้ว่าคนทั้งสองเป็นกรรมการบริหารของพรรค ท. ที่มีบทบาทสูงจึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ คนทั้งสองได้กระทำการอันฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 และกระทำความผิดต่อกฎหมายอาญาในเรื่องของการสนับสนุนให้มีการปลอมแปลงเอกสารราชการด้วย แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก กลับมิได้วินิจฉัยสั่งการให้ดำเนินคดีแก่คนทั้งสองโดยพลันทั้งนี้น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก ทราบดีอยู่แล้วว่าการดำเนินคดีแก่พลเอก ธ. และ พ. ย่อมส่งผลกระทบต่อพรรค ท. อย่างรุนแรง เพราะเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นการกระทำที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐทั้งขัดต่อกฎหมายและขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายทะเบียนพรรคการเมืองย่อมมีหน้าที่แจ้งต่ออัยการสูงสุดให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำสั่งยุบพรรค ท. ได้ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ตามมาตรา 67 ประกอบมาตรา 66 (1) และ (3) การประชุมของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก เพื่อพิจารณารายงานการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงที่มี น. เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2549 และลงมติในส่วนที่เกี่ยวกับพรรค ท. ว่าให้คณะอนุกรรมการฯ สอบสวนพยานเพิ่มเติมจึงมิได้เป็นการวินิจฉัยสั่งการโดยพลันเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่เพื่อเป็นคุณแก่พรรค ท. และจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก มิได้กระทำการตามหน้าที่โดยสุจริต จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มาตรา 24, 42 ประกอบ ป.อ. มาตรา 83
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เคยรับราชการในตำแหน่งสำคัญและทำคุณความดี ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติมากมายขณะดำรงตำแหน่งหรือในระยะต่อมาจนได้รับการสรรหาและคัดเลือกให้เป็นกรรมการการเลือกตั้ง แสดงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับการเชื่อถือว่าเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์โดยผลงาน ชื่อเสียงและเกียรติคุณที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้สร้างสมไว้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งมีอำนาจหน้าที่อันสำคัญ ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ดังนั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องดำรงความซื่อสัตย์สุจริตและความเป็นกลางทางการเมืองให้มั่นคงที่สุด แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กลับกระทำการในลักษณะตรงกันข้าม วินิจฉัยสั่งการโดยมิชอบด้วยหน้าที่เป็นคุณแก่พรรค ท. อันเป็นพรรครัฐบาล อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและคุณธรรม เท่ากับว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยอมละทิ้งคุณความดี คุณประโยชน์ของตนที่มีมาก่อนจนหมดสิ้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ควรยกคุณความดี คุณประโยชน์ที่เคยทำมากล่าวอ้างเพื่อประโยชน์แก่ตนได้อีก แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่ละคนจะมีอายุประมาณ 70 ปีแล้ว และมีสุขภาพไม่ดีก็ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 136 ถึง มาตรา 148 กำหนดให้มีคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นองค์กรอิสระโดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และให้มีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง และกฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการการเลือกตั้งอื่น ทั้งมาตรา 147 แห่งรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้กำหนดไว้ด้วยว่า หากปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าก่อนได้รับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ฯลฯ ผู้ใดได้กระทำการโดยไม่สุจริตเพื่อให้ตนเองได้รับการเลือกตั้ง หรือได้รับการเลือกตั้งมาโดยไม่สุจริตโดยผลของการที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดได้กระทำลงไปอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง นอกจากคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงโดยพลันแล้ว เมื่อได้ผลการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องวินิจฉัยสั่งการโดยพลันด้วย การที่ข้อเท็จจริงปรากฏต่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกตั้งแต่แรกแล้วว่า พลเอก ธ. รองหัวหน้าพรรค ท. และ พ. รองเลขาธิการพรรค ท. ซึ่งขณะนั้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อันแสดงให้เห็นได้ว่าคนทั้งสองเป็นกรรมการบริหารของพรรค ท. ที่มีบทบาทสูงจึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ คนทั้งสองได้กระทำการอันฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 และกระทำความผิดต่อกฎหมายอาญาในเรื่องของการสนับสนุนให้มีการปลอมแปลงเอกสารราชการด้วย แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก กลับมิได้วินิจฉัยสั่งการให้ดำเนินคดีแก่คนทั้งสองโดยพลันทั้งนี้น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก ทราบดีอยู่แล้วว่าการดำเนินคดีแก่พลเอก ธ. และ พ. ย่อมส่งผลกระทบต่อพรรค ท. อย่างรุนแรง เพราะเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นการกระทำที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐทั้งขัดต่อกฎหมายและขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายทะเบียนพรรคการเมืองย่อมมีหน้าที่แจ้งต่ออัยการสูงสุดให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำสั่งยุบพรรค ท. ได้ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ตามมาตรา 67 ประกอบมาตรา 66 (1) และ (3) การประชุมของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก เพื่อพิจารณารายงานการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงที่มี น. เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2549 และลงมติในส่วนที่เกี่ยวกับพรรค ท. ว่าให้คณะอนุกรรมการฯ สอบสวนพยานเพิ่มเติมจึงมิได้เป็นการวินิจฉัยสั่งการโดยพลันเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่เพื่อเป็นคุณแก่พรรค ท. และจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก มิได้กระทำการตามหน้าที่โดยสุจริต จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มาตรา 24, 42 ประกอบ ป.อ. มาตรา 83
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เคยรับราชการในตำแหน่งสำคัญและทำคุณความดี ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติมากมายขณะดำรงตำแหน่งหรือในระยะต่อมาจนได้รับการสรรหาและคัดเลือกให้เป็นกรรมการการเลือกตั้ง แสดงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับการเชื่อถือว่าเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์โดยผลงาน ชื่อเสียงและเกียรติคุณที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้สร้างสมไว้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งมีอำนาจหน้าที่อันสำคัญ ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ดังนั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องดำรงความซื่อสัตย์สุจริตและความเป็นกลางทางการเมืองให้มั่นคงที่สุด แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กลับกระทำการในลักษณะตรงกันข้าม วินิจฉัยสั่งการโดยมิชอบด้วยหน้าที่เป็นคุณแก่พรรค ท. อันเป็นพรรครัฐบาล อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและคุณธรรม เท่ากับว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยอมละทิ้งคุณความดี คุณประโยชน์ของตนที่มีมาก่อนจนหมดสิ้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ควรยกคุณความดี คุณประโยชน์ที่เคยทำมากล่าวอ้างเพื่อประโยชน์แก่ตนได้อีก แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่ละคนจะมีอายุประมาณ 70 ปีแล้ว และมีสุขภาพไม่ดีก็ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17225/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าเสียหายที่วางศาลเพื่อบรรเทาผลร้าย ยังเป็นสิทธิของโจทก์ร่วม แม้ศาลรอการลงโทษ
เมื่อจำเลยยื่นคำแถลงและวางเงินเพื่อบรรเทาผลร้ายให้แก่โจทก์ร่วมต่อศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่ให้การปฏิเสธและขอให้การรับสารภาพ กับแถลงขอให้ศาลลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษแก่จำเลย การที่จำเลยวางเงินต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงว่าจำเลยได้พยายามบรรเทาความเสียหายอันเป็นผลที่เกิดจากจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ร่วมเพื่อประกอบดุลพินิจของศาลในการพิจารณาพิพากษา เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษารอการลงโทษให้แก่จำเลย แม้คดีจะถึงที่สุด โจทก์ร่วมก็ยังมีสิทธิขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาลเพื่อชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วมได้ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมแสดงเจตนาโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายว่าไม่ประสงค์จะรับเงินค่าเสียหายที่จำเลยวางไว้ดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีสิทธิมาขอรับเงินจำนวนดังกล่าวคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12387/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนบ้านของผู้อื่น แม้ไม่เสียหาย แต่ทำให้สิ้นสภาพการอยู่อาศัย ถือเป็นทำให้เสียทรัพย์ได้
แม้จำเลยที่ 1 สั่งให้รื้อถอนบ้านของโจทก์ร่วมด้วยความระมัดระวัง ไม่เป็นเหตุให้วัสดุที่รื้อถอนเสียหาย ทั้งนำไปเก็บรักษาไว้อย่างดีเพื่อให้โจทก์ร่วมนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้บ้านของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์สิ้นสภาพไม่เป็นที่อยู่อาศัยอีกต่อไป อันเป็นการทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่น การที่อำเภอบุณฑริกแต่งตั้งจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกำนันตำบลคอแลนเป็นประธานกรรมการกลางและประธานกรรมการปกครองเพื่อประกวดหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเองนั้นไม่เป็นการเปิดโอกาสให้จำเลยที่ 1 รื้อบ้านของโจทก์ร่วมโดยพลการได้ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 358
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์วัสดุที่รื้อถอนจากบ้านของโจทก์ร่วม โดยไม่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ด้วยเป็นเรื่องข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ถือว่าเป็นข้อแตกต่างกันในรายละเอียด มิใช่ข้อสาระสำคัญตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความได้
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นความผิดอันยอมความได้ การที่โจทก์ร่วมทำหนังสือร้องทุกข์มีใจความสำคัญว่า โจทก์ร่วมขอร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 กับพวกที่ร่วมกันรื้อถอน ทำลายบ้านเรือน ทรัพย์สินและลักเอาทรัพย์สินของโจทก์ร่วมไปโดยทุจริต แม้ไม่มีข้อความระบุให้ชัดเจนว่าประสงค์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในความผิดฐานใด ก็แปลเจตนาของโจทก์ร่วมได้ว่าประสงค์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 และ 121 วรรคสอง ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ร่วมไม่ได้ร้องทุกข์ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
จำเลยที่ 1 รื้อบ้านของโจทก์ร่วมซึ่งมีสภาพชำรุดทรุดโทรมและไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยนานนับสิบปี แล้วสร้างศาลาที่พักสาธารณประโยชน์ขึ้นแทน เพื่อให้ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกันตามโครงการพัฒนาหมู่บ้าน แม้เป็นความผิดต่อกฎหมายที่ไม่ได้ขออนุญาตโจทก์ร่วมก่อน แต่พฤติการณ์แห่งคดีไม่ร้ายแรงนัก จึงให้รอการกำหนดโทษตาม ป.อ. มาตรา 56
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์วัสดุที่รื้อถอนจากบ้านของโจทก์ร่วม โดยไม่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ด้วยเป็นเรื่องข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ถือว่าเป็นข้อแตกต่างกันในรายละเอียด มิใช่ข้อสาระสำคัญตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความได้
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นความผิดอันยอมความได้ การที่โจทก์ร่วมทำหนังสือร้องทุกข์มีใจความสำคัญว่า โจทก์ร่วมขอร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 กับพวกที่ร่วมกันรื้อถอน ทำลายบ้านเรือน ทรัพย์สินและลักเอาทรัพย์สินของโจทก์ร่วมไปโดยทุจริต แม้ไม่มีข้อความระบุให้ชัดเจนว่าประสงค์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในความผิดฐานใด ก็แปลเจตนาของโจทก์ร่วมได้ว่าประสงค์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 และ 121 วรรคสอง ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ร่วมไม่ได้ร้องทุกข์ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
จำเลยที่ 1 รื้อบ้านของโจทก์ร่วมซึ่งมีสภาพชำรุดทรุดโทรมและไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยนานนับสิบปี แล้วสร้างศาลาที่พักสาธารณประโยชน์ขึ้นแทน เพื่อให้ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกันตามโครงการพัฒนาหมู่บ้าน แม้เป็นความผิดต่อกฎหมายที่ไม่ได้ขออนุญาตโจทก์ร่วมก่อน แต่พฤติการณ์แห่งคดีไม่ร้ายแรงนัก จึงให้รอการกำหนดโทษตาม ป.อ. มาตรา 56
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดฐานกระทำชำเราและพรากเด็ก: ศาลฎีกายืนโทษจำคุกทุกกระทง เหตุพฤติการณ์ร้ายแรง
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกในอัตราขั้นต่ำของกฎหมาย และลดโทษให้จำเลยสูงสุดถึงกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 ปี 6 เดือน จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะรอการลงโทษให้จำเลยได้ตาม ป.อ. มาตรา 56 แม้ความผิดกระทงอื่นศาลล่างทั้งสองจะลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินกระทงละ 3 ปี ก็สมควรลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดกระทงอื่น ๆ ให้เป็นอย่างเดียวกัน ไม่ควรลงโทษจำคุกความผิดกระทงหนึ่ง แต่ความผิดกระทงอื่น ๆ รอการลงโทษ เพราะจะเป็นการลักลั่นไม่เหมาะสม
สำหรับความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี แม้ภายหลังจะได้ความว่าจำเลยได้รับอนุญาตให้สมรสกับผู้เสียหายที่ 2 แต่ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุเกินกว่า 18 ปี แล้ว กรณีจึงไม่เข้าเงื่อนไขที่ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 227 วรรคท้าย
สำหรับความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี แม้ภายหลังจะได้ความว่าจำเลยได้รับอนุญาตให้สมรสกับผู้เสียหายที่ 2 แต่ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุเกินกว่า 18 ปี แล้ว กรณีจึงไม่เข้าเงื่อนไขที่ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 227 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14102/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาวางเงินชดใช้ค่าเสียหายเพื่อขอรอการลงโทษ แม้ศาลไม่อนุญาต ก็ไม่มีสิทธิถอนเงินคืน
การที่ระหว่างฎีกา จำเลยยื่นคำร้องขอวางเงิน 20,000 บาท ต่อศาลชั้นต้นเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย แสดงว่าจำเลยวางเงินเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายโดยมีเจตนาที่จะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในคำร้องของจำเลยให้นัดพร้อมเพื่อสอบถามผู้เสียหายว่าประสงค์จะรับเงินจำนวนดังกล่าวหรือไม่แล้ว ทั้งฎีกาของจำเลยก็อ้างเหตุที่จำเลยวางเงิน 20,000 บาท เพื่อบรรเทาความเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย เป็นเหตุหนึ่งที่ขอให้ศาลฎีการอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยด้วย เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้จำเลยมีภาระต้องเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัว หรือมีเหตุอื่นดังที่จำเลยยกขึ้นอ้างในฎีกา ก็มิใช่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษให้แก่จำเลยเท่ากับศาลฎีกาได้วินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยพยายามบรรเทาความเสียหายด้วยการวางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายแล้ว ดังนี้ จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินการตามคำร้องของจำเลยที่ขอวางเงินเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายและศาลฎีกานำข้อเท็จจริงตามคำร้องดังกล่าวมาวินิจฉัยฎีกาของจำเลยแล้ว แม้ศาลชั้นต้นเพิ่งออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวางต่อศาลชั้นต้นหลังจากที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้วก็ตาม แต่การวางเงินเพื่อให้ผู้เสียหายมารับไปย่อมแสดงอยู่ในตัวแล้วว่าจำเลยจะไม่ถอนเงินดังกล่าวกลับไป หากผู้เสียหายยังประสงค์จะรับเงินนั้น เมื่อต่อมาปรากฏตามคำร้องของผู้เสียหายว่าผู้เสียหายประสงค์จะรับเงินจำนวนดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะขอถอนเงินที่วางต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวคืนไปได้