พบผลลัพธ์ทั้งหมด 635 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8029/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานเบียดบังทรัพย์ในหน่วยงานรัฐ: การปรับบทและขอบเขตความผิดตามกฎหมายอาญา
จำเลยเป็นพนักงานบัญชีระดับ 5 ประจำแผนกบัญชีและการเงินของสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นหน่วยงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา คงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 เมื่อจำเลยเป็นพนักงานเบียดบังตัวทรัพย์ที่อยู่ในหน้าที่คือเอาทรัพย์นั้นเองเป็นประโยชน์ของตนหรือผู้อื่นโดยทุจริต ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 4, 11 และไม่ผิดมาตรา 8 เพราะไม่เป็นการที่จำเลยใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริตหาประโยชน์อื่นนอกเหนือจากตัวทรัพย์นั้น โดยมิได้เอาทรัพย์นั้นไป ปัญหาเรื่องการปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10075/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจรอการลงโทษ แม้ศาลไม่ได้ระบุชัดเจนในคำพิพากษา ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องตามรูปคดี
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) วรรคแรก ลงโทษจำคุก 4 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับจำเลย 4,000 บาท อีกสถานหนึ่ง ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงปรับ 2,000 บาท ให้คุมความประพฤติจำเลยไว้มีกำหนด 1 ปี โดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง ตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรกำหนด กับให้จำเลยทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติและจำเลยเห็นสมควร มีกำหนด 24 ชั่วโมง ตาม ป.อ. มาตรา 56 หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มิได้กล่าวในคำพิพากษาให้รอการลงโทษจำเลยก็ตาม แต่กรณีเป็นที่เห็นได้ชัดว่าศาลอุทธรณ์ภาค 5 ใช้ดุลพินิจให้ความปรานีรอการลงโทษแก่จำเลย เป็นแต่มิได้กล่าวบรรยายในคำพิพากษาให้ครบถ้วน อันนับว่าเป็นการพิพากษาโดยผิดหลง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจให้แก้ไขให้ถูกต้องตามรูปคดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 190 ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขู่เข็ญด้วยท่าทางคล้ายมีอาวุธเป็นองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์ แม้ไม่มีการใช้กำลังหรืออาวุธจริง
การขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้น อาจขู่ตรง ๆ หรือใช้ถ้อยคำ ทำกิริยา หรือทำประการใดให้เข้าใจได้เช่นนั้น เป็นการแสดงให้ผู้ถูกขู่เข็ญเข้าใจว่าจะรับภัยจากการกระทำของผู้ขู่เข็ญการที่จำเลยกับพวกบังคับเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหาย โดย ม. พวกของจำเลยทำท่าทางเหมือนจะชักอาวุธออกมาโดยล้วงเข้าไปในเสื้อบริเวณเอว แม้มิได้ใช้กำลังประทุษร้าย มิได้ใช้อาวุธมาขู่บังคับหรือพูดว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายก็ตาม แต่กิริยาท่าทีของ ม. ดังกล่าว เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าเป็นการขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย ทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวว่าจำเลยกับพวกจะใช้กำลังประทุษร้ายจึงต้องจำยอมให้โทรศัพท์เคลื่อนที่แก่จำเลยกับพวกไป การกระทำของจำเลยกับพวกครบองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์แล้ว
ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุไม่เกิน 20 ปี และกระทำผิดโดยมิได้ใช้อาวุธลักษณะเป็นการกระทำของวัยรุ่นที่คึกคะนอง ทั้งจำเลยให้การรับสารภาพตลอดมาและชดใช้เงินแก่ผู้เสียหาย 20,000 บาท ผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความ ปรากฏว่าจำเลยเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนสมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย
ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุไม่เกิน 20 ปี และกระทำผิดโดยมิได้ใช้อาวุธลักษณะเป็นการกระทำของวัยรุ่นที่คึกคะนอง ทั้งจำเลยให้การรับสารภาพตลอดมาและชดใช้เงินแก่ผู้เสียหาย 20,000 บาท ผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความ ปรากฏว่าจำเลยเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนสมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10565/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานรวบรวมเมล็ดพันธุ์ควบคุมโดยไม่ระบุรายละเอียดและรวบรวมเมล็ดพันธุ์เสื่อมคุณภาพ เป็นความผิดคนละกรรม
ความผิดฐานเป็นผู้รับใบอนุญาตรวบรวมเมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้าโดยไม่ระบุเดือนและปีที่รวบรวม เดือนและปีที่สิ้นอายุการใช้เพาะปลูกหรือใช้ทำพันธุ์ตาม พ.ร.บ.พันธุ์พืช พ.ศ.2518 มาตรา 22 (2) และความผิดฐานรวบรวมเมล็ดพันธุ์เสื่อมคุณภาพตามมาตรา 36 มีเจตนากระทำความผิดที่แตกต่างกัน จึงเป็นคนละกรรมกัน แม้จำเลยยังไม่ได้จำหน่ายเมล็ดพันธ์ที่รวบรวมก็ไม่ทำให้เป็นความผิดกรรมเดียวกัน
เมล็ดพันธุ์เสื่อมคุณภาพที่รวบรวมเป็นข้าวเปลือกเจ้าพันธุ์สุพรรณบุรี 3 จำนวน 72 กิโลกรัม และพันธุ์ชัยนาท 1 อีก 72 กิโลกรัม รวม 144 กิโลกรัม การกระทำของจำเลยทำให้ผลิตผลของพันธุ์พืชไม่ได้มาตรฐานและเป็นการหลอกลวงเกษตรกรให้ได้รับความเสียหายอันเป็นผลเสียหายโดยตรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง จึงไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษจำคุกให้จำเลย ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษให้จึงชอบแล้ว
เมล็ดพันธุ์เสื่อมคุณภาพที่รวบรวมเป็นข้าวเปลือกเจ้าพันธุ์สุพรรณบุรี 3 จำนวน 72 กิโลกรัม และพันธุ์ชัยนาท 1 อีก 72 กิโลกรัม รวม 144 กิโลกรัม การกระทำของจำเลยทำให้ผลิตผลของพันธุ์พืชไม่ได้มาตรฐานและเป็นการหลอกลวงเกษตรกรให้ได้รับความเสียหายอันเป็นผลเสียหายโดยตรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง จึงไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษจำคุกให้จำเลย ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษให้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10338/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
การที่จำเลยมีอาวุธปืนพกลูกซองชนิดประกอบขึ้นเอง ขนาด .410 ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนประจำอาวุธปืนดังกล่าว พร้อมกระสุนปืนเล็กแบบ 88 ดัดแปลงเพื่อใช้กับอาวุธปืนดังกล่าว 2 นัด ติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่ได้รับอนุญาต ทั้งไม่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรา ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่ามีความประสงค์จะแยกความผิดสองฐานนี้ออกจากกัน เจตนาที่มีไว้ในครอบครองย่อมต่างกันการกระทำของจำเลยฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองจึงเป็นการกระทำความผิดสองกรรม
อาวุธปืนเป็นอาวุธร้ายแรงโดยสภาพสามารถใช้ทำอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของผู้อื่นได้โดยง่าย ทั้งอาวุธปืนของกลางไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้ หากนำไปใช้ในการกระทำความผิดอื่นแล้ว ย่อมยากแก่การตรวจสอบหาตัวผู้กระทำความผิดที่แท้จริง การที่จำเลยพาอาวุธปืนกับเครื่องกระสุนปืนของกลางติดตัวไปในที่เกิดเหตุนับว่าเป็นอันตรายต่อประชาชน และกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง แม้ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อนและจำเลยมีภาระต้องเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัว ก็ไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะลงโทษจำเลยให้เบาลงหรือรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2553)
อาวุธปืนเป็นอาวุธร้ายแรงโดยสภาพสามารถใช้ทำอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของผู้อื่นได้โดยง่าย ทั้งอาวุธปืนของกลางไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้ หากนำไปใช้ในการกระทำความผิดอื่นแล้ว ย่อมยากแก่การตรวจสอบหาตัวผู้กระทำความผิดที่แท้จริง การที่จำเลยพาอาวุธปืนกับเครื่องกระสุนปืนของกลางติดตัวไปในที่เกิดเหตุนับว่าเป็นอันตรายต่อประชาชน และกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง แม้ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อนและจำเลยมีภาระต้องเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัว ก็ไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะลงโทษจำเลยให้เบาลงหรือรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2553)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9161/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษในคดีก่อนกับคดีหลังตามกฎหมายอาญา
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยของพนักงานคุมประพฤติซึ่งศาลชั้นต้นอ่านให้จำเลยฟังตาม พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตาม ป.อ. พ.ศ.2522 มาตรา 13 แล้ว จำเลยไม่คัดค้าน เป็นการยอมรับข้อเท็จจริงตามรายงานนั้นว่า ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 3 เดือน แต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ภายในระยะเวลา 2 ปี ในข้อหาความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราจึงเป็นกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลเองจากรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมความประพฤติดังกล่าว เมื่อภายในกำหนดระยะเวลาที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนจำเลยมากระทำความผิดคดีนี้อีก ก็ต้องนำโทษจำคุกที่รอไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีดังกล่าวเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้ก็ตาม กรณีนี้มิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอและไม่ใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะกฎหมายบัญญัติให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังด้วยเสมอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8913/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษซ้ำซ้อนและการใช้ดุลพินิจศาลในการกำหนดโทษคดีทางหลวง
การกระทำความผิดตามฟ้องของจำเลยในแต่ละฐานความผิดนั้นเป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุกและโทษปรับ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะลงโทษจำคุกหรือลงโทษปรับอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจะลงโทษทั้งโทษจำคุกและโทษปรับทั้งสองอย่างพร้อมกันก็ได้ ถึงแม้ในคดีนี้จำเลยจะได้ชำระค่าปรับครบถ้วนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วก็ตาม ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมมีอำนาจที่จะลงโทษจำคุกจำเลยอีกได้ และการที่จำเลยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขคุมความประพฤติ ทำงานบริการสังคมและสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติและจำเลยเห็นสมควรครบถ้วนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วก็ตาม แต่เงื่อนไขการคุมความประพฤติดังกล่าวนั้นก็มิใช่การลงโทษ เป็นแต่เพียงมาตรการทางกฎหมายที่ศาลให้โอกาสผู้กระทำความผิดในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษเท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการลงโทษจำเลยซ้ำซ้อนจากการกระทำความผิดแต่เพียงครั้งเดียวดังที่จำเลยอ้างมาในฎีกา
จำเลยใช้รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุบรรทุกดินมีน้ำหนักยานพาหนะรวมน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ถึง 22,410 กิโลกรัม โดยไม่นำพาว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อสภาพทางหลวงแผ่นดินซึ่งเป็นสมบัติของส่วนรวมและมีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันของสาธารณชน การกระทำของจำเลยย่อมทำให้ผู้ร่วมใช้เส้นทางสัญจรไปมาต้องเสี่ยงต่ออันตรายที่เกิดจากสภาพของยานพาหนะที่บรรทุกน้ำหนักเป็นจำนวนมากจนเกินกว่าที่ผู้ขับจะควบคุมให้แล่นไปได้อย่างปลอดภัยพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยนับว่าร้ายแรง ที่จำเลยยกขึ้นอ้างฎีกาว่าจำเลยไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน มีภาระต้องรับผิดชอบต่อครอบครัวและจำต้องกระทำความผิดในคดีนี้เพราะไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือขัดคำสั่งของนายจ้าง ก็เป็นเพียงเหตุผลและความจำเป็นส่วนตัวของจำเลยเท่านั้น บุคคลทั่ว ๆ ไปในสถานะเช่นเดียวกับจำเลยก็มีภาระที่ไม่แตกต่างไปจากจำเลย จำเลยไม่อาจอ้างภาระความจำเป็นส่วนตัวเพื่อก่อภาระให้แก่สังคมโดยรวมได้ เหตุดังกล่าวไม่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นลงโทษจำคุก โดยไม่ลงโทษปรับและไม่คุมความประพฤติ และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทนตาม ป.อ. มาตรา 23 นั้น เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
จำเลยใช้รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุบรรทุกดินมีน้ำหนักยานพาหนะรวมน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ถึง 22,410 กิโลกรัม โดยไม่นำพาว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อสภาพทางหลวงแผ่นดินซึ่งเป็นสมบัติของส่วนรวมและมีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันของสาธารณชน การกระทำของจำเลยย่อมทำให้ผู้ร่วมใช้เส้นทางสัญจรไปมาต้องเสี่ยงต่ออันตรายที่เกิดจากสภาพของยานพาหนะที่บรรทุกน้ำหนักเป็นจำนวนมากจนเกินกว่าที่ผู้ขับจะควบคุมให้แล่นไปได้อย่างปลอดภัยพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยนับว่าร้ายแรง ที่จำเลยยกขึ้นอ้างฎีกาว่าจำเลยไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน มีภาระต้องรับผิดชอบต่อครอบครัวและจำต้องกระทำความผิดในคดีนี้เพราะไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือขัดคำสั่งของนายจ้าง ก็เป็นเพียงเหตุผลและความจำเป็นส่วนตัวของจำเลยเท่านั้น บุคคลทั่ว ๆ ไปในสถานะเช่นเดียวกับจำเลยก็มีภาระที่ไม่แตกต่างไปจากจำเลย จำเลยไม่อาจอ้างภาระความจำเป็นส่วนตัวเพื่อก่อภาระให้แก่สังคมโดยรวมได้ เหตุดังกล่าวไม่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นลงโทษจำคุก โดยไม่ลงโทษปรับและไม่คุมความประพฤติ และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทนตาม ป.อ. มาตรา 23 นั้น เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6638/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากขัดคำรับสารภาพ และอำนาจศาลพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้อง
จำเลยฎีกาว่าในวันเกิดเหตุเพื่อนของจำเลยให้จำเลยดื่มยาชูกำลังโดยไม่ทราบว่ามียาเสพติดให้โทษผสมอยู่ เป็นฎีกาในทำนองว่าจำเลยมิได้มีเจตนากระทำความผิดตามฟ้องเป็นการขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157 ทวิ ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 และให้ใช้มาตรา 157/1 แทนแต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่แตกต่างกับกฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดลงโทษจำเลย
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157 ทวิ วรรคสอง มีบทบัญญัติให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลย อันเป็นมาตรการทำนองเดียวกันกับวิธีการเพื่อความปลอดภัยในการที่จะคุ้มครองประชาชนทั่วไปมิให้ได้รับอันตรายที่อาจเกิดจากการกระทำของจำเลย และเป็นบทบัญญัติที่บังคับให้ศาลต้องมีคำสั่งดังกล่าวเมื่อศาลพิพากษาลงโทษผู้ใดตามกฎหมายมาตรานี้ โดยไม่จำต้องมีคำขอของโจทก์ระบุมาในคำขอท้ายฟ้องแต่อย่างใด แต่ต้องปรากฏว่าจำเลยมีใบอนุญาตขับขี่ด้วย คดีนี้แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีใบอนุญาตขับขี่ แต่ได้ความตามฎีกาของจำเลยและรายงานการสืบเสาะและพินิจของเจ้าพนักงานคุมประพฤติว่า จำเลยมีใบอนุญาตขับขี่ ศาลจึงมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยได้
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157 ทวิ ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 และให้ใช้มาตรา 157/1 แทนแต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่แตกต่างกับกฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดลงโทษจำเลย
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157 ทวิ วรรคสอง มีบทบัญญัติให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลย อันเป็นมาตรการทำนองเดียวกันกับวิธีการเพื่อความปลอดภัยในการที่จะคุ้มครองประชาชนทั่วไปมิให้ได้รับอันตรายที่อาจเกิดจากการกระทำของจำเลย และเป็นบทบัญญัติที่บังคับให้ศาลต้องมีคำสั่งดังกล่าวเมื่อศาลพิพากษาลงโทษผู้ใดตามกฎหมายมาตรานี้ โดยไม่จำต้องมีคำขอของโจทก์ระบุมาในคำขอท้ายฟ้องแต่อย่างใด แต่ต้องปรากฏว่าจำเลยมีใบอนุญาตขับขี่ด้วย คดีนี้แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีใบอนุญาตขับขี่ แต่ได้ความตามฎีกาของจำเลยและรายงานการสืบเสาะและพินิจของเจ้าพนักงานคุมประพฤติว่า จำเลยมีใบอนุญาตขับขี่ ศาลจึงมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6491/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตาม พ.ร.บ.สมาคมฯ มาตรา 56 องค์ประกอบความผิด การดำเนินกิจการผิดวัตถุประสงค์ และภยันตรายต่อความสงบสุข
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ว่า ไม่ปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยทั้งหกร่วมกันออกสำรวจที่ดินในนามของสมาคมเกษตรก้าวหน้า การกระทำของจำเลยทั้งหกเป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนซึ่งเป็นความรับผิดทางแพ่งเท่านั้น คำฟ้องของโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ และไม่ปรากฏว่ามีผู้เสียหายร้องทุกข์ไว้ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น มีความหมายทำนองว่าการกระทำของจำเลยทั้งหกตามคำฟ้องไม่เป็นความผิดทางอาญาที่ศาลจะมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งหกได้ แม้ปัญหาข้อนี้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จะไม่ได้ต่อสู้ไว้ในศาลล่างทั้งสอง แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 สามารถยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งหกตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 56 แม้คำฟ้องของโจทก์จะไม่มีข้อความโดยตรงว่า จำเลยทั้งหกได้ดำเนินกิจการในนามของสมาคมเกษตรกรก้าวหน้า แต่เมื่ออ่านคำฟ้องทั้งหมดแล้วก็สามารถเข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งหกดำเนินกิจการดังกล่าวในนามของสมาคมเกษตรกรก้าวหน้านั้นเอง เมื่อสมาคมเกษตรกรก้าวหน้าไม่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งหกซึ่งเป็นกรรมการสมาคมเกษตรกรก้าวหน้า ย่อมเป็นการดำเนินกิจการอันผิดวัตถุประสงค์ของสมาคม คำฟ้องของโจทก์ครบถ้วนในองค์ประกอบความผิดส่วนแรกแล้ว นอกจากนี้ โจทก์ยังได้บรรยายฟ้องต่อไปว่า หากรัฐบาลมีโครงการซื้อที่ดินตามที่จำเลยทั้งหกกล่าวอ้างแล้ว จะทำให้รัฐบาลต้องซื้อที่ดินราคาที่สูงกว่าความเป็นจริง ทำให้จำเลยทั้งหกได้รับเงินส่วนที่เกินจากราคาที่ประชาชนเสนอขาย และหากรัฐบาลไม่มีโครงการรับซื้อที่ดินจากประชาชนตามที่จำเลยทั้งหกกล่าวอ้างแล้ว จะทำให้ประชาชนไม่มั่นใจในนโยบายของรัฐบาลกับเข้าใจว่ารัฐบาลและราชการหลอกลวงประชาชน นำไปสู่ความไม่สงบสุขกับเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของรัฐได้ คำฟ้องของโจทก์ย่อมครบถ้วนในองค์ประกอบความผิดส่วนหลังแล้ว โดยโจทก์ไม่ต้องบรรยายฟ้องว่ามีผู้ร้องทุกข์ไว้ด้วย เพราะไม่ใช่เรื่องที่ ป.วิ.อ. มาตรา 158 บัญญัติให้ต้องมีในคำฟ้อง
ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฎีกาขอให้รอการลงโทษ โดยอ้างว่าเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 ใช้ดุลพินิจรอการลงโทษให้แก่จำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 แล้ว ต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โดยการรอการลงโทษเช่นกัน จำเลยทั้งหกไม่เคยกระทำความผิดอาญาอื่นใดมาก่อน และตามประวัติส่วนตัวมีเหตุที่จะรอการลงโทษได้ ทั้งการกำหนดโทษให้แก่จำเลยซึ่งร่วมกระทำความผิด ไม่สามารถแบ่งแยกได้ เห็นว่า ตาม ป.อ. มาตรา 56 ศาลมีอำนาจกำหนดโทษของจำเลย โดยพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลยผู้กระทำความผิดเป็นรายบุคคล หาใช่ต้องยกประโยชน์หรือต้องกำหนดโทษให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ด้วยแต่อย่างใดไม่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งหกตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 56 แม้คำฟ้องของโจทก์จะไม่มีข้อความโดยตรงว่า จำเลยทั้งหกได้ดำเนินกิจการในนามของสมาคมเกษตรกรก้าวหน้า แต่เมื่ออ่านคำฟ้องทั้งหมดแล้วก็สามารถเข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งหกดำเนินกิจการดังกล่าวในนามของสมาคมเกษตรกรก้าวหน้านั้นเอง เมื่อสมาคมเกษตรกรก้าวหน้าไม่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งหกซึ่งเป็นกรรมการสมาคมเกษตรกรก้าวหน้า ย่อมเป็นการดำเนินกิจการอันผิดวัตถุประสงค์ของสมาคม คำฟ้องของโจทก์ครบถ้วนในองค์ประกอบความผิดส่วนแรกแล้ว นอกจากนี้ โจทก์ยังได้บรรยายฟ้องต่อไปว่า หากรัฐบาลมีโครงการซื้อที่ดินตามที่จำเลยทั้งหกกล่าวอ้างแล้ว จะทำให้รัฐบาลต้องซื้อที่ดินราคาที่สูงกว่าความเป็นจริง ทำให้จำเลยทั้งหกได้รับเงินส่วนที่เกินจากราคาที่ประชาชนเสนอขาย และหากรัฐบาลไม่มีโครงการรับซื้อที่ดินจากประชาชนตามที่จำเลยทั้งหกกล่าวอ้างแล้ว จะทำให้ประชาชนไม่มั่นใจในนโยบายของรัฐบาลกับเข้าใจว่ารัฐบาลและราชการหลอกลวงประชาชน นำไปสู่ความไม่สงบสุขกับเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของรัฐได้ คำฟ้องของโจทก์ย่อมครบถ้วนในองค์ประกอบความผิดส่วนหลังแล้ว โดยโจทก์ไม่ต้องบรรยายฟ้องว่ามีผู้ร้องทุกข์ไว้ด้วย เพราะไม่ใช่เรื่องที่ ป.วิ.อ. มาตรา 158 บัญญัติให้ต้องมีในคำฟ้อง
ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฎีกาขอให้รอการลงโทษ โดยอ้างว่าเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 ใช้ดุลพินิจรอการลงโทษให้แก่จำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 แล้ว ต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โดยการรอการลงโทษเช่นกัน จำเลยทั้งหกไม่เคยกระทำความผิดอาญาอื่นใดมาก่อน และตามประวัติส่วนตัวมีเหตุที่จะรอการลงโทษได้ ทั้งการกำหนดโทษให้แก่จำเลยซึ่งร่วมกระทำความผิด ไม่สามารถแบ่งแยกได้ เห็นว่า ตาม ป.อ. มาตรา 56 ศาลมีอำนาจกำหนดโทษของจำเลย โดยพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลยผู้กระทำความผิดเป็นรายบุคคล หาใช่ต้องยกประโยชน์หรือต้องกำหนดโทษให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ด้วยแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6022/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษและขอบเขตการอุทธรณ์: ศาลฎีกาแก้ไขให้ชัดเจนว่าไม่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขัง
ศาลชั้นต้นเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังจำเลยแทน แม้โทษที่จะรอการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 56 ได้จะต้องเป็นโทษจำคุกเท่านั้นก็ตาม แต่การที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษจำคุกก็เท่ากับเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ (1) ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่ง และให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้มีกำหนด 2 ปี โดยไม่ได้กล่าวไว้ในคำพิพากษาว่าไม่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังก็หาได้เป็นคำพิพากษาที่มิชอบไม่ แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ชัดเจนโดยไม่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขัง