คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 48

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7843/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: เงินได้ต้องได้รับจริงและแน่นอน
หลักการเสียภาษีอากรสำหรับบุคคลธรรมดานั้น เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับเป็นเงินได้อันจะนำมาคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้วเท่านั้น มิใช่เป็นเพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาภายหน้า กรณียังไม่มีความแน่นอนว่าโจทก์จะได้รับทรัพย์สินตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เพราะในคดีดังกล่าวมีประเด็นข้อพิพาทว่า บริษัท อ. ผู้เช่าเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ อันจะเป็นเหตุให้สิ่งปลูกสร้างที่ปลูกบนที่ดินที่เช่าตกเป็นของโจทก์ เนื่องจากคู่ความยังอุทธรณ์หรือฎีกาคดีนั้นและศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาอาจพิพากษาแก้หรือกลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยคำพิพากษาศาลสูงมีผลเปลี่ยนแปลงเงินได้ที่ได้รับมาแล้วย่อมมิใช่เจตนารมณ์ของการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้พึงประเมินต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้ว และมีความแน่นอนในระดับรับรู้รายได้ ได้แล้วด้วย จำเลยประเมินภาษีเงินได้แก่โจทก์ว่ามีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (5) (ก) สำหรับสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไม่สอดคล้องกับมาตรา 39 ที่ให้เสียภาษีจากเงินได้ที่เป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5338/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนภาษีจากการขายทอดตลาด: เจ้าของทรัพย์มีหน้าที่เสียภาษี แม้เงินจากการขายจะนำไปชำระหนี้
เงินได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (8) และผู้ซื้อทรัพย์ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ตามมาตรา 50 (5) (ข) และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนตามมาตรา 52 วรรคสอง เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ได้ชำระราคาเต็มจำนวนตามราคาขายทอดตลาดโดยยังมิได้หักภาษี ณ ที่จ่าย เท่ากับผู้ซื้อทรัพย์ได้มอบเงินส่วนที่เป็นภาษีเงินได้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปด้วย ผู้ซื้อทรัพย์จึงมีสิทธิขอรับเงินส่วนที่เป็นภาษีเงินได้คืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อนำส่งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายต่อไป
ทรัพย์ที่ขายทอดตลาดมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ จำเลยย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้มีเงินได้จากการขายทรัพย์ดังกล่าว แม้เงินดังกล่าวจะต้องถูกนำไปชำระหนี้ก็เป็นผลให้จำเลยหลุดพ้นจากหนี้อันเป็นประโยชน์แก่จำเลย จึงถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินที่จะต้องเสียภาษีโดยการให้ผู้ซื้อทรัพย์หัก ณ ที่จ่ายและนำส่งต่อไป
การคืนเงินค่าภาษีมีคำสั่งกรมบังคับคดีที่ 169/2546 กำหนดให้ผู้ซื้อทรัพย์มีสิทธิขอรับคืนภาษีเงินได้ซึ่งต้องจ่ายไปในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยจะต้องไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์ไปดำเนินการ ซึ่งในการขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีได้โฆษณาคำสั่งดังกล่าวข้างต้นลงในประกาศขายทอดตลาดด้วย จึงถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการถูกต้องตามเงื่อนไขในประกาศขายทอดตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกเสียภาษีตามมาตรา 48(5) กรณีเงินชดเชยจากการเลิกจ้างและเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ผู้จ่ายไม่เหมือนกัน
โจทก์ได้รับเงินเพราะเหตุออกจากงานเป็นเงินชดเชยการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงานที่ถือว่าเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) ข้อ 1(ค) โดยนายจ้างจ่ายให้โจทก์กับเงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นเงินที่จ่ายจากกองทุนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 45) ข้อ 1(ข) โดยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ น. ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากไม่ใช่นายจ้างของโจทก์เป็นผู้จ่าย โดยจ่ายให้คนละปีภาษี เงินชดเชยกับเงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่ใช่ผู้จ่ายรายเดียวกัน โจทก์ผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกเสียภาษีตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากรไม่เพียงเฉพาะเงินได้ที่จ่ายในปีภาษีแรกที่มีการจ่ายเงินได้เท่านั้นตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) ข้อ 2(ข)ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้รับเงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งเป็นคนละปีภาษีกับที่โจทก์ได้รับเงินชดเชย โจทก์จึงนำเงินได้ที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ น. ที่ได้รับมาเลือกเสียภาษีแยกต่างหากจากเงินได้อื่นในปีภาษีต่อมาตามมาตรา 48(5) ได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อเก็งกำไร และการเสียภาษีเงินได้/ภาษีการค้า ศาลฎีกาวินิจฉัยถึงเจตนาการซื้อขายและการหลีกเลี่ยงภาษี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าจากการที่โจทก์ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จำเลยให้การว่าโจทก์ซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไร คดีจึงมีประเด็นโต้เถียงว่ากรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นโจทก์ได้รับเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรหรือไม่ และสำหรับกรณีภาษีการค้านั้น โจทก์มีรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 43091 ตำบลมหาพฤฒาราม พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์โดยมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรหรือไม่ เป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และ มาตรา 183 เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปตามประเด็นที่ถูกต้องได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาพิพากษาใหม่
เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 48(4) นั้น มุ่งหมายถึงเจตนาในการได้มาเป็นข้อสำคัญและพิจารณาถึงพฤติการณ์ในระหว่างที่ผู้นั้นถือครองอยู่ก่อนที่จะขายและขณะที่ขายเป็นส่วนประกอบด้วย การที่โจทก์ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแล้วขายไปในระยะเวลาเพียงสามปีเศษ ซึ่งถือว่าเป็นช่วงระยะเวลาที่สั้นแล้วยังปรากฏว่าเมื่อโจทก์ได้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือหาประโยชน์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น ทั้งมีบุคคลอื่นอาศัยอยู่โดยมิได้จ่ายค่าเช่าแก่โจทก์แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเพื่ออยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ นอกจากนี้ในระหว่างที่โจทก์ถือครองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาท โจทก์ซื้อและขายที่ดินแปลงอื่นอีกหลายแปลง เมื่อพิจารณาถึงเจตนาการได้มาซึ่งที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทของโจทก์ประกอบกับพฤติการณ์ต่าง ๆ ในระหว่างที่โจทก์ถือครองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทอยู่ก่อนที่จะขายและขณะที่ขายแล้ว น่าเชื่อว่าโจทก์ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไว้โดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ดังนั้น ในการคำนวณภาษีเงินได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 วรรคหนึ่ง และมาตรา 86 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานรายการใดที่โจทก์ไม่เห็นด้วย โจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยจะต้องมีข้อความโต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินว่า ประเมินภาษีไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างใดมีหลักฐานอย่างไร เมื่อคำอุทธรณ์ของโจทก์ไม่มีข้อความโต้แย้งการประเมินในประเด็นใด โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องในประเด็นนั้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2)ซึ่งในชั้นอุทธรณ์การประเมิน โจทก์มิได้ยกปัญหาว่าจำเลยมิได้นำภาษีหัก ณ ที่จ่ายมาหักเป็นค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ด้วย แสดงว่าโจทก์พอใจการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในรายการนั้นแล้ว ดังนี้โจทก์จะนำประเด็นดังกล่าวมาฟ้องต่อศาลหาได้ไม่ปัญหานี้แม้ศาลภาษีอากรกลางจะวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ว่ากันมาแล้วในศาลล่างโดยชอบตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การเรียกเก็บเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27,89 ทวิ ไม่มีข้อยกเว้นให้งดเก็บ หากจะลดก็ต้องเป็นไปตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาชำระภาษี ผลกระทบต่อเบี้ยปรับ/เงินเพิ่ม และการหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ปัญหาว่า การที่โจทก์ยื่นแบบขอชำระภาษีอากรตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2534 แล้วทำให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแก่จำเลยที่ 1 หรือไม่นั้น โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเพื่อเพิ่มเติมปัญหาดังกล่าวขึ้นเป็นประเด็นในศาลภาษี-อากรกลาง แม้ศาลภาษีอากรกลางได้ยกคำร้องดังกล่าวของโจทก์ไปแล้วก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2539 กระทรวงการคลังได้มีประกาศเรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตาม ป.รัษฎากรเพื่อให้โอกาสผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรที่ได้ยื่นรายการและชำระภาษีอากรไว้ไม่ครบถ้วนได้ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีอากรให้ถูกต้องตามแบบชำระภาษีอากรที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด และโจทก์ได้ยื่นแบบขอชำระภาษีอากรดังกล่าวแล้ว คดีจึงมีปัญหาข้อกฎหมายที่จะต้องวินิจฉัยว่า การที่โจทก์ยื่นแบบขอชำระภาษีอากรดังกล่าว ทำให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในคดีนี้ต่อจำเลยที่ 1 หรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะเป็นปัญหาที่ศาลภาษีอากรกลางมิได้ยกเป็นประเด็นขึ้นวินิจฉัยมาก่อนก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นในชั้นอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2534ข้อ 2 นั้น ผู้ยื่นขอชำระภาษีอากรตามประกาศกระทรวงการคลังจะได้รับผลประโยชน์โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มเฉพาะภาษีอากรส่วนที่ชำระหรือนำส่งนั้นเท่านั้นแต่ในกรณีของโจทก์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คงเรียกเก็บเงินเพิ่มสำหรับการประเมินภาษีในปี 2528 (ครึ่งปี) และปี 2529 (ครึ่งปี) และสำหรับปี 2529คงเรียกเก็บเบี้ยปรับร้อยละ 50 ส่วนเงินเพิ่มเป็นไปตามที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินเรียกเก็บ เบี้ยปรับและเงินเพิ่มที่เรียกเก็บจากโจทก์จึงเป็นเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากภาษีอากรที่โจทก์ยังคงยื่นเสียไว้ไม่ครบถ้วนจากการที่โจทก์ยื่นขอชำระภาษีไว้ดังกล่าวแล้วหาใช่เบี้ยปรับและเงินเพิ่มสำหรับภาษีอากรส่วนที่โจทก์ได้ชำระไว้ตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวไม่
ตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8 (5)ประกอบด้วย พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 70) พ.ศ.2520 มาตรา 4 การประกอบกิจการของโจทก์ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 70 แต่ถ้าโจทก์แสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น ก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร แต่ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสูจน์นั้นมีรายจ่ายที่หักได้ตามกฎหมายน้อยกว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่กำหนดดังกล่าว ก็ให้ถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์ และตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) เงินได้พึงประเมินของโจทก์เป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจของโจทก์ทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามกฎหมาย เมื่อหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามกฎหมายแล้วจึงเป็นเงินได้สุทธิที่จะนำไปคำนวณเสียภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 48 ดังนั้น การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีนี้ต้องเริ่มมาจากเงินได้จากการประกอบธุรกิจของโจทก์ทั้งหมดก่อน แล้วจึงนำค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามกฎหมายมาหักออก มิใช่คำนวณมาจากกำไรสุทธิ สำหรับค่าใช้จ่ายนั้นเมื่อโจทก์ไม่นำค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายที่กฎหมายกำหนดไว้มาหัก แต่จะหักตามความจำเป็นและสมควร โจทก์ก็มีหน้าที่จะต้องนำหลักฐานมาพิสูจน์ การที่โจทก์นำสืบอ้างว่าโจทก์มีกำไรจากการประกอบกิจการร้อยละ 10 นั้นไม่เพียงพอจะถือว่ากำไรร้อยละ 10 ของโจทก์นั้นเป็นเงินได้สุทธิที่จะนำมาคำนวณเสียภาษี เมื่อโจทก์ไม่นำหลักฐานมาพิสูจน์ให้เห็นว่ารายได้ทั้งหมดของโจทก์จะต้องมีรายจ่ายที่จะหักได้ตามกฎหมายเป็นอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด โจทก์ต้องการให้หักค่าใช้จ่ายอีกเท่าใด การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาหักค่าใช้จ่ายให้เท่าที่ตรวจพบจึงเป็นการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นขอชำระภาษีล่าช้าและสิทธิในการหักค่าใช้จ่าย: หลักเกณฑ์และขอบเขต
ปัญหาว่า การที่โจทก์ยื่นแบบขอชำระภาษีอากรตามประกาศ กระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2534 แล้วทำให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแก่จำเลยที่ 1หรือไม่นั้น โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเพื่อเพิ่มเติมปัญหาดังกล่าวขึ้นเป็นประเด็นในศาลภาษีอากรกลางแม้ศาลภาษีอากรกลางได้ยกคำร้องดังกล่าวของโจทก์ไปแล้วก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2539กระทรวงการคลังได้มีประกาศ เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตาม ประมวลรัษฎากรเพื่อให้โอกาสผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรที่ได้ยื่นรายการและชำระภาษีอากรไว้ไม่ครบถ้วนได้ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีอากรให้ถูกต้องตามแบบชำระภาษีอากรที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด และโจทก์ได้ยื่นแบบขอชำระภาษีอากรดังกล่าวแล้ว คดีจึงมีปัญหาข้อกฎหมายที่จะต้องวินิจฉัยว่า การที่โจทก์ยื่นแบบขอชำระภาษีอากรดังกล่าวทำให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในคดีนี้ต่อจำเลยที่ 1 หรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะเป็นปัญหาที่ศาลภาษีอากรกลางมิได้ยกเป็นประเด็นขึ้นวินิจฉัยมาก่อนก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นในชั้นอุทธรณ์ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการ ชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตาม ประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2534 ข้อ 2 นั้น ผู้ยื่นขอ ชำระภาษีอากรตามประกาศกระทรวงการคลังจะได้รับผลประโยชน์โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มเฉพาะภาษีอากรส่วนที่ชำระหรือนำส่งนั้นเท่านั้นแต่ในกรณีของโจทก์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คงเรียกเก็บเงินเพิ่มสำหรับการประเมินภาษีในปี 2528(ครึ่งปี) และปี 2529(ครึ่งปี) และสำหรับปี 2529 คงเรียกเก็บเบี้ยปรับร้อยละ50 ส่วนเงินเพิ่มเป็นไปตามที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินเรียกเก็บ เบี้ยปรับและเงินเพิ่มที่เรียกเก็บจากโจทก์จึงเป็นเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากภาษีอากรที่โจทก์ยังคงยื่นเสียไว้ไม่ครบถ้วนจากการที่โจทก์ยื่นขอชำระภาษีไว้ดังกล่าวแล้วหาใช่เบี้ยปรับและเงินเพิ่มสำหรับภาษีอากรส่วนที่โจทก์ได้ชำระไว้ตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวไม่ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8(5) ประกอบด้วยพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 70) พ.ศ. 2520 มาตรา 4 การประกอบกิจการของโจทก์ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 70แต่ถ้าโจทก์แสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น ก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร แต่ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสูจน์นั้นมีรายจ่ายที่หักได้ตามกฎหมายน้อยกว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่กำหนดดังกล่าว ก็ให้ถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์ และตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8)เงินได้พึงประเมินของโจทก์เป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจของโจทก์ทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามกฎหมาย เมื่อหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามกฎหมายแล้วจึงเป็นเงินได้สุทธิที่จะนำไปคำนวณเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 48 ดังนั้น การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีนี้ต้องเริ่มมาจากเงินได้จากการประกอบธุรกิจของโจทก์ทั้งหมดก่อน แล้วจึงนำค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามกฎหมายมาหักออก มิใช่คำนวณมาจากกำไรสุทธิ สำหรับค่าใช้จ่ายนั้นเมื่อโจทก์ไม่นำค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายที่กฎหมายกำหนดไว้มาหัก แต่จะหักตามความจำเป็นและสมควร โจทก์ก็มีหน้าที่จะต้องนำหลักฐานมาพิสูจน์ การที่โจทก์นำสืบอ้างว่าโจทก์มีกำไรจากการประกอบกิจการร้อยละ 10 นั้น ไม่เพียงพอจะถือว่ากำไรร้อยละ 10 ของโจทก์นั้นเป็นเงินได้สุทธิที่จะนำมาคำนวณเสียภาษี เมื่อโจทก์ไม่นำหลักฐานมาพิสูจน์ให้เห็นว่ารายได้ทั้งหมดของโจทก์จะต้องมีรายจ่ายที่จะหักได้ตามกฎหมาย เป็นอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด โจทก์ต้องการให้หักค่าใช้จ่ายอีกเท่าใด การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาหักค่าใช้จ่ายให้เท่าที่ตรวจพบจึงเป็นการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6312/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินเพื่อหากำไร แม้ไม่ได้พัฒนา หากซื้อมาเพื่อขายต่อในระยะสั้น ถือเป็นการค้าที่ดิน ต้องเสียภาษี
คำว่า "การขายที่ดินโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร"หาได้หมายความว่าเป็นการขายที่ดินที่มีการพัฒนา เช่นแบ่งที่ดินออกเป็นแปลง ๆ เพื่อสะดวกแก่การขาย หรือจัดทำสาธารณูปโภค เช่น ถนน ไฟฟ้า ประปา เข้าที่ดินเท่านั้นไม่การซื้อที่ดินมาเพื่อขายต่อเพื่อเอากำไร แม้จะมิได้กระทำให้ที่ดินเจริญขึ้น ก็ถือได้ว่าเป็นการขายโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครปฐม ซื้อที่ดินซึ่งอยู่ที่จังหวัดราชบุรีในปี 2532 เมื่อซื้อแล้วมิได้ทำประโยชน์ใด ๆ และโจทก์ได้ขายไปในปี 2533 เป็นการขายในเวลาอันสั้นเมื่อเปรียบเทียบกับเวลาในการใช้ที่ดินเพื่อประกอบอาชีพอื่นอันมิใช่การค้าที่ดิน แสดงให้เห็นเจตนาว่าซื้อที่ดินมาเพื่อหากำไร การขายที่ดินจึงเป็นการขายโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรซึ่งจะต้องเสียภาษี โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ภาษีการค้า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน จำเลยให้การว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้าง ภาระการพิสูจน์จึงตกอยู่แก่โจทก์มิใช่ตกแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5890/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ ไม่ถือเป็นการค้าหรือหากำไร ไม่ต้องเสียภาษี
บริษัทโจทก์เจ้าหนี้ซึ่งมิได้มีวัตถุประสงค์ค้าอสังหาริมทรัพย์หรือเคยประกอบการค้าที่ดินมาก่อนรับโอนที่ดินมาจากลูกหนี้เพื่อเป็นการตีใช้หนี้ในขณะที่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่นจะชำระหนี้ เมื่อรับโอนมาแล้วก็มิได้มีการปรับปรุงหรือพัฒนาที่ดินดังกล่าว แต่ได้นำที่ดินไปจำนองแก่ธนาคารเพื่อค้ำประกันหนี้ของโจทก์ ต่อมาปีเศษที่ดินมีราคาสูงขึ้นเพราะมีการขยายถนนที่ตัดผ่านที่ดินนั้นโจทก์จึงได้ขายไปแล้วนำเงินที่ขายได้ชำระหนี้แก่ธนาคารเจ้าหนี้ เช่นนี้ ย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ขายที่ดินดังกล่าวไปเป็นทางค้าหรือหากำไร อันจะต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวล-รัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือการรับจ้างก่อสร้าง การประเมินภาษี และการหักค่าใช้จ่าย
โจทก์ได้สร้างบ้านตัวอย่างและจัดเตรียมแบบแปลนบ้านสำหรับปลูกในที่ดินเหมือนกันทุกหลัง ทั้งได้ปลูกสร้างบ้านลงในที่ดินเป็นการล่วงหน้าไว้ก่อนที่ผู้ซื้อจะได้ตกลงทำสัญญากับโจทก์ เป็นกรณีโจทก์ลงมือปลูกสร้างบ้านขึ้นเพื่อขายมาแต่ต้นเป็นลักษณะขายตามตัวอย่าง บ้านที่โจทก์ปลูกสร้างลงในที่ดินของ ฉ. โดยได้รับความยินยอมจาก ฉ. ย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และเมื่อผู้ซื้อประสงค์จะซื้อที่ดินพร้อมบ้าน ย่อมต้องทำสัญญาจะซื้อที่ดินและบ้านจาก ฉ.และโจทก์ แต่โจทก์กลับให้ผู้ซื้อทำสัญญาจะซื้อที่ดินจาก ฉ. และทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างบ้าน จึงไม่ตรงต่อความเป็นจริงหาใช่เป็นการรับจ้างทำของไม่ ดังนั้น รายรับที่โจทก์ได้จากการโอนกรรมสิทธิ์บ้านให้แก่ผู้ซื้อจึงเป็นรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ตามประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ ต้องเสียภาษีการค้า ราคาประเมินของกรมโยธาธิการเป็นเพียงราคาจากการประเมินมิใช่ราคาที่โจทก์ได้จ่ายไปจริง จึงมิใช่ค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรอันจะนำมาหักค่าใช้จ่ายตาม พ.ร.ฎ. โจทก์มีรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์สำหรับปี พ.ศ. 2521เป็นเงิน 4,487,070 บาท และปี พ.ศ. 2522 เป็นเงิน 2,907,800บาท แต่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีในยอดรายรับเพียง2,027,800 บาท และ 1,685,000 บาท ตามลำดับ พฤติการณ์เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีไม่มีเหตุสมควรที่จะงดหรือลดเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4673/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายต้องห้ามทางภาษี และการยินยอมชำระภาษีเหมาจ่าย ศาลยืนตามประเมินเจ้าพนักงาน
ในชั้นตรวจสอบไต่สวน หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์มิได้นำเอกสารเกี่ยวกับรายจ่ายที่เป็นปัญหาว่าต้องห้ามหรือไม่ไปมอบให้เจ้าพนักงานทั้งไม่มีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเอกสารดังกล่าวมาเบิกความรับรองรับฟังไม่ได้ว่ามีการจ่ายจริง โจทก์จะนำจำนวนเงินที่ปรากฏในเอกสารมาถือเป็นรายจ่ายไม่ได้ หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ยินยอมชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของยอดค่าจ้างแรงงาน ทั้งโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำนวนลูกจ้างของโจทก์มีเท่าใด แต่ละคนได้ค่าจ้างเท่าใด อันจะเป็นข้อที่ทำให้เห็นว่าการหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราดังกล่าวมีจำนวนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เมื่อโจทก์ยินยอมให้เจ้าพนักงานคิดคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของยอดค่าจ้างแรงงานและเจ้าพนักงานประเมินก็ได้ประเมินตามที่โจทก์ยินยอม อันเป็นการปฏิบัติไปตามความยินยอมของโจทก์โจทก์จะมาอ้างภายหลังว่าเป็นการไม่ชอบไม่ได้.
of 2