คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 65 ทวิ (4)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตรากำไรมาตรฐานและการยินยอมให้ประเมินภาษีจากสินค้าชำรุด
โจทก์สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเพื่อและในนามของโจทก์เอง มิได้สั่งแทนบริษัท ท. แล้วโจทก์โอนขายสินค้าดังกล่าวให้บริษัท ท. เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับว่ามีการโอนหรือขายสินค้าดังกล่าว และโจทก์ไม่เคยขายสินค้าชนิดเดียวกันนี้ให้แก่ผู้อื่น การที่จำเลยคำนวณภาษีเงินได้ของโจทก์จากอัตรากำไรมาตรฐานของสินค้าตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรจึงชอบแล้ว
บริษัทโจทก์มอบอำนาจให้ จ.มาให้ถ้อยคำแก่เจ้าพนักงานประเมินแทนโจทก์โดยโจทก์ยอมรับผิดชอบต่อการกระทำใด ๆ ของ จ.เสมือนหนึ่งโจทก์ได้กระทำการนั้น ๆ เอง เมื่อ จ.ให้การต่อเจ้าพนักงานประเมินว่าได้ตรวจพบว่าบริษัทโจทก์ลงบัญชีคุมสินค้าว่ามีสินค้าชำรุดและเสื่อมราคาเป็นจำนวนมาก และบริษัทได้ตัดบัญชีสินค้าเหล่านั้นออกจากบัญชีสินค้าคงเหลือโดยมิได้ลงบัญชีขาย จ.ยอมรับผิดและยอมให้เจ้าพนักงานประเมินราคาสินค้าซึ่งไม่ได้ลงบัญชีขายไว้เป็นยอดขายของบริษัทโดยใช้ราคาเฉลี่ยหรือราคาปกติของการขายสินค้าของบริษัทแต่ละประเภทสินค้าในปีนั้น ๆ เป็นเกณฑ์คำนวณ ต้องถือว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยประเมินสินค้าที่โจทก์อ้างว่าชำรุดเสียหายเป็นสินค้าที่โจทก์จำหน่ายไป จำเลยจึงมีอำนาจประเมินเช่นนั้นได้โดยชอบ
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยประเมินภาษีการค้าของโจทก์โดยไม่ชอบอย่างไร ฟ้องโจทก์คัดค้านเฉพาะการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น ทั้งโจทก์มิได้คัดค้านในเรื่องการประเมินภาษีการค้าต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใด เพียงแต่ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับสำหรับภาษีการค้าโดยโจทก์ยอมรับว่าโจทก์เข้าใจข้อกฎหมายคลาดเคลื่อน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์เกี่ยวกับภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินค่าดอกเบี้ยตามราคาตลาดจากธุรกรรมภายในห้างหุ้นส่วน
โจทก์เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มี อ.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งมีหน้าที่ต้องระมัดระวังจัดการงานของห้างหุ้นส่วนให้ดำเนินไปด้วยดี และต้องเป็นผู้เสียสละอีกด้วย การที่ อ.ได้ค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนเพื่อจะได้เงินมาดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วน เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ของหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งแม้จะเห็นได้ว่าเป็นการช่วยเหลือโจทก์ก็ตาม แต่โจทก์จะตอบแทน อ.ด้วยการกู้ยืมเงินจากผู้อื่นหรือเอาเงินของโจทก์ที่มีอยู่มาให้ อ. กู้ยืม โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำมากในขณะที่โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าให้แก่เจ้าหนี้ ย่อมเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุอันสมควรเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าดอกเบี้ยนั้นตามราคาตลาดในวันที่ให้กู้ยืมเงินได้ตามมาตรา65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2187/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาขายสุราตามราคาตลาดเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจตามกฎหมาย
โจทก์เป็นเอเยนต์จำหน่ายสุราขาวและสุราผสมในเขตจังหวัดสมุทรปราการ และเป็นผู้ขายส่งสุราแม่โขงและสุรากวางทองในเขตจังหวัดนั้นด้วย การที่โจทก์อ้างว่าได้ขายสุราแม่โขงและสุรากวางทองให้แก่บริษัท ป. ซึ่งเป็นตัวแทนช่วงอีกทอดหนึ่งของโจทก์ไปในราคาเท่าทุน เพราะโจทก์ไม่ได้ไปตั้งร้านค้าในเขตจังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อจูงใจให้บริษัท ป. ซื้อสุราขาวและสุราผสมของโจทก์ในราคาขายปลีกนั้น ก็เพื่อผลประโยชน์ของโจทก์ที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตั้งร้านค้าเท่ากับเป็นกำไรส่วนหนึ่งของโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นเอเยนต์สุราขาวและสุราผสมในเขตจังหวัดสมุทรปราการแล้วอื่นก็ไม่สามารถนำสุราขาวและสุราผสมมาจำหน่ายในเขตจังหวัดนั้นได้ จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่โจทก์จะจำหน่ายสุราแม่โขงและสุรากวางทองแก่บริษัท ป. ไปในราคาเท่าทุนราคาดังกล่าวจึงมิใช่เป็นราคาตลาดและเป็นการขายไปในราคาต่ำ โดยไม่มีเหตุอันสมควร เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงค่าภาษีหรือชำระค่าภาษีให้น้อยลง เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินราคาขายสุราแม่โขงและสุรากวางทองตามราคาตลาดตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ (4) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796-3797/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าใช้จ่ายบดครั่งและการขายหุ้นต่ำกว่าราคาตลาด: การพิจารณาค่าใช้จ่ายทางภาษีและการมีเหตุอันสมควร
โจทก์มีความผูกพันที่จะต้องออกเงินช่วยค่าบดครั่ง ด้วย ดังนั้น รายการค่าใช้จ่ายส่วนนี้ จึงมิใช่เป็นการให้อันมีสัญญาเป็นการส่วนตัวหรือเป็นการให้โดยเสน่หา ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3) โจทก์จึงนำมาคิดหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
แม้โจทก์จะโอนขายหุ้นที่ตนเป็นเจ้าของต่ำกว่าราคาตลาดแต่จำนวนหุ้นที่ขายมีเป็นจำนวนมาก และผู้ซื้อหุ้นของโจทก์ก็เป็นบริษัทที่โจทก์เองเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ด้วยแล้ว จึงเป็นการขายที่มีเหตุอันสมควรยิ่งกว่าขายให้กับผู้อื่นที่ไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796-3797/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าใช้จ่ายบดครั่งและการขายหุ้นต่ำกว่าราคาตลาด: การหักค่าใช้จ่ายทางภาษีและการมีเหตุอันสมควร
โจทก์มีความผูกพันที่จะต้องออกเงินช่วยค่าบดครั่ง ด้วยดังนั้น รายการค่าใช้จ่ายส่วนนี้ จึงมิใช่เป็นการให้อันมีสัญญาเป็นการส่วนตัวหรือเป็นการให้โดยเสน่หา ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (3) โจทก์จึงนำมาคิดหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
แม้โจทก์จะโอนขายหุ้นที่ตนเป็นเจ้าของต่ำกว่าราคาตลาดแต่จำนวนหุ้นที่ขายมีเป็นจำนวนมาก และผู้ซื้อหุ้นของโจทก์ก็เป็นบริษัทที่โจทก์เองเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ด้วยแล้ว จึงเป็นการขายที่มีเหตุอันสมควรยิ่งกว่าขายให้กับผู้อื่นที่ไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยใช้ราคาขายส่งที่สมเหตุสมผล แม้ไม่มีนิยามราคาตลาดที่ชัดเจนในกฎหมาย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18)พ.ศ.2504 มาตรา 9 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 77 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดกรณีพิพาทเรื่องนี้ ไม่มีบทนิยามคำว่า 'ราคาตลาด' ของรถยนต์ให้มีความหมายโดยเฉพาะดั่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2508มาตรา 6 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 77 ขึ้นใหม่ โดยให้ถือตามราคาขายปลีก จึงย่อมเป็นที่เข้าใจกันว่าราคาตลาดของรถยนต์หมายถึงราคาของรถยนต์ชนิด ขนาด สภาพคุณภาพ เหมือนกับที่ซื้อขายกันเป็นปกติในท้องตลาดทั่วๆไป ซึ่งอาจมีทั้งราคาขายส่งและราคาขายปลีก
โจทก์เป็นผู้ผูกขาดในการสั่งรถยนต์ยี่ห้อหนึ่งเข้ามาและในการประกอบรถยนต์ยี่ห้อดังกล่าวในประเทศไทยโดยผู้ผลิตรถยนต์ยี่ห้อนี้ในต่างประเทศกำหนดให้โจทก์ต้องขายรถยนต์แก่บริษัท ก. ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายอยู่ก่อนแต่ผู้เดียว จะขายส่งหรือขายปลีกแก่ผู้อื่นไม่ได้และโจทก์ต้องคิดราคารถที่ขายแก่บริษัท ก. ตามราคาที่ บริษัทผู้ผลิตในต่างประเทศกำหนดมา ด้วยเหตุนี้โจทก์จึงต้องขายส่งรถยนต์ให้แก่บริษัท ก. ในราคาเกือบเท่าต้นทุนและราคาที่โจทก์ขายส่งกับราคาที่บริษัท ก. ขายปลีกจึงแตกต่างกันมาก การที่โจทก์นำเอาราคารถยนต์ที่โจทก์ขายส่งแก่บริษัทก. มาเป็นรายรับคำนวณเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้จึงชอบแล้ว เจ้าพนักงานประเมินจะถือเอาราคาที่บริษัท ก. ขายปลีกมาเป็นราคาตลาดแล้วกำหนดราคาขายและรายรับของโจทก์ขึ้นใหม่ แล้วประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นจากโจทก์หาได้ไม่
of 4