คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 65 ตรี (13)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3545/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนรวมกันได้ หากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมขาดทุน
กำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล คือกำไรสุทธิที่คำนวณจากรายได้รายจ่ายจากทุกกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นๆ มิใช่แยกคำนวณเป็นรายกิจการไปและไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดบังคับให้ต้องคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนกับไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนแยกกัน ดังนั้น รายจ่ายของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจึงไม่เป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ อันต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (13) มาตรา 31 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ. 2520 บัญญัติว่า ในกรณีที่ประกอบกิจการขาดทุนในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับการส่งเสริมจะได้รับอนุญาตให้นำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลานั้นไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปีก็ได้ บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเพียงให้สิทธิแก่ผู้ได้รับการส่งเสริมที่จะได้รับอนุญาตเท่านั้น แต่หาตัดสิทธิผู้ได้รับการส่งเสริมที่จะคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิรวมกันโดยไม่นำผลขาดทุนไปหักออกจากกำไรสุทธิในปีหลังตามบทบัญญัติดังกล่าวอีกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2951/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายที่ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้: ค่าเดินทางส่วนตัว, ค่ารับรองไม่มีหลักฐาน, ค่าของขวัญ และโบนัสจากกำไร
รายจ่ายค่าเดินทางของกรรมการผู้จัดการบริษัท ซึ่งใช้จ่ายในการเดินทางไปในเรื่องส่วนตัวของกรรมการผู้นั้น มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ บริษัทย่อมไม่มีสิทธินำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65ตรี (3)(13) รายจ่ายค่ารับรองซึ่งไม่ปรากฏว่าจ่ายเพื่อรับรองผู้ใดและจ่ายในกิจการใด ถือเป็นรายจ่ายในเรื่องส่วนตัว และรายจ่ายค่าของขวัญไม่ใช่เป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ และมิใช่จ่ายเพื่อเป็นค่ารับรองแต่เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือการให้โดยเสน่หารายจ่ายดังกล่าวไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65ตรี (3) เงินโบนัสของบริษัทที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทไม่มีสิทธินำค่าโบนัสดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม มาตรา65ตรี (19)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้: ค่าตอบแทนที่ไม่เป็นสัญญา, ค่าใช้จ่ายส่วนตัว และค่ารับรองที่ไม่สมควร
โจทก์ประกอบกิจการผูกขาดการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์โดยรับมอบหมายจากเทศบาลนครกรุงเทพ โจทก์ตกลงกับเจ้าหน้าที่ของเทศบาลว่าจะจ่ายค่าตอบแทนให้ แต่ไม่ได้ทำเป็นหนังสือสัญญาไว้ จำนวนเงินและกำหนดเวลาที่จะจ่ายก็ไม่แน่นอน โจทก์ตั้งเงินค่าตอบแทนไว้ในบัญชีเป็นเงินค้างจ่ายให้แก่เทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรีเมื่อถูกทวงถามให้ชำระ โจทก์มีหนังสือตอบไปว่า ยังไม่อาจจ่ายให้ได้เนื่องจากผลการขาดทุนเมื่อมีฐานะการเงินมั่นคงขึ้นก็จะจ่ายให้ต่อไป อันเป็นการผัดชำระหนี้โดยไม่มีกำหนดเวลาและเทศบาลทั้งสองแห่งก็ไม่ได้ดำเนินการบังคับเอาชำระหนี้แต่อย่างใดอีก แสดงว่าโจทก์จะจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าวให้หรือไม่สุดแล้วแต่ใจของโจทก์ฝ่ายเดียว เงินค่าตอบแทน ดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองและเป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (9)(13)
ค่าใช้จ่ายของโจทก์ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นการจ่ายตามประเพณีนิยมของการดำเนินกิจการค้านั้น ปรากฏว่าส่วนใหญ่เป็นการให้ของขวัญ ของชำร่วย จัดช่วยเหลือในงานเลี้ยง อันมีจุดประสงค์ในการจ่ายเพื่อประโยชน์บุคคลบางคน ไม่ได้จ่ายเพื่อประโยชน์ในการค้าโดยเฉพาะ โจทก์ทำการค้าตามนโยบายของรัฐบาล ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องอาศัยบารมีหรืออิทธิพลของบุคคลอื่นใด จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3)
เงินค่ารับรองซึ่งโจทก์อ้างว่าไม่เกินสมควรเพราะไม่ถึงร้อยละหนึ่งของรายได้โจทก์นั้น ปรากฏว่าโจทก์จ่ายเงินแก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงมหาดไทย ตำรวจ ทหาร และบุคคลต่าง ๆ เป็นจำนวนมากโดยไม่ปรากฏว่าบุคคลที่รับเงินไปปฏิบัติหน้าที่หรือกระทำการใดให้โจทก์ จึงเป็นค่ารับรองที่เกินสมควร ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายทางภาษี: กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่าใช้จ่ายสำนักงานต่างประเทศ และเงินทดรองการเฝ้าเรือ
เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างจะได้รับยกเว้นให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(2) จะต้องเป็นค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายแก่ลูกจ้างโดยเด็ดขาดเท่านั้นเงินที่โจทก์จ่ายเข้าสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างโจทก์ทุกเดือนลูกจ้างโจทก์จะได้รับก็ต่อเมื่อออกจากงานโดยไม่ผิดระเบียบเท่านั้นจึงถือไม่ได้ว่าขณะโจทก์จ่ายเงินเข้าสมทบกองทุนเป็นค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างโดยเด็ดขาดแล้วเพราะเมื่อลูกจ้างไม่ออกจากงานก็ยังไม่มีโอกาสได้รับ ทั้งในกรณีที่ออกผิดระเบียบเงินส่วนที่โจทก์จ่ายสมทบลูกจ้างจะไม่ได้รับแต่จะกลับคืนมาเป็นของโจทก์อีก กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(2) จึงต้องถือว่าเป็นเงินกองทุนที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
เงินที่โจทก์ส่งไปชำระให้สำนักงานใหญ่และสาขาในต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเช่าที่ทำการ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเครื่องเขียนเครื่องใช้ ค่าสึกหรอเครื่องมือเครื่องใช้และอื่น ๆ ตามที่โจทก์นำสืบ ล้วนแต่มีลักษณะเป็นรายจ่ายโดยเฉพาะของสำนักงานเหล่านั้นทั้งสิ้นแม้สำนักงานเหล่านั้นจะจ่ายโจทก์ในการติดต่อผู้จำหน่ายสินค้าช่วยส่งเงินเมื่อมีผู้ชำระมาให้โจทก์ ช่วยหากิจการ และโจทก์สาขากรุงเทพฯ ต้องดำเนินงานตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ก็ตาม ไม่ถือว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโจทก์จึงจะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้ เพราะเป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(14)
โจทก์เป็นตัวแทนบริษัทเรือที่กรุงเทพฯ เมื่อเรือมาถึงโจทก์จะจ้างบริษัทรับจ้างเฝ้าเรือ โดยจ่ายค่าจ้างไปก่อน บริษัทเรือจะส่งเงินที่โจทก์จ่ายไปนั้นคืนให้โจทก์เป็นการจ่ายมีลักษณะเป็นเงินทดรอง หาใช่รายจ่ายของโจทก์เพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ไม่ โจทก์จึงจะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้เพราะเป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(13)
เงินจำนวนที่โจทก์ส่งไปยังสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาในต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของสำนักงานดังกล่าวซึ่งต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเงินจำนวนนี้จึงเป็นรายได้ซึ่งจะต้องนำกลับเข้ามารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงต้องถือว่าโจทก์ได้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยฉะนั้นโจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิอีกส่วนหนึ่ง
เงินเพิ่มกรณีที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทยประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ทวิ บัญญัติให้ผู้จำหน่ายต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันจำหน่ายเมื่อโจทก์ไม่เสียภายในกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีที่ต้องเสียตามประมวลรัษฎากรมาตรา 27 เงินเพิ่มนี้กำหนดไว้แน่นอนมิได้บัญญัติว่าเป็นข้อยกเว้นให้งดเก็บเสียได้และจะลดได้ก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 27(1)(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงของผู้ฟ้องคดีในคดีภาษีอากร หากไม่นำสืบย่อมแพ้คดี
โจทก์ฟ้องกรมสรรพากรกับพวกเป็นจำเลย อ้างว่าการที่โจทก์จ่ายเงินค่าจ้างหรือค่าป่วยการให้แก่ ป. เป็นการจ่ายเพื่อหากำไรมาให้โจทก์และโจทก์ได้จ่ายให้ ป. รับไปเป็นคราว ๆ มิใช่จ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับเงินที่ได้จ่ายไปนี้ ขอให้ศาลเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และให้จำเลยคืนเงินค่าภาษี จำเลยให้การปฏิเสธข้ออ้างตามฟ้องทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงว่าเป็นดังที่โจทก์อ้างเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่า โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีในเงินดังกล่าวจะถูกต้องหรือไม่ ถ้าโจทก์ไม่นำสืบก็ต้องแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบในคดีภาษี: การจ่ายค่าป่วยการและข้อยกเว้นรายจ่ายตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องกรมสรรพากรกับพวกเป็นจำเลย อ้างว่าการที่โจทก์จ่ายเงินค่าจ้างหรือค่าป่วยการให้แก่ ป. เป็นการจ่ายเพื่อหากำไรมาให้โจทก์และโจทก์ได้จ่ายให้ ป. รับไปเป็นคราว ๆ มิใช่จ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับเงินที่ได้จ่ายไปนี้ ขอให้ศาลเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และให้จำเลยคืนเงินค่าภาษี จำเลยให้การปฏิเสธข้ออ้างตามฟ้องทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงว่าเป็นดังที่โจทก์อ้างเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่า โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีในเงินดังกล่าวจะถูกต้องหรือไม่ ถ้าโจทก์ไม่นำสืบก็ต้องแพ้คดี
of 2