พบผลลัพธ์ทั้งหมด 90 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4146/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วิ่งราวทรัพย์: จำเลยทราบธุรกิจเป็นหุ้นส่วน แต่หลอกซื้อแล้วไม่จ่ายเงิน ถือความผิดสำเร็จ
จำเลยเข้าไปที่ร้านโดนัทที่เกิดเหตุแล้วบอก ส. พนักงานขายว่า "โดนัทที่เหลืออยู่ขอเหมาหมด" เมื่อ ส. นำโดนัทบรรจุใส่กล่องและนำกล่องใส่ถุงพลาสติก และคิดเงินว่าจำนวน 1,440 บาท จำเลยพูดว่า "ทำไมต้องจ่าย เพราะเป็นหุ้นส่วนบริษัท หนูรู้มั้ยว่าพี่เป็นใคร ถ้าไม่รู้ให้โทรไปถาม อ. บอกเค้าว่า น้องชายเค้าที่เป็นเจ้าของตัวจริงจะเอาไปทานบ้าง อีกไม่กี่วันร้านก็ปิดไม่ใช่เหรอ" และหยิบเอาขนมโดนัทเดินออกจากร้านที่เกิดเหตุ เมื่อจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่า ธุรกิจโดนัทที่ร้านเกิดเหตุเป็นธุรกิจในรูปหุ้นส่วน อ. เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งที่ย่อมรับผิดชอบในผลกำไรขาดทุน และทราบว่า อ. เป็นผู้บริหารธุรกิจขายโดนัทจนห้ามมิให้ ท. ที่เป็นน้องชายของจำเลยมายุ่งได้ เงินลงทุนของครอบครัวจำเลยที่ร้านเกิดเหตุหมดไปแล้ว และเป็นภาระหนี้สินที่ ส. และ ล. บิดามารดาจำเลยต้องไปดำเนินการเอากับ อ. ต่างหาก ดังนั้น พฤติการณ์ของจำเลยลักษณะหลอกว่าจะเหมาขนมโดนัททั้งหมดและเอาขนมโดนัทไปโดยจงใจไม่จ่ายเงินย่อมทำให้ ส. พนักงานขาย ต้องรับผิดในราคาขนมโดนัทดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยทุจริตอันเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์แล้ว ส่วนการที่จำเลยยังถือถุงขนมโดนัทอยู่ภายในศูนย์การค้าด้วยท่าทางการเดินเป็นปกติ ไม่มีลักษณะท่าทางกำลังวิ่งหลบหนี ทั้ง ส. ไม่ได้เรียกพนักงานรักษาความปลอดภัยให้ตามจำเลยมาจ่ายเงิน หาทำให้ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ที่สำเร็จแล้วไม่เป็นความผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7868/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแย่งทรัพย์สินคืนหลังมอบให้ในงานแต่งถือเป็นการลักทรัพย์ ฉกฉวยเอาซึ่งหน้า
การที่จำเลยซึ่งเป็นมารดาของ ช. เจ้าบ่าว หยิบสร้อยคอทองคำและสร้อยข้อมือทองคำทรัพย์ตามฟ้องที่วางอยู่บนโต๊ะของร้านทองไป ไม่ว่าทรัพย์ตามฟ้องจะถือเป็นสินสอดหรือของหมั้นหรือไม่ก็ตาม แต่ฝ่ายจำเลยก็ส่งมอบทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ฝ่ายโจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาของ น. เจ้าสาว ยึดถือครอบครองอันเป็นการยกให้ในวันพิธีมงคลสมรสแล้ว จำเลยจึงไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ดังกล่าว หากจำเลยเห็นว่าฝ่ายโจทก์ร่วมไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงอย่างไร จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องคดีทางแพ่งเพื่อเรียกทรัพย์คืน หามีสิทธิฉกฉวยเอาทรัพย์มาโดยพลการไม่ การกระทำของจำเลยเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าอันเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3356/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษตามฟ้อง: โจทก์ไม่สามารถฎีกาขอลงโทษฐานอื่นนอกเหนือจากที่ศาลอุทธรณ์ตัดสินได้ แม้ต่างจากศาลชั้นต้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันวิ่งราวทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะหรือร่วมกันรับของโจร ย่อมแสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ศาลพิจารณาพิพากษาลงโทษฐานใดฐานหนึ่งตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในชั้นพิจารณา ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานใดฐานหนึ่งเท่านั้น และเมื่อลงโทษฐานใดแล้วต้องถือว่าเป็นการลงโทษตามฟ้องแล้ว คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันรับของโจร แม้จะแตกต่างจากศาลชั้นต้นก็ตาม กรณีถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 4 ลงโทษจำเลยทั้งสองตามฟ้องแล้ว โจทก์ไม่ชอบที่จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันวิ่งราวทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะได้อีก ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ที่ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันวิ่งราวทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะมานั้น เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1667/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวิ่งราวทรัพย์ทำให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บและการริบยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายขับอยู่ล้มลง ผู้เสียหายรับบาดเจ็บที่แขน ขาและตามร่างกาย แต่มิได้กล่าวว่าการที่ผู้เสียหายรับบาดเจ็บดังกล่าว เป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ตาม ป.อ. มาตรา 336 วรรคสอง จึงไม่ถูกต้อง คงลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 336 วรรคแรก ซึ่งมีระวางโทษเบากว่าในวรรคสอง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 ไม่ฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองและปรับบทให้ถูกต้องได้ ทั้งมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10976/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วิ่งราวทรัพย์ vs. ลักทรัพย์: การฉกฉวยทรัพย์โดยผู้เสียหายรู้สึกตัวเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์เป็นการลักทรัพย์โดยการฉกฉวยเอาซึ่งหน้า หมายถึง กิริยาที่หยิบหรือจับเอาทรัพย์ไปโดยเร็วรวมเป็นการกระทำอันเดียวกับการเอาไป และขณะที่ถูกเอาทรัพย์ไปผู้นั้นรู้สึกตัวหรือเห็นการฉกฉวยเอาทรัพย์นั้นไปด้วย การที่จำเลยดึงเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่จากกระเป๋ากางเกงของเด็กหญิง บ. แล้วเด็กหญิง บ. รู้สึกถึงการถูกดึงจึงใช้มือจับจนถูกมือของจำเลย จึงอยู่ในความหมายของการลักทรัพย์โดยการฉกฉวยเอาซึ่งหน้าอันเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตามฟ้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7650/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วิ่งราวทรัพย์สำเร็จ แม้กระเป๋าหล่นจากรถล้ม ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการกระชากกระเป๋าจนหลุดจากตัวผู้เสียหายถือเป็นความผิดสำเร็จ
ผู้เสียหายซึ่งนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ถูกกระชากกระเป๋าจนสายสะพายหลุดจากไหล่ผู้เสียหาย เป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์ล้มและศีรษะผู้เสียหายกระแทกพื้นถนนสลบไป ส่วนกระเป๋าหลุดติดมือ ว. ไปหล่นบนถนนห่างจากจุดเดิมประมาณ 5 เมตร แสดงว่า ว. กระชากกระเป๋าสะพายของผู้เสียหายหลุดจากตัวผู้เสียหายมาอยู่ในความครอบครองของ ว. แล้ว แต่เนื่องจากรถจักรยานยนต์ของจำเลยซึ่ง ว. นั่งซ้อนท้ายมาเสียหลักล้มลงด้วยจนกระเป๋าของผู้เสียหายหล่นลงไปที่พื้นถนนห่างจากจุดเดิมถึง 5 เมตร จึงต้องถือว่าการวิ่งราวทรัพย์เอากระเป๋าสะพายของผู้เสียหายไปจากความครอบครองของผู้เสียหายเป็นความผิดสำเร็จแล้ว หาใช่เป็นเพียงขั้นพยายามวิ่งราวทรัพย์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทความผิดและบทลงโทษในคดีลักทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย และกรรโชกทรัพย์ ศาลจำกัดการเพิ่มโทษ
ความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือมีโทษสถานหนักกว่านั้น แม้จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องได้ต่อเมื่อพยานโจทก์ตามที่นำสืบรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดดังกล่าวจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นรับฟังว่าจำเลยกระทำความผิดและพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง จำเลยก็ยังมีสิทธิอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานของโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิด และขอให้กำหนดโทษให้เบาลงและรอการลงโทษได้กรณีมิใช่เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำรับสารภาพ หรือเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นอุทธรณ์ ซึ่งจะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยเข้าไปกระตุกสร้อยคอของผู้เสียหายที่ 1 จนหลุดออก แล้วได้ตบตีผู้เสียหายที่ 1 การกระตุกสร้อยคอกับการตบตีทำร้ายร่างกาย จึงแยกออกเป็น 2 ตอน จำเลยมิได้ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายที่ 1 เพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 (1) แต่เป็นการใช้กิริยาฉกฉวยเอาสร้อยคอและรูปสัญลักษณ์ศาสนาอิสลามทองคำของผู้เสียหายที่ 1 ไปซึ่งหน้า จึงเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 336
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยฉกฉวยเอาสร้อยคอของผู้เสียหายที่ 1 ไปซึ่งหน้า อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์และคำขอท้ายฟ้องมิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ คงลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (8) วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่ประกอบเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
จำเลยพูดขอเงินกับผู้เสียหายที่ 2 ว่า หากไม่ให้เงินจะทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 ต่อไป เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายที่ 2 ให้ยอมให้เงินจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกตาม ป.อ. มาตรา 337 (1) วรรคสอง แต่ไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ผู้เสียหายที่ 2 ตามฟ้องศาลพิพากษาลงโทษในความผิดฐานดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวและโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจึงปรับบทความผิดและบทลงโทษให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 337 (1) วรรคสอง อีกกรรมหนึ่งได้เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
จำเลยเข้าไปกระตุกสร้อยคอของผู้เสียหายที่ 1 จนหลุดออก แล้วได้ตบตีผู้เสียหายที่ 1 การกระตุกสร้อยคอกับการตบตีทำร้ายร่างกาย จึงแยกออกเป็น 2 ตอน จำเลยมิได้ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายที่ 1 เพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 (1) แต่เป็นการใช้กิริยาฉกฉวยเอาสร้อยคอและรูปสัญลักษณ์ศาสนาอิสลามทองคำของผู้เสียหายที่ 1 ไปซึ่งหน้า จึงเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 336
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยฉกฉวยเอาสร้อยคอของผู้เสียหายที่ 1 ไปซึ่งหน้า อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์และคำขอท้ายฟ้องมิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ คงลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (8) วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่ประกอบเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
จำเลยพูดขอเงินกับผู้เสียหายที่ 2 ว่า หากไม่ให้เงินจะทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 ต่อไป เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายที่ 2 ให้ยอมให้เงินจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกตาม ป.อ. มาตรา 337 (1) วรรคสอง แต่ไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ผู้เสียหายที่ 2 ตามฟ้องศาลพิพากษาลงโทษในความผิดฐานดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวและโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจึงปรับบทความผิดและบทลงโทษให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 337 (1) วรรคสอง อีกกรรมหนึ่งได้เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้ไม่มีเจตนาวิ่งราวทรัพย์ แต่การโยนโทรศัพท์ทำเสียหายถือเป็นพยายามทำให้เสียทรัพย์ ศาลลงโทษได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ แต่พยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่า จำเลยเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายไปโดยเจตนาทุจริตคงได้ความว่าจำเลยเอาโทรศัพท์ผู้เสียหายไปเพราะอารมณ์โกรธที่มีผู้ชายโทรศัพท์มาหาผู้เสียหาย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์แต่การที่จำเลยโยนโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายลงไปที่ชานพักบันได จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่า โทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายอาจจะเกิดความเสียหายได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายได้รับความเสียหายอย่างไร การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามทำให้เสียทรัพย์ แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ก็ตาม แต่ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ก็มีความผิดฐานลักทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์รวมอยู่ด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรค 3 การต่างกันระหว่างการกระทำผิดฐานลักทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์ มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ และมิถือว่าเป็นเรื่องเกินคำขอหรือโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยหลงต่อสู้ ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานพยายามทำให้เสียทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความ ตามป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13464/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานปล้นทรัพย์ vs. พยายามวิ่งราวทรัพย์ และการลงโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
จำเลยพยายามแย่งเอาเงินจากผู้เสียหายไปซึ่งหน้า จำเลยมีความผิดฐานพยายามวิ่งราวทรัพย์ แต่โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาปล้นทรัพย์ โดยไม่ได้บรรยายฟ้องว่าฉกฉวยซึ่งหน้า แสดงว่าไม่ประสงค์ให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ แต่ความผิดฐานนี้รวมความผิดฐานลักทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดที่รวมอยู่ในความผิดฐานปล้นทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องมาด้วยแล้ว ดังนั้น ศาลสามารถลงโทษจำเลยฐานพยายามลักทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5441/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดพยายามวิ่งราวทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ การคำนวณโทษตามมาตรา 80 และการพิจารณาอัตราโทษสูงสุด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยทั้งสองเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งไม่รับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งจำเลยทั้งสองอาจฎีกาเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นนั้นต่อศาลฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 224 แต่ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อดังกล่าวให้จำเลยทราบ จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนและให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาจำเลยทั้งสองชอบแล้ว ศาลฎีกาไม่จำเป็นต้องสั่งให้ส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อแจ้งคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อดังกล่าวให้จำเลยทั้งสองทราบแต่อย่างใด
ป.อ. มาตรา 80 วรรคสอง บัญญัติว่า "ผู้ใดพยายามกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น" หมายถึง การกำหนดโทษที่จะลงโดยคำนวณโทษจากสองในสามของอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด หาใช่ต้องระวางโทษที่จะลงแก่จำเลยทั้งสองก่อนและกำหนดโทษสำหรับความผิดของจำเลยทั้งสองแล้วจึงลดโทษให้แก่จำเลยทั้งสองดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานพยายามวิ่งราวทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ ตาม ป.อ. มาตรา 336 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 80, 336 ทวิ ซึ่งผู้กระทำผิดตามมาตรา 336 ทวิ ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่ง เมื่อมาตรา 336 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี อัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 336 ทวิ คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี 6 เดือน เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการพยายามกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดดังกล่าว จึงเป็นจำคุกไม่เกิน 5 ปี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลงโทษจำคุกจำเลยคนละ 4 ปี จึงไม่เกินอัตราโทษสูงสุดดังกล่าว
ป.อ. มาตรา 80 วรรคสอง บัญญัติว่า "ผู้ใดพยายามกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น" หมายถึง การกำหนดโทษที่จะลงโดยคำนวณโทษจากสองในสามของอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด หาใช่ต้องระวางโทษที่จะลงแก่จำเลยทั้งสองก่อนและกำหนดโทษสำหรับความผิดของจำเลยทั้งสองแล้วจึงลดโทษให้แก่จำเลยทั้งสองดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานพยายามวิ่งราวทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ ตาม ป.อ. มาตรา 336 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 80, 336 ทวิ ซึ่งผู้กระทำผิดตามมาตรา 336 ทวิ ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่ง เมื่อมาตรา 336 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี อัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 336 ทวิ คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี 6 เดือน เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการพยายามกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดดังกล่าว จึงเป็นจำคุกไม่เกิน 5 ปี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลงโทษจำคุกจำเลยคนละ 4 ปี จึงไม่เกินอัตราโทษสูงสุดดังกล่าว