พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4247/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแฟ็กเตอริงเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. การบอกกล่าวไม่ทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะ
สัญญาแฟ็กเตอริง ข้อ 8 ระบุว่าการเก็บเงินจากลูกหนี้ จำเลยที่ 1 จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเรียกเก็บเงินและออกใบเสร็จรับเงินแก่ลูกหนี้ในหนี้ที่จำเลยที่ 1 ขายแก่โจทก์แล้ว หากลูกหนี้นำเงินมาชำระแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องนำมามอบแก่โจทก์ แสดงว่า เมื่อจำเลยที่ 1 นำหนี้รายใดมาขายแก่โจทก์แล้ว โจทก์ผู้เดียวมีอำนาจในการดำเนินการเพื่อให้ได้รับชำระหนี้และรับชำระหนี้ สัญญาดังกล่าวถือเป็นสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 ส่วนข้อตกลงว่า หากจำเป็นโจทก์มีสิทธิใช้ชื่อจำเลยที่ 1 ในการฟ้องคดี ก็เป็นเพียงวิธีการเพื่อให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในหนี้ที่รับซื้อไว้ ส่วนการบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องมีผลเพียงว่าหากยังไม่บอกกล่าวไปยังลูกหนี้ โจทก์ไม่สามารถยกเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้ตามมาตรา 306 วรรคหนึ่ง เท่านั้น มิได้ทำให้สัญญาดังกล่าวไม่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2618/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิและหนี้, การแปลงหนี้, และอายุความฟ้องร้องคดีสัญญาซื้อขาย
คดีล้มละลายเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว ประเด็นมีว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เป็นคนละประเด็นกับคดีนี้ที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ในมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขาย จึงไม่ใช่เรื่องเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง ไม่เป็นฟ้องซ้อน
ข้อตกลงตามสัญญาซื้อขายดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 โอนสิทธิและหน้าที่ในการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายที่มีอยู่แก่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 มิใช่เป็นแต่เพียงโอนสิทธิเรียกร้องแก่โจทก์ให้จำเลยที่ 2 เท่านั้น กรณีมิใช่เรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 306 มาใช้บังคับได้ แต่การที่โจทก์กับจำเลยที่ 2 ได้ทำข้อตกลงกันต่อมาว่า โจทก์กับจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายดินกันซึ่งเป็นดินแปลงเดียวกับที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายจากโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้ขุดดินของโจทก์ไปครบแล้ว จำเลยที่ 2 ยังชำระค่าดินให้แก่โจทก์ไม่ครบ ถือได้ว่าเป็นสัญญาระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้คนใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามมาตรา 350 ซึ่งทำให้หนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นอันระงับสิ้นไปตามมาตรา 349 แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาซื้อขายดิน
ข้อตกลงตามสัญญาซื้อขายดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 โอนสิทธิและหน้าที่ในการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายที่มีอยู่แก่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 มิใช่เป็นแต่เพียงโอนสิทธิเรียกร้องแก่โจทก์ให้จำเลยที่ 2 เท่านั้น กรณีมิใช่เรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 306 มาใช้บังคับได้ แต่การที่โจทก์กับจำเลยที่ 2 ได้ทำข้อตกลงกันต่อมาว่า โจทก์กับจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายดินกันซึ่งเป็นดินแปลงเดียวกับที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายจากโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้ขุดดินของโจทก์ไปครบแล้ว จำเลยที่ 2 ยังชำระค่าดินให้แก่โจทก์ไม่ครบ ถือได้ว่าเป็นสัญญาระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้คนใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามมาตรา 350 ซึ่งทำให้หนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นอันระงับสิ้นไปตามมาตรา 349 แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาซื้อขายดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7105/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบสั่งจ่ายสินค้าปุ๋ย: สิทธิของผู้รับโอนโดยสุจริต และหน้าที่ของผู้ออกปุ๋ยตามประเพณีค้าขาย
ตามปกติของการซื้อขายปุ๋ยของจำเลยที่ 1 เมื่อมีผู้นำใบสั่งจ่ายสินค้ามาขอรับปุ๋ยจำเลยที่ 1 จะส่งมอบปุ๋ยให้โดยมิต้องตรวจสอบว่าผู้นำใบสั่งจ่ายสินค้ามาขอรับปุ๋ยเป็นใคร มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 หรือไม่ ทั้งด้านหลังของใบสั่งจ่ายสินค้ามีข้อความคำเตือน 3 ข้อ โดยข้อหนึ่งระบุว่าต้องให้ผู้โอนลงลายมือชื่อรับรองและด้านล่างมีช่องให้ผู้โอนลงลายมือชื่อด้วย แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และลูกค้าที่มาซื้อปุ๋ยมีข้อตกลงโดยปริยายแต่ต้นว่าผู้ซื้อสามารถโอนขายใบสั่งจ่ายสินค้าให้แก่บุคคลใดก็ได้ และจำเลยที่ 1 จะมอบปุ๋ยแก่ผู้นำใบสั่งจ่ายสินค้ามาแสดง ใบสั่งจ่ายสินค้าจึงเป็นเอกสารที่อาศัยความไว้วางใจกันในประเพณีในวงการค้าขายปุ๋ยว่า จำเลยที่ 1 สัญญาจะส่งมอบปุ๋ยแก่ผู้นำใบสั่งจ่ายสินค้ามารับปุ๋ยจากจำเลยที่ 1 ดังนั้นโจทก์ในฐานะผู้ครอบครองตั๋วปุ๋ยหรือใบสั่งจ่ายสินค้าซึ่งซื้อปุ๋ยจากจำเลยที่ 2 จึงสามารถนำไปรับหรือเบิกปุ๋ยจากจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 1 จะยกเหตุส่วนตัวระหว่างร้าน อ. กับจำเลยที่ 2 มาปฏิเสธไม่ส่งมอบปุ๋ยแก่โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4561/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้าง: เจตนาของคู่กรณีสำคัญกว่าเอกสาร หากเจตนาคือมอบอำนาจ ไม่ใช่โอนสิทธิ ผู้รับมอบอำนาจย่อมไม่มีสิทธิในเงินนั้น
การเบิกเงินค่าจ้างจากจำเลยทุกงวดโจทก์จะมีหนังสือส่งมอบงานและขอเบิกเงินจากจำเลยแล้วบริษัท ค. จะมีหนังสือขอรับเงินจากจำเลย เป็นกรณีที่โจทก์กับบริษัท ค. ตกลงกันให้บริษัท ค. รับเงินจากจำเลยเพื่อนำมาชำระหนี้ที่โจทก์มีอยู่ต่อบริษัท ค. ก่อน เงินส่วนที่เหลือจากการหักชำระหนี้บริษัท ค. ต้องคืนให้โจทก์ หรืออีกนัยหนึ่งเงินส่วนที่เหลือยังเป็นของโจทก์อยู่ แม้ตามหนังสือขอรับเงินจะใช้ข้อความว่าโจทก์โอนสิทธิรับเงินค่าจ้างให้แก่บริษัท ค. แต่ตามเจตนาของคู่กรณีหาใช่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องกันไม่ เป็นเพียงโจทก์มอบอำนาจให้บริษัท ค. รับเงินแทนโจทก์เท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าจ้างที่ค้างชำระแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องมูลหนี้จากการปฏิรูปสถาบันการเงิน ไม่ทำให้สิทธิฟ้องคดีอาญาตามเช็คลดลง
แม้สัญญากู้เงินซึ่งเป็นมูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งสามจะรวมอยู่ในกลุ่มสินทรัพย์ของโจทก์ซึ่งถูกองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินเข้าควบคุมกิจการและได้ขายให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. ไปแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องมูลหนี้ที่ออกเช็คที่ถูกบังคับโอนตามพระราชกฤษฎีกาการปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มาตรา 27ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากมูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทแต่อย่างใดจนกว่าจะได้มีการใช้เงิน เมื่อจำเลยทั้งสามยังมิได้ชำระเงินตามสัญญากู้เงินอันเป็นมูลหนี้ที่ออกเช็คดังกล่าวมูลหนี้ตามสัญญากู้เงินยังไม่สิ้นผลผูกพัน ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์จะสามารถดำเนินกิจการและรับชำระหนี้จากลูกหนี้ได้หรือไม่คดีจึงไม่เลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องยังไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7970/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแฟ็กเตอริงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม ไม่เป็นโมฆะ
สัญญาแฟ็กเตอริงระหว่างโจทก์กับจำเลยมีสาระสำคัญว่า จำเลยตกลงขายลดหนี้ทั้งหมดของลูกหนี้ให้โจทก์ โดยโอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดให้โจทก์รวมทั้งหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ โจทก์จะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้จำเลยไปก่อน เมื่อหนี้ที่ได้รับโอนถึงกำหนดชำระ โจทก์จะดำเนินการเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ของจำเลยแทน เมื่อเรียกเก็บเงินได้ หักค่าใช้จ่ายแล้วมีเงินเหลือจะคืนให้จำเลย หากหนี้รายใดเรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์พร้อมเบี้ยปรับ ส่วนลดและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ฯลฯ สัญญาดังกล่าวเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องในการดำเนินการเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ ของจำเลยให้โจทก์ดำเนินการแทน เป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งคู่กรณีสามารถตกลงทำสัญญากันได้ ไม่เป็นการขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างไม่ทำให้ระยะเวลาอายุความเปลี่ยนแปลง ผู้รับโอนมีสิทธิใช้อายุความเดิมได้
การโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ2ลักษณะ1หมวด4นั้นเป็นการโอนสิทธิตามที่เป็นอยู่ตามสภาพเดิมให้แก่ผู้รับโอนเข้ามาเป็นเจ้าหนี้แทนมิได้มีการเปลี่ยนแปลงสิทธิและโดยปกติลูกหนี้มีข้อต่อสู้เจ้าหนี้คนเดิมอย่างไรก็ยกขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องนั้นได้ซึ่งย่อมรวมทั้งข้อต่อสู้เรื่องอายุความด้วยโดยเหตุนี้อายุความที่ลูกหนี้จะยกขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจึงต้องใช้อายุความเดียวกับที่ลูกหนี้สามารถยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้คนเดิมได้เมื่อสิทธิเรียกร้องในคดีนี้เป็นค่าจ้างตามสัญญาจ้างทำของระหว่างจำเลยกับอ.ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าการงานที่ได้ทำจึงมีอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(1)(เดิม)หรือมาตรา193/34(1)(ใหม่)นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างแต่ละงวดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา169(เดิม)หรือมาตรา193/12(ใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าจ้างหลังการโอนสิทธิเรียกร้อง: ใช้บังคับตามสัญญาเดิม
การโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 2 ลักษณะ 1 หมวด 4 นั้น เป็นการโอนสิทธิตามที่เป็นอยู่ตามสภาพเดิมให้แก่ผู้รับโอนเข้ามาเป็นเจ้าหนี้แทน มิได้มีการเปลี่ยนแปลงสิทธิ และโดยปกติลูกหนี้มีข้อต่อสู้เจ้าหนี้คนเดิมอย่างไรก็ยกขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องนั้นได้ ซึ่งย่อมรวมทั้งข้อต่อสู้เรื่องอายุความด้วย โดยเหตุนี้อายุความที่ลูกหนี้จะยกขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจึงต้องใช้อายุความเดียวกับที่ลูกหนี้สามารถยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้คนเดิมได้ เมื่อสิทธิเรียกร้องในคดีนี้เป็นค่าจ้างตามสัญญาจ้างทำของระหว่างจำเลยกับ อ.ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าการงานที่ได้ทำ จึงมีอายุความ2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(เดิม) หรือมาตรา 193/34(1)(ใหม่) นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างแต่ละงวดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169(เดิม)หรือ มาตรา 193/12(ใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้างและการละเมิดสิทธิของโจทก์
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 4 ก่อสร้างอาคาร และจำเลยที่ 4 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ โดยมีข้อความในสัญญากู้ด้วยว่า จำเลยที่ 4โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 4 โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ และโจทก์กับจำเลยที่ 4 มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งมายังจำเลยที่ 2 และที่ 3ผู้มีหน้าที่จะต้องเบิกจ่ายเงินค่าจ้าง จึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 4 ได้ปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องที่ ป.พ.พ.มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306บัญญัติไว้แล้ว สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 4 ในการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างจึงตกเป็นของโจทก์ตั้งแต่นั้น ส่วนจำเลยที่ 4 ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่จำเลยที่ 4เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ขออนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 4 และผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้จ่ายได้ จึงเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้างและการละเมิดสิทธิของโจทก์จากการจ่ายเงินให้จำเลยที่ 4
จำเลยที่1ทำสัญญาจ้างจำเลยที่4ก่อสร้างอาคารและจำเลยที่4ทำสัญญากู้เงินโจทก์โดยมีข้อความในสัญญากู้ด้วยว่าจำเลยที่4โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาให้แก่โจทก์เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่4โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์และโจทก์กับจำเลยที่4มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งมายังจำเลยที่2และที่3ผู้มีหน้าที่จะต้องเบิกจ่ายเงินค่าจ้างจึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่4ได้ปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา303วรรคหนึ่งและมาตรา306บัญญัติไว้แล้วสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่4ในการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างจึงตกเป็นของโจทก์ตั้งแต่นั้นส่วนจำเลยที่4ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวอีกต่อไปจำเลยที่1จึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่จำเลยที่4เมื่อจำเลยที่2และที่3ได้ขออนุมติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยที่4และผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้จ่ายได้จึงเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งจำเลยที1ที่2และที่3ต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์