คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 303

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้างและการชดใช้ค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิของเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 4 ก่อสร้างอาคาร และจำเลยที่ 4 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ โดยมีข้อความในสัญญากู้ด้วยว่าจำเลยที่ 4 โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 4 โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ และโจทก์กับจำเลยที่ 4 มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งมายังจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้มีหน้าที่จะต้องเบิกจ่ายเงินค่าจ้าง จึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 4 ได้ปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 บัญญัติไว้แล้ว สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 4 ในการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างจึงตกเป็นของโจทก์ตั้งแต่นั้น ส่วนจำเลยที่ 4 ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่จำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ขออนุมติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 4และผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้จ่ายได้ จึงเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งจำเลยที 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5237/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างเหมาก่อสร้าง: สิทธิเรียกร้องตกเป็นของผู้รับโอนก่อนถูกอายัด
เงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างที่องค์การสุรากรมสรรพสามิตจะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเป็นสิทธิเรียกร้องที่พึงโอนให้แก่กันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา303จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยในเงินจำนวนดังกล่าวไปยังผู้ร้องก่อนวันที่จำเลยจะทำสัญญาว่าจ้างโจทก์และก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดไปยังองค์การสุรากรมสรรพสามิตถึงสองปีเศษทั้งการโอนสิทธิเรียกร้องได้ปฏิบัติครบถ้วนและถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306แล้วสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินค่าจ้างเหมาได้ตกเป็นของผู้ร้องและขาดจากการเป็นสิทธิหรือทรัพย์สินของจำเลยแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลอายัดเงินจำนวนดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5237/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างเหมา: สิทธิตกเป็นของผู้รับโอนก่อนอายัด
เงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างที่องค์การสุรา กรมสรรพสามิตจะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเป็นสิทธิเรียกร้องที่พึงโอนให้แก่กันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 303จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยในเงินจำนวนดังกล่าวไปยังผู้ร้องก่อนวันที่จำเลยจะทำสัญญาว่าจ้างโจทก์และก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดไปยังองค์การสุรากรมสรรพสามิตถึงสองปีเศษ ทั้งการโอนสิทธิเรียกร้องได้ปฏิบัติครบถ้วนและถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 แล้ว สิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินค่าจ้างเหมาได้ตกเป็นของผู้ร้องและขาดจากการเป็นสิทธิหรือทรัพย์สินของจำเลยแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลอายัดเงินจำนวนดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายต่างตอบแทน: สิทธิของผู้รับโอนที่ดินเมื่อไม่มีการแปลงหนี้ใหม่ และนิติสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญา
สัญญาจะซื้อขายระหว่างจำเลยที่1และจำเลยที่3เป็นสัญญาต่างตอบแทนผู้จะซื้อเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ผู้จะซื้อจะโอนสิทธิของตนตามบทบัญญัติของการโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาไม่ได้ต้องทำเป็นแปลงหนี้ใหม่มีผู้จะขายเข้ามาเป็นคู่สัญญากับผู้รับโอนด้วยผู้รับโอนจึงจะมีสิทธิฟ้องบังคับผู้จะขายได้เมื่อไม่มีการแปลงหนี้ใหม่โจทก์ผู้รับโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายจากจำเลยที่1ก็ไม่อาจฟ้องบังคับจำเลยที่3ผู้จะขายได้เพราะมีมีนิติสัมพันธ์ต่อกันเมื่อโจทก์ผู้รับโอนไม่อาจฟ้องจำเลยที่3ผู้จะขายได้และจำเลยที่1ก็มิได้มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินที่จะขอจดทะเบียนโอนที่ดินได้จึงไม่อาจบังคับจำเลยที่1ให้ร่วมกับจำเลยที่3จดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจะซื้อขายต้องแปลงหนี้ใหม่ ผู้รับโอนสิทธิไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้จะขายโดยตรง จึงไม่อาจฟ้องบังคับได้
สัญญาจะซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3เป็นสัญญาต่างตอบแทน ผู้จะซื้อเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ผู้จะซื้อจะโอนสิทธิของตนตามบทบัญญัติของการโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาไม่ได้ ต้องทำเป็นแปลงหนี้ใหม่ มีผู้จะขายเข้ามาเป็นคู่สัญญากับผู้รับโอนด้วย ผู้รับโอนจึงจะมีสิทธิฟ้องบังคับผู้จะขายได้ เมื่อไม่มีการแปลงหนี้ใหม่โจทก์ผู้รับโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายจากจำเลยที่ 1ก็ไม่อาจฟ้องบังคับจำเลยที่ 3 ผู้จะขายได้เพราะไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน เมื่อโจทก์ผู้รับโอนไม่อาจฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้จะขายได้และจำเลยที่ 1 ก็มิได้มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินที่จะขอจดทะเบียนโอนที่ดินได้ จึงไม่อาจบังคับจำเลยที่ 1 ให้ร่วมกับจำเลยที่ 3 จดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการยินยอมของลูกหนี้: ผลผูกพันตามกฎหมาย
แม้ผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้โอนสิทธิเรียกร้องและจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องได้แสดงเจตนาเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา303วรรคสองแต่เมื่อผู้รับจ้างได้มีหนังสือขอให้จำเลยทำหนังสือถึงโจทก์โดยขอให้มีข้อความระบุว่า"จำเลยไม่ขัดข้องที่ผู้รับจ้างได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์"แสดงว่าจำเลยได้ยินยอมด้วยในการโอนตามมาตรา306วรรคหนึ่งการโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินระหว่างผู้รับจ้างกับโจทก์จึงมีผลผูกพันจำเลยที่จะต้องชำระเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 720/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงรับแลกเปลี่ยนตั๋วสิทธิขาดอายุความ ผลกระทบต่อหนี้และสิทธิเรียกร้อง
หนี้ที่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในคดีนี้มีมูลกรณีจากการที่ลูกหนี้เป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็คของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. ซึ่งประสบปัญหาวิกฤตขาดเงินทุนหมุนเวียน จนกระทั่งเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2528 ศาลแพ่งได้มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์บริษัทดังกล่าวเด็ดขาด ซึ่งลูกหนี้ได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็คไปขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว ต่อมาเจ้าหนี้โดยอนุมัติธนาคารแห่งประเทศไทยตกลงเข้าช่วยเหลือประชาชนผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. โดยการรับแลกเปลี่ยนตั๋วเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของเจ้าหนี้ ลูกหนี้ตกลงนำตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็คไปเปลี่ยนแก่เจ้าหนี้ โดยทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องไว้แก่เจ้าหนี้ ในวันเดียวกันเจ้าหนี้ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่ลูกหนี้เป็นจำนวนเงิน 986,000 บาท และเพื่อเป็นการตอบแทนในการที่ลูกหนี้ได้รับตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยเจ้าหนี้ ลูกหนี้ตกลงมอบสิทธิในการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าวให้แก่เจ้าหนี้ โดยมีข้อตกลงตามหนังสือสัญญาต่างตอบแทนการรับตั๋วสัญญาใช้เงินด้วยว่าในกรณีที่ลูกหนี้ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าว ให้ถือว่าตั๋วสัญญาใช้เงินที่เจ้าหนี้ออกให้เป็นการต่างตอบแทนการมอบสิทธิในการรับชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. เป็นอันยกเลิกไม่มีมูลหนี้ต่อกัน หลังจากนั้นลูกหนี้ได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินขายลดให้แก่เจ้าหนี้ในราคา 417,877.51 บาท โดยทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องแก่เจ้าหนี้ และได้รับเงินจำนวนดังกล่าวจากเจ้าหนี้ไปในวันเดียวกัน แต่ต่อมาในคดีล้มละลายหมายดังกล่าวศาลสั่งให้ลูกหนี้ได้รับชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 80,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ส่วนเช็คจำนวน 906,000 บาท ศาลไม่อนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ เพราะขาดอายุความดังนั้นตั๋วสัญญาใช้เงินที่เจ้าหนี้ออกให้แก่ลูกหนี้ในการตกลงรับแลกเปลี่ยนตั๋ว ซึ่งไม่อาจแบ่งแยกชำระได้ย่อมเป็นอันยกเลิกไม่มีมูลหนี้ต่อกัน ตามข้อตกลงตามหนังสือสัญญาต่างตอบแทนการรับตั๋วสัญญาใช้เงิน ลูกหนี้ที่ 2 ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินจากเจ้าหนี้ต่อไป จึงไม่อาจนำตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวไปทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง (ขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน) ได้ ลูกหนี้ต้องคืนเงินค่าขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 417,837.51 บาท แก่เจ้าหนี้
เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เจ้าหนี้ออกให้แก่ลูกหนี้ ตามข้อตกลงรับแลกเปลี่ยนตั๋วเป็นอันยกเลิกไม่มีมูลหนี้ต่อกันเช่นนี้ ความตกลงทั้งหลายเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อรับแลกเปลี่ยนตั๋วระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ย่อมเป็นอันยกเลิกไป รวมทั้งข้อตกลงการมอบสิทธิให้เจ้าหนี้ในการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของศาลแพ่งด้วย เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าว กรณีไม่มีเหตุให้ต้องกำหนดเงื่อนไขในการที่เจ้าหนี้จะได้ชำระหนี้ในคดีนี้ว่า หากเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าวแล้วเพียงใดให้สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ในคดีนี้ลดลงไปเพียงนั้น และเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์จะต้องไปว่ากล่าวแก่เจ้าหนี้ต่างหาก เพื่อมิให้เจ้าหนี้ไปใช้สิทธิรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายหมายเลขแดงที่ ล.274/2528 ซ้ำซ้อนกับคดีนี้ต่อไป
หนี้เงินที่ลูกหนี้ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้เกิดขึ้นเนื่องจากข้อตกลงรับแลกเปลี่ยนตั๋วเป็นอันยกเลิกไม่มีมูลหนี้ต่อกัน ลูกหนี้มีหน้าที่คืนเงินจำนวนที่รับไปจากเจ้าหนี้พร้อมดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลาที่รับไว้เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2529จนถึงวันที่ 6 พฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 100 และดอกเบี้ยในกรณีเช่นนี้ไม่ถือเป็นดอกเบี้ยค้างส่ง อันมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองโดยตัวแทนที่ไม่เปิดเผยชื่อ และผลของการโอนสิทธิไปยังผู้รับโอน
จำเลยที่ 1 กู้เงิน ส. และจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้เป็นประกัน ส.ให้ผู้คัดค้านเป็นตัวแทนออกหน้าเป็นผู้รับจำนองไว้แทน ส.ในฐานะตัวการไม่เปิดเผยชื่อย่อมมีสิทธิที่จะกลับแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาใด ๆ ซึ่งผู้คัดค้านได้ทำไว้แทนตนได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 806 เมื่อ ส.ดำเนินการให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นตัวแทนโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองลำดับหนึ่งให้แก่ผู้ร้อง ย่อมถือได้ว่าส. ตัวการได้โอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองลำดับหนึ่งนั้นให้แก่ผู้ร้องแล้ว
ส.เป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ การตั้งผู้คัดค้านเป็นตัวแทนไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องทำเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 798 วรรคหนึ่ง
การที่ผู้ร้องบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 1ภายหลังที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าสัญญาจำนองลำดับหนึ่ง ระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านเป็นโมฆะ คดีดังกล่าวผู้ร้องมิได้เข้าเป็นคู่ความด้วย คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้อง แม้ในคดีดังกล่าว ศาลฟังว่าผู้คัดค้านทำสัญญาจำนองในฐานะส่วนตัวแต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ฟังได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นตัวแทนของ ส.ซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อเมื่อ ส.กลับแสดงตนเข้ารับเอาสัญญาโดยดำเนินการให้ผู้คัดค้านโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้อง แสดงว่าผู้ร้องรับโอนสิทธิเรียกร้องจาก ส.มิใช่รับโอนจากผู้คัดค้านในฐานะส่วนตัว ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 1ภายหลังศาลมีคำพิพากษาดังกล่าวแล้วก็ตาม การโอนสิทธิเรียกร้องก็มีผลสมบูรณ์
แม้สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องจะระบุว่า ผู้โอนตกลงโอนและผู้รับโอนตกลงรับโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนอง ไม่มีข้อความระบุว่าเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีเห็นได้ว่า ส.ประสงค์จะโอนหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ตนให้ผู้ร้องเพื่อเป็นการชำระหนี้ จึงต้องถือว่าเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ที่ ส. มีต่อจำเลยที่ 1 ด้วย ซึ่งผลของการโอนย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 305 สิทธิจำนองลำดับหนึ่งอันได้จดทะเบียนไว้แล้วย่อมตกไปยังผู้ร้องผู้รับโอนด้วย กรณีเช่นนี้ไม่อาจถือว่าผู้ร้องได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหา-ริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อันอยู่ในบังคับที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ ผู้รับจำนองยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองก่อน จึงเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำนองโดยอาศัยสิทธิของเจ้าหนี้ผู้รับจำนองด้วย วิธีการพิเศษตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 289 ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้รับชำระค่าฤชาธรรมเนียมในฐานะเจ้าหนี้จำนองด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิจำนองและการบังคับคดี: สิทธิของเจ้าหนี้ผู้รับโอน vs เจ้าหนี้เดิม
จำเลยที่ 1 กู้เงิน ส. และจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้เป็นประกัน ส. ให้ผู้คัดค้านเป็นตัวแทนออกหน้าเป็นผู้รับจำนองไว้แทน ส. ในฐานะตัวการไม่เปิดเผยชื่อย่อมมีสิทธิที่จะกลับแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาใด ๆ ซึ่งผู้คัดค้านได้ทำไว้แทนตนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 806 เมื่อ ส.ดำเนินการให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นตัวแทนโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองลำดับหนึ่งให้แก่ผู้ร้อง ย่อมถือได้ว่า ส. ตัวการได้โอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองลำดับหนึ่งนั้นให้แก่ผู้ร้องแล้ว ส. เป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ การตั้งผู้คัดค้านเป็นตัวแทนไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องทำเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 798วรรคหนึ่ง การที่ผู้ร้องบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 1ภายหลังที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าสัญญาจำนองลำดับหนึ่ง ระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านเป็นโมฆะ คดีดังกล่าวผู้ร้องมิได้เข้าเป็นคู่ความด้วย คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้อง แม้ในคดีดังกล่าว ศาลฟังว่าผู้คัดค้านทำสัญญาจำนองในฐานะส่วนตัวแต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ฟังได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นตัวแทนของ ส.ซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ เมื่อ ส. กลับแสดงตนเข้ารับเอาสัญญาโดยดำเนินการให้ผู้คัดค้านโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้องแสดงว่าผู้ร้องรับโอนสิทธิเรียกร้องจาก ส. มิใช่รับโอนจากผู้คัดค้านในฐานะส่วนตัว ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 1 ภายหลังศาลมีคำพิพากษาดังกล่าวแล้วก็ตาม การโอนสิทธิเรียกร้องก็มีผลสมบูรณ์ แม้สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องจะระบุว่า ผู้โอนตกลงโอนและผู้รับโอนตกลงรับโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนอง ไม่มีข้อความระบุว่าเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีเห็นได้ว่า ส. ประสงค์จะโอนหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ตนให้ผู้ร้องเพื่อเป็นการชำระหนี้ จึงต้องถือว่าเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ที่ ส. มีต่อจำเลยที่ 1 ด้วย ซึ่งผลของการโอนย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 305สิทธิจำนองลำดับหนึ่งอันได้จดทะเบียนไว้แล้วย่อมตกไปยังผู้ร้องผู้รับโอนด้วย กรณีเช่นนี้ไม่อาจถือว่าผู้ร้องได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อันอยู่ในบังคับที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ ผู้รับจำนองยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองก่อน จึงเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำนองโดยอาศัยสิทธิของเจ้าหนี้ผู้รับจำนองด้วย วิธีการพิเศษตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้รับชำระค่าฤชาธรรมเนียมในฐานะเจ้าหนี้จำนองด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งเงินตามหมายอายัดที่ไม่ผูกมัดผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง และความเสียหายจากการชำระหนี้แก่ผู้ไม่มีสิทธิ
การที่คดีก่อนจำเลยที่ 3 ฟ้องจำเลยที่ 2 แล้วขอให้ศาลอายัดเงินที่จำเลยที่ 2 จะได้รับจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจ้างทำของไว้ก่อนพิพากษา และศาลมีคำสั่งให้อายัดตามคำขอนั้น เมื่อปรากฏว่าเงินค่าจ้างทำของเดิมเป็นสิทธิเรียกร้องของห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ทำสัญญาจ้างทำของกับจำเลยที่ 1 แต่ต่อมาได้โอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้โจทก์ไปก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งให้อายัดแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. และจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต่อจำเลยที่ 1 อีกต่อไปคำสั่งให้อายัดจึงไม่มีผลบังคับจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ปฏิเสธหรือโต้แย้งหนี้ตามคำสั่งให้อายัด แต่กลับส่งเงินไปยังศาลก็เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำดังกล่าวของตนเอง หาทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้เงินค่าจ้างทำของจากจำเลยที่ 1 ตามที่โจทก์ได้รับโอนมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. ต้องเสื่อมเสียไปแต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยดังกล่าวไม่ทำให้โจทก์เสียหายจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
of 11