พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7943/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในสัญญาซื้อขายอาคารและการซ่อมแซมความเสียหายจากการรั่วซึม โดยการประมูลราคาเพื่อหาผู้รับจ้าง
ลูกหนี้มีความผูกพันตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกับเจ้าหนี้โดยต้องรับผิดจัดทำกันซึมเพื่อป้องกันน้ำซึมจากชั้นบนอยู่แล้ว ทั้งเจ้าหนี้ไม่ได้ทำสัญญาประกันการรั่วซึมฉบับใหม่กับบริษัท ท. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก กรณีจึงมิใช่การเปลี่ยนแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ที่จะทำให้หนี้เดิมระงับ
เมื่ออาคารที่เจ้าหนี้รับมอบจากลูกหนี้มีปัญหาน้ำรั่วของดาดฟ้าชั้น 8 และตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด ข้อ 12 ลูกหนี้มีหน้าที่จะต้องทำการกันซึมพื้นที่ชั้นที่ 8 ทั้งหมดด้วยวัสดุกันซึมอย่างดีเพื่อป้องกันน้ำซึมจากสนามเทนนิส สระว่ายน้ำ น้ำฝนหรือการรั่วซึมอื่นๆ ลงมาที่ชั้นล่างของอาคารในส่วนของเจ้าหนี้ เมื่อเกิดเหตุดังกล่าวขึ้นแล้วลูกหนี้จึงต้องรับผิดชอบทำการซ่อมแซมแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้สำเร็จ หากไม่ดำเนินการเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจัดหาบุคคลภายนอกมาดำเนินการโดยเรียกค่าใช้จ่ายจากลูกหนี้ได้อันถือได้ว่าเป็นค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 และมาตรา 215 นั่นเอง แม้เจ้าหนี้จะยังมิได้ดำเนินการซ่อมแซมก็เรียกค่าใช้จ่ายจากลูกหนี้โดยยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
เมื่ออาคารที่เจ้าหนี้รับมอบจากลูกหนี้มีปัญหาน้ำรั่วของดาดฟ้าชั้น 8 และตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด ข้อ 12 ลูกหนี้มีหน้าที่จะต้องทำการกันซึมพื้นที่ชั้นที่ 8 ทั้งหมดด้วยวัสดุกันซึมอย่างดีเพื่อป้องกันน้ำซึมจากสนามเทนนิส สระว่ายน้ำ น้ำฝนหรือการรั่วซึมอื่นๆ ลงมาที่ชั้นล่างของอาคารในส่วนของเจ้าหนี้ เมื่อเกิดเหตุดังกล่าวขึ้นแล้วลูกหนี้จึงต้องรับผิดชอบทำการซ่อมแซมแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้สำเร็จ หากไม่ดำเนินการเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจัดหาบุคคลภายนอกมาดำเนินการโดยเรียกค่าใช้จ่ายจากลูกหนี้ได้อันถือได้ว่าเป็นค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 และมาตรา 215 นั่นเอง แม้เจ้าหนี้จะยังมิได้ดำเนินการซ่อมแซมก็เรียกค่าใช้จ่ายจากลูกหนี้โดยยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6031/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 จำเลยต้องผูกพันตามสัญญา แม้ไม่ได้รับเงิน
มูลหนี้เดิมที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นสัญญากู้เงินตามฟ้อง เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 จำเลยต้องผูกพันรับผิดตามสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ จะอ้างว่าจำเลยไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้เงินเพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่ได้
การนำสืบว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ เป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้ตามสัญญากู้ตามฟ้องไม่เป็นการต้องห้าม
การนำสืบว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ เป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้ตามสัญญากู้ตามฟ้องไม่เป็นการต้องห้าม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2618/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิและหนี้, การแปลงหนี้, และอายุความฟ้องร้องคดีสัญญาซื้อขาย
คดีล้มละลายเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว ประเด็นมีว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เป็นคนละประเด็นกับคดีนี้ที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ในมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขาย จึงไม่ใช่เรื่องเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง ไม่เป็นฟ้องซ้อน
ข้อตกลงตามสัญญาซื้อขายดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 โอนสิทธิและหน้าที่ในการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายที่มีอยู่แก่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 มิใช่เป็นแต่เพียงโอนสิทธิเรียกร้องแก่โจทก์ให้จำเลยที่ 2 เท่านั้น กรณีมิใช่เรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 306 มาใช้บังคับได้ แต่การที่โจทก์กับจำเลยที่ 2 ได้ทำข้อตกลงกันต่อมาว่า โจทก์กับจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายดินกันซึ่งเป็นดินแปลงเดียวกับที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายจากโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้ขุดดินของโจทก์ไปครบแล้ว จำเลยที่ 2 ยังชำระค่าดินให้แก่โจทก์ไม่ครบ ถือได้ว่าเป็นสัญญาระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้คนใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามมาตรา 350 ซึ่งทำให้หนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นอันระงับสิ้นไปตามมาตรา 349 แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาซื้อขายดิน
ข้อตกลงตามสัญญาซื้อขายดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 โอนสิทธิและหน้าที่ในการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายที่มีอยู่แก่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 มิใช่เป็นแต่เพียงโอนสิทธิเรียกร้องแก่โจทก์ให้จำเลยที่ 2 เท่านั้น กรณีมิใช่เรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 306 มาใช้บังคับได้ แต่การที่โจทก์กับจำเลยที่ 2 ได้ทำข้อตกลงกันต่อมาว่า โจทก์กับจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายดินกันซึ่งเป็นดินแปลงเดียวกับที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายจากโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้ขุดดินของโจทก์ไปครบแล้ว จำเลยที่ 2 ยังชำระค่าดินให้แก่โจทก์ไม่ครบ ถือได้ว่าเป็นสัญญาระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้คนใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามมาตรา 350 ซึ่งทำให้หนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นอันระงับสิ้นไปตามมาตรา 349 แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาซื้อขายดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2468/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก การโอนสิทธิเรียกร้อง และความรับผิดของผู้รับโอน
หนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องพร้อมบันทึกข้อตกลงชำระหนี้และการโอนสิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 1 มีไปถึงโจทก์ ระบุชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 โอนสิทธิและหน้าที่ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่มีกับโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายไปให้จำเลยที่ 2 เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ตามบันทึกข้อตกลงชำระหนี้และการโอนสิทธิเรียกร้องที่ส่งมาพร้อมหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้อง ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อ 6 ยังระบุว่า "ในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการเพื่อชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ให้รวมถึงการโอนใบอนุญาต ตลอดจนสิทธิตามข้อตกลงของสัญญาจะซื้อจะขายที่ลูกหนี้ (จำเลยที่ 1) ได้ทำสัญญาไว้กับลูกค้าตามรายละเอียดรายชื่อลูกค้ารวม 176 ราย ฯลฯ" ซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วย และจำเลยที่ 2 ยังมีหนังสือถึงลูกค้าของโครงการรวมทั้งโจทก์ยอมรับว่าจำเลยที่ 2 จะรับภาระในการดำเนินการก่อสร้างโครงการต่อจากจำเลยที่ 1 โดยตกลงที่จะพัฒนาโครงการให้แล้วเสร็จ เพื่อโอนบ้านให้แก่ลูกค้าต่อไป การที่จำเลยที่ 1 โอนโครงการทั้งโครงการเพื่อชำระหนี้ทั้งหมดของจำเลยที่ 1 พร้อมทั้งโอนสิทธิและหน้าที่ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่มีกับลูกค้าตามสัญญาจะซื้อจะขายไปให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ตกลงรับโอนมาทั้งโครงการ รวมทั้งสิทธิเรียกร้องและภาระหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 1 มีต่อโจทก์ด้วย เช่นนี้ข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกรวมอยู่ด้วย การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่คัดค้านการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ดังกล่าว และมีพฤติการณ์ว่าเข้าถือเอาประโยชน์ด้วยการทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้แล้ว กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 374 เมื่อจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับโอนโครงการมาทั้งหมดไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จนกระทั่งโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวขอให้ชำระเงินราคาที่ดินคืน จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระเงินคืนแก่โจทก์
แม้คดีนี้โจทก์จะตั้งประเด็นมาในคำฟ้องเป็นเรื่องโอนสิทธิเรียกร้องก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องมาเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงกันให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้ว จึงถือไม่ได้ว่าคำฟ้องมีประเด็นในเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกด้วย กรณีมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่งต้องทำเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 อีก
แม้คดีนี้โจทก์จะตั้งประเด็นมาในคำฟ้องเป็นเรื่องโอนสิทธิเรียกร้องก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องมาเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงกันให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้ว จึงถือไม่ได้ว่าคำฟ้องมีประเด็นในเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกด้วย กรณีมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่งต้องทำเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6005/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: การบังคับชำระหนี้เมื่อโอนทรัพย์สินแล้ว และการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับจำเลยที่ 7 ซึ่งจะเข้าเป็นลูกหนี้คนใหม่ สัญญาแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 จึงไม่เกิดขึ้น
จำเลยที่ 2 อ้างว่าที่ดินพิพาทราคาเพียงไร่ละ 200,000 บาทเท่านั้น ราคาที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายไร่ละ 900,000 บาท ไม่ใช่ราคาที่แท้จริง โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระราคาที่ดินที่เหลือเป็นจำนวนเงินถึง 13,492,500 บาท แต่สัญญาจะซื้อจะขายระบุจำนวนเงินส่วนที่เหลือและกำหนดเวลาชำระกันไว้ชัดเจนแล้ว ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นการอ้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคแรก (ข) จึงรับฟังไม่ได้
โจทก์ทั้งสองฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาท ให้ที่ดินแปลงดังกล่าวกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสอง โดยให้จำเลยกับพวกร่วมกันชำระค่าธรรมเนียมอากรแทนโจทก์ทั้งสอง หากจำเลยที่ 3 และที่ 7 ไม่ยอมไปจดทะเบียนให้โจทก์ทั้งสองให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนา ให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันชำระค่าเสียหายเป็นเงิน 9,191,764 บาท พร้อมดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ หากจำเลยที่ 3 และที่ 7 ไม่สามารถไปจดทะเบียนโอนที่ดินกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสองได้ ให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระราคาที่ดินแทนเป็นเงิน 36,225,000 บาท ตามราคาที่ได้ทำสัญญาซื้อขายกันไว้ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด กับให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองด้วย ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ทั้งสองมิได้ประสงค์เพียงแต่จะได้ค่าปรับจากจำเลยที่ 2 เท่านั้น แต่ประสงค์จะได้ที่ดินพิพาทกลับคืนมาเป็นของโจทก์ทั้งสองด้วย หากจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสองก็ขอให้ใช้ราคาแทน ดังนั้นการที่ศาลวินิจฉัยว่าสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ทั้งสองโอนที่ดินให้ตามสัญญาแล้ว แต่ฝ่ายจำเลยไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือจึงพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง จึงไม่เกินคำขอ
จำเลยที่ 2 อ้างว่าที่ดินพิพาทราคาเพียงไร่ละ 200,000 บาทเท่านั้น ราคาที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายไร่ละ 900,000 บาท ไม่ใช่ราคาที่แท้จริง โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระราคาที่ดินที่เหลือเป็นจำนวนเงินถึง 13,492,500 บาท แต่สัญญาจะซื้อจะขายระบุจำนวนเงินส่วนที่เหลือและกำหนดเวลาชำระกันไว้ชัดเจนแล้ว ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นการอ้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคแรก (ข) จึงรับฟังไม่ได้
โจทก์ทั้งสองฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาท ให้ที่ดินแปลงดังกล่าวกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสอง โดยให้จำเลยกับพวกร่วมกันชำระค่าธรรมเนียมอากรแทนโจทก์ทั้งสอง หากจำเลยที่ 3 และที่ 7 ไม่ยอมไปจดทะเบียนให้โจทก์ทั้งสองให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนา ให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันชำระค่าเสียหายเป็นเงิน 9,191,764 บาท พร้อมดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ หากจำเลยที่ 3 และที่ 7 ไม่สามารถไปจดทะเบียนโอนที่ดินกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสองได้ ให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระราคาที่ดินแทนเป็นเงิน 36,225,000 บาท ตามราคาที่ได้ทำสัญญาซื้อขายกันไว้ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด กับให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองด้วย ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ทั้งสองมิได้ประสงค์เพียงแต่จะได้ค่าปรับจากจำเลยที่ 2 เท่านั้น แต่ประสงค์จะได้ที่ดินพิพาทกลับคืนมาเป็นของโจทก์ทั้งสองด้วย หากจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสองก็ขอให้ใช้ราคาแทน ดังนั้นการที่ศาลวินิจฉัยว่าสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ทั้งสองโอนที่ดินให้ตามสัญญาแล้ว แต่ฝ่ายจำเลยไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือจึงพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง จึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้จากการทำสัญญาร่วมชำระหนี้ และการไม่เป็นสัญญาแปลงหนี้
สัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 ตกลงว่า การที่จำเลยที่ 1 ยอมเข้าร่วมชำระหนี้กับผู้เช่าใช้บริการโทรศัพท์ คู่สายโทรศัพท์ไม่ทำให้คู่สัญญาเดิมหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาเดิม และไม่ตัดสิทธิโจทก์จะระงับการให้บริการตามระเบียบขององค์การโทรศัพท์ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีการเปลี่ยนตัวลูกหนี้เดิม เมื่อไม่มีการเปลี่ยนตัวลูกหนี้เดิมจึงไม่ใช่สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ สัญญาเดิมไม่ระงับ และการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์จึงไม่ใช่การรับสภาพหนี้ แต่เป็นสัญญาประเภทหนึ่งระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ ซึ่งคู่สัญญาทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้และเมื่อหนี้ตามสัญญาไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 แต่ดอกเบี้ยที่โจทก์ขอนับแต่วันผิดนัดตามสัญญาร่วมชำระหนี้ถึงวันฟ้องเป็นดอกเบี้ยค้างชำระ มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3399/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายไม่สมบูรณ์เมื่อไม่มีลายมือชื่อครบถ้วน การคืนเงินและค่าเสียหายจากสัญญาที่ผิดนัด
สัญญาจะซื้อจะขายที่โจทก์ที่ 1 ทำกับจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่ามีลายมือชื่อของฝ่ายจำเลยในช่องผู้ขาย มีเพียงลายมือชื่อโจทก์ที่ 1 ในช่องผู้ซื้อ ทั้งไม่มีลายมือชื่อพยาน และไม่ได้มีการระบุวันเดือนปีไว้ ในการติดต่อสื่อสารถึงกันก็ไม่ได้มีการอ้างถึงสัญญาดังกล่าว คงอ้างถึงแต่ใบสมัครเข้าร่วมการก่อสร้างบ้านปันส่วนซึ่งมีข้อความในข้อ 5 ระบุว่า โจทก์ที่ 1 ผู้จองจะต้องทำสัญญากับจำเลยที่ 1 เช่นนี้เป็นกรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง ดังนั้น สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์และไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1
โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ผูกพันกันตามใบสมัครเข้าร่วมการก่อสร้างบ้านปันส่วน เมื่อโจทก์ที่ 1 ผิดสัญญาและจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาแล้ว คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนว่ามิได้มีสัญญาต่อกันเลย สิ่งใดที่ส่งมอบกันแล้วก็ต้องคืนให้แก่กันตามมาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 1 จึงต้องคืนห้องชุดให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ก็ต้องคืนค่างวดและเงินดาวน์ให้แก่โจทก์ที่ 1 พร้อมดอกเบี้ย และเมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ครอบครองและใช้ประโยชน์ในห้องชุดมาตลอดเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการงานอันที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์สินนั้น โจทก์ที่ 1 จึงต้องชดใช้ด้วยเงินตามควรตามมาตรา 391 วรรคสาม
การที่โจทก์ที่ 1 ได้ขายสิทธิในการผ่อนชำระเงินให้แก่โจทก์ที่ 2 นั้น ตามมาตรา 350 บัญญัติว่า แปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้นจะทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ก็ได้ แต่จะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมหาได้ไม่ จากข้อเท็จจริงปรากฏว่าไม่มีการทำสัญญากันระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับโจทก์ที่ 2 ซึ่งจะเข้าเป็นลูกหนี้คนใหม่เลย สัญญาแปลงหนี้ใหม่จึงไม่เกิดขึ้น โจทก์ที่ 1 จึงยังคงเป็นลูกหนี้อยู่เช่นเดิม
โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ผูกพันกันตามใบสมัครเข้าร่วมการก่อสร้างบ้านปันส่วน เมื่อโจทก์ที่ 1 ผิดสัญญาและจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาแล้ว คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนว่ามิได้มีสัญญาต่อกันเลย สิ่งใดที่ส่งมอบกันแล้วก็ต้องคืนให้แก่กันตามมาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 1 จึงต้องคืนห้องชุดให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ก็ต้องคืนค่างวดและเงินดาวน์ให้แก่โจทก์ที่ 1 พร้อมดอกเบี้ย และเมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ครอบครองและใช้ประโยชน์ในห้องชุดมาตลอดเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการงานอันที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์สินนั้น โจทก์ที่ 1 จึงต้องชดใช้ด้วยเงินตามควรตามมาตรา 391 วรรคสาม
การที่โจทก์ที่ 1 ได้ขายสิทธิในการผ่อนชำระเงินให้แก่โจทก์ที่ 2 นั้น ตามมาตรา 350 บัญญัติว่า แปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้นจะทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ก็ได้ แต่จะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมหาได้ไม่ จากข้อเท็จจริงปรากฏว่าไม่มีการทำสัญญากันระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับโจทก์ที่ 2 ซึ่งจะเข้าเป็นลูกหนี้คนใหม่เลย สัญญาแปลงหนี้ใหม่จึงไม่เกิดขึ้น โจทก์ที่ 1 จึงยังคงเป็นลูกหนี้อยู่เช่นเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5303/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชำระหนี้แทนบุคคลอื่น ไม่ใช่การรับสภาพหนี้ หรือการแปลงหนี้ อายุความ 10 ปี
การรับสภาพหนี้เป็นการที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ ดังนั้น การที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ของ พ. แก่โจทก์จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้ ทั้งในเอกสารดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ตกลงให้หนี้ของ พ. ระงับไป จึงไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ และแม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าเอกสารดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าหนังสือสัญญานั้นเป็นสัญญาประเภทใดตามที่ถูกต้องแท้จริงได้ โดยสัญญาที่จำเลยทำให้โจทก์เป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่คู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ ซึ่งหนี้ตามสัญญานี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 และเมื่อสัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญารับสภาพหนี้และสัญญาที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากรฯ ซึ่งเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 103,104 และ 108 ดังนั้น แม้เอกสารดังกล่าวจะไม่ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของทายาทต่อหนี้ของผู้ตาย: ทายาทรับผิดเฉพาะในทรัพย์มรดก
จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทของ ด.ยอมรับสภาพหนี้ของ ด.ต่อโจทก์ มีผลผูกพันกองมรดกของ ด.เท่านั้นที่จะต้องรับผิดในหนี้สินตามที่ปรากฏในหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่อาจถือได้ถึงขนาดว่าจำเลยยอมเข้าผูกพันตนเป็นลูกหนี้แทนในลักษณะแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ จำเลยจึงมิใช่ลูกหนี้โดยตรงของโจทก์
แม้จำเลยจะเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกแต่ก็รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่มิใช่ทรัพย์มรดก ประกอบกับหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่ ด.ก่อขึ้นเอง หาก ด.ยังคงมีชีวิตอยู่ด.อาจถูกฟ้องขอให้ล้มละลายได้ ด.จึงมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายล้มละลายต่อโจทก์และเป็นหน้าที่และความรับผิดโดยเฉพาะของ ด. ไม่ใช่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่จำเลยผู้เป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ ด.โจทก์จึงนำหนี้ตามฟ้องมาฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด.ให้ล้มละลายไม่ได้ แต่ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ด.ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 82
แม้จำเลยจะเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกแต่ก็รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่มิใช่ทรัพย์มรดก ประกอบกับหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่ ด.ก่อขึ้นเอง หาก ด.ยังคงมีชีวิตอยู่ด.อาจถูกฟ้องขอให้ล้มละลายได้ ด.จึงมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายล้มละลายต่อโจทก์และเป็นหน้าที่และความรับผิดโดยเฉพาะของ ด. ไม่ใช่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่จำเลยผู้เป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ ด.โจทก์จึงนำหนี้ตามฟ้องมาฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด.ให้ล้มละลายไม่ได้ แต่ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ด.ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 82
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้ของทายาทผู้จัดการมรดก ไม่ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ และจำกัดความรับผิดเฉพาะทรัพย์มรดก
จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทของ ด. ยอมรับสภาพหนี้ของ ด. ต่อโจทก์ มีผลผูกพันกองมรดกของ ด. เท่านั้นที่จะต้องรับผิดในหนี้สินตามที่ปรากฏในหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่อาจถือได้ถึงขนาดว่าจำเลยยอมเข้าผูกพันตนเป็นลูกหนี้แทนในลักษณะแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ จำเลยจึงมิใช่ลูกหนี้โดยตรงของโจทก์
แม้จำเลยจะเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกแต่ก็รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่มิใช่ทรัพย์มรดก ประกอบกับหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่ ด. ก่อขึ้นเอง หาก ด. ยังคงมีชีวิตอยู่ ด. อาจถูกฟ้องขอให้ล้มละลายได้ ด. จึงมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายล้มละลายต่อโจทก์และเป็นหน้าที่และความรับผิดโดยเฉพาะของ ด. ไม่ใช่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่จำเลยผู้เป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ ด. โจทก์จึงนำหนี้ตามฟ้องมาฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด. ให้ล้มละลายไม่ได้แต่ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ด. ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 82
แม้จำเลยจะเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกแต่ก็รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่มิใช่ทรัพย์มรดก ประกอบกับหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่ ด. ก่อขึ้นเอง หาก ด. ยังคงมีชีวิตอยู่ ด. อาจถูกฟ้องขอให้ล้มละลายได้ ด. จึงมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายล้มละลายต่อโจทก์และเป็นหน้าที่และความรับผิดโดยเฉพาะของ ด. ไม่ใช่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่จำเลยผู้เป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ ด. โจทก์จึงนำหนี้ตามฟ้องมาฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด. ให้ล้มละลายไม่ได้แต่ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ด. ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 82