พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5156/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้มูลละเมิด ผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิฟ้องได้ทันที ไม่ต้องทวงถาม และข้อจำกัดการยกเหตุแปลงหนี้ใหม่
หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 เจ้าหนี้หาจำต้องเตือนหรือทวงถามก่อนไม่ เจ้าของรถผู้ถูกกระทำละเมิดย่อมเป็นเจ้าหนี้ ชอบที่จะฟ้องผู้ขับรถที่ทำละเมิดนั้นได้เลยโดยไม่ต้องทวงถามให้ใช้ค่าเสียหายก่อน ผู้รับประกันภัยซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้วชอบที่จะเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ และชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 226 และ 880 การที่ ก. ผู้เอาประกันภัยทำความตกลงกับจำเลยผู้ขับรถชนให้นำรถยนต์เข้าซ่อมที่อู่ของ ส.แต่ก.ได้ให้ส. ซ่อมส่วนที่เสียหายอย่างอื่นที่มีอยู่ก่อนเกิดเหตุด้วยทำให้ระยะเวลาในการซ่อมเนิ่นนานออกไปอันทำให้โจทก์ผู้รับประกันภัยต้องเข้ามาดำเนินการซ่อมต่ออีกครั้งหนึ่งก็ดี และการที่ ก. ตกลงกับจำเลยให้นำรถยนต์เข้าซ่อมดังกล่าวเป็นการผิดข้อตกลงกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งโจทก์มีสิทธิบอกปัดไม่ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ก. ก็ได้แต่โจทก์กลับยอมตนเข้าชดใช้ค่าเสียหายโดยเสี่ยงภัยเอาเอง อันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิเข้ารับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเอาจากจำเลยได้ก็ดีนั้น หาใช่ข้อต่อสู้ในเรื่องแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ใหม่ปัญหาดังกล่าวจำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นทั้งไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ให้ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3540/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วย L/C ไม่เป็นการแปลงหนี้เดิม และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน
การที่จำเลยตกลงกับธนาคารให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้โจทก์แทนการชำระหนี้ด้วยเช็คที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน โดยโจทก์สามารถเรียกเก็บเงินจากธนาคารได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น เป็นเพียงการเปลี่ยนวิธีการชำระหนี้ ไม่ต่างกับการเปลี่ยนการชำระหนี้โดยใช้ตั๋วเงินชนิดอื่นทั้งเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับธนาคาร โดยโจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีที่เกี่ยวข้องมิได้เข้าทำสัญญากับธนาคารด้วย และมิได้เป็นการแปลงหนี้ด้วยวิธีเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 เพราะธนาคารซึ่งจำเลยอ้างว่าเป็นลูกหนี้ใหม่ไม่ได้เข้ามาให้ความยินยอมทำสัญญาแปลงหนี้ด้วย กรณีจึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังมิได้ระงับสิ้นไป เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิต จำเลยจึงยังคงต้องรับผิด
จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามสำเนาสัญญาค้ำประกัน ซึ่งต้นฉบับอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 และโจทก์ได้อ้างเป็นพยาน และขอให้ศาลหมายเรียกมาถึง 4 ครั้ง แต่จำเลยที่ 2ไม่ปฏิบัติตามจึงถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่โจทก์จะต้องนำสืบโดยเอกสารนั้น จำเลยที่ 2 ได้ยอมรับแล้ว ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 123 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสองได้ทำหนังสือสัญญาชำระหนี้และสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ ซึ่งระบุไว้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ปรับค่าดอกเบี้ยจากการชำระหนี้ล่าช้าที่อัตราดอกเบี้ย 12 % ต่อปี จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามสัญญาดังกล่าว
ทนายโจทก์แก้ฎีกาเกินกำหนด แต่ศาลรับไว้เป็นคำแถลงการณ์ถือว่าทนายได้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว ศาลมีอำนาจกำหนดค่าทนายความให้ได้
จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามสำเนาสัญญาค้ำประกัน ซึ่งต้นฉบับอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 และโจทก์ได้อ้างเป็นพยาน และขอให้ศาลหมายเรียกมาถึง 4 ครั้ง แต่จำเลยที่ 2ไม่ปฏิบัติตามจึงถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่โจทก์จะต้องนำสืบโดยเอกสารนั้น จำเลยที่ 2 ได้ยอมรับแล้ว ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 123 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสองได้ทำหนังสือสัญญาชำระหนี้และสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ ซึ่งระบุไว้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ปรับค่าดอกเบี้ยจากการชำระหนี้ล่าช้าที่อัตราดอกเบี้ย 12 % ต่อปี จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามสัญญาดังกล่าว
ทนายโจทก์แก้ฎีกาเกินกำหนด แต่ศาลรับไว้เป็นคำแถลงการณ์ถือว่าทนายได้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว ศาลมีอำนาจกำหนดค่าทนายความให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6494/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการแปลงหนี้: โจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยหากไม่ทำสัญญาใหม่
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างระหว่าง พ. กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน ทั้งสองฝ่ายต่างมีฐานะเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ กล่าวคือ พ. มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่จะได้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในการที่จะต้องโอนที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ พ. ในขณะเดียวกัน พ. ก็มีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระหนี้ค่าที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในการที่จะ ได้รับชำระหนี้ค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจาก พ.แม้ว่า พ. จะสามารถโอนสิทธิเรียกร้องในฐานะ เจ้าหนี้ให้แก่บุคคลอื่นหรือโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคแรก ได้ก็ตามแต่ พ.ก็ไม่อาจโอนหนี้ให้บุคคลอื่นหรือโจทก์ มาเป็นลูกหนี้แทนโดยเพียงแต่ทำเป็นหนังสือสัญญา ระหว่าง พ. กับบุคคลอื่นหรือโจทก์ เนื่องจากการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ซึ่งจะต้องมีการทำสัญญากันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้คนใหม่ได้ทำสัญญาใหม่กับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ หนี้ใหม่ยังไม่เกิดขึ้น โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบที่ดินให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6494/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการแปลงหนี้: สิทธิของโจทก์ในการฟ้องบังคับจำเลย
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างระหว่าง พ.กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน ทั้งสองฝ่ายต่างมีฐานะเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ กล่าวคือ พ.มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่จะได้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในการที่จะต้องโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ พ. ในขณะเดียวกัน พ.ก็มีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระหนี้ค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในการที่จะได้รับชำระหนี้ค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจาก พ. แม้ว่า พ.จะสามารถโอนสิทธิเรียกร้องในฐานะเจ้าหนี้ให้แก่บุคคลอื่นหรือโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 306 วรรคแรกได้ก็ตามแต่ พ.ก็ไม่อาจโอนหนี้ให้บุคคลอื่นหรือโจทก์มาเป็นลูกหนี้แทนโดยเพียงแต่ทำเป็นหนังสือสัญญาระหว่าง พ.กับบุคคลอื่นหรือโจทก์ เนื่องจากการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ซึ่งจะต้องมีการทำสัญญากันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 350 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้คนใหม่ได้ทำสัญญาใหม่กับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ หนี้ใหม่ยังไม่เกิดขึ้น โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบที่ดินให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้และเช็คเพื่อชำระหนี้ การฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คที่ถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทให้แก่บริษัท บ.ซึ่งมี ฮ.เป็นกรรมการผู้จัดการ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน บริษัท บ.โดย ฮ.ได้มอบอำนาจให้ พ.ไปร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ เช่นนี้ บริษัท บ.จึงเป็นผู้เสียหาย ซึ่งได้มอบอำนาจให้ร้องทุกข์โดยชอบแล้ว แม้ตามฟ้องโจทก์จะบรรยายฟ้องว่า ฮ.เป็นผู้เสียหาย ก็เป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อย และข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่สาระสำคัญ ทั้งจำเลยที่ 1 ก็มิได้หลงต่อสู้ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดจริง ก็ชอบที่ศาลจะลงโทษจำเลยที่ 1 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสองโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
เมื่อ ข.ไม่สามารถนำเพชรที่รับไปจากผู้เสียหายเพื่อนำไปขายมาคืนให้ผู้เสียหายได้ จำเลยที่ 3 จึงได้ทำบันทึกข้อตกลงชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 3 ได้นำเช็คพิพาทสั่งจ่ายเงิน 60,000 บาทพร้อมเงินสดอีก 46,000 บาท มาแลกเช็คฉบับแรกของจำเลยที่ 3 จากผู้เสียหายการที่ ข.เป็นหนี้ค่าเพชรแก่ผู้เสียหาย แล้วจำเลยทั้งสามเข้ามารับผิดชำระหนี้แทนแก่ผู้เสียหายก็มุ่งประสงค์มิให้ ข.ต้องถูกดำเนินคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ดังนั้น ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3กับผู้เสียหาย จึงเป็นการตกลงทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ เช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 ออกและมอบให้แก่ผู้เสียหายจึงเป็นเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อธนาคารตามเช็คที่จำเลยที่ 1 ออกให้ผู้เสียหายดังกล่าวปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามฟ้อง
เมื่อ ข.ไม่สามารถนำเพชรที่รับไปจากผู้เสียหายเพื่อนำไปขายมาคืนให้ผู้เสียหายได้ จำเลยที่ 3 จึงได้ทำบันทึกข้อตกลงชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 3 ได้นำเช็คพิพาทสั่งจ่ายเงิน 60,000 บาทพร้อมเงินสดอีก 46,000 บาท มาแลกเช็คฉบับแรกของจำเลยที่ 3 จากผู้เสียหายการที่ ข.เป็นหนี้ค่าเพชรแก่ผู้เสียหาย แล้วจำเลยทั้งสามเข้ามารับผิดชำระหนี้แทนแก่ผู้เสียหายก็มุ่งประสงค์มิให้ ข.ต้องถูกดำเนินคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ดังนั้น ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3กับผู้เสียหาย จึงเป็นการตกลงทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ เช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 ออกและมอบให้แก่ผู้เสียหายจึงเป็นเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อธนาคารตามเช็คที่จำเลยที่ 1 ออกให้ผู้เสียหายดังกล่าวปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้และเช็คเพื่อชำระหนี้: อำนาจฟ้องของผู้รับมอบอำนาจและความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทให้แก่บริษัท บ. ซึ่งมี ฮ.เป็นกรรมการผู้จัดการ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินบริษัท บ. โดย ฮ.ได้มอบอำนาจให้พ. ไปร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในความผิดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ เช่นนี้บริษัท บ.จึงเป็นผู้เสียหาย ซึ่งได้มอบอำนาจให้ร้องทุกข์โดยชอบแล้วแม้ตามฟ้องโจทก์จะบรรยายฟ้องว่า ฮ. เป็นผู้เสียหายก็เป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อย และข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ สาระสำคัญ ทั้งจำเลยที่ 1 ก็มิได้หลงต่อสู้ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดจริง ก็ชอบที่ศาลจะลงโทษจำเลยที่ 1 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสองโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เมื่อ ข. ไม่สามารถนำเพชรที่รับไปจากผู้เสียหายเพื่อนำไปขายมาคืนให้ผู้เสียหายได้ จำเลยที่ 3 จึงได้ทำบันทึก ข้อตกลงชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 3 ได้นำเช็คพิพาทสั่งจ่ายเงิน 60,000 บาทพร้อมเงินสดอีก 46,000 บาท มาแลกเช็คฉบับแรกของจำเลยที่ 3 จากผู้เสียหายการที่ ข. เป็นหนี้ค่าเพชรแก่ผู้เสียหายแล้วจำเลยทั้งสามเข้ามารับผิดชำระหนี้แทนแก่ผู้เสียหาย ก็มุ่งประสงค์มิให้ ข. ต้องถูกดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ฯดังนั้น ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3กับผู้เสียหาย จึงเป็นการตกลงทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ เช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 ออกและมอบให้แก่ผู้เสียหายจึงเป็นเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อธนาคารตามเช็คที่จำเลยที่ 1 ออกให้ผู้เสียหายดังกล่าวปฏิเสธ การจ่ายเงิน จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4501/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในสัญญาซื้อขายที่ดินต้องมีการทำสัญญาใหม่ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350
โจทก์รับโอนสิทธิตามสัญญาแบ่งขายที่ดินจาก ท. และโจทก์เข้าครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 ซึ่งจะต้องมีการทำสัญญาระหว่างเจ้าหนี้คือจำเลยกับลูกหนี้คนใหม่คือโจทก์ เมื่อโจทก์กับจำเลยไม่ได้ทำสัญญากันใหม่ หนี้ก็ไม่เกิดขึ้น โจทก์กับจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาโอนสิทธิดังกล่าวและมิอาจอ้างสิทธิเพื่ออยู่ในที่พิพาทต่อไป การที่โจทก์ยังคงอยู่ในที่พิพาทต่อมาจึงเป็นการละเมิด จำเลยย่อมมีอำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยตกลงแบ่งขายที่ดินตามฟ้องให้แก่ ท.ท.ชำระราคาที่ดินยังไม่ครบถ้วน และได้ขายสิทธิตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์กับ ท.มีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยแล้ว จำเลยให้การต่อสู้ว่า ท. มิได้ชำระราคาให้เป็นไปตามข้อตกลงสัญญาระหว่าง ท. กับจำเลยจึงสิ้นสุดลง จำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยกับการโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์กับ ท. ดังนี้ จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า การโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับ ท. เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อขายระหว่าง ท.กับจำเลยยังไม่สิ้นสุดท. สามารถโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาให้แก่โจทก์ได้ แต่เมื่อมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 350 คือ มิได้มีการทำสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อพิพาทแห่งคดี หาได้นอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4501/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิสัญญาซื้อขายที่ดิน ต้องทำสัญญาใหม่ระหว่างลูกหนี้ใหม่กับเจ้าหนี้เดิม หากไม่ทำสัญญาใหม่ ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์รับโอนสิทธิตามสัญญาแบ่งขายที่ดินจาก ท. และโจทก์เข้าครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 350 ซึ่งจะต้องมีการทำสัญญาระหว่างเจ้าหนี้คือจำเลยกับลูกหนี้คนใหม่คือโจทก์ เมื่อโจทก์กับจำเลยไม่ได้ทำสัญญากันใหม่ หนี้ก็ไม่เกิดขึ้น โจทก์กับจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาโอนสิทธิดังกล่าวและมิอาจอ้างสิทธิเพื่ออยู่ในที่พิพาทต่อไป การที่โจทก์ยังคงอยู่ในที่พิพาทต่อมาจึงเป็นการละเมิด จำเลยย่อมมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยตกลงแบ่งขายที่ดินตามฟ้องให้แก่ ท. ท.ชำระราคาที่ดินยังไม่ครบถ้วน และได้ขายสิทธิตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์กับ ท.มีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยแล้ว จำเลยให้การต่อสู้ว่า ท.มิได้ชำระราคาให้เป็นไปตามข้อตกลง สัญญาระหว่าง ท.กับจำเลยจึงสิ้นสุดลง จำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยกับการโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์กับ ท. ดังนี้ จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า การโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับ ท.เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อขายระหว่าง ท.กับจำเลยยังไม่สิ้นสุด ท.สามารถโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาให้แก่โจทก์ได้ แต่เมื่อมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 350คือ มิได้มีการทำสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อพิพาทแห่งคดี หาได้นอกประเด็นไม่
โจทก์ฟ้องโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยตกลงแบ่งขายที่ดินตามฟ้องให้แก่ ท. ท.ชำระราคาที่ดินยังไม่ครบถ้วน และได้ขายสิทธิตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์กับ ท.มีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยแล้ว จำเลยให้การต่อสู้ว่า ท.มิได้ชำระราคาให้เป็นไปตามข้อตกลง สัญญาระหว่าง ท.กับจำเลยจึงสิ้นสุดลง จำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยกับการโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์กับ ท. ดังนี้ จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า การโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับ ท.เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อขายระหว่าง ท.กับจำเลยยังไม่สิ้นสุด ท.สามารถโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาให้แก่โจทก์ได้ แต่เมื่อมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 350คือ มิได้มีการทำสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อพิพาทแห่งคดี หาได้นอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7122/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการทำสัญญาแทนบริษัท และอายุความสัญญาชำระหนี้
จำเลยทำบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.3 โดยเจตนาจะชดใช้หนี้ที่สามีจำเลยซื้อรถแทรกเตอร์ดังกล่าวให้แก่โจทก์แทนสามีจำเลย หาใช่เป็นการชำระหนี้ให้แก่ก. กรรมการผู้มีอำนาจคนหนึ่งของโจทก์เป็นการส่วนตัวไม่ และเมื่อโจทก์เป็นนิติบุคคลโดย ก. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจคนหนึ่ง ก. มีฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ตามกฎหมาย ก. มีอำนาจทำบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.3 แทนโจทก์โดยไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากโจทก์อีก บันทึกข้อตกลงที่ ก. ทำแทนโจทก์จึงผูกพันจำเลย
สามีจำเลยซื้อรถแทรกเตอร์ 1 คัน จากบริษัทโจทก์ในราคา 1,400,000 บาท และชำระหนี้ไปบางส่วน คงค้างอยู่ 550,000 บาท การที่จำเลยยอมผูกพันเข้าชำระหนี้ดังกล่าวแทนสามีจำเลยกับโจทก์ตามบันทึกข้อตกลงเอกสารหมาย จ.3 ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งคู่ความกระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นการขืนใจลูกหนี้และไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 มิใช่มีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34(1)
ก. ได้พูดขู่จำเลยให้ยอมทำบันทึกข้อตกลงว่าเป็นหนี้จำนวน 550,000 บาท แล้วจะไม่ดำเนินคดีเอาความผิดแก่ อ. เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่
สามีจำเลยซื้อรถแทรกเตอร์ 1 คัน จากบริษัทโจทก์ในราคา 1,400,000 บาท และชำระหนี้ไปบางส่วน คงค้างอยู่ 550,000 บาท การที่จำเลยยอมผูกพันเข้าชำระหนี้ดังกล่าวแทนสามีจำเลยกับโจทก์ตามบันทึกข้อตกลงเอกสารหมาย จ.3 ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งคู่ความกระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นการขืนใจลูกหนี้และไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 มิใช่มีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34(1)
ก. ได้พูดขู่จำเลยให้ยอมทำบันทึกข้อตกลงว่าเป็นหนี้จำนวน 550,000 บาท แล้วจะไม่ดำเนินคดีเอาความผิดแก่ อ. เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6225/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับสภาพหนี้ของทายาท: สัญญาผูกพันเฉพาะในฐานะทายาท ไม่เกินทรัพย์มรดก
ป. เป็นลูกหนี้โจทก์อยู่ เมื่อ ป. ถึงแก่กรรมแล้วจำเลยทั้งสองทำหนังสือเพื่อชำระหนี้แทน ป. ซึ่งเป็นสามีจำเลยที่ 1 และเป็นบิดาจำเลยที่ 2 โดยจำเลยทั้งสองมิได้เป็นหนี้โจทก์ โดยระบุว่า ขณะทำสัญญาฉบับนี้ ป.ยังคงเป็นลูกหนี้โจทก์อยู่เป็นจำนวนเงิน 2,720,000 บาทจำเลยทั้งสองยินยอมชดใช้หนี้จำนวนดังกล่าวโดยจะชำระเป็นงวดเป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ ป. ทำขึ้นเพื่อยอมรับสภาพหนี้ของเจ้ามรดก มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้อันจะเป็นเหตุให้มูลหนี้เดิมระหว่างโจทก์กับ ป. ระงับลงเพราะ ป. ได้ถึงแก่กรรมไปก่อนที่จะมีการจัดทำหนังสือดังกล่าวแล้วและข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงเจตนาที่ยอมตนเข้าผูกพันรับผิดต่อโจทก์ในฐานะทายาทผู้ตายมิใช่รับผิดเป็นส่วนตัวและเป็นสัญญาที่มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย แต่คงรับผิดต่อโจทก์ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่จำเลยทั้งสองจะได้รับ