พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6187/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนอง, สิทธิเรียกร้องหนี้, การมอบอำนาจ, การรับสภาพหนี้, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่2ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีในประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมไว้จึงเป็นข้อที่จำเลยที่2ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจำเลยที่2จึงไม่มีสิทธิที่จะยกขึ้นมาว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้รวมถึงจำเลยที่2ด้วยนั้นเป็นการไม่ชอบถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่2ฎีกาของจำเลยที่2ในประเด็นนี้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งถึงแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยที่2ในข้อนี้ไว้ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายสภาพแห่งข้อหาคือจำเลยทั้งสามไม่ชำระหนี้ที่ค้างชำระตามสัญญาขายลดเช็คและกู้เงินอันเป็นมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้สัญญาค้ำประกันและจำนองและคำขอบังคับคือให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นคือหนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้หนังสือสัญญาค้ำประกันและหนังสือสัญญาจำนองส่วนการขายลดเช็คกี่ครั้งกู้เงินกี่ครั้งครั้งละเท่าใดนั้นเป็นรายละเอียดของมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ดังนั้นฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม การที่ผ. และน. ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจเป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์จึงเป็นการกระทำของบริษัทโจทก์แม้ต่อมาผ. และน. จะพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์เพราะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทโจทก์หนังสือมอบอำนาจฉบับที่ได้ทำโดยกรรมการผู้มีอำนาจในขณะนั้นก็ยังคงมีผลสมบูรณ์อยู่หาระงับไปไม่ หนังสือมอบอำนาจระบุว่ามอบอำนาจให้ป. หรืออ.คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์อีกคนหนึ่งรวมเป็น2คนพร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์สามารถกระทำการเกี่ยวกับกิจการต่างๆของโจทก์ตามที่ระบุไว้รวมทั้งการแต่งตั้งตัวแทนช่างเช่นนี้เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวมีอำนาจกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทมากกว่าครั้งเดียวได้ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์30บาทตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ7(2)แห่งประมวลรัษฎากรส่วนที่หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวกำหนดให้มีกรรมการที่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทอีกคนหนึ่งร่วมลงลายมือชื่อด้วยนั้นก็เป็นเพียงการกำหนดวิธีการที่ผู้รับมอบอำนาจคนเดียวนั้นต้องปฏิบัติในการกระทำเกี่ยวกับกิจการของบริษัทโจทก์ตามที่ได้รับมอบอำนาจดังนี้การปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเช่นว่านี้จำนวน30บาทจึงชอบแล้วหาใช่การมอบอำนาจให้กระทำมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันอันจะต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ30บาทไม่ สัญญาตกลงชำระหนี้ระบุว่าตามที่จำเลยที่2บริษัทธ.และท. ได้ขอสินเชื่อจากโจทก์โดยการนำเช็คที่จำเลยที่1เป็นผู้สั่งจ่ายขายลดไว้แก่โจทก์และยังมีหนี้ที่ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์3จำนวนเป็นเงิน45,920,000บาทนั้นจำเลยที่1ตกลงชำระหนี้พร้อมด้วยดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวและยังค้างชำระเป็นเงิน10,516,643.83บาทรวมทั้งสองจำนวนเป็นเงิน56,436,643.83บาทให้แก่โจทก์จนครบถ้วนภายในกำหนด15ปีทั้งนี้จำเลยที่1ตกลงผ่อนชำระหนี้ในจำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ100,000บาทหากจำเลยที่1ผิดนัดในเดือนใดและยังฝ่าฝืนไม่ชำระในเมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งเตือนให้ชำระโดยกำหนดเวลาอันสมควรไว้ให้โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันทีในระหว่างการผ่อนชำระหากโจทก์มอบให้บุคคลใดเข้าตรวจสอบกิจการของจำเลยที่1จำเลยที่1ตกลงที่จะให้ความสะดวกและร่วมมือกับบุคคลดังกล่าวทุกประการนั้นมีลักษณะเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยที่1กับโจทก์ถือได้ว่าเป็นสัญญา2ฝ่ายหาใช่จำเลยที่1ตกลงฝ่ายเดียวไม่และข้อความในสัญญาดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นสัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้อันเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กับจำเลยที่1ลูกหนี้คนใหม่ทั้งไม่ปรากฏว่าได้ทำขึ้นโดยขืนใจจำเลยที่2บริษัทธ. และท. ผู้เป็นลูกหนี้เดิมทั้งสามรายการแต่อย่างใดสัญญาแปลงหนี้ใหม่ฉบับนี้จึงมีผลบังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1นอกจากนี้สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา350ก็มิได้บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใดสัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จึงหาจำต้องให้เจ้าหนี้และลูกหนี้คนใหม่ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายไม่และบทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็มิได้กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องแจ้งการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ใหม่ให้ลูกหนี้เดิมทั้งสามรายทราบไม่โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่1ชำระหนี้ตามสัญญาแปลงหนี้ใหม่นี้ได้ เมื่อคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ลงในเช็คถึงวันที่นำดอกเบี้ยนั้นมารับสภาพหนี้แล้วดอกเบี้ยที่ค้างชำระดังกล่าวยังค้างส่งไม่เกิน5ปีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งยังไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา166เดิมหนี้ดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมนำมารับสภาพหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6187/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้, การรับสภาพหนี้, และขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้
คำฟ้องบรรยายว่า นับตั้งแต่ปี 2522 เป็นต้นมาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กู้เงินไปจากโจทก์ด้วยวิธีการนำเช็คมาขายลดและกู้เงินแบบทั่วไปหลายครั้ง ทุกครั้งที่กู้เงินไปก็ได้รับเงินไปครบถ้วนทุกครั้งและจำเลยทั้งสามได้ร่วมกันทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์หลายครั้งครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2531 คำฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้ได้บรรยายสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโดยชัดเจนแล้ว ส่วนการขายลดเช็คกี่ครั้ง กู้เงินกี่ครั้ง ครั้งละเท่าใดนั้นเป็นรายละเอียดของลูกหนี้ตามหนังสือรับสารภาพหนี้ ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมประเด็นเรื่องนี้ในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้รวมถึงจำเลยที่ 2 ด้วยจึงเป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งถึงแม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ในประเด็นนี้ไว้ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้ การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์โดย ผ. และ น.กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญลงในหนังสือมอบอำนาจเป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์จึงเป็นการกระทำของบริษัทโจทก์ แม้ต่อมา ผ. และ น.จะพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์หนังสือมอบอำนาจนี้หาระงับไปไม่ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวระบุว่ามอบอำนาจให้ ป. หรือ อ. คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์ได้เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวมีอำนาจกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทมากกว่าครั้งเดียวได้ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7(2) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อ ป. ร่วมกับ น.มอบอำนาจช่วงให้ ว. ฟ้องและดำเนินคดีนี้แทนโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้เป็นลูกหนี้มาทำสัญญารับสภาพหนี้ไว้กับโจทก์เป็นสัญญา 2 ฝ่ายอันมีลักษณะเป็นสัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่งมาตรา 350มิได้บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด ดังนี้จึงหาจำต้องให้เจ้าหนี้และลูกหนี้คนใหม่ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายไม่ และบทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็มิได้กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องแจ้งการเปลี่ยนตัวลูกหนี้คนใหม่ให้ลูกหนี้คนเดิมทราบ เมื่อไม่ปรากฏว่าได้ทำขึ้นโดยขืนใจลูกหนี้เดิมแล้ว สัญญาแปลงหนี้ใหม่ดังกล่าวจึงใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6187/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาแปลงหนี้, อากรแสตมป์, การรับสภาพหนี้, ข้อตกลงระหว่างลูกหนี้ใหม่
จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีในประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมไว้ จึงเป็นข้อที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2จึงไม่มีสิทธิที่จะยกขึ้นมาว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้รวมถึงจำเลยที่ 2 ด้วยนั้น เป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 2 ฎีกาของจำเลยที่ 2 ในประเด็นนี้ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ถึงแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ในข้อนี้ไว้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายสภาพแห่งข้อหาคือจำเลยทั้งสามไม่ชำระหนี้ที่ค้างชำระตามสัญญาขายลดเช็คและกู้เงินอันเป็นมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ สัญญาค้ำประกันและจำนอง และคำขอบังคับคือให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นคือ หนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้ หนังสือสัญญาค้ำประกัน และหนังสือสัญญาจำนอง ส่วนการขายลดเช็คกี่ครั้ง กู้เงินกี่ครั้ง ครั้งละเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดของมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ดังนั้น ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่ ผ.และ น. ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจเป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์ จึงเป็นการกระทำของบริษัทโจทก์ แม้ต่อมา ผ.และ น.จะพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์เพราะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทโจทก์ หนังสือมอบอำนาจฉบับที่ได้ทำโดยกรรมการผู้มีอำนาจในขณะนั้นก็ยังคงมีผลสมบูรณ์อยู่ หาระงับไปไม่
หนังสือมอบอำนาจระบุว่า มอบอำนาจให้ ป.หรือ อ.คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจ มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์อีกคนหนึ่งรวมเป็น 2 คน พร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์สามารถกระทำการเกี่ยวกับกิจการต่าง ๆ ของโจทก์ตามที่ระบุไว้รวมทั้งการแต่งตั้งตัวแทนช่วง เช่นนี้ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวมีอำนาจกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทมากกว่าครั้งเดียวได้ ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (2) แห่ง ป.รัษฎากรส่วนที่หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวกำหนดให้มีกรรมการที่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทอีกคนหนึ่งร่วมลงลายมือชื่อด้วยนั้นก็เป็นเพียงการกำหนดวิธีการที่ผู้รับมอบอำนาจคนเดียวนั้นต้องปฏิบัติในการกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทโจทก์ตามที่ได้รับมอบอำนาจ ดังนี้ การปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเช่นว่านี้จำนวน 30 บาท จึงชอบแล้ว หาใช่การมอบอำนาจให้กระทำมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันอันจะต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท ไม่
สัญญาตกลงชำระหนี้ระบุว่า ตามที่จำเลยที่ 2 บริษัท ธ.และ ท.ได้ขอสินเชื่อจากโจทก์โดยการนำเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายขายลดไว้แก่โจทก์ และยังมีหนี้ที่ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ 3 จำนวน เป็นเงิน45,920,000 บาท นั้น จำเลยที่ 1 ตกลงชำระหนี้พร้อมด้วยดอกเบี้ยของเงินดังกล่าว และยังค้างชำระเป็นเงิน 10,516,643.83 บาท รวมทั้งสองจำนวนเป็นเงิน 56,436,643.83 บาท ให้แก่โจทก์จนครบถ้วนภายในกำหนด 15 ปีทั้งนี้จำเลยที่ 1 ตกลงผ่อนชำระหนี้ในจำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 100,000 บาทหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดในเดือนใดและยังฝ่าฝืนไม่ชำระในเมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งเตือนให้ชำระโดยกำหนดเวลาอันสมควรไว้ ให้โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันที ในระหว่างการผ่อนชำระหากโจทก์มอบให้บุคคลใดเข้าตรวจสอบกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ตกลงที่จะให้ความสะดวกและร่วมมือกับบุคคลดังกล่าวทุกประการนั้นมีลักษณะเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ ถือได้ว่าเป็นสัญญา 2 ฝ่าย หาใช่จำเลยที่ 1 ตกลงฝ่ายเดียวไม่ และข้อความในสัญญาดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นสัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ อันเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กับจำเลยที่ 1 ลูกหนี้คนใหม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าได้ทำขึ้นโดยขืนใจจำเลยที่ 2 บริษัท ธ. และ ท.ผู้เป็นลูกหนี้เดิมทั้งสามรายแต่อย่างใด สัญญาแปลงหนี้ใหม่ฉบับนี้จึงมีผลบังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 ก็มิได้บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จึงหาจำต้องให้เจ้าหนี้และลูกหนี้คนใหม่ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายไม่ และบทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็มิได้กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องแจ้งการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ใหม่ให้ลูกหนี้เดิมทั้งสามรายทราบไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาแปลงหนี้ใหม่นี้ได้
เมื่อคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ลงในเช็คถึงวันที่นำดอกเบี้ยนั้นมารับสภาพหนี้แล้ว ดอกเบี้ยที่ค้างชำระดังกล่าวยังค้างส่งไม่เกิน 5 ปี สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 เดิม หนี้ดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมนำมารับสภาพหนี้ได้
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายสภาพแห่งข้อหาคือจำเลยทั้งสามไม่ชำระหนี้ที่ค้างชำระตามสัญญาขายลดเช็คและกู้เงินอันเป็นมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ สัญญาค้ำประกันและจำนอง และคำขอบังคับคือให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นคือ หนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้ หนังสือสัญญาค้ำประกัน และหนังสือสัญญาจำนอง ส่วนการขายลดเช็คกี่ครั้ง กู้เงินกี่ครั้ง ครั้งละเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดของมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ดังนั้น ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่ ผ.และ น. ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจเป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์ จึงเป็นการกระทำของบริษัทโจทก์ แม้ต่อมา ผ.และ น.จะพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์เพราะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทโจทก์ หนังสือมอบอำนาจฉบับที่ได้ทำโดยกรรมการผู้มีอำนาจในขณะนั้นก็ยังคงมีผลสมบูรณ์อยู่ หาระงับไปไม่
หนังสือมอบอำนาจระบุว่า มอบอำนาจให้ ป.หรือ อ.คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจ มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์อีกคนหนึ่งรวมเป็น 2 คน พร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์สามารถกระทำการเกี่ยวกับกิจการต่าง ๆ ของโจทก์ตามที่ระบุไว้รวมทั้งการแต่งตั้งตัวแทนช่วง เช่นนี้ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวมีอำนาจกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทมากกว่าครั้งเดียวได้ ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (2) แห่ง ป.รัษฎากรส่วนที่หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวกำหนดให้มีกรรมการที่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทอีกคนหนึ่งร่วมลงลายมือชื่อด้วยนั้นก็เป็นเพียงการกำหนดวิธีการที่ผู้รับมอบอำนาจคนเดียวนั้นต้องปฏิบัติในการกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทโจทก์ตามที่ได้รับมอบอำนาจ ดังนี้ การปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเช่นว่านี้จำนวน 30 บาท จึงชอบแล้ว หาใช่การมอบอำนาจให้กระทำมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันอันจะต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท ไม่
สัญญาตกลงชำระหนี้ระบุว่า ตามที่จำเลยที่ 2 บริษัท ธ.และ ท.ได้ขอสินเชื่อจากโจทก์โดยการนำเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายขายลดไว้แก่โจทก์ และยังมีหนี้ที่ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ 3 จำนวน เป็นเงิน45,920,000 บาท นั้น จำเลยที่ 1 ตกลงชำระหนี้พร้อมด้วยดอกเบี้ยของเงินดังกล่าว และยังค้างชำระเป็นเงิน 10,516,643.83 บาท รวมทั้งสองจำนวนเป็นเงิน 56,436,643.83 บาท ให้แก่โจทก์จนครบถ้วนภายในกำหนด 15 ปีทั้งนี้จำเลยที่ 1 ตกลงผ่อนชำระหนี้ในจำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 100,000 บาทหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดในเดือนใดและยังฝ่าฝืนไม่ชำระในเมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งเตือนให้ชำระโดยกำหนดเวลาอันสมควรไว้ ให้โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันที ในระหว่างการผ่อนชำระหากโจทก์มอบให้บุคคลใดเข้าตรวจสอบกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ตกลงที่จะให้ความสะดวกและร่วมมือกับบุคคลดังกล่าวทุกประการนั้นมีลักษณะเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ ถือได้ว่าเป็นสัญญา 2 ฝ่าย หาใช่จำเลยที่ 1 ตกลงฝ่ายเดียวไม่ และข้อความในสัญญาดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นสัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ อันเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กับจำเลยที่ 1 ลูกหนี้คนใหม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าได้ทำขึ้นโดยขืนใจจำเลยที่ 2 บริษัท ธ. และ ท.ผู้เป็นลูกหนี้เดิมทั้งสามรายแต่อย่างใด สัญญาแปลงหนี้ใหม่ฉบับนี้จึงมีผลบังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 ก็มิได้บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จึงหาจำต้องให้เจ้าหนี้และลูกหนี้คนใหม่ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายไม่ และบทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็มิได้กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องแจ้งการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ใหม่ให้ลูกหนี้เดิมทั้งสามรายทราบไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาแปลงหนี้ใหม่นี้ได้
เมื่อคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ลงในเช็คถึงวันที่นำดอกเบี้ยนั้นมารับสภาพหนี้แล้ว ดอกเบี้ยที่ค้างชำระดังกล่าวยังค้างส่งไม่เกิน 5 ปี สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 เดิม หนี้ดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมนำมารับสภาพหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6004/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความและการแปลงหนี้: การเปลี่ยนตัวลูกหนี้ในมูลละเมิด
เดิม ส. บุตรชายของจำเลยขับรถยนต์ชนรถจักรยานยนต์เป็นเหตุให้ พ. บุตรชายของโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์อาจเรียกร้องค่าเสียหายจาก ส. ได้ จำเลยทำบันทึกยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทอันเกิดจากมูลละเมิดให้เสร็จสิ้นไป โดยเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ทั้งไม่ปรากฏว่าเป็นการขืนใจลูกหนี้เดิมและไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนกัน และอำนาจฟ้องตามสัญญา การแปลงหนี้ การผิดนัดชำระหนี้
บันทึกข้อตกลงซึ่งได้ทำขึ้นระหว่างบริษัทล.โดยน.กรรมการบริษัทกับอ.กรรมการคนหนึ่งของโจทก์และจำเลยโดยอ.ลงชื่อเพียงผู้เดียวและไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ตามข้อบังคับแต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าบริษัทล.เป็นหนี้โจทก์จำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัทล.ข้อความเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าอ.ทำบันทึกข้อตกลงในนามของโจทก์นั่นเองหาได้กระทำเป็นการส่วนตัวไม่เมื่อโจทก์ยอมรับเอาประโยชน์จากบันทึกข้อตกลงดังกล่าวโดยฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามข้อตกลงนั้นย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของอ.กรรมการแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา823วรรคสองโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา349และ350แต่เมื่อโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้จากบริษัทล.อยู่ทั้งข้อตกลงตามบันทึกก็ไม่มีข้อความใดๆที่แสดงให้เห็นว่ามูลหนี้เดิมตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นอันระงับสิ้นไปบันทึกข้อตกลงเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัทล.มาเป็นจำเลยแต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีข้อความว่าจำเลยยอมชำระหนี้แทนบริษัทล.ให้แก่โจทก์และบริษัทล.ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์ตกลงยินยอมด้วยแล้วเช่นนี้กรณีต้องด้วยมาตรา314ดังนั้นเมื่อจำเลยแสดงเจตนาจะชำระหนี้แทนบริษัทล.และบริษัทล.ก็ยินยอมด้วยและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวแล้วจำเลยจึงมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวต่อโจทก์ บันทึกข้อตกลงระบุว่าจำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัทล.และจะผ่อนชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด4เดือนนับแต่วันทำสัญญาเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าวจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อนปัญหาที่ว่าการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย โจทก์ฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลงมิได้ฟ้องจำเลยตามเช็คกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนกันและการสัตยาบันข้อตกลง แม้ไม่มีตราสำคัญก็มีผลผูกพันได้
บันทึกข้อตกลงซึ่งได้ทำขึ้นระหว่างบริษัท ล. โดย น.และ อ.กรรมการคนหนึ่งของโจทก์และจำเลย โดย อ.ลงชื่อเพียงผู้เดียวและไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ตามข้อบังคับ แต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าบริษัท ล.เป็นหนี้โจทก์ จำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัท ล. ข้อความเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า อ.ทำบันทึกข้อตกลงในนามของโจทก์นั่นเอง หาได้กระทำเป็นการส่วนตัวไม่ เมื่อโจทก์ยอมรับเอาประโยชน์จากบันทึกข้อตกลงดังกล่าวโดยฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามข้อตกลงนั้น ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของ อ.กรรมการแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 และ 350 แต่เมื่อโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้จากบริษัท ล.อยู่ ทั้งข้อตกลงตามบันทึกก็ไม่มีข้อความใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่ามูลหนี้เดิมตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นอันระงับสิ้นไป บันทึกข้อตกลงเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัทล.มาเป็นจำเลย แต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีข้อความว่า จำเลยยอมชำระหนี้แทนบริษัท ล.ให้แก่โจทก์ และบริษัท ล.ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์ได้ตกลงยินยอมด้วยแล้วเช่นนี้ กรณีต้องด้วยมาตรา 314 ดังนั้นเมื่อจำเลยแสดงเจตนาจะชำระหนี้แทนบริษัท ล.และบริษัท ล.ก็ยินยอมด้วยและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวต่อโจทก์
บันทึกข้อตกลงระบุว่าจำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัท ล.และจะผ่อนชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 4 เดือน นับแต่วันทำสัญญา เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน ปัญหาที่ว่าการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลง มิได้ฟ้องจำเลยตามเช็คกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม
การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 และ 350 แต่เมื่อโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้จากบริษัท ล.อยู่ ทั้งข้อตกลงตามบันทึกก็ไม่มีข้อความใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่ามูลหนี้เดิมตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นอันระงับสิ้นไป บันทึกข้อตกลงเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัทล.มาเป็นจำเลย แต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีข้อความว่า จำเลยยอมชำระหนี้แทนบริษัท ล.ให้แก่โจทก์ และบริษัท ล.ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์ได้ตกลงยินยอมด้วยแล้วเช่นนี้ กรณีต้องด้วยมาตรา 314 ดังนั้นเมื่อจำเลยแสดงเจตนาจะชำระหนี้แทนบริษัท ล.และบริษัท ล.ก็ยินยอมด้วยและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวต่อโจทก์
บันทึกข้อตกลงระบุว่าจำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัท ล.และจะผ่อนชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 4 เดือน นับแต่วันทำสัญญา เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน ปัญหาที่ว่าการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลง มิได้ฟ้องจำเลยตามเช็คกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9121/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้ใหม่ vs. การแปลงหนี้: อายุความฟ้องคดี
กรณีที่จะต้องด้วยบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/35ต้องเป็นกรณีลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว ต่อมาหนี้ขาดอายุความภายหลังจากนั้นลูกหนี้จึงได้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ เมื่อจำเลยไม่เคยเป็นหนี้โจทก์มาก่อน การที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ขอชำระหนี้แทนบริษัท บ. ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือตามมาตรา 193/35 แต่กรณีเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัท บ.จำกัด มาเป็นจำเลย
การฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลงแปลงหนี้ใหม่ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/30
การฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลงแปลงหนี้ใหม่ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6744/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการซื้อที่ดินแทนบุคคลอื่นตามสัญญาซื้อขาย: ชอบด้วยกฎหมายและมีผลบังคับใช้
ข้อตกลงในสัญญาซื้อขายที่ดินระบุชัดว่า จำเลยให้สิทธิแก่โจทก์ว่าโจทก์สามารถนำบุคคลอื่นมาซื้อแทนได้หรือร่วมซื้อกับโจทก์ก็ได้ เช่นนี้ เป็นข้อตกลงที่ชอบด้วยกฎหมายและมีผลบังคับตามกฎหมาย จำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญา มิใช่เป็นกรณีที่มีการเปลี่ยนตัวผู้ซื้อรายใหม่หรือเป็นกรณีแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนกันและการให้สัตยาบันสัญญา การฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลง
บันทึกข้อตกลงซึ่งได้ทำขึ้นระหว่างบริษัท ล. โดย น.และ อ.กรรมการคนหนึ่งของโจทก์และจำเลย โดย อ.ลงชื่อเพียงผู้เดียวและไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ตามข้อบังคับ แต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าบริษัท ล.เป็นหนี้โจทก์ จำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัท ล. ข้อความเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า อ.ทำบันทึกข้อตกลงในนามของโจทก์นั่นเอง หาได้กระทำเป็นการส่วนตัวไม่ เมื่อโจทก์ยอมรับเอาประโยชน์จากบันทึกข้อตกลงดังกล่าวโดยฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามข้อตกลงนั้น ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของ อ.กรรมการแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 และ 350 แต่เมื่อโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้จากบริษัท ล.อยู่ ทั้งข้อตกลงตามบันทึกก็ไม่มีข้อความใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่ามูลหนี้เดิมตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นอันระงับสิ้นไป บันทึกข้อตกลงเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัทล.มาเป็นจำเลย แต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีข้อความว่า จำเลยยอมชำระหนี้แทนบริษัท ล.ให้แก่โจทก์ และบริษัท ล.ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์ได้ตกลงยินยอมด้วยแล้วเช่นนี้ กรณีต้องด้วยมาตรา 314 ดังนั้นเมื่อจำเลยแสดงเจตนาจะชำระหนี้แทนบริษัท ล.และบริษัท ล.ก็ยินยอมด้วยและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวต่อโจทก์
บันทึกข้อตกลงระบุว่าจำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัท ล.และจะผ่อนชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 4 เดือน นับแต่วันทำสัญญา เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน ปัญหาที่ว่าการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลง มิได้ฟ้องจำเลยตามเช็คกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม
การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 และ 350 แต่เมื่อโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้จากบริษัท ล.อยู่ ทั้งข้อตกลงตามบันทึกก็ไม่มีข้อความใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่ามูลหนี้เดิมตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นอันระงับสิ้นไป บันทึกข้อตกลงเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัทล.มาเป็นจำเลย แต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีข้อความว่า จำเลยยอมชำระหนี้แทนบริษัท ล.ให้แก่โจทก์ และบริษัท ล.ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์ได้ตกลงยินยอมด้วยแล้วเช่นนี้ กรณีต้องด้วยมาตรา 314 ดังนั้นเมื่อจำเลยแสดงเจตนาจะชำระหนี้แทนบริษัท ล.และบริษัท ล.ก็ยินยอมด้วยและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวต่อโจทก์
บันทึกข้อตกลงระบุว่าจำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัท ล.และจะผ่อนชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 4 เดือน นับแต่วันทำสัญญา เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน ปัญหาที่ว่าการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลง มิได้ฟ้องจำเลยตามเช็คกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4946/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับหนี้จากการยอมรับชำระหนี้เป็นเงินแทนการโอนทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
ว.เป็นสามี ธ.และเป็นบุตรของจำเลย ว.และ ธ.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ 2 จำนวน คือหนี้เกิดจากการซื้อหุ้นและออกเช็คกับหนี้เงินกู้รวมเป็นเงิน 24,128,385 บาท โดยยอมรับผิดร่วมกัน จำเลยยินยอมให้ ว.นำที่ดินของจำเลยตามโฉนดที่พิพาทโอนชำระหนี้แก่โจทก์ต่อมาโจทก์แจ้งให้ ว.จัดการโอนทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความแก่โจทก์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นจะใช้สิทธิดำเนินคดีตามกฎหมาย และ/หรือใช้สิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความหักทรัพย์สินที่ไม่ชำระหนี้ออกไป และหาก ว.ไม่ดำเนินการโจทก์ขอถือหนังสือฉบับดังกล่าวเป็นการแจ้งว่าโจทก์ขอตั้งผู้ตีราคาทรัพย์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ช.เป็นผู้ตีราคาและผู้ตีราคาได้ตีราคาทรัพย์ที่นำมาชำระหนี้ไม่ได้เป็นเงิน 2,930,000 บาท ต่อมาโจทก์มีหนังสือแจ้งให้ ว.ดำเนินการดังที่แจ้งไว้อีกครั้ง แต่ ว.มิได้ดำเนินการแต่อย่างใด โจทก์จึงยื่นฟ้อง ว.และ ธ.เป็นคดีล้มละลาย โดยนำราคาทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ตีราคาเป็นเงิน 2,930,000 บาท เพราะไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้หักออกจากการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ นำไปเป็นทุนทรัพย์ในการฟ้องและขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในส่วนนี้ไปแล้วดังนี้ เมื่อทรัพย์สินที่ ว.และ ธ.นำมาทำสัญญาเพื่อโอนชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งได้แก่ที่ดินและบ้าน ที่ดินและที่พิพาทกับรถยนต์นั้น เมื่อสัญญาประนีประนอมระหว่างโจทก์และ ว.กับ ส.ลูกหนี้ระบุไว้ว่า หากทรัพย์สินดังกล่าวรายใดไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้ก็ต้องหักออกไปตามราคาที่ตกลงกัน หากตกลงกันไม่ได้ก็ให้ผู้ตีราคาซึ่งโจทก์เป็นผู้ตั้งขึ้นมาตีราคา คำวินิจฉัยของผู้ตีราคาดังกล่าวให้เป็นที่สุด ซึ่งหมายความว่า เมื่อมีการตกลงราคาหรือตีราคาทรัพย์สินแล้ว ก็จะต้องนำไปหักออกจากยอดเงินที่ระบุไว้ในสัญญา และถือว่า ว.และ ธ.ยังค้างชำระหนี้โจทก์อยู่เป็นหนี้เงินตามจำนวนเงินที่มีการตกลงหรือตีราคาทรัพย์สินนั้น เมื่อปรากฏว่า หลังจากจำเลยปฏิเสธไม่ยอมโอนที่พิพาทแก่โจทก์แล้ว โจทก์มีหนังสือถึง ว.และ ธ.ขอให้ตีราคาที่พิพาท จนต่อมาได้มีการตั้งผู้ตีราคาและตีราคาที่พิพาท แล้วโจทก์นำราคาทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ตีราคา เพราะไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้ไปรวมกับยอดเงินที่โจทก์ฟ้อง ว.และ ธ.เป็นคดีล้มละลาย และศาลมีคำสั่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในส่วนนี้ไปแล้ว ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ได้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นจากลูกหนี้แทนการชำระหนี้โดยการรับโอนที่พิพาทตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอม-ยอมความ ย่อมทำให้หนี้ของลูกหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะต้องโอนที่พิพาทแก่โจทก์เป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคแรก จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องโอนที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความอีก
การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องให้มีการโอนที่พิพาทชำระหนี้ต่อไป และยก ป.พ.พ.มาตรา 198 และมาตรา 199ขึ้นอ้างและปรับบทก็เพื่อวินิจฉัยให้เห็นว่าเมื่อโจทก์เลือกให้ ว.และ ธ.ลูกหนี้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้เป็นเงินแทนการโอนที่พิพาทแก่โจทก์เข้าข้อยกเว้นของ ป.พ.พ.มาตรา 198 แสดงว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องให้โอนที่พิพาทแล้ว ย่อมถือได้ว่าการชำระหนี้เป็นเงินแก่โจทก์เพียงอย่างเดียวเป็นการชำระหนี้อันกำหนดให้กระทำแต่ต้นมาตาม ป.พ.พ.มาตรา 199 โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิฟ้องให้จำเลยโอนที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์อีก อันอยู่ในประเด็นที่ว่าจำเลยมีหน้าที่ต้องโอนที่พิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์หรือไม่
การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องให้มีการโอนที่พิพาทชำระหนี้ต่อไป และยก ป.พ.พ.มาตรา 198 และมาตรา 199ขึ้นอ้างและปรับบทก็เพื่อวินิจฉัยให้เห็นว่าเมื่อโจทก์เลือกให้ ว.และ ธ.ลูกหนี้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้เป็นเงินแทนการโอนที่พิพาทแก่โจทก์เข้าข้อยกเว้นของ ป.พ.พ.มาตรา 198 แสดงว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องให้โอนที่พิพาทแล้ว ย่อมถือได้ว่าการชำระหนี้เป็นเงินแก่โจทก์เพียงอย่างเดียวเป็นการชำระหนี้อันกำหนดให้กระทำแต่ต้นมาตาม ป.พ.พ.มาตรา 199 โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิฟ้องให้จำเลยโอนที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์อีก อันอยู่ในประเด็นที่ว่าจำเลยมีหน้าที่ต้องโอนที่พิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์หรือไม่