คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 350

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3453/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้และการแบ่งมรดกจากทรัพย์สินที่ถูกยึด
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเดิมบิดาจำเลยเป็นหนี้โจทก์โดยเอาบ้านพิพาทค้ำประกันไว้เมื่อบิดาจำเลยตายจำเลยได้ชำระหนี้บางส่วนแทนผู้ตายแก่โจทก์ส่วนที่เหลือทำสัญญาไว้จำเลยไม่ชำระหนี้และศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์โดยยึดบ้านที่ค้ำประกันเพื่อขายทอดตลาดการที่จำเลยเข้าทำสัญญากู้กับโจทก์ยอมรับใช้หนี้ของบิดานั้นเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้โดยจำเลยเข้ารับภาระเป็นลูกหนี้แทนบิดาทำให้หนี้เดิมระงับและบิดาจำเลยลูกหนี้คนเก่าหลุดพ้นจากหนี้ไปการแปลงหนี้ดังกล่าวโจทก์จำเลยจะทำสัญญากันโดยลำพังไม่ต้องให้บิดาจำเลยลูกหนี้คนเก่าเข้ามาเกี่ยวข้องทำสัญญาด้วยก็ได้เพราะการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา350ห้ามแต่เพียงว่าจะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมไม่ได้เท่านั้นเมื่อบิดาจำเลยลูกหนี้คนเดิมตายไปแล้วกรณีที่จะถือว่าเป็นการขืนใจลูกหนี้เดิมก็ไม่มีหนี้ตามคำพิพากษาจึงเป็นหนี้ของจำเลยแต่ผู้เดียวผู้ร้องทั้งหกและจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายย่อมมีสิทธิรับมรดกบ้านที่ถูกยึดคนละส่วนผู้ร้องทั้งหมดจึงมีสิทธิขอกันส่วนเงินขายบ้านที่ถูกยึดคนละส่วนรวม6ส่วน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3453/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ และสิทธิในการรับมรดกของผู้ทายาท
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเดิมบิดาจำเลยเป็นหนี้โจทก์โดยเอาบ้านพิพาทค้ำประกันไว้ เมื่อบิดาจำเลยตาย จำเลยได้ชำระหนี้บางส่วนแทนผู้ตายแก่โจทก์ ส่วนที่เหลือทำสัญญาไว้ จำเลยไม่ชำระหนี้และศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์โดยยึดบ้านที่ค้ำประกันเพื่อขายทอดตลาด การที่จำเลยเข้าทำสัญญากู้กับโจทก์ยอมรับใช้หนี้ของบิดานั้นเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้โดยจำเลยเข้ารับภาระเป็นลูกหนี้แทนบิดา ทำให้หนี้เดิมระงับและบิดาจำเลยลูกหนี้คนเก่าหลุดพ้นจากหนี้ไป การแปลงหนี้ดังกล่าวโจทก์จำเลยจะทำสัญญากันโดยลำพังไม่ต้องให้บิดาจำเลยลูกหนี้คนเก่าเข้ามาเกี่ยวข้องทำสัญญาด้วยก็ได้ เพราะการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 ห้ามแต่เพียงว่าจะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมไม่ได้เท่านั้น เมื่อบิดาจำเลยลูกหนี้คนเดิมตายไปแล้ว กรณีที่จะถือว่าเป็นการขืนใจลูกหนี้เดิมก็ไม่มี หนี้ตามคำพิพากษาจึงเป็นหนี้ของจำเลยแต่ผู้เดียว ผู้ร้องทั้งหกและจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายย่อมมีสิทธิรับมรดกบ้านที่ถูกยึดคนละส่วน ผู้ร้องทั้งหมดจึงมีสิทธิขอกันส่วนเงินขายบ้านที่ถูกยึดคนละส่วน รวม 6 ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3453/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้และสิทธิในการรับส่วนแบ่งมรดกจากทรัพย์สินที่ถูกยึด
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเดิมบิดาจำเลยเป็นหนี้โจทก์โดยเอาบ้านพิพาทค้ำประกันไว้เมื่อบิดาจำเลยตาย จำเลยได้ชำระหนี้บางส่วนแทนผู้ตายแก่โจทก์ ส่วนที่เหลือทำสัญญาไว้ จำเลยไม่ชำระหนี้และศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์โดยยึดบ้านที่ค้ำประกันเพื่อขายทอดตลาดการที่จำเลยเข้าทำสัญญากู้กับโจทก์ยอมรับใช้หนี้ของบิดานั้นเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้โดยจำเลยเข้ารับภาระเป็นลูกหนี้แทนบิดา ทำให้หนี้เดิมระงับและบิดาจำเลยลูกหนี้คนเก่าหลุดพ้นจากหนี้ไป การแปลงหนี้ดังกล่าวโจทก์จำเลยจะทำสัญญากันโดยลำพังไม่ต้องให้บิดาจำเลยลูกหนี้คนเก่าเข้ามาเกี่ยวข้องทำสัญญาด้วยก็ได้ เพราะการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350ห้ามแต่เพียงว่าจะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมไม่ได้เท่านั้นเมื่อบิดาจำเลยลูกหนี้คนเดิมตายไปแล้วกรณีที่จะถือว่าเป็นการขืนใจลูกหนี้เดิมก็ไม่มีหนี้ตามคำพิพากษาจึงเป็นหนี้ของจำเลยแต่ผู้เดียว ผู้ร้องทั้งหกและจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายย่อมมีสิทธิรับมรดกบ้านที่ถูกยึดคนละส่วน ผู้ร้องทั้งหมดจึงมีสิทธิขอกันส่วนเงินขายบ้านที่ถูกยึดคนละส่วน รวม 6 ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในหนี้แทนบุคคลอื่น: สัญญาไม่มีผลเมื่อเจ้าหนี้ไม่ใช่เจ้าหนี้เดิม
การที่ ท.และ ส.ยืมเงินจากโจทก์ไปชำระให้แก่บุตรจำเลยเป็นค่าสมัครไปทำงานต่างประเทศ เมื่อ ท.และ ส.ไม่ได้ไปทำงานบุตรจำเลยจึงเป็นลูกหนี้ที่ต้องชำระเงินให้แก่ ท.และ ส.โจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้ของ ท.และ ส.เมื่อ ท.และ ส.มิได้โอนสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ บุตรจำเลยจึงไม่เป็นลูกหนี้โจทก์และไม่มีหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดใช้แทนแต่อย่างใด การแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบุตรจำเลยเป็นจำเลยจึงเกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้นการที่จำเลยทำสัญญากู้ให้โจทก์เพื่อชำระหนี้แทนบุตร จึงไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิด โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้รายนี้มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาเช่าซื้อและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย สิทธิสมบูรณ์ของผู้รับโอน
เดิม ธ. ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินกับจำเลยที่ 2 ต่อมา ธ. ได้โอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อที่ดินดังกล่าวให้แก่ เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ได้ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยที่ 2 จนครบถ้วนแล้ว แต่ยังไม่ทันได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ก็ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ดังนี้หนี้ขอรับชำระจึงเป็นหนี้ที่มีมูลมาจากการเช่าซื้อที่ดินซึ่งเจ้าหนี้ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจาก ธ. ผู้เช่าซื้อเดิม อันเป็นหนี้ที่มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จึงเป็นหนี้ที่ขอรับชำระได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 และเจ้าหนี้ เป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อนี้มาโดยชอบตามมาตรา 303 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการโอนสิทธิเรียกร้องก็ทำโดยถูกต้องสมบูรณ์ตามมาตรา 306 โดย ธ. ผู้โอนได้บันทึกการโอนสิทธิเป็นหนังสือ และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธินั้นได้บันทึกยินยอมไว้เป็น หนังสือในสัญญาเช่าซื้อโดยแจ้งชัด เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิสมบูรณ์ในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ โดยชอบ และกรณีไม่จำต้องมีการทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อกัน ใหม่ระหว่างเจ้าหนี้ผู้รับโอนกับจำเลยที่ 2 ผู้ให้เช่าซื้ออีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ในสัญญาประกันภัยต้องทำสัญญาใหม่ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ใหม่ การยินยอมโดยปริยายใช้ไม่ได้
สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งคู่สัญญาต่างก็เป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ การโอนและรับโอนบรรดากิจการทรัพย์สินและหนี้สินระหว่างโจทก์กับบริษัท ฮ. ซึ่งจำเลยเป็นผู้เอาประกันภัยไว้นั้น เป็นทั้งการโอนสิทธิเรียกร้องและการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่งจะต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่. แต่จะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมมิได้ แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งเมื่อได้รับทราบถึงการโอนดังกล่าวหรือเมื่อโจทก์ทวงถามให้ชำระเงินค่าเบี้ยประกันภัย เมื่อมิได้ทำเป็นสัญญากันระหว่างโจทก์และจำเลย จำเลยก็ไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้ชำระเบี้ยประกันภัยที่ค้างชำระ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิ/หนี้ในสัญญาประกันภัยต้องมีสัญญาระหว่างเจ้าหนี้-ลูกหนี้ใหม่ การรับทราบ/ทวงถามหนี้ไม่ผูกพันจำเลย
สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งคู่สัญญาต่างก็เป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้. การโอนและรับโอนบรรดากิจการทรัพย์สินและหนี้สินระหว่างโจทก์กับบริษัท ฮ. ซึ่งจำเลยเป็นผู้เอาประกันภัยไว้นั้น เป็นทั้งการโอนสิทธิเรียกร้องและการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่งจะต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่. แต่จะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมมิได้. แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งเมื่อได้รับทราบถึงการโอนดังกล่าวหรือเมื่อโจทก์ทวงถามให้ชำระเงินค่าเบี้ยประกันภัย. เมื่อมิได้ทำเป็นสัญญากันระหว่างโจทก์และจำเลย. จำเลยก็ไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้ชำระเบี้ยประกันภัยที่ค้างชำระ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การประนอมหนี้ที่ไม่สมบูรณ์
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์ ประเพณีการค้าขายที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเช่นนี้ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง และดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับเงินต้นย่อมกลายเป็นต้นเงิน มิใช่ดอกเบี้ยค้างชำระ ทั้งนี้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด เมื่อบอกเลิกแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น คงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดาหากไม่ชำระก็เป็นดอกเบี้ยค้างชำระหรือค้างส่ง ตามคำฟ้องของโจทก์เรียกดอกเบี้ยค้างชำระนับถึงวันฟ้องยังไม่เกินห้าปีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความหรือขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ซึ่งกู้เงินจากโจทก์ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 25,000 บาทรวมทั้งดอกเบี้ยตลอดจนค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ โดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าก่อนทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันในวันที่ 12 มกราคม 2513 จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่แล้ว 25,514.53 บาทต่อมาวันที่ 26 มิถุนายน 2513 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 48,939.41 บาท เห็นได้ว่ามีทั้งหนี้เก่าและหนี้ใหม่ระคนปนกันอยู่ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ย่อมจำกัดเพียงจำนวนเงิน 25,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2513 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ การที่ ส. อดีตผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ซึ่งยอมรับผิดต่อโจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์รวมทั้งจำเลยทั้งสองได้ทำบันทึกขึ้นฝ่ายเดียวมีข้อความว่าโจทก์ลดหย่อนความรับผิดชอบในส่วนตัวของ ส. โดยให้ ส. ชำระเงินจำนวนหนึ่งและยอมปลดจำนองที่ดินให้ ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ยอมปลดหนี้ให้จำเลยทั้งสอง แต่ปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นการลดหย่อนความรับผิดชอบส่วนตัวของ ส. ซึ่งจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812 หาใช่ปลดหนี้ให้จำเลยทั้งสองไม่ จึงไม่มีทางที่จำเลยที่ 2จะอ้างว่าหนี้รายนี้ระงับไปแล้วโดยการประนอมหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การประนอมหนี้ที่ไม่ผูกมัดจำเลย
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์ ประเพณีการค้าขายที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเช่นนี้ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง และดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับเงินต้นย่อมกลายเป็นต้นเงิน มิใช่ดอกเบี้ยค้างชำระ ทั้งนี้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด เมื่อบอกเลิกแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น คงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดาหากไม่ชำระก็เป็นดอกเบี้ยค้างชำระหรือค้างส่ง ตามคำฟ้องของโจทก์เรียกดอกเบี้ยค้างชำระนับถึงวันฟ้องยังไม่เกินห้าปี สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความหรือขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ซึ่งกู้เงินจากโจทก์ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 25,000 บาท รวมทั้งดอกเบี้ยตลอดจนค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายต่าง ๆโดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าก่อนทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันในวันที่ 12 มกราคม 2513จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่แล้ว 25,514.53 บาทต่อมาวันที่ 26มิถุนายน 2513 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 48,939.41 บาท เห็นได้ว่ามีทั้งหนี้เก่าและหนี้ใหม่ระคนปนกันอยู่ ความรับผิดของจำเลยที่ 2ย่อมจำกัดเพียงจำนวนเงิน 25,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2513 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
การที่ ส. อดีตผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ซึ่งยอมรับผิดต่อโจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์รวมทั้งจำเลยทั้งสองได้ทำบันทึกขึ้นฝ่ายเดียวมีข้อความว่าโจทก์ลดหย่อนความรับผิดชอบในส่วนตัวของ ส. โดยให้ ส. ชำระเงินจำนวนหนึ่งและยอมปลดจำนองที่ดินให้ ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ยอมปลดหนี้ให้จำเลยทั้งสอง แต่ปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นการลดหย่อนความรับผิดชอบส่วนตัวของ ส.ซึ่งจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 812 หาใช่ปลดหนี้ให้จำเลยทั้งสองไม่ จึงไม่มีทางที่จำเลยที่ 2จะอ้างว่าหนี้รายนี้ระงับไปแล้วโดยการประนอมหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันตามกฎหมาย อายุความ 10 ปี การสำคัญผิดไม่ใช่สาระสำคัญ
เดิมจำเลยที่ 1 ค้างชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์แก่โจทก์ต่อมาจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตกลงทำสัญญากันขึ้นฉบับหนึ่ง ซึ่งคู่สัญญาเรียกว่าสัญญาประนีประนอมยอมความ มีสาระสำคัญว่า จำเลยที่ 2 ยอมชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระให้แก่โจทก์โดยมอบเช็คของบริษัท ก. ซึ่งจำเลยที่ 2 สลักหลังรวม 20 ฉบับ ถ้าเช็คฉบับใดธนาคารปฏิเสธการใช้เงิน จำเลยที่ 2 ยอมเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการใช้เงินจนกว่าจะชำระเสร็จด้วย สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งคู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อหนี้ตามสัญญานี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ก็ต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
ที่จำเลยที่ 2 แก้ฎีกาว่าทำสัญญาตามเอกสารหมาย จ.4 โดยสำคัญผิดว่าตนเป็นผู้ค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อเดิม จึงเป็นโมฆะนั้น การสำคัญผิดเช่นนี้มิใช่สำคัญผิดในสาระสำคัญ ของนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 สัญญาตามเอกสารหมาย จ.4 จึงไม่เป็นโมฆะ
of 15