พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15344/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันจำหน่ายยาเสพติด และแก้ไขโทษจำคุกที่ผิดพลาดในคำพิพากษา
คำพิพากษาของศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 แต่ละกระทงรวมแล้วต้องเป็นโทษจำคุก 35 ปี 9 เดือน แต่พิมพ์โทษรวมจำคุกจำเลยที่ 1 ผิดผลาดเป็น 30 ปี 9 เดือน ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 190 ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12668/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่รอการลงโทษเจ้ามือการพนัน: ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจจากพยานหลักฐานและวงเงินพนันได้ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้ามือที่มีวงเงินในการเล่นการพนันเป็นจำนวนมาก เป็นการวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจากับบัญชีของกลางคดีอาญาท้ายบันทึกการฟ้องดังกล่าวว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยทั้งสิบสามคนพร้อมเงินสด 28,000 บาท และอุปกรณ์ในการเล่นการพนัน นอกจากนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 มาตรา 5 ด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงนำบทบัญญัติดังกล่าวมาวินิจฉัยลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 เป็นการให้เหตุผลถึงการใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำเลยที่ 1 ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจากับบัญชีของกลางคดีอาญาท้ายบันทึกการฟ้องและคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 ประกอบมาตรา 215 พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12338/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์โดยร่วมกระทำความผิด: การสับเปลี่ยนห่อผ้าเพื่อชิงทรัพย์สิน
จำเลยทำทีเป็นเก็บกระเป๋าสตางค์ได้ โดยพวกของจำเลยถามจำเลยว่าในกระเป๋ามีทองเต็มใช่หรือไม่ จำเลยเปิดกระเป๋าสตางค์ออกดู ผู้เสียหายมองเห็นทองรูปพรรณในกระเป๋า 3 ถึง 4 เส้น จำเลยพูดว่าจะให้เงินผู้เสียหาย 10,000 บาท แต่อย่าบอกผู้ใด และบอกให้ผู้เสียหายถอดสร้อยคอทองคำพร้อมพระเครื่องเอามารวมไว้ในห่อผ้าเช็ดหน้า แล้วผูกผ้าเช็ดหน้าให้ผู้เสียหายถือไว้และให้ยืนรอ โดยจำเลยจะนำเงินมาให้ ผู้เสียหายรออยู่ 1 ชั่วโมง จำเลยไม่กลับมา ผู้เสียหายแกะห่อผ้าเช็ดหน้าออกดู พบว่ามีเงินเหรียญบาท 32 เหรียญ ดังนี้จำเลยกับพวกมีเจตนาที่จะเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปตั้งแต่แรก การที่จำเลยหลอกลวงว่าจะให้เงินผู้เสียหาย 10,000 บาท และให้ถอดสร้อยคอทองคำพร้อมพระเครื่องเอามารวมไว้ ล้วนเป็นการใช้กลอุบายเพื่อให้ได้ไปซึ่งสร้อยคอทองคำพร้อมพระเครื่องของผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายจะหลงเชื่อ แต่ผู้เสียหายก็ไม่ได้มีเจตนาส่งมอบสร้อยคอทองคำพร้อมพระเครื่องให้แก่จำเลย สาเหตุที่จำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปได้ เชื่อว่าเกิดจากการสับเปลี่ยนห่อผ้าเช็ดหน้า ซึ่งเป็นการแย่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของผู้เสียหาย จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) วรรคแรก แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาจะต่างกันระหว่างการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงและลักทรัพย์ก็ไม่ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญและจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปได้ แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยให้เป็นไปตามอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10075/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจรอการลงโทษ แม้ศาลไม่ได้ระบุชัดเจนในคำพิพากษา ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องตามรูปคดี
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) วรรคแรก ลงโทษจำคุก 4 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับจำเลย 4,000 บาท อีกสถานหนึ่ง ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงปรับ 2,000 บาท ให้คุมความประพฤติจำเลยไว้มีกำหนด 1 ปี โดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง ตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรกำหนด กับให้จำเลยทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติและจำเลยเห็นสมควร มีกำหนด 24 ชั่วโมง ตาม ป.อ. มาตรา 56 หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มิได้กล่าวในคำพิพากษาให้รอการลงโทษจำเลยก็ตาม แต่กรณีเป็นที่เห็นได้ชัดว่าศาลอุทธรณ์ภาค 5 ใช้ดุลพินิจให้ความปรานีรอการลงโทษแก่จำเลย เป็นแต่มิได้กล่าวบรรยายในคำพิพากษาให้ครบถ้วน อันนับว่าเป็นการพิพากษาโดยผิดหลง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจให้แก้ไขให้ถูกต้องตามรูปคดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 190 ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8634/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์สินหาย: การครอบครองลูกกุญแจสูญหายหลังการติดตามหาเป็นเหตุให้ฟังได้ว่ามีเจตนายักยอก
ก. ตรวจค้นพบลูกกุญแจของกลางที่ตัวจำเลย เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2548 หลังจากวันที่จำเลยอ้างว่าเก็บลูกกุญแจของกลางได้สองวัน ทั้งที่จำเลยทราบดีว่ามีการพยายามติดตามหาเนื่องจากเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการรักษาความปลอดภัยในโรงแรม จึงฟังได้ว่าจำเลยเบียดบังลูกกุญแจของกลางซึ่งเป็นทรัพย์สินหายดังกล่าวไว้โดยทุจริต แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร แต่ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์สินหาย ตามป.อ. มาตรา 352 วรรคสอง จึงเป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดมิใช่ต่างกันในข้อสาระสำคัญ และไม่ถือว่าเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้เนื่องจากนำสืบรับข้อเท็จจริงในส่วนนี้ ศาลฎีกาจึงลงโทษจำเลยฐานยักยอกได้ ตามป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6505/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ในชั้นพิจารณา ศาลต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
โจทก์บรรยายฟ้องในข้อสาระสำคัญของการกระทำความผิดว่าจำเลยกระทำโดยประมาทด้วยการขับรถด้วยความเร็วสูงเกินสมควรและไม่ชะลอความเร็วเมื่อถึงสี่แยก แต่ทางพิจารณากลับได้ความว่าจำเลยจอดรถอยู่ที่สี่แยกและเพิ่งขับรถเคลื่อนที่เมื่อได้รับสัญญาณจราจรไฟสีเขียวแล้วชนรถจักรยานยนต์ของโจทก์ร่วมที่ 1 เพราะมองไม่เห็นมิใช่เพราะการขับรถเร็วหรือไม่ชะลอความเร็วตามฟ้อง ดังนี้ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงในฟ้อง ทั้งเป็นข้อสาระสำคัญ ศาลต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำผิด พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ การค้าเพื่อผลกำไร vs. การหาเงินจุนเจือครอบครัว
การที่จำเลยนำแผ่นซีดีภาพยนตร์ของกลางซึ่งเป็นของเก่า และมีจำนวนเล็กน้อยเพียง 27 แผ่น ออกมาวางจำหน่ายในร้านแผงลอยปะปนกับสินค้าอื่นอย่างเปิดเผยในราคาที่ต่ำกว่าทุนมาก มิได้มีลักษณะของการค้าเพื่อการแสวงหาผลกำไร จึงมีเหตุผลที่น่าเชื่อว่าเป็นเพราะจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่า การนำเอาแผ่นซีดีภาพยนตร์เก่าออกมาจำหน่ายในลักษณะดังกล่าว มิใช่เป็นการประกอบกิจการในการจำหน่ายภาพยนตร์ซึ่งต้องได้รับอนุญาตนั่นเอง เพราะไม่มีเหตุผลใดเลยที่จำเลยจะต้องมาสุ่มเสี่ยงต่อโทษปรับในอัตราที่สูงเพียงการได้รับค่าตอบแทนที่น้อยมากเช่นนี้ ตามสภาพและพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลย ฟังได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตโดยถูกต้อง จำเลยจึงไม่มีความผิดตามฟ้อง ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำผิดก็ชอบที่ศาลฎีกาจะยกฟ้องโจทก์เสียได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5117/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปล้นทรัพย์-กรรโชกกรรมเดียว: ศาลฎีกายืนโทษจำเลยฐานร่วมกันปล้นทรัพย์โดยพิจารณาจากเจตนาและพฤติการณ์ต่อเนื่อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามข่มขืนใจผู้เสียหายให้มอบเงิน 40,000 บาท ผู้เสียหายต่อรองเหลือ 35,000 บาท แต่ทางพิจารณาได้ความผู้เสียหายให้เงิน 50,000 บาท ถือเป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดเพราะไม่ว่าเป็นเงินเท่าใดก็เป็นความผิด และไม่มีจำเลยคนใดหลงต่อสู้ ศาลฎีกาลงโทษจำเลยทั้งสามได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
จำเลยทั้งสามร่วมกันล่อหลอกให้ผู้เสียหายไปหา แล้วใช้อาวุธปืนขู่บังคับให้ผู้เสียหายขึ้นรถยนต์ ระหว่างอยู่ในรถมีทั้งการทำร้ายร่างกายผู้เสียหายขู่เข็ญให้ผู้เสียหายไปล่อซื้อยาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวิธีการที่จะให้ผู้เสียหายยอมให้หรือยอมจะให้พวกตนได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน และเอาทรัพย์สินของผู้เสียหายไป พวกจำเลยยังนำบัตรเอทีเอ็มไปถอนเงินของผู้เสียหายออกมาและขู่เข็ญผู้เสียหายจนยอมที่จะให้เงินแก่พวกจำเลยเป็นการทดแทนที่จะให้ไปล่อซื้อยาเสพติดให้โทษ แสดงว่า จำเลยทั้งสามมีเจตนาที่จะให้ได้ทรัพย์สินของผู้เสียหายมากที่สุดโดยไม่คำนึงถึงวิธีการและจะให้ได้มาอย่างไร การกระทำความผิดมีลักษณะต่อเนื่องไม่ขาดตอน และการกระทำที่เป็นองค์ประกอบแห่งความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์กับความผิดฐานร่วมกันกรรโชกเกิดขึ้นซ้อนกัน ทั้งความผิดฐานร่วมกันกรรโชกเป็นความผิดสำเร็จแล้วตั้งแต่ผู้เสียหายยอมให้ทรัพย์สินที่พวกจำเลยเอาไปและยอมจะให้เงินแก่พวกจำเลยอีกในภายหลัง การที่จำเลยทั้งสามจะได้เงินส่วนที่ผู้เสียหายตกลงจะให้ในภายหลังหรือไม่ หามีผลให้การกระทำความผิดฐานร่วมกันกรรโชกไม่เป็นความผิดสำเร็จไม่ การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันกรรโชกและร่วมกันปล้นทรัพย์จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
จำเลยทั้งสามร่วมกันล่อหลอกให้ผู้เสียหายไปหา แล้วใช้อาวุธปืนขู่บังคับให้ผู้เสียหายขึ้นรถยนต์ ระหว่างอยู่ในรถมีทั้งการทำร้ายร่างกายผู้เสียหายขู่เข็ญให้ผู้เสียหายไปล่อซื้อยาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวิธีการที่จะให้ผู้เสียหายยอมให้หรือยอมจะให้พวกตนได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน และเอาทรัพย์สินของผู้เสียหายไป พวกจำเลยยังนำบัตรเอทีเอ็มไปถอนเงินของผู้เสียหายออกมาและขู่เข็ญผู้เสียหายจนยอมที่จะให้เงินแก่พวกจำเลยเป็นการทดแทนที่จะให้ไปล่อซื้อยาเสพติดให้โทษ แสดงว่า จำเลยทั้งสามมีเจตนาที่จะให้ได้ทรัพย์สินของผู้เสียหายมากที่สุดโดยไม่คำนึงถึงวิธีการและจะให้ได้มาอย่างไร การกระทำความผิดมีลักษณะต่อเนื่องไม่ขาดตอน และการกระทำที่เป็นองค์ประกอบแห่งความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์กับความผิดฐานร่วมกันกรรโชกเกิดขึ้นซ้อนกัน ทั้งความผิดฐานร่วมกันกรรโชกเป็นความผิดสำเร็จแล้วตั้งแต่ผู้เสียหายยอมให้ทรัพย์สินที่พวกจำเลยเอาไปและยอมจะให้เงินแก่พวกจำเลยอีกในภายหลัง การที่จำเลยทั้งสามจะได้เงินส่วนที่ผู้เสียหายตกลงจะให้ในภายหลังหรือไม่ หามีผลให้การกระทำความผิดฐานร่วมกันกรรโชกไม่เป็นความผิดสำเร็จไม่ การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันกรรโชกและร่วมกันปล้นทรัพย์จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1842/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.เช็ค: ต้องมีการยื่นเช็คและธนาคารปฏิเสธการใช้เงิน
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 จะเห็นได้ว่า ข้อความที่ว่า "ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีความผิด ฯลฯ" จึงเป็นองค์ประกอบที่ทำให้ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 เกิดขึ้น แต่ตามฟ้องโจทก์ไม่มีคำบรรยายให้ฟังได้ว่า โจทก์ยื่นเช็คฉบับที่ 2 ถึงที่ 10 เพื่อให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คและธนาคารปฏิเสธการใช้เงินแต่ประการใด ทั้งมิได้อ้างใบคืนเช็คฉบับที่ 2 ถึงที่ 10 แนบมาท้ายฟ้องเป็นหลักฐานอันจะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องแต่อย่างใด ตามฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า เมื่อเช็คฉบับแรกถึงกำหนดเรียกเก็บเงิน โจทก์นำเช็คฉบับดังกล่าวเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ให้เหตุผลว่าบัญชีปิดแล้วนั้น ก็เป็นวันที่เกิดการกระทำความผิดในการออกเช็คฉบับแรกฉบับเดียว ในวันดังกล่าวเช็คฉบับที่ 2 ถึงที่ 10 ยังไม่ถึงกำหนดชำระและโจทก์มิได้ยื่นเช็คเพื่อเรียกเก็บ ซึ่งหากธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 จึงมิใช่วันที่จำเลยกระทำความผิดตามเช็คฉบับที่ 2 ถึงที่ 10 จึงขาดองค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจฟังลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215, 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดหลายบท: การพิจารณาโทษอาญาจากพฤติการณ์ต่อเนื่อง
แม้โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกในเวลากลางคืนโดยใช้กำลังประทุษร้ายกับความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายและจิตใจ เป็นความผิดหลายกรรม และจำเลยให้การรับสารภาพในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว ซึ่งศาลสามารถพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตามที่จำเลยให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดหลายกรรมโดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์สืบพยานหลักฐานในข้อหาพยายามฆ่าแล้วปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยกับพวกร่วมกันบุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายที่ 4 แล้วทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 ทันที ซึ่งเป็นการกระทำต่อเนื่องในคราวเดียวกันอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 90 มิใช่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษา ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาตามที่พิจารณาได้ ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225