พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอรับฟังการนำยาเสพติดเข้าประเทศ ศาลฎีกายกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาร่วมกันนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย และเป็นผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ความผิดในข้อหาเป็นผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับจำเลยทั้งสองคนละ 1,200 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสองฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการกำหนดโทษของศาลล่างทั้งสองเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
ความผิดในข้อหาร่วมกันนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอรับฟังว่าจำเลยทั้งสองเดินทางออกจากราชอาณาจักรไทยแล้วกลับเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาเพื่อจำหน่าย พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมา ยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายหรือไม่ และยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง แล้ว ศาลฎีกาก็ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยทั้งสองในความผิดข้อหาเป็นผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายด้วย เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
ความผิดในข้อหาร่วมกันนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอรับฟังว่าจำเลยทั้งสองเดินทางออกจากราชอาณาจักรไทยแล้วกลับเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาเพื่อจำหน่าย พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมา ยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายหรือไม่ และยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง แล้ว ศาลฎีกาก็ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยทั้งสองในความผิดข้อหาเป็นผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายด้วย เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11427/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการลงนิคหกรรมสงฆ์: เจ้าคณะจังหวัดใช้อำนาจเกินขอบเขตตามกฎมหาเถรสมาคม
ความผิดตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 26 บัญญัติว่า พระภิกษุรูปใดล่วงละเมิดพระธรรมวินัยและได้มีคำวินิจฉัยถึงที่สุดให้ได้รับนิคหกรรมให้สึก ต้องสึกภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ได้ทราบคำวินิจฉัย นั้น หมายความว่าคำวินิจฉัยของคณะผู้พิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้นต้องเป็นไปตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2521) ลักษณะ 2 เรื่อง ผู้มีอำนาจลงนิคหกรรม ซึ่งตามกฎมหาเถรสมาคมดังกล่าว ข้อ 7 มีความว่า การลงนิคหกรรมเกี่ยวกับความผิดของพระภิกษุผู้ปกครองสงฆ์ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตจังหวัดที่สังกัดอยู่ ให้เป็นอำนาจของเจ้าคณะตำบลเจ้าสังกัดเป็นผู้พิจารณา การที่คดีนี้เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่นเป็นผู้พิจารณาลงโทษโดยไม่ปรากฏเหตุขัดข้องที่ทำให้เจ้าคณะตำบลเปือยใหญ่ไม่อาจเป็นผู้พิจารณาได้ จึงไม่เป็นไปตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11 คำวินิจฉัยของเจ้าคณะจังหวัดจึงไม่ใช่คำวินิจฉัยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 แม้จำเลยจะทราบคำสั่งและไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวก็ไม่ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215, 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11111/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการลงโทษจำเลยในความผิดฐานใดฐานหนึ่งที่ฟ้องไว้ แม้โจทก์มิได้ฎีกา
คดีนี้นอกจากโจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานลักทรัพย์แล้ว โจทก์ยังบรรยายฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานร่วมกันรับของโจรด้วย โดยให้ศาลเลือกลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานใดฐานหนึ่งในระหว่างความผิดสองฐานดังกล่าวก็ได้ ดังนั้นแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานลักทรัพย์ โดยโจทก์มิได้ฎีกาและจำเลยที่ 3 ฎีกาขอให้ยกฟ้องความผิดฐานลักทรัพย์ก็ตามหากศาลฎีกาพิจารณาแล้ว ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 3 กระทำความผิดฐานรับของโจร ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานรับของโจรได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ประกอบมาตรา 215, 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10288/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือพยานหลักฐาน, การชี้ตัวผู้ต้องหา, และการเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาจากชิงทรัพย์เป็นรับของโจร
คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนและบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพก็เป็นพยานบอกเล่า และจำเลยนำสืบปฏิเสธว่ามิได้เกิดจากความสมัครใจเช่นนี้ คำให้การดังกล่าวโดยลำพังไม่อาจรับฟังเพื่อลงโทษจำเลยได้ กรณีมีความสงสัยตามสมควรว่าผู้เสียหายจำจำเลยได้ว่าเป็นคนร้ายที่ชิงทรัพย์ของผู้เสียหายหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง พฤติการณ์ของจำเลยที่ซื้อรถจักรยานยนต์ดังกล่าวมาในสภาพที่มีร่องรอยการขูดลบแก้ไขหมายเลขเครื่องยนต์และหมายเลขตัวถังรถ ไม่มีแผ่นป้ายทะเบียน ไม่ติดแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษี และไม่ได้สมุดคู่มือจดทะเบียน ซึ่งเป็นสภาพที่ผิดปกติจากการซื้อขายรถจักรยานยนต์ทั่วไป จึงเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้ซื้อไว้โดยสุจริต และย่อมรู้ว่าเป็นรถจักรยานยนต์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด แต่ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบยังรับฟังไม่ได้ว่าขณะซื้อรถจักรยานยนต์ดังกล่าวจำเลยรู้ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการชิงทรัพย์ การกระทำของจำเลยคงเป็นความผิดฐานรับของโจรตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคแรก เท่านั้น แม้โจทก์จะไม่ได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานรับของโจร และข้อเท็จจริงที่ปรากฏในระหว่างการพิจารณาแตกต่างกับที่กล่าวในฟ้อง แต่เป็นข้อแตกต่างระหว่างการกระทำความผิดฐานรับของโจรและชิงทรัพย์ ซึ่งความผิดฐานชิงทรัพย์ได้รวมการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์อยู่ด้วยแล้ว จึงไม่ให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อพิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องที่เกินคำขอหรือโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9900/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายเลือกตั้งใหม่ยกเลิกความผิดเดิม ทำให้จำเลยพ้นจากความผิดฐานก่อให้เกิดความวุ่นวายในการเลือกตั้ง
ในขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มี พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป และเมื่อปี 2546 มีการออกพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวแก่การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นทุกประเภท ซึ่งตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ยกเลิก พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลทุกฉบับ และ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ไม่ได้บัญญัติถึงลักษณะความผิดฐานก่อให้เกิดการวุ่นวายในที่เลือกตั้งตามที่โจทก์ฟ้องไว้อีก จึงเป็นกรณีที่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังมิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดต่อไป จำเลยที่ 1 จึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดเช่นนี้ จึงเป็นเหตุยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิด อันเป็นเหตุยกฟ้องหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายนี้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยนี้ขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215, 225
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิด อันเป็นเหตุยกฟ้องหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายนี้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยนี้ขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215, 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8867/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพยายามกระทำความผิดฐานพาเด็กอายุต่ำกว่าสิบห้าปีเพื่ออนาจาร แม้ไม่บรรลุผลก็มีโทษ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า จำเลยพูดชักชวนผู้เสียหายให้ไปร่วมประเวณีกับ อ. แต่พิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่ครบองค์ประกอบความผิด โจทก์อุทธรณ์ จำเลยกล่าวแก้อุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้พูดชักชวนผู้เสียหายให้ไปร่วมหลับนอนด้วย คดีจึงมีประเด็นในชั้นอุทธรณ์ตามคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยว่าจำเลยพูดชักชวนผู้เสียหายหรือไม่
จำเลยเพียงแต่พูดชักชวนผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีให้ไปร่วมหลับนอนกับ อ. แล้วจะให้โทรศัพท์เคลื่อนที่และเงินเป็นการตอบแทน โดยไม่ปรากฏพฤติการณ์ใด ๆ ที่ส่อแสดงว่าจำเลยใช้อุบายและพูดไม่จริง หรือจะไม่ให้สิ่งของดังกล่าวตอบแทนเมื่อผู้เสียหายตกลง จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวง เป็นการขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 วรรคสาม ผู้เสียหายถูกจำเลยพูดชักชวน ผู้เสียหายทำทีพยักหน้าแต่ไม่ตกลงด้วย เท่ากับผู้เสียหายไม่ยินยอม การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 282 วรรคสาม เมื่อผู้เสียหายไม่ไปด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพยายามกระทำความผิดตามมาตราดังกล่าว และถือว่าความผิดที่ฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างเป็นความผิดได้ในตัวเอง ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหก ประกอบมาตรา 215 และ 225
จำเลยเพียงแต่พูดชักชวนผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีให้ไปร่วมหลับนอนกับ อ. แล้วจะให้โทรศัพท์เคลื่อนที่และเงินเป็นการตอบแทน โดยไม่ปรากฏพฤติการณ์ใด ๆ ที่ส่อแสดงว่าจำเลยใช้อุบายและพูดไม่จริง หรือจะไม่ให้สิ่งของดังกล่าวตอบแทนเมื่อผู้เสียหายตกลง จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวง เป็นการขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 วรรคสาม ผู้เสียหายถูกจำเลยพูดชักชวน ผู้เสียหายทำทีพยักหน้าแต่ไม่ตกลงด้วย เท่ากับผู้เสียหายไม่ยินยอม การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 282 วรรคสาม เมื่อผู้เสียหายไม่ไปด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพยายามกระทำความผิดตามมาตราดังกล่าว และถือว่าความผิดที่ฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างเป็นความผิดได้ในตัวเอง ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหก ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7898/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานยืนยันจำเลยเป็นผู้ลงมือยิงผู้ตาย ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ในการไต่สวนคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลย แม้ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งวันนัดไต่สวนให้โจทก์ร่วมทั้งสองมีโอกาสคัดค้านก่อน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21 (2) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ซึ่งคู่ความฝ่ายที่เสียหายอาจขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคแรก ก็ตาม แต่การที่จะขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น ตามวรรคสองของมาตราดังกล่าวกำหนดให้คู่ความฝ่ายที่เสียหายต้องยกข้อค้านเรื่องผิดระเบียบขึ้นไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความ หรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น
คดีปรากฏตามสำนวนว่าศาลชั้นต้นเบิกจำเลยซึ่งต้องขังอยู่ในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราชมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2548 ซึ่งจะครบกำหนดที่จำเลยต้องยื่นฎีกาในวันที่ 23 ธันวาคม 2548 และศาลชั้นต้นนัดฝ่ายโจทก์มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 วันที่ 19 ธันวาคม 2548 โจทก์ร่วมทั้งสองได้รับสำเนาฎีกาของจำเลยเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2549 และทนายโจทก์ร่วมทั้งสองทำคำแก้ฎีกามายื่นต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2549 ดังนี้ ทนายโจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งปรากฏว่าได้รับหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ด้วยย่อมเห็นได้จากสำเนาฎีกาของจำเลยว่า จำเลยยื่นฎีกาลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2549 ภายหลังวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้ฝ่ายโจทก์ฟังเป็นเวลาถึง 2 เดือน ซึ่งเห็นได้ชัดว่าจำเลยจะต้องยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนด 1 เดือน นับแต่จำเลยได้ฟังคำพิพากษา ย่อมทราบถึงการที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้จำเลยโดยไม่ได้ให้โจทก์ร่วมทั้งสองมีโอกาสคัดค้านคำร้องของจำเลยตั้งแต่ได้รับสำเนาฎีกาจากโจทก์ร่วมทั้งสองก่อนจะยื่นคำแก้ฎีกาในวันที่ 7 มีนาคม 2549 แล้ว ซึ่งถือว่าโจทก์ร่วมทั้งสองได้ทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างที่ขอให้เพิกถอนการพิจารณาตามคำร้องนับแต่นั้นแล้ว แต่โจทก์ร่วมทั้งสองมิได้ยื่นคำร้องอย่างช้าภายใน 8 วัน นับแต่ทราบพฤติการณ์ดังกล่าวตามที่กฎหมายกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ โดยโจทก์ร่วมทั้งสองเพิ่งมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้จำเลยเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2549 คำร้องของโจทก์ร่วมทั้งสองจึงยื่นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้อง
จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้องโดยอ้างว่าพยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย อันเป็นการฎีกาว่าจำเลยไม่ได้มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืนตามฟ้องอันเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกันไปด้วยในตัว แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานพาอาวุธปืนไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุกกระทงละไม่เกินห้าปี ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่หากข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีอาวุธปืน และพาอาวุธปืนด้วย ศาลก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คดีปรากฏตามสำนวนว่าศาลชั้นต้นเบิกจำเลยซึ่งต้องขังอยู่ในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราชมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2548 ซึ่งจะครบกำหนดที่จำเลยต้องยื่นฎีกาในวันที่ 23 ธันวาคม 2548 และศาลชั้นต้นนัดฝ่ายโจทก์มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 วันที่ 19 ธันวาคม 2548 โจทก์ร่วมทั้งสองได้รับสำเนาฎีกาของจำเลยเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2549 และทนายโจทก์ร่วมทั้งสองทำคำแก้ฎีกามายื่นต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2549 ดังนี้ ทนายโจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งปรากฏว่าได้รับหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ด้วยย่อมเห็นได้จากสำเนาฎีกาของจำเลยว่า จำเลยยื่นฎีกาลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2549 ภายหลังวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้ฝ่ายโจทก์ฟังเป็นเวลาถึง 2 เดือน ซึ่งเห็นได้ชัดว่าจำเลยจะต้องยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนด 1 เดือน นับแต่จำเลยได้ฟังคำพิพากษา ย่อมทราบถึงการที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้จำเลยโดยไม่ได้ให้โจทก์ร่วมทั้งสองมีโอกาสคัดค้านคำร้องของจำเลยตั้งแต่ได้รับสำเนาฎีกาจากโจทก์ร่วมทั้งสองก่อนจะยื่นคำแก้ฎีกาในวันที่ 7 มีนาคม 2549 แล้ว ซึ่งถือว่าโจทก์ร่วมทั้งสองได้ทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างที่ขอให้เพิกถอนการพิจารณาตามคำร้องนับแต่นั้นแล้ว แต่โจทก์ร่วมทั้งสองมิได้ยื่นคำร้องอย่างช้าภายใน 8 วัน นับแต่ทราบพฤติการณ์ดังกล่าวตามที่กฎหมายกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ โดยโจทก์ร่วมทั้งสองเพิ่งมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้จำเลยเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2549 คำร้องของโจทก์ร่วมทั้งสองจึงยื่นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้อง
จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้องโดยอ้างว่าพยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย อันเป็นการฎีกาว่าจำเลยไม่ได้มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืนตามฟ้องอันเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกันไปด้วยในตัว แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานพาอาวุธปืนไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุกกระทงละไม่เกินห้าปี ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่หากข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีอาวุธปืน และพาอาวุธปืนด้วย ศาลก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7892/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษในชั้นอุทธรณ์ และการใช้กฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่เพื่อประโยชน์แก่จำเลย
แม้จำเลยจะไม่อุทธรณ์ขอให้ลดโทษและโจทก์อุทธรณ์เพียงข้อกฎหมายว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้สำหรับความผิดฐานนั้นสูงเกินไป ก็มีอำนาจกำหนดโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมแก่รูปคดี อันเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษแก่จำเลยตามความผิดของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกอุทธรณ์ซึ่งจะเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 192 ประกอบด้วยมาตรา 215 แต่อย่างใด
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2551 มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 75 และมาตรา 76 แห่ง ป.อ. และให้ใช้ข้อความใหม่แทน สำหรับคดีนี้ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 17 ปีเศษ การลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 (เดิม) กำหนดไว้ว่า ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดสำหรับความผิดนั้นลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้ แต่ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะบังคับตาม ป.อ. มาตรา 75 ซึ่งกำหนดไว้ว่า ถ้าศาลเห็นสมควรพิจารณาลงโทษก็ให้ลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดลงกึ่งหนึ่ง กรณีจึงเป็นเรื่องที่กฎหมายบังคับว่าศาลจะต้องลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลย มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควร การลดมาตราส่วนโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2551 มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 75 และมาตรา 76 แห่ง ป.อ. และให้ใช้ข้อความใหม่แทน สำหรับคดีนี้ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 17 ปีเศษ การลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 (เดิม) กำหนดไว้ว่า ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดสำหรับความผิดนั้นลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้ แต่ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะบังคับตาม ป.อ. มาตรา 75 ซึ่งกำหนดไว้ว่า ถ้าศาลเห็นสมควรพิจารณาลงโทษก็ให้ลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดลงกึ่งหนึ่ง กรณีจึงเป็นเรื่องที่กฎหมายบังคับว่าศาลจะต้องลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลย มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควร การลดมาตราส่วนโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5445/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีทรัพย์สินทางปัญญา: กฎหมายใหม่เป็นคุณแก่จำเลย แม้ฟ้องหลังยกเลิกกฎหมายเก่า ศาลต้องใช้กฎหมายใหม่บังคับ
จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ มีดีวีดีและวีซีดีภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ที่ภาพและเสียงของเรื่องไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานไว้ในสถานประกอบกิจการ และฐานผู้ได้รับอนุญาตมีภาพยนตร์ที่ไม่ได้แสดงเครื่องหมายการอนุญาต ประเภทภาพยนตร์และหมายเลขรหัสไว้ในสถานประกอบการเพื่อจำหน่ายอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาตรา 35 (1) และมาตรา 36 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2549 อันเป็นเวลาขณะที่ พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ยังใช้บังคับ ซึ่งความผิดตามมาตรา 35 (1) มีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และความผิดตามมาตรา 36 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) จำเลยถูกฟ้องเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 ซึ่งขณะนั้น พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ใช้บังคับแล้วโดยมีผลยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 และการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 78 และมาตรา 43 ประกอบมาตรา 80 ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่มีระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาทและระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท โดยไม่มีโทษจำคุก จึงมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) ดังนั้น กฎหมายใหม่จึงเป็นคุณแก่จำเลยต้องใช้ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาบังคับใช้แก่การกระทำความผิดของจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 จึงต้องนำอายุความตามกฎหมายใหม่มาใช้บังคับแก่จำเลย เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว คดีนี้จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานในคดีชำเรา ความพิรุธของคำให้การ และหลักการยกประโยชน์แห่งความสงสัย
จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายเป็นความผิด 2 กระทง กระทงแรกกระทำในขณะผู้เสียหายอายุยังไม่เกิน 13 ปี อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง (เดิม) กระทงที่ 2 กระทำผิดในขณะผู้เสียหายอายุเกิน 13 ปี แต่ยังไม่เกิน 15 ปี อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) แม้กระทงความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) จะต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาซึ่งครอบคลุมไปถึงความผิดดังกล่าว ยังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยได้กระทำความผิดดังกล่าวด้วยหรือไม่ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องไปถึงได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบ มาตรา 215 และ 225