พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษสำหรับเจ้าพนักงานกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การมีครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่ใช่ความผิดตามมาตรา 100
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองตามพ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจึงต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามพ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10
ตามพ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้บัญญัติว่า " กรรมการและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.นี้หรือข้าราชการหรือพนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐผู้ใด ผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษอันเป็นการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.นี้หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น " ดังนั้น การกระทำความผิดที่ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นความผิดฐานผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออก หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเท่านั้น แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายทั้งการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็มิได้อยู่ในความหมายของคำว่า จำหน่าย ตามมาตรา 4 แต่อย่างใด แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจระวางโทษเป็นสามเท่าตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้ ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบ มาตรา 215 และมาตรา 225
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษในสถานเบานั้น เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้าน จึงเป็นเจ้าพนักงานซึ่งพ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น และเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนถึง 2,340 เม็ด โทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดจึงเหมาะสมแล้ว
ตามพ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้บัญญัติว่า " กรรมการและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.นี้หรือข้าราชการหรือพนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐผู้ใด ผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษอันเป็นการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.นี้หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น " ดังนั้น การกระทำความผิดที่ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นความผิดฐานผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออก หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเท่านั้น แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายทั้งการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็มิได้อยู่ในความหมายของคำว่า จำหน่าย ตามมาตรา 4 แต่อย่างใด แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจระวางโทษเป็นสามเท่าตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้ ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบ มาตรา 215 และมาตรา 225
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษในสถานเบานั้น เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้าน จึงเป็นเจ้าพนักงานซึ่งพ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น และเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนถึง 2,340 เม็ด โทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดจึงเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดต่อเนื่อง ข่มขืนฯ หน่วงเหนี่ยวกักขัง และการพิพากษาความผิดฐานกระทำอนาจาร
จำเลยกับพวกขึ้นไปบนบ้านของผู้เสียหายที่ 1 แล้วจับแขนผู้เสียหายที่ 2 ลากลงจากบ้านพาไปข่มขืนกระทำชำเรายังบ้านที่เกิดเหตุนั้นเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียวกันไม่ขาดตอน และตามพฤติการณ์ก็เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อข่มขืนกระทำชำเรา ผู้เสียหายที่ 2 เป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ซึ่งเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกร่วมกันพาหญิงไปเพื่ออนาจารและข่มขืนกระทำชำเรามิใช่เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่หลังจากที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 แล้ว จำเลยกับพวกใส่กลอนขังผู้เสียหายที่ 2 ไว้ในห้องนอนโดยมีพวกของจำเลยอยู่ข้างล่าง ทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ไม่อาจหลบหนีไปได้ การกระทำของจำเลยกับพวกในส่วนหลังนี้จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 อีกกรรมหนึ่ง
จำเลยกับพวกร่วมกันจับแขนผู้เสียหายที่ 2 ลากลงจากบ้านเพื่อพาไปข่มขืนกระทำชำเรา แต่การจับแขนดังกล่าวมีลักษณะเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อพาเอาตัวผู้เสียหายที่ 2 ไปให้ได้เท่านั้น หาใช่มีลักษณะเป็นการกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 ไม่และในระหว่างที่พาผู้เสียหายที่ 2 ไปนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้กระทำการอย่างไรบ้าง อันมีลักษณะเป็นการกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันกระทำอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278ประกอบมาตรา 83 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ และเนื่องจากปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง,195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
จำเลยกับพวกร่วมกันจับแขนผู้เสียหายที่ 2 ลากลงจากบ้านเพื่อพาไปข่มขืนกระทำชำเรา แต่การจับแขนดังกล่าวมีลักษณะเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อพาเอาตัวผู้เสียหายที่ 2 ไปให้ได้เท่านั้น หาใช่มีลักษณะเป็นการกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 ไม่และในระหว่างที่พาผู้เสียหายที่ 2 ไปนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้กระทำการอย่างไรบ้าง อันมีลักษณะเป็นการกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันกระทำอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278ประกอบมาตรา 83 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ และเนื่องจากปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง,195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานข่มขืนฯ บุกรุก พาไปอนาจาร และหน่วงเหนี่ยวกักขัง: ศาลฎีกาวินิจฉัยกรรมเดียวผิดหลายบท
่จำเลยกับพวกขึ้นไปบนบ้านของผู้เสียหายที่ 1 แล้วจับแขนผู้เสียหายที่ 2 ลากลงจากบ้านพาไปข่มขืนกระทำชำเรายังบ้านที่เกิดเหตุนั้นเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียวกันไม่ขาดตอน และตามพฤติการณ์ก็เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อข่มขืนกระทำชำเรา ผู้เสียหายที่ 2 เป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ซึ่งเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกร่วมกันพาหญิงไปเพื่ออนาจารและข่มขืนกระทำเรา มิใช่เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่หลังจากที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 แล้ว จำเลยกับพวกใส่กลอนขังผู้เสียหายที่ 2 ไว้ในห้องนอนโดยมีพวกของจำเลยอยู่ข้างล่าง ทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ไม่อาจหลบหนีไปได้ การกระทำของจำเลยกับพวกในส่วนหลังนี้จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 อีกกรรมหนึ่ง
่จำเลยกับพวกร่วมกันจับแขนผู้เสียหายที่ 2 ลากลงจากบ้านเพื่อพาไปข่มขืนกระทำชำเรา แต่การจับแขนดังกล่าวมีลักษณะเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อพาเอาตัวผู้เสียหายที่ 2 ไปให้ได้เท่านั้น หาใช่มีลักษณะเป็นการกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 ไม่ และในระหว่างที่พาผู้เสียหายที่ 2 ไปนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้กระทำการอย่างไรบ้าง อันมีลักษณะเป็นการกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันกระทำอนาจารตามป.อ. มาตรา 278 ประกอบมาตรา 83 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ และเนื่องจากปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามป.วิอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ มาตรา 225
่จำเลยกับพวกร่วมกันจับแขนผู้เสียหายที่ 2 ลากลงจากบ้านเพื่อพาไปข่มขืนกระทำชำเรา แต่การจับแขนดังกล่าวมีลักษณะเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อพาเอาตัวผู้เสียหายที่ 2 ไปให้ได้เท่านั้น หาใช่มีลักษณะเป็นการกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 ไม่ และในระหว่างที่พาผู้เสียหายที่ 2 ไปนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้กระทำการอย่างไรบ้าง อันมีลักษณะเป็นการกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันกระทำอนาจารตามป.อ. มาตรา 278 ประกอบมาตรา 83 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ และเนื่องจากปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามป.วิอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานต่างประเทศ: จำเลยต้องประกอบธุรกิจจริง จึงจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางาน
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามผู้ใดจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง และมาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า จัดหางานหมายความว่า ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างโดยจะเรียกหรือรับค่าบริการตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ฉะนั้น การที่จะเป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้จะต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางาน โจทก์จึงต้องแสดงให้เห็นว่าจำเลยประกอบธุรกิจจัดหางาน หรือดำเนินการเพื่อส่งคนงานไปทำงานในต่างประเทศแต่โจทก์กล่าวในคำฟ้องว่าความจริงแล้วจำเลยไม่สามารถจัดหางานในต่างประเทศให้แก่ผู้เสียหายได้ เพราะจำเลยไม่เคยไปติดต่อหาสถานที่ทำงานในต่างประเทศมาก่อนเลย แสดงว่าจำเลยมิได้ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือประกอบธุรกิจจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 30วรรคหนึ่งและมาตรา 82 แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 788/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแจ้งความเท็จ และการลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบทในคดีบัตรประชาชน
ขณะจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2525 พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505(ฉบับเก่า) ยังมีผลบังคับใช้อยู่แม้ต่อมาพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526(ฉบับใหม่) ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2526 มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับเก่า) แต่การยื่นคำขอรับบัตรโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนมีสัญชาติไทย พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับใหม่)ก็ยังบัญญัติเป็นความผิดอยู่เช่นเดิม โดยมาตรา 14 ได้ระวางโทษหนักกว่าโทษตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับเก่า) ดังนั้น พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับใหม่) จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยต้องใช้พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับเก่า) มาตรา 17 มาบังคับใช้แก่การกระทำความผิดของจำเลย ซึ่งมีกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี จึงมีอายุความเพียง5 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4) ฉะนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2535 ในความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2525 จึงเลยกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำผิด คดีจึงขาดอายุความ ต้องยกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
การที่จำเลยซึ่งไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าตนมีสัญชาติไทย เพื่อขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน และวันเวลาเดียวกันจำเลยได้แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในคำขอมีบัตรใหม่ซึ่งเป็นเอกสารราชการและมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อทำบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่จำเลยแล้วใช้ใบคำขอมีบัตรใหม่ดังกล่าวยื่นต่อเจ้าพนักงานเพื่อขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่นั้น เป็นการกระทำในวันเวลาเดียวกันต่อเนื่องกัน มีเจตนาเดียวกันที่จะให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้จำเลย จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 ซึ่งเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความิได้ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองและ 225
การที่จำเลยซึ่งไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าตนมีสัญชาติไทย เพื่อขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน และวันเวลาเดียวกันจำเลยได้แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในคำขอมีบัตรใหม่ซึ่งเป็นเอกสารราชการและมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อทำบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่จำเลยแล้วใช้ใบคำขอมีบัตรใหม่ดังกล่าวยื่นต่อเจ้าพนักงานเพื่อขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่นั้น เป็นการกระทำในวันเวลาเดียวกันต่อเนื่องกัน มีเจตนาเดียวกันที่จะให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้จำเลย จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 ซึ่งเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความิได้ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองและ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8688/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายยาเสพติด: ความผิดสำเร็จ vs. พยายาม, อำนาจศาลวินิจฉัยข้อกฎหมาย, พยานหลักฐาน, การรับฟังคำซัดทอด
ขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีจำเลยที่ 3 เสียจากสารบบความ เพราะจำเลยที่ 3 ถึงแก่ความตายนั้น เป็นเวลาภายหลังจากศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 แล้ว และอยู่ระหว่างส่งสำเนาให้โจทก์แก้ คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะสั่งจำหน่ายคดีโดยศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบ แต่คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว จึงเห็นสมควรสั่งเรื่องดังกล่าวไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์สั่ง โดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 215 และ 225
พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกเป็นการร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนทั้งหมดให้แก่จ่าสิบตำรวจ ก. ผู้ล่อซื้อโดยมีการส่งมอบเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่ ผู้ล่อซื้อแล้ว จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) ไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 บัญญัติว่า " จำหน่าย " หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ เป็นที่เห็นได้ว่า แม้เป็นการแจกหรือให้ซึ่งไม่มีค่าตอบแทน ก็ถือว่าเป็นการจำหน่ายตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ล่อซื้อได้รับมอบเมทแอมเฟตามีนของกลางที่ตกลงซื้อขายกันจากฝ่ายจำเลยแล้ว แม้จะยังไม่ได้ชำระราคาและตรวจนับเมทแอมเฟตามีนของกลางก่อน ก็เป็นความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) สำเร็จ โดยมิพักต้องวินิจฉัยในแง่กฎหมายแพ่ง
ปัญหาว่าการกระทำความผิดใดจะเป็นความผิดสำเร็จหรือเป็นเพียงขั้นพยายามกระทำความผิด เป็นปัญหา ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้โจทก์จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยหนักกว่าที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ลงโทษได้เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่สมควร วางบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง
จำเลยที่ 3 ซึ่งให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณาเบิกความว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดและระหว่างถูก คุมขังในเรือนจำจำเลยที่ 3 รู้ตัวว่าใกล้จะตายได้วานผู้มีชื่อเขียนจดหมายถึงจำเลยที่ 1 ขอโทษที่เบิกความว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดด้วย และรับว่าจำเลยที่ 3 กระทำความผิดเพียงคนเดียว แต่คดีในส่วนการกระทำของจำเลยที่ 1 พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังลงโทษจำเลยที่ 1 ได้โดยไม่ต้องอาศัยคำเบิกความของจำเลยที่ 3 มาเป็นพยานหลักฐานประกอบและแม้จำเลยที่ 3 จะเขียนจดหมายมีข้อความดังที่จำเลยที่ 1 อ้าง ก็ไม่มีผลให้รับฟังหักล้างพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบต่อศาลได้
พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกเป็นการร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนทั้งหมดให้แก่จ่าสิบตำรวจ ก. ผู้ล่อซื้อโดยมีการส่งมอบเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่ ผู้ล่อซื้อแล้ว จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) ไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 บัญญัติว่า " จำหน่าย " หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ เป็นที่เห็นได้ว่า แม้เป็นการแจกหรือให้ซึ่งไม่มีค่าตอบแทน ก็ถือว่าเป็นการจำหน่ายตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ล่อซื้อได้รับมอบเมทแอมเฟตามีนของกลางที่ตกลงซื้อขายกันจากฝ่ายจำเลยแล้ว แม้จะยังไม่ได้ชำระราคาและตรวจนับเมทแอมเฟตามีนของกลางก่อน ก็เป็นความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) สำเร็จ โดยมิพักต้องวินิจฉัยในแง่กฎหมายแพ่ง
ปัญหาว่าการกระทำความผิดใดจะเป็นความผิดสำเร็จหรือเป็นเพียงขั้นพยายามกระทำความผิด เป็นปัญหา ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้โจทก์จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยหนักกว่าที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ลงโทษได้เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่สมควร วางบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง
จำเลยที่ 3 ซึ่งให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณาเบิกความว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดและระหว่างถูก คุมขังในเรือนจำจำเลยที่ 3 รู้ตัวว่าใกล้จะตายได้วานผู้มีชื่อเขียนจดหมายถึงจำเลยที่ 1 ขอโทษที่เบิกความว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดด้วย และรับว่าจำเลยที่ 3 กระทำความผิดเพียงคนเดียว แต่คดีในส่วนการกระทำของจำเลยที่ 1 พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังลงโทษจำเลยที่ 1 ได้โดยไม่ต้องอาศัยคำเบิกความของจำเลยที่ 3 มาเป็นพยานหลักฐานประกอบและแม้จำเลยที่ 3 จะเขียนจดหมายมีข้อความดังที่จำเลยที่ 1 อ้าง ก็ไม่มีผลให้รับฟังหักล้างพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8463/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีพรากเด็กและกระทำอนาจาร ศาลพิจารณาความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารที่ผู้เสียหายถอนฟ้อง
ปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันนั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรม จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง และต่อมาอุทธรณ์เพียงขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสองแต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารสำเร็จตั้งแต่จำเลยเริ่มพรากเด็กไปโดยมีเจตนาดังกล่าว และเป็นเจตนาที่กระทำต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นมารดาเด็ก ส่วนการที่จำเลยได้กระทำอนาจารแก่เด็กโดยใช้กำลังประทุษร้ายตบตีและขู่เข็ญว่าจะฆ่าเด็กหากขัดขืนมิให้จำเลยกระทำอนาจาร ย่อมเป็นความผิดสำเร็จฐานกระทำอนาจารและพาเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเพื่อการอนาจารอีกกรรมหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้ และก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องและเบิกความว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยต่อไปอีก เนื่องจากฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจของฝ่ายผู้เสียหายแล้ว คำร้องและคำเบิกความของผู้เสียหายพอแปลได้ว่าผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารสำเร็จตั้งแต่จำเลยเริ่มพรากเด็กไปโดยมีเจตนาดังกล่าว และเป็นเจตนาที่กระทำต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นมารดาเด็ก ส่วนการที่จำเลยได้กระทำอนาจารแก่เด็กโดยใช้กำลังประทุษร้ายตบตีและขู่เข็ญว่าจะฆ่าเด็กหากขัดขืนมิให้จำเลยกระทำอนาจาร ย่อมเป็นความผิดสำเร็จฐานกระทำอนาจารและพาเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเพื่อการอนาจารอีกกรรมหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้ และก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องและเบิกความว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยต่อไปอีก เนื่องจากฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจของฝ่ายผู้เสียหายแล้ว คำร้องและคำเบิกความของผู้เสียหายพอแปลได้ว่าผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7332/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่, นับโทษกรรมต่างกันชอบ, อายุความความผิดปรับ
จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ยกขึ้นอ้างไว้ในฟ้องอุทธรณ์เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
กฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐที่ใช้สำหรับจัดระเบียบสังคมให้ผู้คนในสังคมได้อยู่ร่วมกันด้วยความปกติสุข เมื่อจำเลยกระทำผิดก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในสังคมแล้ว จำเลยจึงต้องถูกลงโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในความผิดเรื่องนั้น ๆ จำเลยกระทำผิดในคดีอาญาเป็นการกระทำต่างกรรมกัน การที่ศาลล่างทั้งสองให้นับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง เป็นการใช้ดุลพินิจชอบ ไม่ได้ขัดต่อสิทธิมนุษยชนใด ๆ
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท จึงมีอายุความเพียง 1 ปี ตามมาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2539 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 28 พฤษภาคม 2542 เกิน 1 ปีคดีของโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
กฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐที่ใช้สำหรับจัดระเบียบสังคมให้ผู้คนในสังคมได้อยู่ร่วมกันด้วยความปกติสุข เมื่อจำเลยกระทำผิดก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในสังคมแล้ว จำเลยจึงต้องถูกลงโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในความผิดเรื่องนั้น ๆ จำเลยกระทำผิดในคดีอาญาเป็นการกระทำต่างกรรมกัน การที่ศาลล่างทั้งสองให้นับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง เป็นการใช้ดุลพินิจชอบ ไม่ได้ขัดต่อสิทธิมนุษยชนใด ๆ
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท จึงมีอายุความเพียง 1 ปี ตามมาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2539 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 28 พฤษภาคม 2542 เกิน 1 ปีคดีของโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7164/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษและรอการลงโทษสำหรับผู้กระทำผิดอายุน้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษที่ไม่เหมาะสมตามกฎหมาย
แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขอให้รอการลงโทษ แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยไม่เหมาะสม ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6205/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานคดียาเสพติด: การรับสารภาพที่อาจเกิดจากความข่มขู่ และความขัดแย้งของพยานหลักฐาน
พยานโจทก์เบิกความแตกต่างกับคำให้การชั้นสอบสวนและขัดแย้งกับพยานเอกสารดังกล่าว ทำให้น่าสงสัยว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรแน่ จึงยังฟังไม่ได้แน่ชัดว่าเป็นดังที่พยานโจทก์เบิกความ ที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยทั้งสองให้การ รับสารภาพทั้งในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนนั้น ก็มีความสงสัยว่า จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพโดยสมัครใจหรือ รับสารภาพเพราะถูกขู่บังคับและถูกทำร้าย เมื่อฟังไม่ได้แน่ชัดว่าจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพโดยสมัครใจก็ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ และได้ความว่าจำเลยทั้งสองไม่มีประวัติเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางหรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง
ข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย ศาลชั้นต้นพิพากษา ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 2 เดือน และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แม้ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาและเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเพราะเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2 ในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เป็นข้อหาที่เกี่ยวเนื่องกัน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้
ข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย ศาลชั้นต้นพิพากษา ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 2 เดือน และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แม้ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาและเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเพราะเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2 ในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เป็นข้อหาที่เกี่ยวเนื่องกัน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้