พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5706/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีอาญาต้องสอดคล้องกับฟ้อง หากข้อเท็จจริงต่างกัน ต้องยกฟ้อง แม้มีหลักฐานอื่นสนับสนุน
โจทก์ฟ้องยืนยันว่าจำเลยที่ 1 ก่อให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดด้วยการใช้ จ้าง วานให้จำเลยที่ 2 และ ที่ 3 ร่วมกันฆ่าผู้ตายแต่ในการพิจารณาศาลชั้นต้นพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่พอรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดตามฟ้อง แม้ข้อเท็จจริงในการพิจารณาจะรับฟังได้ตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้ จ้าง วานให้ผู้อื่นซึ่งมิใช่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไปฆ่าผู้ตาย ก็เป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับ ข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลชั้นต้นต้องพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดและลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 288, 84 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 192 วรรคสอง แม้ศาลอุทธรณ์เห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้องจริงหรือไม่จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นและพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังในการพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องในข้อสาระสำคัญ อันเป็นเหตุให้ต้องพิพากษายกฟ้องแล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5659/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมลายมือชื่อในเอกสารสำคัญและการดำเนินคดีอาญา ความรับผิดของผู้ที่มอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
จำเลยเป็นผู้ปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายและโจทก์ร่วมแม้จำเลยจะมิได้นำเอกสารปลอมไปแสดงด้วยตนเอง แต่จำเลยมอบอำนาจให้ ส. ไปดำเนินการแทน โดย ส. ไม่ทราบว่าเป็นเอกสารปลอม การที่ ส. ไปดำเนินการยื่นเอกสารปลอมแทนจำเลย ก็มีผลเท่ากับจำเลยไปดำเนินการด้วยตนเอง
ตามฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องจำเลยทำปลอมสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่ามีการทำปลอมมาตั้งแต่คำขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ก็ไม่มีผลถึงหรือทำให้การกระทำความผิดของจำเลยตามที่โจทก์ ฟ้องเปลี่ยนแปลงไป ข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้เพราะให้การปฏิเสธมาตลอดว่า ไม่ได้กระทำความผิด จึงไม่เป็นเหตุให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นลายมือชื่อปลอม จึงฟังไม่ได้ว่ามีการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์และโจทก์ร่วมอยู่แล้ว เพียงแต่ศาลชั้นต้น มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้จึงมิใช่การหยิบยกข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นขึ้นวินิจฉัย
จำเลยปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมในสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมของห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. และยื่นจดทะเบียนแก้ไขถอนผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่โจทก์ร่วมออกจากการเป็นหุ้นส่วน อันเป็นการ จำกัดสิทธิในห้างหุ้นส่วนดังกล่าว ผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารสิทธิ ใช้เอกสารสิทธิปลอม แจ้งให้เจ้าพนักงาน จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย เฉพาะความผิดฐานใช้เอกสารปลอมเพียงกระทงเดียว เท่ากับศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งความผิดฐานนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดฐานฉ้อโกง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ และโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ ความผิดฐานฉ้อโกงจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกความผิดฐานฉ้อโกงขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้อง ในความผิดฐานนี้จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
เมื่อความผิดฐานฉ้อโกงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ฎีกาของโจทก์ร่วมในส่วนความผิดฐานฉ้อโกง จึงไม่จำต้องวินิจฉัย
ตามฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องจำเลยทำปลอมสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่ามีการทำปลอมมาตั้งแต่คำขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ก็ไม่มีผลถึงหรือทำให้การกระทำความผิดของจำเลยตามที่โจทก์ ฟ้องเปลี่ยนแปลงไป ข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้เพราะให้การปฏิเสธมาตลอดว่า ไม่ได้กระทำความผิด จึงไม่เป็นเหตุให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นลายมือชื่อปลอม จึงฟังไม่ได้ว่ามีการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์และโจทก์ร่วมอยู่แล้ว เพียงแต่ศาลชั้นต้น มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้จึงมิใช่การหยิบยกข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นขึ้นวินิจฉัย
จำเลยปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมในสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมของห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. และยื่นจดทะเบียนแก้ไขถอนผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่โจทก์ร่วมออกจากการเป็นหุ้นส่วน อันเป็นการ จำกัดสิทธิในห้างหุ้นส่วนดังกล่าว ผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารสิทธิ ใช้เอกสารสิทธิปลอม แจ้งให้เจ้าพนักงาน จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย เฉพาะความผิดฐานใช้เอกสารปลอมเพียงกระทงเดียว เท่ากับศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งความผิดฐานนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดฐานฉ้อโกง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ และโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ ความผิดฐานฉ้อโกงจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกความผิดฐานฉ้อโกงขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้อง ในความผิดฐานนี้จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
เมื่อความผิดฐานฉ้อโกงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ฎีกาของโจทก์ร่วมในส่วนความผิดฐานฉ้อโกง จึงไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5566/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนเครื่องหมายการค้า การแจ้งข้อความเท็จ และการบังคับตามมาตรา 116 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้ารูปตา 1 ตา และเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรี 1 ตัว และจำเลยได้ทำเครื่องหมายการค้ารูปตา 3 ตา ประกอบกับนกอินทรี 3 ตัว แต่ลักษณะดวงตามีรัศมี 19 เส้น เหมือนรูปตาตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์และรูปนกอินทรีก็ถือกิ่งไม้ 1 กิ่ง กับลูกศร 3 ดอก เหมือนรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์เช่นกัน คงต่างกันแต่จำนวนดวงตาและจำนวนนกอินทรีเท่านั้น และจำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าที่ทำขึ้นไปใช้กับสินค้าของจำเลยนำออกจำหน่าย อันแสดงให้เห็นได้ถึงเจตนาของจำเลยที่จะทำให้ประชาชนสับสน หลงผิด หลงเชื่อว่าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำเลียนขึ้นและนำไปใช้กับสินค้านั้นเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ย่อมเป็นความผิดตามคำฟ้องได้ โดยไม่จำต้องคำนึงถึงกรณีที่จำเลยทำเลียนเครื่องหมายการค้านั้นแล้ว จำเลยจะนำไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้หรือไม่ หรือนายทะเบียนจะรับจดทะเบียนให้หรือไม่
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนดังกล่าวนั้น เป็นเพียงเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำเลียนขึ้นนั้น ในภาพรวมของแต่ละเครื่องหมายมีลักษณะเพียงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เท่านั้น ไม่ได้เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการจนถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนทั้งสองเครื่องหมายนี้เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน และแม้จำเลยไม่ได้ยกปัญหานี้ฎีกาขึ้นมาโดยตรงก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวไม่เป็นความผิด ก็ย่อมพิพากษายกฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
การที่โจทก์จะขอให้ศาลบังคับตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ฯ มาตรา 116 ต้องปรากฏในขณะที่ยื่นคำขอว่าจำเลยได้กระทำการหรือกำลังจะกระทำการปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีคำขอดังกล่าวมาท้ายคำฟ้องซึ่งบรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดข้อหาปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ระหว่างเดือนมกราคม 2536 ถึงปลายเดือนมกราคม 2540 อันเป็นการแสดงว่าจำเลยกระทำการดังกล่าวเสร็จสิ้นไป ก่อนวันที่โจทก์มีคำขอมาท้ายคำฟ้องประมาณ 7 เดือน ไม่ใช่กรณีที่กล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำการหรือกำลังจะกระทำการดังกล่าวในขณะที่โจทก์มีคำขอให้ศาลบังคับตามมาตรา 116 คำขอของโจทก์เช่นนี้จึงไม่ชอบด้วยมาตรา 116 ดังกล่าว ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาบังคับให้จำเลยระงับหรือละเว้นการปลอม เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวข้างต้น กรณีเช่นนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนดังกล่าวนั้น เป็นเพียงเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำเลียนขึ้นนั้น ในภาพรวมของแต่ละเครื่องหมายมีลักษณะเพียงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เท่านั้น ไม่ได้เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการจนถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนทั้งสองเครื่องหมายนี้เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน และแม้จำเลยไม่ได้ยกปัญหานี้ฎีกาขึ้นมาโดยตรงก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวไม่เป็นความผิด ก็ย่อมพิพากษายกฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
การที่โจทก์จะขอให้ศาลบังคับตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ฯ มาตรา 116 ต้องปรากฏในขณะที่ยื่นคำขอว่าจำเลยได้กระทำการหรือกำลังจะกระทำการปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีคำขอดังกล่าวมาท้ายคำฟ้องซึ่งบรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดข้อหาปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ระหว่างเดือนมกราคม 2536 ถึงปลายเดือนมกราคม 2540 อันเป็นการแสดงว่าจำเลยกระทำการดังกล่าวเสร็จสิ้นไป ก่อนวันที่โจทก์มีคำขอมาท้ายคำฟ้องประมาณ 7 เดือน ไม่ใช่กรณีที่กล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำการหรือกำลังจะกระทำการดังกล่าวในขณะที่โจทก์มีคำขอให้ศาลบังคับตามมาตรา 116 คำขอของโจทก์เช่นนี้จึงไม่ชอบด้วยมาตรา 116 ดังกล่าว ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาบังคับให้จำเลยระงับหรือละเว้นการปลอม เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวข้างต้น กรณีเช่นนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5395/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่มีลายมือชื่อโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีไปแล้ว ศาลฎีกายกฟ้อง
คดีอาญาที่โจทก์มิได้ลงลายมือชื่อไว้ในฟ้องเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) แต่การที่ศาลฎีกา จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตามมาตรา 161 วรรคหนึ่ง ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้ เพราะศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้นแล้ว ศาลฎีกาไม่อาจพิจารณาฟ้องของโจทก์ได้จึงต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5385/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการยื่นคำร้องคุมความประพฤติ: ผู้เสียหายไม่มีอำนาจยื่นคำร้องให้ลงโทษจำเลย
ผู้ร้องเป็นเพียงผู้เสียหายมิได้เป็นโจทก์ โจทก์ร่วม หรือพนักงานคุมประพฤติผู้มีอำนาจหน้าที่ทำรายงานเสนอให้ศาลทราบถึงการที่จำเลยผู้ถูกคุมความประพฤติไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติตามที่ศาลกำหนดหรือพฤติการณ์ที่เกี่ยวแก่การคุมความประพฤติของจำเลยผู้ถูกคุมความประพฤติเปลี่ยนแปลงไปตาม พ.ร.บ. วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 มาตรา 15 ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำแถลงและคำร้องในเรื่องดังกล่าวต่อศาลได้ การที่ศาลชั้นต้นรับคำแถลงและคำร้องของผู้ร้องดำเนินการไต่สวนพยานหลักฐานและมีคำสั่งจึงเป็นการสั่ง โดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอน คำสั่งและการดำเนินการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบเสียได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4340/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ศาลไม่อาจพิจารณาได้
คดีอาญา โจทก์มิได้ลงลายมือชื่อไว้ในฟ้อง จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) การที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้เพราะศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว ศาลฎีกาไม่อาจพิจารณาฟ้องของโจทก์ได้ ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลย ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2770/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายและการกระทำโดยบันดาลโทสะ ศาลพิจารณาพยานหลักฐานและเหตุผลในการทำร้ายร่างกายเพื่อตัดสินโทษ
จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายโดยใช้มือตบหน้าเพียง 2 ครั้งส่วนการที่กระดูกต้นแขนซ้ายของผู้เสียหายหักอาจเกิดจากผู้เสียหายวิ่งล้มลง มิได้เกิดจากจำเลยใช้ไม้ตีผู้เสียหายดังที่โจทก์อ้าง เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บจากการกระทำของจำเลยดังกล่าวมากน้อยเพียงใด จึงฟังได้เพียงว่า การกระทำของจำเลยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ผู้เสียหายเกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 391 และการที่ผู้เสียหายตะโกนด่าถึงมารดาจำเลยว่ามารดาจำเลยเป็นโสเภณีและถึงแก่กรรมด้วยโรคเอดส์ เป็นการกล่าวหาว่ามารดาจำเลยสำส่อนทางเพศ ถือว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม การที่จำเลยตบหน้าผู้เสียหาย 2ครั้ง ในขณะนั้นจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ ซึ่งศาลฎีกาลงโทษจำเลยตามที่พิจารณาได้ความนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192วรรคท้ายประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน, การปรับบทลงโทษเกินคำขอ, และการรอการลงโทษในคดีป่าไม้
แม้จำเลยตั้งใจเข้าไปเก็บเอาไม้กฤษณาเพื่อนำออกไปขายหาเลี้ยงชีพ แต่ก่อนที่จำเลยจะได้ไม้กฤษณามาเพื่อนำออกไปขาย จำเลยได้ตัดโค่นต้นไม้กฤษณาและเซาะต้นไม้กฤษณาเป็นชิ้นแล้วรวบรวมไว้ซึ่งเป็นเจตนาและการกระทำต่างหากจากการครอบครองเพื่อนำออกไปขาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คดีขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าโทษที่ศาลล่างลงแก่จำเลยเหมาะสมหรือไม่ แต่ต้องไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำไม้หวงห้าม และมิได้ขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11 , 73 การที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอและที่มิได้กล่าวในฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า ไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11
คดีขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าโทษที่ศาลล่างลงแก่จำเลยเหมาะสมหรือไม่ แต่ต้องไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำไม้หวงห้าม และมิได้ขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11 , 73 การที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอและที่มิได้กล่าวในฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า ไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2448/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำหลังภัยอันตรายสิ้นสุดแล้ว ไม่ถือเป็นการป้องกันสิทธิ และเจตนาฆ่าโดยไม่มีเหตุบันดาลโทสะ
ผู้ตายใช้มีดฟันจำเลยแล้วต่างล้มลงแย่งมีดกัน จำเลยลุกขึ้นได้ก่อนชักอาวุธปืนออกมายิงผู้ตาย 1 นัด ผู้ตายถูกกระสุนปืนแล้วมุดหนีไปใต้แคร่ จำเลยก้มมองและส่ายอาวุธปืนไปมาแล้วเดินอ้อมไปอีกด้านหนึ่งของแคร่ยิงผู้ตายอีก 2 นัด จากนั้นจำเลยใช้มีดของผู้ตายฟันผู้ตายตรงส่วนร่างกายที่โผล่พ้นออกมานอกแคร่มากกว่า 3 ครั้ง โดยผู้ตายไม่มีโอกาสจะทำร้ายจำเลยได้อีก ภยันตรายเป็นอันผ่านพ้นและสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยจึงไม่อาจกระทำการป้องกันสิทธิของตนได้ ทั้งการกระทำดังกล่าวเป็นการหาโอกาสเลือกยิงและฟันผู้ตายโดยเจตนาฆ่าผู้ตาย มิใช่เป็นการกระทำในขณะไม่อาจควบคุมอารมณ์ได้เพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงอ้างเหตุบันดาลโทสะไม่ได้
ความผิดฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้าน หรือที่ชุมชนตาม ป.อ. มาตรา 376 กับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามมาตรา 288 เป็นการกระทำกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามมาตรา 90
ความผิดฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้าน หรือที่ชุมชนตาม ป.อ. มาตรา 376 กับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามมาตรา 288 เป็นการกระทำกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามมาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้จำหน่ายและจำหน่ายเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน แม้เหตุการณ์ต่อเนื่อง
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันนั้น เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เมื่อจำเลยทั้งสองยกขึ้นอุทธรณ์แล้ว แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้วินิจฉัยให้ แม้จะมิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองก็ยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 4 ให้นิยามคำว่า "ขาย" หมายความรวมถึง จำหน่าย และมีไว้เพื่อขายด้วย ดังนั้น การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายจำนวนหนึ่ง และขายไปจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นเมทแอมเฟตามีนจำนวนเดียวกันตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นความผิดอย่างเดียวกันและเป็นความผิดกรรมเดียว
คำนิยามในมาตรา 4 ของคำว่า "ขาย" ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ไม่อาจนำมาใช้สำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งมีคำนิยามของคำว่า "จำหน่าย" ไว้โดยเฉพาะแล้ว ในมาตรา 4 ให้หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ มิได้มีความหมายรวมถึงการมีไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายดังเช่น พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ด้วย และความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 เป็นความผิด ที่แยกเจตนาในการกระทำต่างหากจากกันได้ แม้จะเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องกระชั้นชิดกันก็ตาม การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 17 เม็ด เป็นความผิดสำเร็จแล้วกรรมหนึ่ง และเมื่อจำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่มีไว้ในครอบครองดังกล่าวแก่สายลับไป 2 เม็ด ก็ย่อมมีความผิดฐานจำหน่ายอีกกรรมหนึ่ง จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 4 ให้นิยามคำว่า "ขาย" หมายความรวมถึง จำหน่าย และมีไว้เพื่อขายด้วย ดังนั้น การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายจำนวนหนึ่ง และขายไปจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นเมทแอมเฟตามีนจำนวนเดียวกันตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นความผิดอย่างเดียวกันและเป็นความผิดกรรมเดียว
คำนิยามในมาตรา 4 ของคำว่า "ขาย" ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ไม่อาจนำมาใช้สำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งมีคำนิยามของคำว่า "จำหน่าย" ไว้โดยเฉพาะแล้ว ในมาตรา 4 ให้หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ มิได้มีความหมายรวมถึงการมีไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายดังเช่น พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ด้วย และความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 เป็นความผิด ที่แยกเจตนาในการกระทำต่างหากจากกันได้ แม้จะเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องกระชั้นชิดกันก็ตาม การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 17 เม็ด เป็นความผิดสำเร็จแล้วกรรมหนึ่ง และเมื่อจำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่มีไว้ในครอบครองดังกล่าวแก่สายลับไป 2 เม็ด ก็ย่อมมีความผิดฐานจำหน่ายอีกกรรมหนึ่ง จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน