พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินความประมาทในการขับรถจักรยานยนต์ และการพิจารณาโทษที่เหมาะสมตามพฤติการณ์
ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยมาเหมาะสมแก่พฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยแล้วหรือไม่ แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ที่บัญญัติให้ศาลลงโทษ จำเลยตามสภาพความผิด ประกอบด้วยมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอุทธรณ์ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ แต่ศาลรับคำฟ้องและพิจารณาคดีแล้ว ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยไม่ปรากฏว่ามีลายมือชื่อผู้เรียงอุทธรณ์ คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) แต่การที่จะให้จำเลยแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์หรือสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยก็ล่วงเลยเวลา ที่จะปฏิบัติได้ เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้พิจารณาพิพากษาคดีนี้เสร็จไปแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาคดีนี้เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร - ลักทรัพย์ - ตัวการร่วม - อำนาจศาล - แก้ไขบท - จำเลยไม่ฎีกา
ในคืนเกิดเหตุจำเลยที่ 3 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 พาเอาไปเสียซึ่งรองเท้าของกลางที่จำเลยที่ 1 ลักเอามาซุกซ่อนไว้ข้างโกดังเก็บสินค้าในโรงงานของผู้เสียหายแล้วนำไปเก็บไว้ที่บ้านของจำเลยที่ 3 เพื่อแบ่งปันกันในภายหลัง ทั้งนี้โดยจำเลยที่ 3 รู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยที่ 3 จึงมีความผิดฐานเป็นตัวการรับของโจร ตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคแรก แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 โดยไม่ปรับบทมาตรา 83 มานั้น ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขปรับบทลงโทษจำเลยที่ 3 เสียใหม่ให้ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ทั้งเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาแก้ไขปรับบทตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย
คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์และฎีกาขึ้นมา แต่เมื่อข้อเท็จจริงแห่งคดีฟังเป็นที่ยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ลักทรัพย์รองเท้าของกลางด้วย ซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างในเวลากลางคืนตามลำพัง การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) และ มาตรา 83 อีก ปัญหาข้อนี้แม้ศาลอุทธรณ์จะมิได้ยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ไขให้ถูกต้อง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาให้จำเลยที่ 1 พ้นจากความผิดตามบทมาตราดังกล่าวได้ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์และฎีกาขึ้นมา แต่เมื่อข้อเท็จจริงแห่งคดีฟังเป็นที่ยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ลักทรัพย์รองเท้าของกลางด้วย ซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างในเวลากลางคืนตามลำพัง การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) และ มาตรา 83 อีก ปัญหาข้อนี้แม้ศาลอุทธรณ์จะมิได้ยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ไขให้ถูกต้อง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาให้จำเลยที่ 1 พ้นจากความผิดตามบทมาตราดังกล่าวได้ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4500/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตและการคืนเงินค่าบริการ ศาลฎีกายกประเด็นความผิดฐานจัดหางานและแก้ไขจำนวนเงินที่ต้องคืน
ปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ในความผิดร่วมกันจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
คำฟ้องข้อ 1(ข) บรรยายว่า จำเลยทั้งสองจัดหางานให้แก่คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศที่ประเทศ สหรัฐอเมริกาโดยเรียกและรับค่าบริการเป็นค่าตอบแทนจากคนหางานโดยจำเลยทั้งสองมิได้รับอนุญาตจาก นายทะเบียนจัดหางานตามกฎหมาย แต่คำฟ้องของโจทก์ข้อ 1 (ก) ที่ว่าจำเลยทั้งสองโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดความจริงอันควรบอกให้แจ้งว่าจำเลยทั้งสองสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยจะได้รับเงินเดือนเป็นค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดือนละ 35,000 บาท ความจริงแล้วจำเลยทั้งสองไม่สามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาตามที่หลอกลวงได้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นคนหางาน คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82
คดีคงลงโทษจำเลยทั้งสองได้เฉพาะฐานร่วมกันหลอกลวงประชาชนว่าหางานในต่างประเทศ ดังนั้น ปัญหาว่าการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82 และมาตรา 91 ตรี เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามฎีกาของจำเลยทั้งสองหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยทั้งสองได้คืนเงินให้ผู้เสียหายบางส่วนแล้ว แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้เงินที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหายโดยไม่ได้หักเงินที่จำเลยทั้งสองคืนให้ผู้เสียหายจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลฎีกายกขึ้นเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง
คำฟ้องข้อ 1(ข) บรรยายว่า จำเลยทั้งสองจัดหางานให้แก่คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศที่ประเทศ สหรัฐอเมริกาโดยเรียกและรับค่าบริการเป็นค่าตอบแทนจากคนหางานโดยจำเลยทั้งสองมิได้รับอนุญาตจาก นายทะเบียนจัดหางานตามกฎหมาย แต่คำฟ้องของโจทก์ข้อ 1 (ก) ที่ว่าจำเลยทั้งสองโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดความจริงอันควรบอกให้แจ้งว่าจำเลยทั้งสองสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยจะได้รับเงินเดือนเป็นค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดือนละ 35,000 บาท ความจริงแล้วจำเลยทั้งสองไม่สามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาตามที่หลอกลวงได้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นคนหางาน คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82
คดีคงลงโทษจำเลยทั้งสองได้เฉพาะฐานร่วมกันหลอกลวงประชาชนว่าหางานในต่างประเทศ ดังนั้น ปัญหาว่าการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82 และมาตรา 91 ตรี เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามฎีกาของจำเลยทั้งสองหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยทั้งสองได้คืนเงินให้ผู้เสียหายบางส่วนแล้ว แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้เงินที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหายโดยไม่ได้หักเงินที่จำเลยทั้งสองคืนให้ผู้เสียหายจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลฎีกายกขึ้นเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4152/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอุทธรณ์ไม่ถูกต้องตามกฎหมายเนื่องจากไม่มีลายมือชื่อ แต่ศาลพิจารณาคดีไปแล้ว จึงเป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นโมฆะ
ผู้อุทธรณ์และผู้เรียงอุทธรณ์มิได้ลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์คำฟ้องอุทธรณ์จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่การที่จะให้โจทก์แก้ฟ้องอุทธรณ์หรือศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้เพราะศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้พิจารณาพิพากษาคดีเสร็จไปแล้วศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิจารณาพิพากษาคดีนี้มาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3989/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเกินจำนวนหนี้ แม้ธนาคารปฏิเสธจ่าย ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำนวนเงินที่ระบุในเช็คพิพาทเกินไปจากหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้ผู้เสียหายแม้ธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็ค การกระทำของจำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ปัญหานี้ แม้จำเลยไม่หยิบยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3989/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนวนเงินในเช็คเกินหนี้ ศาลยกฟ้อง พ.ร.บ.เช็ค
จำนวนเงินที่ระบุในเช็คพิพาทเกินไปจากหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้ผู้เสียหาย แม้ธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็ค การกระทำของจำเลยก็ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ปัญหานี้แม้จำเลยไม่หยิบยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้อง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียงฟ้องอุทธรณ์โดยผู้ไม่ได้รับอนุญาตเป็นทนายความ ทำให้คำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติทนายความฯ มาตรา 33 บัญญัติใจความว่า ผู้เรียงหรือแต่งฟ้องอุทธรณ์จะต้องเป็นการกระทำของทนายความที่ได้รับอนุญาต หรือของตัวความเองเป็นการเฉพาะตัว ไม่อาจตั้งตัวแทนหรือไม่อาจอนุญาตให้ผู้ใดผู้หนึ่งช่วยเหลือได้เมื่อคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยลงลายมือชื่อผู้เรียงโดย ธ. ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนและไม่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ อีกทั้งไม่ได้เป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้นโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่นคำฟ้องอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ครบองค์ประกอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 158(7)ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ชอบที่จะยกอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่อาจจะสั่งให้แก้ไขประการใดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 215 ประกอบด้วย 161 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้เรียงไม่ใช่ทนายความ และการฎีกาเรื่องโทษก่อนศาลอุทธรณ์พิจารณา
คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยได้ลงลายมือชื่อผู้เรียงโดย ธ. ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนและไม่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ อีกทั้งไม่ได้เป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้น และตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ผู้เรียงหรือแต่งฟ้องอุทธรณ์ จะต้องเป็นการกระทำของทนายความที่ได้รับอนุญาตหรือของตัวความเองอันเป็นการเฉพาะตัว ไม่อาจตั้งตัวแทน หรือไม่อาจอนุญาตให้ผู้ใดผู้หนึ่งช่วยเหลือได้ คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ครบองค์ประกอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 158(7) ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่อาจจะสั่งให้แก้ไขได้ ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 161 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของจำเลยเรื่องให้ลงโทษจำเลยสถานเบาหรือรอการลงโทษจำเลย เมื่อยังไม่ได้รับการพิจารณาจากศาลอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในข้อดังกล่าวได้ เป็นการต้องห้ามหรือไม่ต้องด้วยองค์ประกอบแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคหนึ่งแม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งรับฎีกาของจำเลยข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
ฎีกาของจำเลยเรื่องให้ลงโทษจำเลยสถานเบาหรือรอการลงโทษจำเลย เมื่อยังไม่ได้รับการพิจารณาจากศาลอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในข้อดังกล่าวได้ เป็นการต้องห้ามหรือไม่ต้องด้วยองค์ประกอบแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคหนึ่งแม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งรับฎีกาของจำเลยข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอุทธรณ์โดยผู้ไม่มีคุณสมบัติเป็นทนายความ และสิทธิในการฎีกาที่ยังไม่ได้รับการพิจารณา
คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยได้ลงลายมือชื่อผู้เรียงโดย ธ. ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนและไม่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ อีกทั้งไม่ได้เป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้น และตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ผู้เรียงหรือแต่งฟ้องอุทธรณ์ จะต้องเป็นการกระทำของทนายความที่ได้รับอนุญาต หรือของตัวความเองอันเป็นการเฉพาะตัว ไม่อาจตั้งตัวแทน หรือไม่อาจอนุญาตให้ผู้ใดผู้หนึ่งช่วยเหลือได้ คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ครบองค์ประกอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 158(7) ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่อาจจะสั่งให้แก้ไขได้ ตามนัยแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 161 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของจำเลยเรื่องให้ลงโทษจำเลยสถานเบาหรือรอการลงโทษจำเลย เมื่อยังไม่ได้รับการพิจารณาจากศาลอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในข้อดังกล่าวได้ เป็นการต้องห้ามหรือไม่ต้องด้วยองค์ประกอบแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา216 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งรับฎีกาของจำเลยข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
ฎีกาของจำเลยเรื่องให้ลงโทษจำเลยสถานเบาหรือรอการลงโทษจำเลย เมื่อยังไม่ได้รับการพิจารณาจากศาลอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในข้อดังกล่าวได้ เป็นการต้องห้ามหรือไม่ต้องด้วยองค์ประกอบแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา216 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งรับฎีกาของจำเลยข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้