คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 215

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2156/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพ.ร.บ.วิทยุคมนาคม: การมี-ใช้โทรศัพท์มือถือโดยไม่ได้รับอนุญาต และการรบกวนสัญญาณ การลงโทษและการรอการลงโทษ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่โจทก์ฟ้องว่าเป็นความผิดและตามบทกฎหมายที่กำหนดโทษไว้ การที่ศาลอุทธรณ์ยกข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ ซึ่งจำเลยทราบแล้วไม่ได้โต้เถียงหรือคัดค้านมากล่าวในคำพิพากษาประกอบการพิจารณาว่า การกระทำของจำเลยเป็นการร้ายแรงหรือไม่เพียงใด เพื่อที่ศาลอุทธรณ์จะได้ใช้ดุลพินิจพิจารณาว่าสมควรจะลงโทษหรือรอการลงโทษให้แก่จำเลย หาใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องไม่
ความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498ฐานมีโทรศัพท์มือถืออันเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 23 และความผิดฐานจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมตามมาตรา 26 มีองค์ประกอบความผิดต่างกัน กล่าวคือความผิดตามมาตรา 23 เป็นความผิดเพราะจำเลยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจออกใบอนุญาต ส่วนความผิดมาตรา 26 เป็นความผิดเพราะจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม แม้จำเลยจะมีโทรศัพท์มือถือโดยได้รับหรือไม่ได้รับอนุญาตก็ตาม หากจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมแล้ว การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตามมาตรา 26 ซึ่งเป็นความผิด 2 กรรม เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระเป็น 2 กรรม ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2156/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม: การกระทำความผิดหลายกรรมต่างวาระ และการใช้ข้อเท็จจริงจากการสืบเสาะพินิจ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่โจทก์ฟ้องว่าเป็นความผิดและตามบทกฎหมายที่กำหนดโทษไว้ การที่ศาลอุทธรณ์ยกข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ ซึ่งจำเลยทราบแล้วไม่ได้โต้เถียงหรือคัดค้านมากล่าวในคำพิพากษาประกอบการพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการร้ายแรงหรือไม่เพียงใด เพื่อที่ศาลอุทธรณ์จะได้ใช้ดุลพินิจพิจารณาว่าสมควรจะลงโทษหรือรอการลงโทษให้แก่จำเลย หาใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวมาในฟ้องไม่
ความผิดตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ฐานมีโทรศัพท์มือถืออันเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 23 และความผิดฐานจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมตามมาตรา 26มีองค์ประกอบความผิดต่างกัน กล่าวคือความผิดตามมาตรา 23 เป็นความผิดเพราะจำเลยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจออกใบอนุญาต ส่วนความผิดมาตรา 26 เป็นความผิดเพราะจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม แม้จำเลยจะมีโทรศัพท์มือถือโดยได้รับหรือไม่ได้รับอนุญาตก็ตามหากจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมแล้วการกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตาม มาตรา 26 ซึ่งเป็นความผิด 2 กรรมเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระเป็น 2 กรรม ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2156/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพ.ร.บ.วิทยุคมนาคม: การมี-ใช้เครื่องวิทยุโดยไม่ได้รับอนุญาต และการรบกวนสัญญาณ การพิพากษาลงโทษและดุลพินิจศาล
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่โจทก์ฟ้องว่าเป็นความผิดและตามบทกฎหมายที่กำหนดโทษไว้ การที่ศาลอุทธรณ์ยกข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ ซึ่งจำเลยทราบแล้วไม่ได้โต้เถียงหรือคัดค้านมากล่าวในคำพิพากษาประกอบการพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการร้ายแรงหรือไม่เพียงใด เพื่อที่ศาลอุทธรณ์จะได้ใช้ดุลพินิจพิจารณาว่าสมควรจะลงโทษหรือรอการลงโทษให้แก่จำเลย หาใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวมาในฟ้องไม่
ความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ฐานมีโทรศัพท์มือถืออันเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 23 และความผิดฐานจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมตามมาตรา 26 มีองค์ประกอบความผิดต่างกัน กล่าวคือความผิดตามมาตรา 23 เป็นความผิดเพราะจำเลยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตส่วนความผิดมาตรา 26 เป็นความผิดเพราะจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม แม้จำเลยจะมีโทรศัพท์มือถือโดยได้รับหรือไม่ได้รับอนุญาตก็ตามหากจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมแล้วการกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตาม มาตรา 26 ซึ่งเป็นความผิด 2 กรรม เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระเป็น 2 กรรม ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ชี้ความผิดจำเลยร่วมกระทำความผิดฐานฆ่าเจตนา, ทำร้ายร่างกาย
พยานหลักฐานทั้งหมดของโจทก์เท่าที่นำสืบล้วนเป็นพยานบอกเล่าเมื่อคำนึงว่า จำเลยที่ 2 มิได้มีเรื่องหมางใจกับผู้ตายและผู้เสียหายมาก่อน ประกอบกับโจทก์ไม่มีประจักษ์พยานยืนยันความผิดของจำเลยที่ 2 โดยชัดแจ้ง จำเลยที่ 2เองก็ให้การปฏิเสธโดยตลอดมาตั้งแต่ต้น ลำพังพยานบอกเล่าของโจทก์เท่าที่ปรากฏยังไม่พอชี้ชัดว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยอื่นด้วย
ผู้เสียหายถูกจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ฟาดด้วยหลอดไฟฟ้าที่บริเวณกลางหลัง 1 ที และถูกไม้กระบองตีที่บริเวณตาข้างขวา 1 ที จากนั้นผู้เสียหายวิ่งหลบหนีไปได้ ไม่ปรากฏว่าผู้ตายถูกจำเลยคนใดตีทำร้ายอย่างไรหรือมีผู้ใดร้องตะโกนว่าตีให้ตาย แต่กลับได้ความว่า ผู้ตายและผู้เสียหายมีอาการเมาสุรา ผู้ตายมีปากเสียงกับฝ่ายจำเลยและพวกแล้วจึงเกิดเหตุตีทำร้ายกัน เมื่อผู้เสียหายวิ่งหนีก็ไม่มีผู้ใดวิ่งไล่ตาม ทั้งปรากฏว่า ขอบตาข้างขวาของผู้เสียหายบวมช้ำมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 เซนติเมตร มีแผลถลอกช้ำหางตาและแผลฉีกขาดยาว 1 เซนติเมตร ลึก 0.3 เซนติเมตร ที่เปลือกตาขวา อาการบาดเจ็บดังกล่าวจะรักษาหายใน 10 วัน ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 มีเจตนาฆ่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 คงเป็นตัวการในความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายถึงแก่ความตาย และทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท หาเป็นตัวการในความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าไม่
แม้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 จะมิได้ฎีกา แต่เมื่อข้อเท็จจริงแห่งการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ไม่เป็นความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าและเป็นข้อเท็จจริงแห่งการกระทำที่เกี่ยวพันกับจำเลยที่ 2 ซึ่งมีการฎีกาขึ้นมาทั้งปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 เป็นความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องจำเลยที่ 1ที่ 3 และที่ 4 ให้พ้นจากความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา185, 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ชี้ชัดความผิดจำเลยร่วม, เจตนาฆ่าไม่ปรากฏ, ศาลฎีกายกฟ้อง
พยานหลักฐานทั้งหมดของโจทก์เท่าที่นำสืบล้วนเป็นพยานบอกเล่าเมื่อคำนึงว่าจำเลยที่ 2 มิได้มีเรื่องหมางใจกับผู้ตายและผู้เสียหายมาก่อน ประกอบกับโจทก์ไม่มีประจักษ์พยานยืนยันความผิดของจำเลยที่ 2 โดยชัดแจ้ง จำเลยที่ 2 เองก็ให้การปฏิเสธโดยตลอดมาตั้งแต่ต้น ลำพังพยานบอกเล่าของโจทก์เท่าที่ปรากฏยังไม่พอชี้ชัดว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยอื่นด้วย
ผู้เสียหายถูกจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ฟาดด้วยหลอดไฟฟ้าที่บริเวณกลางหลัง1 ที และถูกไม้กระบองตีที่บริเวณตาข้างขวา 1 ทีจากนั้นผู้เสียหายวิ่งหลบหนีไปได้ ไม่ปรากฏว่าผู้ตายถูกจำเลยคนใดตีทำร้ายอย่างไร หรือมีผู้ใดร้องตะโกนว่าตีให้ตาย แต่กลับได้ความว่าผู้ตายและผู้เสียหายมีอาการเมาสุรา ผู้ตายมีปากเสียงกับฝ่ายจำเลยและพวกแล้วจึงเกิดเหตุตีทำร้ายกัน เมื่อผู้เสียหายวิ่งหนีก็ไม่มีผู้ใดวิ่งไล่ตาม ทั้งปรากฏว่า ขอบตาข้างขวาของผู้เสียหายบวมช้ำมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 เซนติเมตร มีแผลถลอกช้ำหางตาและแผลฉีกขาดยาว 1 เซนติเมตรลึก 0.3 เซนติเมตรที่เปลือกตาขวาอาการบาดเจ็บดังกล่าวจะรักษาหายใน 10 วัน ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 มีเจตนาฆ่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 คงเป็นตัวการในความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายถึงแก่ความตายและทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทหาเป็นตัวการในความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าไม่
แม้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 จะมิได้ฎีกา แต่เมื่อข้อเท็จจริงแห่งการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ไม่เป็นความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าและเป็นข้อเท็จจริงแห่งการกระทำที่เกี่ยวพันกับจำเลยที่ 2ซึ่งมีการฎีกาขึ้นมา ทั้งปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4เป็นความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตามศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4ให้พ้นจากความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185,195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8046/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความจำเป็นและความรับผิดทางอาญา: การกระทำภายใต้ความบังคับและการลดโทษ
ปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดเพราะความจำเป็นเพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้หรือไม่ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในข้อนี้ แต่เมื่อคดีมีเหตุที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
จำเลยกับผู้ตายลักลอบได้เสียกัน ต่อมา บ. สามีจำเลยทราบเรื่องและจะให้โอกาสจำเลยกลับตัว แต่ต้องทำตามที่สั่ง ถ้าไม่เช่นนั้นจะฆ่าเสียทั้งสองคน จำเลยและ บ. อยู่ด้วยกันเพียงสองคนในบ้านพัก จำเลยเป็นหญิงซึ่งเป็นเพศที่อ่อนแอกว่าจึงอาจถูก บ. ข่มเหงเอาได้ตลอดเวลา จำเลยเป็นชู้กับผู้ตายซึ่งถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงที่ บ. สามีอาจฆ่าจำเลยเสียได้จริง ด้วยความกลัวจำเลยจึงยอมทำตาม บ. บอกแผนให้จำเลยนัดผู้ตายไปยังที่เกิดเหตุและกำชับว่าให้พาผู้ตายไปยังที่เกิดเหตุให้ได้ ไม่งั้นเตรียมตัวตาย จำเลยจึงไปหลอกชวนผู้ตายให้ไปร่วมหลับนอนกันอีกในวันรุ่งขึ้น วันเกิดเหตุเมื่อจำเลยพาผู้ตายมาถึงที่เกิดเหตุ ผู้ตายถูก บ. ฆ่าตาย จำเลยร่วมฆ่าผู้ตายเพราะตกอยู่ภายใต้อำนาจของ บ. ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ แต่การที่จำเลยยอมร่วมมือกับ บ. ฆ่าผู้ตาย ถือได้ว่าได้กระทำไปเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งความจำเป็นตาม ป.อ. มาตรา 67 (1), 69

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8045/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียงคำฟ้องอุทธรณ์ต้องเป็นทนายความหรือเจ้าพนักงาน มิฉะนั้นคำฟ้องไม่สมบูรณ์
แม้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) ประกอบมาตรา 215 มิได้กำหนดคำว่า "ผู้เรียง" จะเป็นใคร ทั้งมิได้กำหนดผู้ลงลายมือชื่อผู้เรียงเป็นสาระสำคัญก็ตาม แต่มีบทกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้คือ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ซึ่งกำหนดให้ทนายความหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะเป็นผู้เรียงคำฟ้องอุทธรณ์ให้แก่บุคคลอื่น เมื่อปรากฏว่า ส. ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียงคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมิได้เป็นบุคคลตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงมิชอบด้วยกฎหมาย แม้จะได้ความว่า จำเลยลงลายมือชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์นั้นก็ตาม ย่อมไม่กลับทำให้มีผลสมบูรณ์ขึ้นมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8045/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียงคำฟ้องอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามกฎหมายทนายความ ผู้ลงลายมือชื่อต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้เรียงตามกฎหมาย
แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7)ประกอบมาตรา 215 มิได้กำหนดคำว่า "ผู้เรียง" จะเป็นใคร ทั้งมิได้กำหนดผู้ลงลายมือชื่อผู้เรียงเป็นสาระสำคัญก็ตาม แต่พระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2528 มาตรา 33 กำหนดให้ทนายความหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะเป็นผู้เรียงคำฟ้องอุทธรณ์ให้แก่บุคคลอื่น เมื่อปรากฏว่าส. ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียงคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมิได้เป็นบุคคลตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงมิชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยลงลายมือชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์นั้นก็ไม่กลับทำให้มีผลสมบูรณ์ขึ้นมาได้ ความหลงผิดคลาดเคลื่อนในกรณีจำเลยมิได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงคำฟ้องอุทธรณ์ดังกล่าวไม่เป็นข้อแก้ตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4885/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานการค้าประเวณี: การพิจารณาองค์ประกอบตาม พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี และอำนาจศาลในการยกฟ้อง
เมื่อมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในส่วนที่ไม่ต้องห้ามฎีกาว่า จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นธุระจัดหาหญิงและเด็กหญิงเพื่อการอนาจาร เพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 282 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดหรือไม่ ส่วนข้อหาฐานเป็นเจ้าของสถานการค้าประเวณีซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย มีกำหนด 8 เดือน และคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อปรากฏตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ที่ฟังว่าการค้าประเวณีไม่ได้กระทำในบ้านที่จำเลยเป็นเจ้าของดูแล บ้านดังกล่าวเป็นเพียงสถานที่ติดต่อ แล้วนัดไปร่วมประเวณีกันที่อื่น ซึ่งศาลฎีกาก็ฟังข้อเท็จจริงได้เป็นอย่างเดียวกัน และ พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะกระทำความผิด บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ว่า "สถานการค้าประเวณี" หมายความว่าสถานที่ใด ๆ ที่จัดไว้เพื่อให้บุคคลอื่นทำการค้าประเวณี โดยจัดให้มีผู้ทำการค้าประเวณีไว้เพื่อการนั้นด้วย ดังนี้ สถานที่เกิดเหตุจึงมิใช่สถานการค้าประเวณีตามกฎหมายดังกล่าว และจะฟังว่าจำเลยเป็นเจ้าของสถานการค้าประเวณีตามคำฟ้องยังไม่ได้แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งในปัญหานี้โดยตรง ศาลฎีกาก็มีอำนาจนำขึ้นมาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4885/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานการค้าประเวณีต้องจัดให้มีผู้กระทำการค้าประเวณีไว้ด้วย ศาลฎีกายกฟ้องข้อหาเจ้าของสถานการค้าประเวณี แม้จำเลยไม่ได้ฎีกา
เมื่อมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในส่วนที่ไม่ต้องห้ามฎีกาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานเป็นธุระจัดหาหญิงและเด็กหญิงเพื่อการอนาจารเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 282 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดหรือไม่ ส่วนข้อหาฐานเป็นเจ้าของสถานการค้าประเวณีซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย มีกำหนด 8 เดือน และคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อปรากฏตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ที่ฟังว่าการค้าประเวณีไม่ได้กระทำในบ้านที่จำเลยเป็นเจ้าของดูแล บ้านดังกล่าวเป็นเพียงสถานที่ติดต่อ แล้วนัดไปร่วมประเวณีกันที่อื่น ซึ่งศาลฎีกาก็ฟังข้อเท็จจริงได้เป็นอย่างเดียวกัน และพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะกระทำความผิด บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ว่า "สถานการค้าประเวณี" หมายความว่า สถานที่ใด ๆ ที่จัดไว้เพื่อให้บุคคลอื่นทำการค้าประเวณี โดยจัดให้มีผู้ทำการค้าประเวณีไว้เพื่อการนั้นด้วยดังนี้ สถานที่เกิดเหตุจึงมิใช่สถานการค้าประเวณีตามกฎหมายดังกล่าว และจะฟังว่าจำเลยเป็นเจ้าของสถานการค้าประเวณีตามคำฟ้องยังไม่ได้ แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งในปัญหานี้โดยตรง ศาลฎีกาก็มีอำนาจนำขึ้นมาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
of 48