พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องอุทธรณ์ที่ขาดการลงลายมือชื่อ และสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดี
ฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ทนายความลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์โดยที่จำเลยยังมิได้ยื่นใบแต่งทนายความตั้งทนายความผู้นั้นเป็นทนายจำเลยเท่ากับเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ยังมิได้ลงลายมือชื่อจำเลยผู้อุทธรณ์ จึงเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้องในส่วนที่เป็นรูปแบบซึ่งสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยแก้ไขฟ้องอุทธรณ์ ให้ถูกต้องเสียก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นกลับสั่งรับฟ้อง อุทธรณ์ของจำเลย และศาลอุทธรณ์พบข้อผิดพลาดในการ ดำเนินกระบวนพิจารณาของคู่ความและศาลชั้นต้น ดังกล่าวแล้ว ก็ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะย้อนสำนวนไป ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องได้ ด้วยการให้จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์หรือยื่น ใบแต่งทนายความตั้งทนายความที่ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์เป็นทนายจำเลย และกรณีนี้ก็หาได้ล่วงเลยเวลาที่ควรปฏิบัติไม่ ทั้งไม่ต้องด้วยความยุติธรรมที่จะให้จำเลยเสียสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ อันเนื่องมาแต่ข้อผิดพลาดในการดำเนินกระบวนพิจารณา ของคู่ความและศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ จำเลยเพราะเหตุที่จำเลยมิได้ยื่นใบแต่งทนายความจำเลย ย่อมเป็นการไม่ชอบ ประกอบกับคดีนี้จำเลยอุทธรณ์ ขอให้รอการลงโทษ และผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดี แก่จำเลยต่อไป จึงมีเหตุสมควร ให้ศาลฎีกายกคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้จำเลยแก้ไข ฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้อง แล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6319/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการทางอาญาต่างจากกระบวนการพิจารณาคดีเดิม แม้ประเด็นเกี่ยวข้องกับเอกสารเดียวกัน
ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยนำสืบพยานของตนจนเสร็จสิ้นและแถลงหมดพยานจำเลย อันเป็นการเสร็จการพิจารณาในศาลชั้นต้นแล้ว การที่จำเลยฎีกาขอให้ศาลฎีกาจัดส่งคำร้องขอถอนฟ้องซึ่งพิพาทกันไปตรวจพิสูจน์ว่ามีการกรอกข้อความในแบบคำร้องดังกล่าวก่อนหรือภายหลังที่ผู้เสียหายลงลายมือชื่อนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องขออนุญาตระบุพยานเพิ่มเติมในชั้นฎีกาให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาเสียก่อน เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา จึงไม่อาจดำเนินการให้ได้
คดีเดิมโจทก์ (ผู้เสียหายในคดีนี้) ยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่อ้างเหตุจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในคำร้องขอถอนฟ้อง ซึ่งผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญของศาลปรากฏว่า เป็นลายมือชื่อของโจทก์ ศาลจึงมีคำสั่งยกคำร้อง แต่คดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยนำแบบพิมพ์คำร้องของศาลไปให้ผู้เสียหายลงลายมือชื่อ โดยที่ยังไม่ได้กรอกข้อความ แล้วจำเลยกรอกข้อความในแบบพิมพ์คำร้องดังกล่าวว่าผู้เสียหายประสงค์ขอถอนฟ้องอันเป็นเท็จ ต่อมาจำเลยนำคำร้องดังกล่าวไปยื่นแสดงต่อศาล ทำให้ศาลหลงเชื่อว่าเป็นความจริงการกระทำของจำเลยเป็นการปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา กรณีเห็นได้ว่า ศาลในคดีเดิมได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นที่ว่ามีเหตุให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่เพราะจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในคำร้องขอถอนฟ้องหรือไม่ แต่คดีนี้เป็นเรื่องความรับผิดในทางอาญาว่าจำเลยได้กระทำความผิดโดยกรอกข้อความลงในแบบคำร้องซึ่งมีลายมือชื่อของผู้เสียหายว่าผู้เสียหายประสงค์ขอถอนฟ้องโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้เสียหาย แล้วนำคำร้องดังกล่าวไปยื่นต่อศาลอันเป็นการปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอมตามฟ้องหรือไม่ ประเด็นแห่งคดีจึงแตกต่างกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15
คดีเดิมโจทก์ (ผู้เสียหายในคดีนี้) ยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่อ้างเหตุจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในคำร้องขอถอนฟ้อง ซึ่งผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญของศาลปรากฏว่า เป็นลายมือชื่อของโจทก์ ศาลจึงมีคำสั่งยกคำร้อง แต่คดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยนำแบบพิมพ์คำร้องของศาลไปให้ผู้เสียหายลงลายมือชื่อ โดยที่ยังไม่ได้กรอกข้อความ แล้วจำเลยกรอกข้อความในแบบพิมพ์คำร้องดังกล่าวว่าผู้เสียหายประสงค์ขอถอนฟ้องอันเป็นเท็จ ต่อมาจำเลยนำคำร้องดังกล่าวไปยื่นแสดงต่อศาล ทำให้ศาลหลงเชื่อว่าเป็นความจริงการกระทำของจำเลยเป็นการปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา กรณีเห็นได้ว่า ศาลในคดีเดิมได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นที่ว่ามีเหตุให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่เพราะจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในคำร้องขอถอนฟ้องหรือไม่ แต่คดีนี้เป็นเรื่องความรับผิดในทางอาญาว่าจำเลยได้กระทำความผิดโดยกรอกข้อความลงในแบบคำร้องซึ่งมีลายมือชื่อของผู้เสียหายว่าผู้เสียหายประสงค์ขอถอนฟ้องโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้เสียหาย แล้วนำคำร้องดังกล่าวไปยื่นต่อศาลอันเป็นการปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอมตามฟ้องหรือไม่ ประเด็นแห่งคดีจึงแตกต่างกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6319/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารและการใช้เอกสารปลอม: ประเด็นแตกต่างจากคดีก่อนหน้าไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยนำสืบพยาน ของตนจนเสร็จสิ้นและแถลงหมดพยานจำเลย อันเป็นการเสร็จการพิจารณาในศาลชั้นต้นแล้ว การที่จำเลยฎีกาขอให้ศาลฎีกาจัดส่งคำร้องขอถอนฟ้องซึ่งพิพาทกันไปตรวจพิสูจน์ว่ามีการกรอกข้อความในแบบคำร้องดังกล่าวก่อนหรือภายหลัง ที่ผู้เสียหายลงลายมือชื่อนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องขอ อนุญาตระบุพยานเพิ่มเติมในชั้นฎีกาให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาเสียก่อน เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา จึงไม่อาจดำเนินการให้ได้ คดีเดิมโจทก์ (ผู้เสียหายในคดีนี้) ยื่นคำร้องขอให้ยกคดี ขึ้นพิจารณาใหม่อ้างเหตุจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในคำร้องขอถอนฟ้อง ซึ่งผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญของศาลปรากฏว่า เป็นลายมือชื่อของโจทก์ ศาลจึง มีคำสั่งยกคำร้อง แต่คดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยว่าจำเลยนำแบบพิมพ์คำร้องของศาลไปให้ผู้เสียหายลงลายมือชื่อโดยที่ยังไม่ได้กรอกข้อความ แล้วจำเลยกรอกข้อความในแบบพิมพ์ คำร้องดังกล่าวว่าผู้เสียหายประสงค์ขอถอนฟ้องอันเป็นเท็จ ต่อมาจำเลยนำคำร้องดังกล่าวไปยื่นแสดงต่อศาล ทำให้ศาลหลงเชื่อว่าเป็นความจริงการกระทำของจำเลยเป็นการปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา กรณีเห็นได้ว่า ศาลในคดี เดิมได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นที่ว่ามีเหตุให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่เพราะจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในคำร้องขอถอนฟ้องหรือไม่ แต่คดีนี้เป็นเรื่องความรับผิด ในทางอาญาว่าจำเลยได้กระทำความผิดโดยกรอก ข้อความลงในแบบคำร้องซึ่งมีลายมือชื่อของผู้เสียหายว่าผู้เสียหายประสงค์ขอถอนฟ้องโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้เสียหาย แล้วนำคำร้องดังกล่าวไปยื่นต่อศาลอันเป็นการปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอมตามฟ้องหรือไม่ประเด็นแห่งคดีจึงแตกต่างกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึง ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแก้ไขโทษจำคุก และการกำหนดโทษตามความร้ายแรงของแต่ละกรรม
จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษจำคุกจำเลยที่ได้อ่านคำพิพากษาในครั้งแรกให้จำคุกจำเลยคนละ 2 ปี มาเป็นจำคุกคนละ 6 ปี เพราะเป็นการเพิ่มโทษจำเลยโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ทำได้ เป็นการแก้ไขคำพิพากษาโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นกระบวนพิจารณาอันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย เมื่อปรากฏตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ดังกล่าวให้ ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว ซึ่งเป็นอุทธรณ์ที่มิได้ต้องห้ามตามกฎหมาย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186 (6) ประกอบมาตรา 215 ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และมาตรา 247 ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้างรวม 3 กรรมต่างกัน โดยระบุในคำฟ้องข้อ 1 ก.ข้อ 1 ข. และข้อ 1 ค. สำหรับความผิดแต่ละกรรม ดังนี้คือ วันที่ 28 กรกฎาคม2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน24 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 7,680 บาท ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริตวันที่ 8 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 10 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 3,250 บาท ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต และวันที่ 14 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 12 กิโลกรัม ปลาหมึกหอมจำนวน25 กิโลกรัม และเนื้ออกไก่จำนวน 6 กิโลกรัม คิดเป็นเงินรวม 7,882 บาทของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้ เท่ากับจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 รับว่าได้กระทำความผิดทั้งสามกรรมดังกล่าวจริง ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ทั้ง 3 กรรม เป็นกระทงความผิดไปได้ ตาม ป.อ.มาตรา 91
จำเลยฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่า การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ทั้งสามกรรมตามฟ้อง ทรัพย์ที่จำเลยลักไปมีราคาเป็นเงิน 7,680 บาท 3,250 บาทและ 7,882 บาท ซึ่งล่างทั้งสองพิพากษายืนโดยใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเท่ากันทุกกระทงความผิดอันเป็นโทษที่หนักเกินไปและไม่เหมาะสมกับสภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดในแต่ละกรรม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลย ให้เหมาะสมแก่สภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดแต่ละกระทงตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้างรวม 3 กรรมต่างกัน โดยระบุในคำฟ้องข้อ 1 ก.ข้อ 1 ข. และข้อ 1 ค. สำหรับความผิดแต่ละกรรม ดังนี้คือ วันที่ 28 กรกฎาคม2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน24 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 7,680 บาท ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริตวันที่ 8 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 10 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 3,250 บาท ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต และวันที่ 14 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 12 กิโลกรัม ปลาหมึกหอมจำนวน25 กิโลกรัม และเนื้ออกไก่จำนวน 6 กิโลกรัม คิดเป็นเงินรวม 7,882 บาทของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้ เท่ากับจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 รับว่าได้กระทำความผิดทั้งสามกรรมดังกล่าวจริง ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ทั้ง 3 กรรม เป็นกระทงความผิดไปได้ ตาม ป.อ.มาตรา 91
จำเลยฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่า การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ทั้งสามกรรมตามฟ้อง ทรัพย์ที่จำเลยลักไปมีราคาเป็นเงิน 7,680 บาท 3,250 บาทและ 7,882 บาท ซึ่งล่างทั้งสองพิพากษายืนโดยใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเท่ากันทุกกระทงความผิดอันเป็นโทษที่หนักเกินไปและไม่เหมาะสมกับสภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดในแต่ละกรรม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลย ให้เหมาะสมแก่สภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดแต่ละกระทงตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจำคุกจากดุลพินิจของศาลชั้นต้น และการพิจารณาโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 76, 78
จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษจำคุกจำเลยที่ได้อ่านคำพิพากษาในครั้งแรกให้จำคุกจำเลยคนละ 2 ปี มาเป็นจำคุกคนละ 6 ปีเพราะเป็นการเพิ่มโทษจำเลยโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ทำได้ เป็นการแก้ไขคำพิพากษาโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นกระบวนพิจารณาอันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย เมื่อปรากฏตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ดังกล่าวให้ ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว ซึ่งเป็นอุทธรณ์ที่มิได้ต้องห้ามตามกฎหมายคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(6)ประกอบมาตรา 215 ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(1) และมาตรา 247 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5ในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้างรวม 3 กรรมต่างกันโดยระบุในคำฟ้องข้อ 1 ก. ข้อ 1 ข. และข้อ 1 ค.สำหรับความผิดแต่ละกรรม ดังนี้คือ วันที่ 28 กรกฎาคม 2539เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 24 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 7,680 บาทของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต วันที่ 8 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 10 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 3,250 บาท ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้าง ไปโดยทุจริต และวันที่ 14 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 12 กิโลกรัม ปลาหมึกหอมจำนวน 25 กิโลกรัม และเนื้ออกไก่จำนวน 6 กิโลกรัม คิดเป็นเงินรวม 7,882 บาทของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต จำเลยที่ 1ที่ 4 และที่ 5 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้เท่ากับจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 รับว่าได้กระทำความผิดทั้งสามกรรมดังกล่าวจริง ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ทั้ง 3 กรรมเป็นกระทงความผิดไปได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำเลยฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่า การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ทั้งสามกรรมตามฟ้อง ทรัพย์ที่จำเลยลักไปมีราคา เป็นเงิน 7,680 บาท 3,250 บาทและ 7,882 บาทซึ่งล่างทั้งสองพิพากษายืนโดยใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลย เท่ากันทุกกระทงความผิดอันเป็นโทษที่หนักเกินไปและไม่เหมาะสมกับสภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดในแต่ละกรรม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลย ให้เหมาะสมแก่สภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดแต่ละกระทงตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานชิงทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย และอำนาจศาลในการพิพากษาจำเลยที่ไม่ได้ฎีกา
เหตุเกิดเวลากลางคืนโดยจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ชกต่อยทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย และจำเลยที่ 1 เอาสร้อยคอทองคำพร้อมพระเครื่องจำนวน 1 องค์ ของผู้เสียหายไป แต่การที่จำเลยทั้งสามสอบถามผู้เสียหายครั้งแรกที่ป้ายรถโดยสารประจำทางก็โดยมีเจตนาต้องการทราบว่าผู้เสียหายเป็นนักเรียนโรงเรียน ล.หรือไม่ หากว่าเป็นนักเรียนโรงเรียนดังกล่าว จำเลยทั้งสามจะได้แก้แค้น เมื่อผู้เสียหายบอกว่าไม่ใช่ จำเลยทั้งสามไม่เชื่อ ต่อมาเมื่อผู้เสียหายลงจากรถโดยสารประจำทางจึงถูกจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันทำร้ายร่างกาย การที่จำเลยที่ 1 เอาสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายไปขณะทำร้ายร่างกายผู้เสียหายโดยที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ทราบ และไม่มีเจตนาที่จะร่วมกันชิงทรัพย์หรือลักทรัพย์และจำเลยทั้งสามไม่มีเจตนาที่จะกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์มาแต่แรก คงมีเจตนาทำร้ายร่างกายเท่านั้น ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนตาม ป.อ.มาตรา 339 วรรคสอง จำเลยที่ 3 มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 391
คดีทั้งสามสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาคดีรวมกัน โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันปล้นทรัพย์ซึ่งรวมถึงการชิงทรัพย์และทำร้ายร่างกายด้วย เฉพาะจำเลยที่ 3 ผู้เดียวฎีกาศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในการกระทำความผิดดังกล่าวตามที่ทางพิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสุดท้าย ประกอบด้วยมาตรา 215, 225 ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1และที่ 3 แม้จะได้ร่วมซักถามผู้เสียหาย แต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ทั้งไม่ปรากฏว่าได้หลบหนีไปกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 แสดงว่าไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 เมื่อเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยแม้มิได้ฎีกา ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213ประกอบด้วยมาตรา 225
คดีทั้งสามสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาคดีรวมกัน โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันปล้นทรัพย์ซึ่งรวมถึงการชิงทรัพย์และทำร้ายร่างกายด้วย เฉพาะจำเลยที่ 3 ผู้เดียวฎีกาศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในการกระทำความผิดดังกล่าวตามที่ทางพิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสุดท้าย ประกอบด้วยมาตรา 215, 225 ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1และที่ 3 แม้จะได้ร่วมซักถามผู้เสียหาย แต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ทั้งไม่ปรากฏว่าได้หลบหนีไปกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 แสดงว่าไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 เมื่อเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยแม้มิได้ฎีกา ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์เวลากลางคืน, ทำร้ายร่างกาย, เจตนา, ความร่วมมือ, อำนาจศาล
เหตุเกิดเวลากลางคืนโดยจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ชกต่อยทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย และจำเลยที่ 1 เอาสร้อยคอทองคำพร้อมพระเครื่อง จำนวน 1 องค์ ของผู้เสียหายไปแต่การที่จำเลยทั้งสามสอบถามผู้เสียหายครั้งแรกที่ป้ายรถโดยสารประจำทางก็โดยมีเจตนาต้องการทราบว่าผู้เสียหายเป็นนักเรียนโรงเรียน ล. หรือไม่ หากว่าเป็นนักเรียนโรงเรียนดังกล่าว จำเลยทั้งสามจะได้แก้แค้นเมื่อผู้เสียหายบอกว่าไม่ใช่ จำเลยทั้งสามไม่เชื่อต่อมาเมื่อผู้เสียหายลงจากรถโดยสารประจำทางจึงถูกจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันทำร้ายร่างกายการที่จำเลยที่ 1 เอาสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายไปขณะทำร้ายร่างกายผู้เสียหายโดยที่จำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่ทราบ และไม่มีเจตนาที่จะร่วมกันชิงทรัพย์หรือลักทรัพย์และจำเลยทั้งสามไม่มีเจตนาที่จะกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์มาแต่แรก คงมีเจตนาทำร้ายร่างกายเท่านั้น ดังนี้จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสอง จำเลยที่ 3มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 391 คดีทั้งสามสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาคดีรวมกัน โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันปล้นทรัพย์ซึ่งรวมถึงการชิงทรัพย์และทำร้ายร่างกายด้วยเฉพาะจำเลยที่ 3 ผู้เดียวฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1และที่ 3 ในการกระทำความผิดดังกล่าวตามที่ทางพิจารณาได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสุดท้ายประกอบด้วยมาตรา 215,225 ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 แม้จะได้ร่วมชักถามผู้เสียหายแต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งไม่ปรากฏว่าได้หลบหนีไปกับจำเลยที่ 1 และที่ 3แสดงว่าไม่ได้ร่วมกระทำกับจำเลยที่ 1 และที่ 3เมื่อเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยแม้มิได้ฎีกา ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง: การอนุญาต/รับรองโดยผู้พิพากษา/อัยการสูงสุด & การฎีกาคำสั่งศาล
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานหมิ่นประมาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมที่ยื่นต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้ว ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมดังกล่าว กรณีจึงเป็นเรื่องที่มีเหตุพิเศษแตกต่างไปจากกรณีการรับหรือไม่ยอมรับอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 และ 198 ทวิดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างใดคดีก็ยังไม่เป็นที่สุดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 198 ทวิ วรรคท้าย คู่ความที่ไม่พอใจคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมฎีกาได้ ตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมนอกจากอ้างเหตุที่จะขอให้อัยการสูงสุดรับรองอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้วยังอ้างเหตุที่ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบเอกสารในสำนวนซึ่งมีเป็นจำนวนมากเพื่อทำอุทธรณ์อีกด้วยจึงมิใช่ขอขยายระยะเวลาเพื่อให้อัยการสูงสุดรับรองอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมเพียงอย่างเดียว แม้โจทก์ร่วมใช้สิทธิขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว แต่อัยการสูงสุดไม่รับรองอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ร่วมที่จะขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเสียไป บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ตรี และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ทวิที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาหรืออัยการสูงสุดอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น มิได้บัญญัติจำกัดสิทธิของคู่ความหรือโจทก์ร่วมให้ต้องเลือกใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อขออนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น เมื่อที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมไว้ภายในกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นขยายให้นั้นจึงชอบแล้ว กรณีไม่อาจถือว่าระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่โจทก์ร่วมได้รับอนุญาตให้ขยายได้สิ้นสุดลงนับแต่วันที่อัยการสูงสุดไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม และเมื่อคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงชอบแล้ว คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์และเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมไว้ก่อนจะมีคำสั่งเพิกถอน ต้องถือว่าคดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ครั้นเมื่อโจทก์ร่วมยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งเดิมขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์เช่นนี้ถือได้ว่า มีคำร้องขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาคดี ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดโดยทำเป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 182
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6964/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดขับรถเสพยาเสพติด: เปลี่ยนประเภทยาทำให้ไม่มีความผิดตามกฎหมายจราจร
ภายหลังจำเลยกระทำความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มเมทแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง,157 ทวิ วรรคหนึ่ง การกระทำความผิดเมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แต่ได้เปลี่ยนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ไม่มีบทบัญญัติลงโทษผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษดังเช่นพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ดังนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว ปัญหานี้แม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185, 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6964/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษ: ศาลยกฟ้องเนื่องจาก พ.ร.บ.จราจรทางบกไม่มีบทลงโทษเฉพาะ
ภายหลังจำเลยกระทำความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกพ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157 ทวิ วรรคหนึ่ง การกระทำความผิดเมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แต่ได้เปลี่ยนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ไม่มีบทบัญญัติลงโทษผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษดังเช่น พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ดังนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวปัญหานี้แม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 185, 215 และ 225